อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยคืออะไร?

 Home

» Knowledge of Health » อาชีวอนามัยคืออะไร? 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

อาชีวอนามัยคืออะไร?

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้เข้ากับคนแต่ละคน

องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้นิยามโรคจากการประกอบอาชีพและโรคเนื่องจากงานตามสาเหตุปัจจัยไว้ดังนี้

  1. โรคจากการประกอบอาชีพ (Occupational Diseases) หมายถึง โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ทำงาน ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานาน โรคจากการประกอบอาชีพบางโรคอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกตามสุขภาพ รวมทั้งโอกาสหรือ วิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส(โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารตัวทำละลายต่างๆ (Organic solvent toxicity) เป็นต้น
  2. โรคเนื่องจากงาน (Work-related Diseases) หมายถึง โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนทำงาน โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน และการทำงานในอาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้นลักษณะการท างานในอาชีพ หากมีการ ออกแรงซ้ำๆ หรือมีท่าทางการท างานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะแสดงอาการขึ้น เป็นต้น
  3. โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Diseases) หมายถึงผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อน ในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง

การป้องกันโรค

  1. การรู้สาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ รู้ว่าโรคปอดที่ทำให้คนงานและผู้อาศัยใกล้เคียงโรงงานโม่หินที่มีฝุ่นหินทรายฟุ้งกระจายนั้นเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นซิลิกา การป้องกันคือคนทำงานต้องใส่เครื่องป้องกันฝุ่น และต้องกำจัดฝุ่นหินนั้นไม่ให้คนไปสัมผัส โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เป็นต้น

        2.การรู้การกระจายของโรค โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา เพื่อให้ทราบกลุ่มบุคคลที่เกิดโรค พื้นที่เกิดโรคและเวลาในการเกิดโรค (person, place, time) จะได้ควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมสุขศึกษาและความรู้เรื่องโรคต่างๆให้กับพนักงานเพื่อทราบจะได้ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีด้วย

  1. การรู้ธรรมชาติของการเกิดโรค เนื่องจากโรคแต่ละโรคและกลุ่มโรคจะมีการดำเนินของโรคที่ต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดวิธีการป้องกันที่เหมาะสม ได้แก่ การป้องกันระยะที่เริ่มได้รับปัจจัยก่อโรค ระยะสะสมที่ยังไม่แสดงอาการ ระยะปรากฏอาการเริ่ม ระยะโรครุนแรง และระยะหายของโรคที่อาจตายหรือปรากฏความพิการ เป็นต้น

“เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคแล้วก็จะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีมาตรการการป้องกันที่รอบคอบชัดเจน เพราะการป้องกันที่ดีจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ทำให้คนทำงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะทำให้งานที่ออกมานั้นได้ประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง”

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

        อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาสุขศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ และผลกระทบที่เกิด จากการท างานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อการดำเนินการให้ผู้ประกอบอาชีพ หรือแรงงานเกิดความปลอดภัยสูงสุด ได้รับการคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย คำว่า อาชีวอนามัย “Occupational Health” เป็นคำมาระหว่างคำว่า อาชีวะ หรือ อาชีพ กับคำว่า อนามัย หรือ สุขภาพ อาชีวะ (Occupation) หมายถึง การเลี้ยงชีพ การประกอบอาชีพ บุคคลที่ประกอบ สัมมาชีพ หรือคนที่ประกอบอาชีพทุกสาขาอาชีพ อนามัย (Health) หมายถึง สุขภาพอนามัย ความไม่มีโรค หรือสภาวะความ สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ประกอบอาชีพจากคำสองคำมารวมกันเป็น อาชีวอนามัย และมีความหมายร่วมกันของอาชีวอนามัย ว่า หมายถึง งานที่เกี่ยวกับ การส่งเสริม ควบคุม ดูแล การป้องกันโรค ตลอดจนอุบัติเหตุ และดำรงรักษาสุขภาพอนามัยทั้งมวลของผู้ประกอบอาชีพให้มีความปลอดภัย มีสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งสอดคล้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ให้ความหมายของอาชีวอนามัยไว้ว่าหมายถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ธำรงไว้ซึ่งสุขภาพทางกายทางจิตใจและทางสังคมที่ดีงามของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวลองค์การอนามัยโลก

(World Health Organization : WHO) และองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) ได้ร่วมกันกำหนดขอบข่าย ลักษณะงานอาชีวอนามัยไว้ว่าประกอบด้วยงานสำคัญ 5 ประการดังนี้

            1. การส่งเสริม (Promotion) หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ ซึ่งสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพตลอดจนมีความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกันในสังคมของผู้ประกอบอาชีพตามสถานะที่พึงมีได้

              2. การป้องกัน (Prevention) หมายถึง การป้องกันมิให้ผู้ประกอบอาชีพ หรือ แรงงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ เนื่องจากสภาพ หรือสภาวะการท างานที่ ผิดปกติ 

                3. การปกป้องคุ้มครอง (Protection) หมายถึง การดำเนินการปกป้องคุ้มครอง ผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสถานประกอบการ มิให้มีการกระทำงานที่เสี่ยงต่อ อันตรายหรือการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ 

           4. การจัดการทำงาน (Placing) หมายถึง การจัดการเกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อม ของการทำงานให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความต้องการของร่างกายจิตใจของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

               5. การปรับงานและคนให้มีความเหมาะสมกัน (Adaptation) หมายถึง การปรับ สภาพของงานและคนทำงานให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงสภาพทางสรีรวิทยาและพื้นฐานความแตกต่างทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของคนทำงานให้มีความสอดคล้องมากที่สุดเพื่อประสิทธิผลของงานนั้น ๆ 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยหมายถึงอะไร

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีอะไรบ้าง

ขอบเขตของอาชีวอนามัย.
ป้องกันและรักษาอุบัติภัยจากการทำงานในอาชีพ.
ป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ.
การจัดบริการสุขภาพแก่คนงาน.
ส่งเสริมสุขภาพจิตในการทำงาน.
จัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานเพื่อป้องกันอันตราย.
ฟื้นฟูสุขภาพผู้รับบาดเจ็บจากการทำงาน.

ข้อใดคือความสำคัญของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

เป้าหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบด้วยการส่งเสริมให้เกิดให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีอนามัย ทั้งยังให้การป้องกันต่อเพื่อนร่วมงาน, สมาชิกในครอบครัว, ผู้ว่าจ้าง, ลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากที่อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ส่วนในสหรัฐอเมริกา คำนิยามนี้ยังกินความหมายเป็น อาชีวอนามัย และความ ...

อาชีวอนามัยมีความสําคัญอย่างไร

อาชีวอนามัย (Occupational Health) เป็นการส่งเสริมสุขภาพการทำงานให้คงไว้ซึ่งสุขภาพกาย ใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการ เบี่ยงเบนด้านสุขภาพที่มีสาเหตุจากการทำงานของคนทำงานในทุกอาชีพ โดยการดูแลสภาพแวดล้อม เครื่องมือ กระบวนการให้เหมาะสมกับสภาพกาย และจิตใจของคนทำงาน โดยการปรับงานแต่ละงานให้ ...