ไม้ บี ช กับไม้สน ต่าง กัน ยัง ไง

6 เคล็ดลับห้ามพลาด! ก่อนเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้

ไม้ที่นิยมมาทำเฟอร์นิเจอร์ มี 2 ประเภท 
1) ไม้เนื้ออ่อน 
2) ไม้เนื้อแข็ง

ลักษณะของไม้เนื้ออ่อน คือ เติบโตเร็ว ลายไม้น้อยไม่ละเอียด นิยมใช้ตกแต่งภายใน ไม่นิยมใช้เป็นโครงสร้างที่ ต้องรับน้ำหนัก ไม่เหมาะกับงานภายนอกที่ต้องตากแดดตากฝน ตัวอย่างเช่น ไม้สน ไม้ซีดาร์

ลักษณะของไม้เนื้อแข็ง คือ เติบโตช้า มีอายุมาก เนื้อไม้มีสีเข้ม เหนียว แข็งแรงทนทาน นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างเช่น ไม้แอช ไม้โอ๊ค ไม้เมเปิ้ล ไม้วอทนัท ไม้มะฮอกกานี

กระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ มี 3 รูปแบบ 
1) Solid Wood ไม้จริง 
2) Manufactured Wood ไม้แปรรูป 
3) Veneer Wood ไม้เคลือบผิว

Solid Wood ไม้จริง ทำจากแผ่นไม้จริงทั้งชิ้นมาต่อกัน

ไม้ที่นิยมใช้ทำ Solid Wood เช่น ไม้สน ไม้บีช ไม้แอช ไม้โอ๊ค ไม้เมเปิ้ล ไม้วอลนัท ไม้มะฮอกกานี

ไม้โอ๊ค เป็นไม้อุตสาหกรรม มาจากฝั่งยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน มีสีเหลืองอ่อน ลายไม้ละเอียด ผิวไม้เรียบ นิยมทำเฟอร์นิเจอร์สไตล์โมเ ดิร์น ให้สัมผัสเรียบง่ายและเบาสบาย

ไม้แอช ลักษณะคล้ายไม้โอ๊ค แต่เนื้อไม้สีเหลืองอ่อนเกื อบขาว ลายไม้จะเลอะกว่า ใช้ทดแทนไม้โอ๊คได้

ไม้เมเปิ้ล เนื้อไม้สีขาวครีมถึงน้ำตาล อมเหลือง ยิ่งขาวมากยิ่งเกรดสูง ราคาจะสูงตามไปด้วย เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้บ้านดูสว่าง

ไม้วอลนัท เนื้อไม้สีน้ำตาลเข้ม ราคาสูง บางครั้งมาทำเป็นไม้วีเนียร์ (ไม้เคลือบผิว) เพื่อลดต้นทุน

ไม้มะฮอกกานี เนื้อไม้สีน้ำตาลไปจนถึงน้ำตาลแดง ราคาสูง นิยมทำเฟอร์นิเจอร์สไตล์โบราณ หรือทำเป็นไม้วีเนียร์ (ไม้เคลือบผิว)

Manufactured Wood ไม้แปรรูป ทำจากวัสดุทดแทนไม้ เช่น เศษไม้ พลาสติก ฯลฯ ผ่านกระบวนการสร้างหรือเลียนแบบให้เหมือนไม้ และมีความแข็งแรงไม่ต่างจากไม้จริง

Fiberboard ไฟเบอร์บอร์ด เป็นไม้แปรรูปราคาไม่แพง ทำจากเศษไม้เนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง มาอัดด้วยกาวเรซินและความร้อนจนกลายเป็นแผ่นไม้ ไฟเบอร์บอร์ดที่นิยมมาก คือ MDF

MDF ย่อมาจาก Medium Density Fiberboard เป็นไม้แปรรูปที่นิยมทำเฟอร์นิเจอร์มากในปัจจุบัน มีความแข็งแรงทนทานไม่แพ้ไม้จริง แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ใหญ่ๆนิยมใช้ไม้แปรรูปชนิดนี้

Particleborad (Chipboard) มีลักษณะคล้ายกับ MDF แต่จะใช้เศษไม้ชิ้นใหญ่กว่า  มาอัดด้วยสารเคมีและความดัน ข้อดีของ Particleboard คือ แผ่นไม้จะมีความหนา แต่มีน้ำหนักเบา นิยมใช้เป็นแผ่นไม้ปิดข้างตู้หรือเฟอร์นิเจอร์บิวด์อิน

Plywood พลายวูด ทำจากไม้มาเฉือนเป็นแผ่นบางๆ แล้วอัดด้วยกาวเคมีเป็นชั้นๆจนแน่น มีข้อดีคือ กันน้ำ ทนความชื้นได้ดี ไม่บิดงอ

