ผู้ ประกัน ตน กับ ผู้ มี สิทธิ ต่าง กัน อย่างไร

ผู้ ประกัน ตน กับ ผู้ มี สิทธิ ต่าง กัน อย่างไร

05 มิถุนายน 2562

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินการพูดถึง ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 40 แล้วทั้ง 3 ประเภทของผู้กันตนนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันครับ

มาตรา 33 (บังคับ)

ได้แก่ : ลูกจ้าง “ผู้ซึ่งทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง”
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. นายจ้างที่มีลูกจ้างในกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. ต้องเป็นลูกจ้างที่ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 4
3. ลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
เงินสมทบ : ลูกจ้าง 5% ของฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท และขั้นสูง 15,000 บาท
สิทธิประโยชน์ : ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีตาย
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน

มาตรา 39 (สมัครใจ)
ได้แก่ : ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. เคยเป็นผู้ตามมาตรา 33 นำส่งเงินสมทบมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
เงินสมทบ : จ่ายเดือนละ 432 บาท เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
สิทธิประโยชน์ : ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
1.กรณีเจ็บป่วย
2.กรณีคลอดบุตร
3.กรณีทุพพลภาพ
4.กรณีตาย
5.กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

มาตรา 40 (สมัครใจ)
ได้แก่ : ผู้ประกันตนนอกระบบ
คุณสมบัติการขึ้นทะเบียน
1. บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม
2. บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
เงินสมทบ : สามารถเลือกได้ 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท)
สิทธิประโยชน์ : แบ่งเป็น 2 ประเภท 
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ
1. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีตาย
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน
1. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย
2. กรณีทุพพลภาพ
3. กรณีตาย
4. กรณีชราภาพ (บำเหน็จ)

ประกันสังคมแต่ละมาตรา ม.33, ม.39 , ม.40  แตกต่างกันอย่างไร 
การที่เราจ่ายเงินสมทบทุกเดือนนั้นเราจ่ายไปทำไม ??
จ่ายไปแล้วคุ้มครองเราเรื่องไหนบ้าง +++

มาดูกันเลยค่ะ

ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย  คลอดบุตร  ทุพพลภาพ  ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงานเพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

กองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตน มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

1. พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี
2. เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก (มาตรา 39) ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี
3. อาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี

 ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33)

          ผู้ประกันตนในกลุ่มนี้ คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5%  + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคบังคับ (มาตรา 33) จะได้รับความคุ้มครอง มีดังนี้ กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน

 ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 39)

          ผู้ประกันตนตามมาตรานี้ คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน  อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432  บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้ กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

 ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40)

 ผู้ประกันตนในมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี  ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ ซึ่งมีให้เลือก 2 ชุด

  • ความคุ้มครอง 3 กรณี– จ่าย 100 บาท ต่อเดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐบาลสมทบ 30 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต
  • ความคุ้มครอง 4 กรณี– จ่าย 150 บาท ต่อเดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐบาลสมทบ 50 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ 

ที่มา   https://th.jobsdb.com

ถ้าหากรถของคุณยังไม่มีประกันภัย หรือต้องการต่อประกัน สามารถเช็คประกันรถออนไลน์ ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ 
https://share.724.co.th/insure/l/motor/AM00062608 

สนใจทำประกันภัย พ.ร.บ. รับโปรโมชั่นพิเศษ คลิก ....
https://lin.ee/lS81lA8

Tel : 064-2654282 , 095-5962422

#รับสมัครตัวแทนขายประกันภัยรถยนต์
#ประกันภัยรถยนต์

ผู้ ประกัน ตน กับ ผู้ มี สิทธิ ต่าง กัน อย่างไร