ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร?

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระธรรมเทศนาบทแรกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทานแก่ปัญจวัคคีย์ จนบังเกิดประจักษ์พยานแห่งการบรรลุธรรมเป็นพระอริยสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระธรรมเทศนาอันเป็นแม่บทแห่งธรรมทั้งปวง ขับกงล้อแห่งธรรมให้เคลื่อนรุดหน้าไป เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปสู่ดินแดนอันเกษม คือ พระนิพพาน

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

สรุปข่าว

หัวข้อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคืออะไร?

อัลบั้มภาพ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

แท็กที่เกี่ยวข้อง

v-star ครู นักเรียน

หน้าหลัก > พจนานุกรมทั้งหมด > แปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร > ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

  • ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

    [ทำ-มะ-จัก-กับ-ปะ-วัด-ตะ-นะ-สูด] น. พระสูตรอันว่าด้วยธรรมจักร หมายถึง พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี มีชื่อว่า ธัมมจัก-กัปปวัตนสูตร ข้อความในพระสูตรนี้มี ๓ ตอน คือ ตอนต้นพระพุทธองค์

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรภาษาอังกฤษ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรภาษาไทย ธัมมจักกัปปวัตนสูตรความหมาย Dictionary ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแปลว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตรคำแปล

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรคืออะไร

ธรรมจักร

          คำว่า ธรรมจักร แปลว่า กงล้อแห่งธรรม มีที่มาจาก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ทำ-มะ -จัก-กับ-ปะ-วัด-ตะ-นะ -สูด)  ซึ่งเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการหมุนไปข้างหน้าของกงล้อแห่งธรรม พระพุทธเจ้าทรงเทศน์พระสูตรนี้เป็นปฐมเทศนาของพระองค์ การเทศน์ครั้งนี้ทำให้เกิดพระภิกษุรูปแรกคือ พระโกณฑัญญะ ทำให้พระรัตนตรัยครบสมบูรณ์ และเป็นสัญญาณว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในโลก  เปรียบได้กับการหมุนธรรมจักรหรือกงล้อแห่งธรรม  พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงใช้ธรรมจักรเป็นเครื่องหมาย ธงพื้นเหลืองที่มีรูปธรรมจักรก็เรียกว่า ธงธรรมจักร

          เครื่องหมายธรรมจักร เป็นวงล้อแห่งธรรมที่หมุนไปข้างหน้าเพื่อความเจริญก้าวหน้า  เตือนสติชาวพุทธให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลางสู่ความดีงาม ความสุข ความเจริญ

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร การหมุนวงล้อแห่งธรรม

เผยแพร่: 23 ก.ค. 2564 17:22   ปรับปรุง: 23 ก.ค. 2564 17:22   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


"ฝั่งขวาเจ้าพระยา"
"โชกุน"

(จากธรรมนิพนธ์ “จักรใด ขับดันยุคไอที” ซึ่งเรียบเรียงจาก ธรรมกถาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ พระพรหมคุณาภรณ์ ในงานทำบุญวันเข้าพรรษา และเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา 29 กรกฎาคม 2550)

ทีนี้ ก็มาพูดกันถึงวันอาสาฬหบูชาว่า ในวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์ครั้งแรก เป็นการเริ่มประกาศพระพุทธศาสนา

พระธรรมที่เทศน์นั้น เป็นพระสูตรเรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม เรียกกันง่ายๆ ว่า เป็นวันประกาศพระธรรมจักร คือ ไม่จำเป็นต้องเรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

คำว่า “ธรรมจักร” นี้ เป็นทั้งเนื้อหาสาระของธัมมจักกัปปวัตนสูตร และบางครั้งก็ใช้เป็นคำเรียกแทนพระสูตรนี้ทั้งสูตรด้วย ธัมมจักกัปปวัตนสูตรนั้น มีสาระสำคัญที่ขึ้นต้นด้วย มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง และทางสายกลางนี่โยงต่อไปถึงอริยสัจ

เมื่อพูดถึงทางสายกลางแล้ว ทางสายกลางนั้นก็นำไปสู่อริยสัจแน่นอนอยู่ในตัว ก็เลยไม่ต้องเอ่ยชื่ออริยสัจออกมา พูดแค่ว่า ทางสายกลางก็พอ เพราะฉะนั้น เมื่อจะพูดให้กะทัดรัด ก็บอกว่า วันอาสาฬหบูชา คือ วันประกาศพระธรรมจักรและแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือวันประกาศพระธรรมจักร และชี้ทางสายกลาง

