องค์การระหว่างประเทศ คืออะไร

องค์การระหว่างประเทศ คืออะไร

Show

                 องค์การระหว่างประเทศเริ่มแรกเกิดจากความร่วมมือของประมุขของประเทศในยุโรปหลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลง เกิดการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา  (congress of   vienna 1815)  องค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  1  ได้ก่อตั้งองค์การสันนบาติชาติขึ้นจัดเป็นองค์การระหว่างประเทศทำงานเฉพาะด้านเป็นส่วนใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ ทางด้านสังคมมีบทบาทในการวางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐ วางระเบียบกฎเกณฑในการติดต่อระหว่างประเทศและการให้บริการ ส่วนองค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ ดูแลใหความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหา องค์การระหว่างประเทศทางการเมือง ทำหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างนานาชาติ

ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็น กลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่ร่วมกลุ่มกันโดยมี จุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญดังนี้

 1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน 2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน 3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบันและวิธีการทีเป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ จึงเป็นทางออกของรัฐในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และวางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ มีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง  บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านสังคม องค์การระหว่างประเทศทางสังคม มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางสังคม วัฒนธรรมและมนุษยธรรม อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดความ เจริญก้าวหน้าและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขของมวลมนุษยชาติ บทบาทที่สำคัญ มีดังนี้ 1.  วางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐ เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน 2. วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อกันสะดวก ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล 3.  การให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การให้ข่าวสาร การบรรเทาทุกข์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือผลภัย และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ มีบทบาทมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสังคมโลก ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและให้ปฏิบัติตาม กติกา โดยมีบทบาทที่สำคัญดังนี้

1. เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านการเงิน 2.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่กำลังพัฒนา นำไปลงทุนพัฒนาประเทศ มีกองทุนเงินตราต่างประเทศให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหา 3.วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสังคมไทย และใหม่การปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม 4. แนะนำการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของเงินตรา 5. ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง เป็นบทบาทที่มุ่งเพื่อรักษา สันติภาพและประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้เกิดความมั่นคง โดยมีบทบาทที่สำคัญดังนี้ 1.ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและรักษาความมั่นคงร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับกองกำลังรักษาสันติภาพ ทำหน้าที่รักษาสันติภาพในบริเวณพื้นที่ที่มีข้อพิพาท 2. ยุติกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี โดยวิธีการทางการทูต การไกล่เกลี่ย การเจรจาและการประนีประนอม 3. สนับสนุนใหดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราชปกครองตนเอง ด้วยหลักการกำหนดโดยตนเอง 4. สนับสนุนการลดกำลังอาวุธและการควบคุมอาวุธ การห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงร่วมกัน

:: ให้นักเรียน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าองค์การระหว่างประเทศในปัจจุบันมีองค์กรใดบ้าง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยตัวอย่างมีอย่างน้อย 1 องค์การ พร้อมทั้งบอกบทบาท หน้าที่ขององค์การดังกล่าวมาพอสังเขป ::

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 พ.ย. 2565

| 25,330 view

  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 : การประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีส (The Paris Peace Conference) เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติ
  • 28 มิถุนายน 2462 (ค.ศ. 1919) : สันนิบาตชาติ (The League of Nations : LN)
  • สมาชิกก่อตั้ง : 42 ประเทศ
  • สำนักงานใหญ่ : นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต
  • 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ.1945) : สหประชาชาติ (United Nations : UN)
  • ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ
  • ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ
  • กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter)
    • มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • มีผลบังคับใช้หลังจากที่ประเทศจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่นๆ จำนวน 46 ประเทศ ให้สัตยาบัน
  • การประชุมสมัชชาฯ ครั้งแรก : กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (10 ม.ค. 2489)
  • สำนักงานใหญ่ : นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาศ
  • สมาชิก : 193 ประเทศ (ประเทศสมาชิกล่าสุด คือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน – 9 ก.ค. 2554)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
  2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง
  3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริม/สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
  4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน

PREAMBLE

“WE THE PEOPLES OF THE UNITED NATIONS DETERMINED … to save succeeding generations from the scourge of war, which twice in our lifetime has brought untold sorrow to mankind”

หลักการสำคัญของสหประชาชาติ

  1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย: ทุกรัฐมีความเสมอภาคกันในอำนาจอธิปไตย ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจึงมีสิทธีเสียงเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก
  2. หลักความมั่นคงร่วมกัน: ประเทศสมาชิกต้องรวมกำลังกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยต้องยอมรับและปฏิบัติตามข้อผูกพันตามกฎบัตร โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ
  3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ: กฎบัตรให้ความรับผิดชอบพิเศษแก่มหาอำนาจ 5 ประเทศเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ และให้สิทธิยับยั้ง (Veto)
  4. หลักการไม่ใช้กำลังและการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี: เพื่อจำกัดความขัดแย้งทั้งหลายให้อยู่ในขอบเขต ไม่กระทบสันติภาพโดยส่วนรวม
  5. หลักความเป็นสากลขององค์กร: เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง และให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพึงปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาสันติภาพ
  6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน: ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรที่ให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้าแทรกแซงกิจการที่อยู่ในเขตอำนาจภายในของรัฐ

องค์การระหว่างประเทศหมายถึงอะไร

องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ 2. ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ มีอะไรบ้าง

เรื่อง ประวัติความเป็นมาและ บทบาทขององค์การระหว่าง ประเทศด้านเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ (IMF) สมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN) องค์การการค้าโลก (WTO) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย -แปซิฟิก (APEC)

องค์การระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างไร

บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ คือ ช่วยวางระเบียบวาระในระดับสากล เป็นตัวกลางในการเจรจาทางการเมือง จัดให้มีพื้นที่สำหรับการริเริ่มทางการเมือง และกระตุ้นการสร้างพันธมิตร ตลอดจนกำหนดประเด็นโดดเด่นต่าง ๆ เพื่อช่วยให้รัฐบาลกำหนดลำดับความสำคัญ

องค์การระหว่างประเทศมีลักษณะอย่างไร

องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำ และมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิก การเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่แน่นอน