Veneer Woods ไม้วีเนียร์หรือไม้เคลือบผิว เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับไม้ที่มีราคาแพง โดยใช้ไม้จริงกรุเคลือบไม้แปรรูป เพื่อลดต้นทุนการผลิด แต่ยังได้สัมผัสของผิวไม้ธรรมชาติ นิยมมากสำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการผิวสัมผัสธรรมชาติ แต่ราคาย่อมเยาว์

ต่อไปนี้ก็สามารถเลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ ได้ตามความต้องการแล้วนะครับ  :)

ไม้ บี ช กับไม้สน ต่าง กัน ยัง ไง

1.ไม้ยางพารา

      โดยส่วนมากจะผ่านการอบไล่ความชื้น และอาบน้ำยาป้องกันมอด, ปลวก, แมลงกินไม้ โดยมากมักนิยมนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์เตียงนอน, โต๊ะ, เก้าอี้, ของเล่นเด็ก และของใช้ในครัว และบนโต๊ะอาหาร นิยมทำสีธรรมชาติ หากทำสีย้อมต่างๆ ก็จะทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ชนิดนี้วัตถุดิบส่วนมากจะใช้ภายในประเทศ โดยเฉพาะแถบภาคใต้จะมีมาก กับทางแถวภาคตะวันออก เช่น ระยอง เป็นต้น

2.ไม้สน

ถือ เป็นไม้เนื้ออ่อนแม้ว่าความแข็งแรงของไม้สนบางประเภทจะมีความแข็งแรงใกล้ เคียงกับไม้เนื้อแข็งก็ตามไม้สนมีเส้นใยที่มีความต้านทานต่อแรงดึงสูง ทนทานต่อการทะลุ ทั้งยังมีลวดลายสีน้ำตาลสวยงาม จึงนิยมนำไม้สนมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลายประเภท ไม้สนจึงเป็นไม้ที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจโดยเป็นไม้ที่มีราคาคุ้มค่าหาก เทียบกับคุณสมบัติของไม้ชนิดนี้โดยมีความแข็งแรงเทียบเท่าไม้เนื้อแข็งราคา ไม่สูง ไม้สนมีแหล่งทรัพยากรที่มากมายจึงเป็นวัสดุที่จัดหามาใช้ได้ง่าย มีการปลูกป่าทดแทนอยู่ตลอด และราคาคงที่ไม่ขึ้นลงมาก ไม้มีหลายขนาดให้เลือกใช้

3.ไม้สัก

นำมาผลิตเป็น เฟอร์นิเจอร์ได้มากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ  เช่น เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเครื่องแป้ง ตู้วางทีวี ฯ โดยมากไม้สักที่จะนำมาทำเฟอร์นิเจอร์จะมีอายุมาก 50 ปีขึ้นไป คือเนื้อไม้จะออกสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มโทนสีจะระดับเดียวกัน ซึ่งเรามักจะรู้จักกันในชื่อ “สักทอง” จะมีราคาจะสูง ปัจจุบันต้องนำเข้าจากต่างประเทศในรูปของไม้ซุง หรือไม้แปรรูป โดยมากจากประเทศพม่า ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยจะมีไม้สักอ่อนอายุประมาณ 10 – 20 ปี ที่อนุญาตให้ภาคเอกชนปลูก และตัดได้ ซึ่งเนื้อไม้จะมีโทนออกสีน้ำตาล และติดกระพี้จะออกสีครีมทั่วทั้งเนื้อไม้ ราคาจะถูกกว่าไม้สักทอง แต่ลวดลายจะสวยสู้กันไม่ได้  ปัจจุบันนิยมทำสีย้อมให้ดูเข้มขึ้น เพื่อให้ขายได้ราคาสูง

4.ไม้อัดสลับชั้น

หรือที่พูด กันทั่วๆ ไปว่า “ไม้อัด” วิธีการผลิตจะนำไม้ซุงมาปอกเป็นแผ่นไม้บาง (veneer) หรือนำไม้ซุงมาเปิดปีกไม้ออกให้เป็นสี่เหลี่ยม แล้วเข้าเครื่องฝาน จะได้แผ่นไม้บางผ่านการอบไม้ให้ความชื้นในแผ่นไม้บางเป็นไปตามที่โรงงาน กำหนด แล้วนำมาเรียงสลับเสี้ยนไม้เพื่อให้เกิดความเหนียวและแข็งแรง โดยใช้กาวอัดติดกันระหว่างแผ่น เมื่อได้ความหนาที่ต้องการแล้วนำเข้าเครื่องอัดให้กาวแห้งสนิท ขนาดทั่วไปที่ใช้กันคือ กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต ความหนาตั้งแต่ 3.8 – 30.0 มิลลิเมตร ส่วนแผ่นไม้บางที่ปิดแผ่นหน้าจะเห็นเป็นลวดลายไม้ชนิดต่างๆ เช่น หน้าไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ยาง ไม้บีช ไม้แอช ฯ

การนำไม้อัด มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้เกือบทุกประเภท เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ของใช้ในบ้าน ฯ คือจะมีไม้จริงทำเป็นโครงขึ้นมาก่อนแล้วนำไม้อัดประกอบเข้าไปทั้งสองด้าน ภาษาช่างจะเรียกเฟอร์นิเจอร์แบบนี้ว่า “เพลาะโครง” (Frame work) ซึ่งมองดูจะเห็นคล้ายกับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นใช้ไม้หนา ลวดลายของไม้อัดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ขายกำหนดราคาได้ เพราะถ้าเป็นแผ่นลายไม้สัก ผู้ขายอาจจะพูดรวมไปว่าตู้ลูกนี้ทำจากไม้สัก (เพียงแต่แผ่นหน้าไม้อัดที่เป็นไม้แผ่นบางสักเท่านั้น)

5.ไม้พาร์ทิเคิลปิดผิว

คือการนำเศษวัสดุที่นำไปทำอย่างอื่นไม่ได้แล้ว จึงนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็น แผ่นชิ้นไม้อัด ซึ่งจะมีวัสดุอยู่ประมาณ 3 ชนิด คือ

1.  ชานอ้อย ที่เข้าเครื่องหีบเอาน้ำตาลออกหมดแล้ว นำชานอ้อยมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ผ่านเครื่องอบแห้งตามที่กำหนด นำมาผสมกาวประเภทเรซินฟูมาดิฮายด์ แล้วอัดเป็นแผ่นมาตรฐานที่นิยมกันคือ กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต ความหนามีหลายขนาดตั้งแต่ 6 มิลลิเมตร – 32 มิลลิเมตร

2. เศษไม้ยางพารา ได้จากกิ่ง ก้าน ของต้นยางพาราที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งลำต้นจะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนกิ่งก้านที่ทำเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้ จะนำไปทำเป็นแผ่นพาร์ทิเคิล ขั้นตอนเดียวกันกับชานอ้อย

3. ไม้ยูคาลิปตัส ใช้ได้ทั้งต้น อายุตั้งแต่ 3-15 ปี นำมาสับเป็นชิ้นไม้สับ ผ่านการอบแห้ง ผสมกาว อัดเป็นแผ่นขั้นตอนเหมือนกับทั้ง 2 แบบข้างต้น

ซึ่งพาร์ทิเคิลบอร์ ดนี้ จำเป็นต้องมีวัสดุอื่นปิดผิวหน้า เพราะแผ่นไม้ที่ผสมกาวอัดความหนาแน่นออกมาแล้วผิวหน้ายังหยาบไม่มีลวดลายของ ไม้ให้เห็น จึงต้องมีวัสดุปิดผิวหน้าเช่น กระดาษที่เป็นลายไม้ชนิดต่างๆ หรือประเภทแผ่นเมลามีนสีต่างๆ  เมื่อนำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ ราคาจะถูกหรือแพงอยู่ที่วัสดุปิดผิวด้วยเช่นกัน

6.แผ่นใยไม้อัดหนาแน่นปานกลาง (Medium Density Fiber Board = M.D.F.)

ขั้น ตอนการผลิตคล้ายกับแผ่นชิ้นไม้อัด แต่เพิ่มขั้นตอนต่อจากการทำชิ้นไม้สับแล้ว จะนำชิ้นไม้ไปตุ๋นให้นิ่มแล้วนำเข้าเครื่องบดให้ละเอียดกรองเอาแต่เส้นใย (Fiber) ผ่านความร้อนอบให้เส้นใยแห้งตามที่ต้องการ เข้าเครื่องผสมกับกาว อัดออกมาเป็นแผ่นขนาดกว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต ความหนาตั้งแต่ 3 – 32 มิลลิเมตร แผ่น M.D.F. เป็นวัสดุที่คล้ายไม้จริง สามารถใช้เครื่องมือธรรมดา เช่น เลื้อยปื้นตัด เจาะ เซาะ ไส และพ่นสีบนแผ่นไม้ได้เลย ผลิตภัณฑ์จะมีคุณภาพมากกว่าผลิตจากไม้พาร์ทิเคิล

เครดิตจากเว็บไซต์ Dek-D.com

👉 Wooding Studio

👉ให้บริการ ออกแบบ ผลิต และ ติดตั้งงานไม้

➙รับงาน built-in ออกแบบและตกแต่งภายใน

➙ออกแบบ และ ผลิตเฟอนิเจอร์ไม้

➙ออกแบบ ตัด แกะ ฉลุ เซาะร่องไม้ และตัดไม้เป็นรูปทรงต่างๆ

➙ออกแบบ และเลเซอร์งานไม้ หรือวัสดุอื่นๆ

งานทุกชิ้นออกแบบ และผลิตชิ้นงานด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือคุณเองก็สามารถออกแบบมาให้เราผลิตเองได้ ยินดีรับสั่งทำตามสไตล์ที่คุณต้องการ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ช่องทางการสั่งซื้อ

Email:

Facebook: www.facebook.com/woodingstudio 

Line ID: @woodingstudio

Tel. 081 768 6817