เรื่องธรรมจักรกับทางสายกลางนี้ เป็นเรื่องที่เนื่องกัน วันนี้ ก็จะคุยกับโยม เป็นความรู้เกร็ดๆ ไม่ต้องลงลึกอะไรนัก แต่จะรู้จักธรรมจักร ก็ต้องรู้จักจักรก่อน เพราะธรรมจักรก็มาจากจักร พอจักรเกิดขึ้น อารยธรรมก็ขับเคลื่อน

“จักร” แปลว่าอะไร พอพูดว่า จักร เราก็นึกถึงวงกลมๆ อะไรเป็นจักร มันก็ต้องเป็นวงกลมๆ และจักรที่รู้จักกันมาแต่ไหนแต่ไรก็คือ ล้อ จำพวกล้อเกวียน ล้อรถ อะไรพวกนี้ นี่แหละจักรของแท้แต่ดั้งแต่เดิม

ทีนี้จักรหรือล้อนี้ เมื่อเกิดขึ้นมาสมัยก่อนนั้น คนตื่นเต้นมาก เพราะนำความสะดวกสบายและความเจริญมาให้ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ ของความก้าวหน้างอกงามแห่งอารยธรรมของมนุษย์ เมื่อมนุษย์สามารถเดินทางด้วยยานพาหนะ โดยมีล้อขึ้นมา ความเจริญก็เกิดขึ้นมากมาย และรวดเร็ว ใช้ภาษาจีนแดงว่า แบบก้าวกระโดดเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องธุรกิจการค้า มีกองเกวียนคาราวานไปในแว่นแคว้นประเทศต่างๆ สื่อสารกันไปได้ทั่วถึง หนึ่งละนะ ด้านการค้าพาณิชย์ แล้วความเจริญก็ตามมากับพาณิชยกรรมนั้น เพราะนอกจากการค้าขายแล้ว วัฒนธรรมและอะไรต่ออะไรก็ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ การเล่าเรียนวิทยาการต่างๆ ในสมัยโบราณก็พ่วงไปกับการค้านี่แหละมาก

เพราะฉะนั้น ล้อรถจึงเป็นเครื่องหมายของความเจริญ หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งการพัฒนาอย่างสูงของอารยธรรมแต่ไม่ใช่เท่านั้น เมื่อล้อเกิดขึ้นแล้วพอรถไปได้ มันไม่แค่การค้าพาณิชย์หรือธุรกิจเท่านั้น แต่มันหมายถึงอำนาจของพระราชาด้วย เพราะว่า ตอนนี้พระราชาก็มีรถศึกแล้วละแต่ก่อนโน้น ต้องรบกันด้วยช้าง ด้วยม้า ด้วยทหารราบ ตอนนี้มีรถมาด้วย มีรถศึกแล้ว อย่างน้อยก็มีรถขนเสบียงและบรรทุกยุทโธปกรณ์ การศึกสงคราม การแผ่ขยายอำนาจ ก็ยิ่งเกริกก้องเกรียงไกร

เพราะฉะนั้น ก็กลายเป็นว่า การมีล้อนี่เอง ได้ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้ ล้อก็คือเครื่องหมายของรถนั่นเอง เพราะมันหมุนพารถไปให้คนสามารถแผ่ขยายอำนาจได้ ต่อมา “จักร” หรือล้อ ก็เลยกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ หมายถึงการแผ่ขยายไปแห่งอำนาจ ล้อรถศึกหมุนไปถึงไหน อาณา คือ อำนาจปกครองบังคับ ก็แผ่ขยายไปถึงนั่น ก็เลยเกิดคำว่า อาณาจักรขึ้นมา

“อาณาจักร” ก็คือ ดินแดนที่วงล้อแห่งอำนาจหมุนไปถึง เดี๋ยวนี้เราก็ยังใช้อยู่ เราใช้กันโดยไม่รู้เลยใช่ไหมว่า อาณาจักรก็คือ วงล้อแห่งอำนาจ แต่ก่อนนี้ ล้อรถศึกพาอาณาคือ อำนาจไป ล้อรถไปถึงไหนอำนาจของพระราชาก็ไปถึงนั่น อาณาจักรก็คือ ดินแดนที่อยู่ในอำนาจของพระราชาพระองค์นั้น แล้วอันนี้ก็จะโยงมาหาธรรมจักร

