Input output process คืออะไร

            ทางแก้เมื่อเกิดความไม่สมดุลเช่นนี้ แก้ง่ายๆ ก็คือ ทำให้มันสมดุล ถ้า Input เยอะ Output น้อย ก็ลด Input ลง เพิ่ม Output เช่น ลดการดูสื่อต่างๆ สำรวมอายตนะ สำรวมการรับรู้ เพิ่มการกระทำ อาจจะเริ่มจากสิ่งใกล้ๆตัวที่เราทำได้ คือ การเขียนบันทึกประจำวัน การจัดข้าวของ การทำตารางกิจกรรม และการลองทำ ทำไปอย่างเต็มที่ เพื่อพิสูจน์สิ่งที่เรารู้ โดยไม่ต้องกังวลล่วงหน้า เพียงแค่ทำให้เต็มที่ที่สุด

กระบวนการผลิต (Production process) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input), กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด
  2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขึ้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่
    • รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน
    • สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า
    • การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง
    • การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร
    • จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ
  3. ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service)

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related Posts

  • ความแตกต่างระหว่าง ระบบการผลิต (Manufacturing System) กับ กระบวนการผลิต (Production Process)
  • โซ่อุปทาน หรือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คืออะไร ?
  • ซิกส์ซิกมา (Six Sigma) คืออะไร ?
  • การควบคุมสินค้าคงเหลือ (Just-in-time Inventory and Manufacturing) คืออะไร ?


614181009-การฝึกอบรมปฏิบัติการ ระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT) Smart Farm เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา (STEM Education) ตอบสนอง Thailand 4.0
  • (1) ระบบสมองกลฝังตัว และกระบวนการเชิงระบบ 2

    • Lecture1.1

      1.1 สมองกลฝังตัวคืออะไร

    • Lecture1.2

      1.2 กระบวนการเชิงระบบ (Input – Process – Output)

  • (2) Internet of Things for beginner 1

    • Lecture2.1

      เอกสารประกอบการบรรยาย IoT for beginner

  • (3) Devices & Software 4

    • Lecture3.1

      3.1 ชุดฝึกการเรียนรู้ สมองกลฝังตัวและไอโอที (IoT Learning Board )

    • Lecture3.2

      3.2 Arduino คืออะไร

    • Lecture3.3

      3.3 ติดตั้ง Arduino IDE

    • Lecture3.4

      3.4 ทำให้ Arduino IDE มองเห็นบอร์ดเรียนรู้

  • (4) Digital และ Analog 2

    • Lecture4.1

      4.1 ดิจิทัล (Digital)

    • Lecture4.2

      4.2 แอนะล็อก (Analog)

  • Old website http://realitlimited.com:58008/wp/ 0

    No items in this section

  • LAB Code 0

    No items in this section

1.2 กระบวนการเชิงระบบ (Input – Process – Output)

Input output process คืออะไร

 

  1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
  2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
  3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output)  หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน      หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

 

Input output process คืออะไร

บางระบบ เรานำ Output มาปรับปรุง แล้วย้อนกลับประกอบเป็น Input เพื่อให้ได้ Output ใหม่ ที่ใกล้ความต้องการมากขึ้น

วิธีระบบ ( System Approach)
       ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น
       ระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
       1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
       2. กระบวนการ ( Process)
       3. ผลผลิต ( Output )
       4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ

Input output process คืออะไร

       วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
       1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
       2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
       3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
       4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
       5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
       6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน

องค์ประกอบของระบบ
       ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

Input output process คืออะไร

 

      1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น  ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลมอากาศ เป็นต้น
     2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
     3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น
    ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis )
       การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
      ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
              1. ปัญหา (Identify Problem)
              2.จุดมุ่งหมาย (Objectives)
              3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints)
              4. ทางเลือก (Alternatives)
              5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
              6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
              7. การประเมินผล (Evaluation)
              8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)

      ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
              ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข
              ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
              ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
              ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง
และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
              ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
              ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้นการทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
              ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
              ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติหรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ลักษณะของระบบที่ดี
       ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency) และมีความยั่งยืน(sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
       1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
       2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
       3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
       4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
      ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
              ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ โลกรอบ ๆตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ
ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง
มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
      ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอการรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ 

      มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )
              ลักษณะที่ดีของระบบ คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่
ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้นโดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด

ระบบเปิดและระบบปิด
  ระบบเปิด ( Open System ) คือ ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ ไป เช่น ระบบสังคม ระบบการศึกษา ระบบหายใจ ฯลฯ
   ระบบปิด ( Close System ) คือ ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมากแต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัวภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิด เนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น "ผู้ให้" เท่านั้น

วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอน ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
       1. การประเมินความจำเป็น
       2. การเลือกทางแก้ปัญหา
       3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
       4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
       5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
       6. การลำดับขั้นตอนของการสอน
       7. การเลือกสื่อ
       8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
       9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
       10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
       11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก 

      ขอบคุณเว็บ : http://sites.google.com/site/supoldee/supoldee/snthes-na-ru-wan-khea-phrrsa/rabb-laea-withi-rabb

อะไรคือ Input Process Output

1. ตัวป้อน (input) ได้แก่ ทรัพยากร หรือข้อมูลนำเข้า 2. กระบวนการเนินงาน (process) ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต 3. ผลผลิต (output) ได้แก่ จุดหมายปลายทางของการดำเนินการ

องค์ประกอบ input process output ในโรงเรียนคืออะไร

1.input คือ ผู้บริหาร ,งบประมาณ, นักเรียน 2.process คือ ระบบการจัดการเรียนการสอน ,การติดตามตรวจสอบ ,ระบบช่วยเหลือมุ่งเพื่อให้เด็ฏได้คุณภาพ 3.output คือ นักเรียนจบการศึกษา 4.feedback คือ มีปัญหาตรงไหนแก้ที่ตรงนั้น

ปัจจัยนำเข้ามีอะไรบ้าง

1. ปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ ด้าน ได้แก่ บุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Materials) การบริหารจัดการ (Management) และแรงจูงใจ (Motivations) ที่เป็นส่วนร่วมเริ่มต้น และเป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติงานขององค์กร

Input ในระบบการเรียนการสอนคืออะไร

ตัวป้อน (Input) หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ กระบวนการ (process) หมายถึง การจัดกระทากับองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลผลิต ตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้