ธรรมจักรหมุนมา พาอารยธรรมเข้าสู่วิถี พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า ล้อรถที่พาอำนาจไปนั้น บางทีมันพาไปแต่ความเดือดร้อน พาสงครามไป พาการเบียดเบียนไป พาเอาความเดือดร้อนไปให้เขา เพราะฉะนั้น ควรคิดกันให้ดี ควรจะให้วงล้อนี้เป็นเครื่องนำเอาสิ่งที่สูงส่งกว่านั้นไปด้วย อะไรที่ดีงาม ที่สูง ที่ประเสริฐ นั่นก็คือธรรม เพราะฉะนั้น วงล้อนี้ควรจะนำธรรมะไป นี่แหละจึงได้เกิดคำว่า “ธรรมจักร” ขึ้น

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร คือ พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรมนี้ จึงเป็นพระสูตรที่ปฏิวัติความคิดมนุษย์ ที่ประกาศขึ้นมาใหม่ว่า ท่านผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย อย่ามัวคิดแต่จะแผ่ขยายอาณาที่ก่ออาชญากันเลย แต่จงหันมาแผ่ขยายธรรม คือ ความดีงามของมนุษย์และปัญญาที่รู้ซึ้งเข้าถึงธรรมชาติกันเถิด

เพราะฉะนั้น แทนที่จะมีเพียงอาณาจักร ก็ให้มีธรรมจักรด้วย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก ก็เหมือนทรงหมุนวงล้อแห่งธรรม ให้วงล้อธรรมะหมุนพาธรรมนั้นแผ่ขยายไป วงล้อแห่งธรรมนี้หมุนไปถึงไหน ดินแดนแห่งความร่มเย็นเป็นสุขด้วยธรรมะ ก็จะแผ่ขยายไปถึงนั่น

ดังนั้น “ธรรมจักร” จึงมีความหมาย 2 อย่าง เช่นเดียวกับอาณาจักร หนึ่ง หมายถึงวงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงหมุน คือ ธรรมะที่ทรงประกาศ แล้วสืบเนื่องจากหนึ่ง วงล้อนี้หมุนไปเพื่ออะไร ก็เพื่อพาเอาธรรม คือความดีงาม ความร่มเย็นเป็นสุข แผ่ขยายออกไปให้เกิดมี สอง ดินแดนที่วงล้อแห่งธรรมนั้นหมุนไปถึง ซึ่งกลายเป็นดินแดนแห่งธรรม

เป็นอันว่า “ธรรมจักร” ก็เลยแปลได้ว่า

1. วงล้อแห่งธรรม หรือธรรมดุจวงล้อ ที่ถูกหมุนคือถูกประกาศ ถูกเผยแผ่สั่งสอน และ

2. ดินแดนที่วงล้อแห่งธรรมนั้นหมุนไปถึง หรือแผ่ไปถึงธรรมจักรจึงเป็นทั้งธรรมที่ทรงแสดง และเป็นทั้งดินแดนแห่งธรรม

พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรม ยังธรรมจักรให้หมุนออกไปและทรงสถาปนาธรรมจักร ด้วยธรรมจักรที่หมุนออกไปนั้น รวมความว่า วันอาสาฬหบูชานี้ เป็นวันที่สำคัญมาก เพราะเป็นวันแห่งธรรมจักร คือ วันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรมจักร ซึ่งเตือนใจเราว่า พวกเราชาวพุทธในบัดนี้ ควรพยายามสร้างธรรมจักร คือ ดินแดนแห่งธรรมให้เกิดขึ้น ให้เรามีครบ ทั้งอาณาจักรและธรรมจักร

เมื่อมีล้อ จึงมีรถ หรือมียานพาหนะ และเมื่อมีรถ มียานพาหนะ ก็ต้องมีทางไป และทางนั้นก็จะต้องเป็นทางที่ถูกต้อง ที่จะพาไปดี ไปให้ถึงที่หมาย ทางไปที่ถูกต้อง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงชี้บอก คือ ทางสายกลาง และธรรมจักรคือล้อแห่งธรรม ก็หมุนพารถไปตามทางสายกลางนี้

ที่ว่ามานั้น คือ ความหมายสำคัญ ที่เราจะต้องเข้าใจ เรื่อง “จักร” ทั้งหลาย จนถึงธรรมจักรนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ทั้งสัมพันธ์กัน และสำคัญต่ออารยธรรมของโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน