การเลือกกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

กิจกรรมทางกาย และคำแนะนำสำหรับการมีกิจกรรมทางกายในช่วงอายุต่างๆ

กุมภาพันธ์ 22, 2013 บทความ, บทความทั่วไป 25,557 Views

Share

  • Facebook
  • Twitter
  • Google +
  • Stumbleupon
  • LinkedIn
  • Pinterest

กิจกรรมทางกาย

          กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายโดยกล้ามเนื้อและกระดูกที่ทำให้เกิดการเผาพลาญพลังงาน

(องค์การอนามัยโลก 2553)

การเลือกกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

ภาพโดย Siamzone.com

              กิจกรรมทางกายครอบคลุมการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันและในสายอาชีพ การทำกิจกรรมในเวลาว่าง ซึ่งรวมถึงการออกกำลังกาย

การเล่นกีฬา การทำกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์โลกด้านการลดน้ำหนัก กิจกรรมทางกาย และสุขภาพ (Global Strategy on diet,

Physical Activity and health, WHO, 2547) มีข้อเสนอเพื่อเป็นทางเลือกของการทำกิจกรรมทางกาย ดังนี้

1. การดำเนินชีวิตประจำวันที่กระฉับกระเฉง (Active living) เป็นกิจกรรมที่ใช้แรงกายน้อยที่สุด ออกแรงเบาๆ อาจจะต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ได้ เช่น การเดิน การลุก-นั่ง

2. กิจกรรมเพื่อสุขภาพ (Activity for health) เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้แรงปานกลาง (moderate-intensity aerobic physical activities) โดยต้องออกแรงต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที เช่น การเดิน-วิ่งอย่างน้อย 30 นาที การขี่จักรยาน การเต้นรำ

3. การออกกำลังกายเพื่อสร้างสมรรถภาพทางกาย (Exercise for fitness) เป็นกิจกรรมระดับปานกลางถึงหนัก (Moderate to vigorous-intensity physical activities) โดยทำกิจกรรมอย่างน้อยครั้งละ 20 นาที 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เช่น การยกน้ำหนัก การวิ่ง

4. การฝึกเพื่อเป็นนักกีฬา (Training for sports) เป็นกิจกรรมการฝึกโดยใช้แรงระดับหนักมาก (Vigorous-intensity activities) สำหรับนักกีฬา โดยทำการฝึกทุกวันในหนึ่งสัปดาห์

คำแนะนำสำหรับการมีกิจกรรมทางกายในช่วงอายุต่างๆ

          1.1 เด็กและเยาวชน (อายุ 5 – 17 ปี)

          วัยนี้ควรมีกิจกรรมทางกายที่ออกแรงระดับปานกลางถึงหนักทุกวันเป็นประจำอย่างน้อย 60 นาที/ครั้ง กิจกรรมส่วนใหญ่ควรเป็นประเภทแอโรบิค

และควรมีกิจกรรมที่ออกแรงอย่างหนัก ทำควบคู่ไปพร้อมกันอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์

            1.2 ผู้ใหญ่ (อายุ 18-64 ปี)

            วัยนี้ควรมีกิจกรรมทางกายที่ออกแรงระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์  หรือ 75 นาที/สัปดาห์ ของกิจกรรมที่ออกแรงอย่างหนัก

หรืออาจจะใช้วิธีการผสมผสานทั้งกิจกรรมออกแรงปานกลางและหนัก ในเวลาเท่าๆกันได้ โดยควรมีกิจกรรมในลักษณะแอโรบิคร่วมด้วยอย่างน้อย

ครั้งละ 10 นาที และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ ควรเพิ่มระดับการทำกิจกรรมในระดับปานกลาง 300 นาที/สัปดาห์ หรือ

150 นาที/ สัปดาห์ ของการออกแรงอย่างหนัก สำหรับกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การยกน้ำหนัก ควรจะทำ 2 – 3 วันต่อ

สัปดาห์ ก็เพียงพอ  

            1.3 ผู้สูงอายุ (65 ปี ขึ้นไป)

            วัยนี้สามารถมีกิจกรรมทางกายเหมือนกับวัยผู้ใหญ่ในช่วงอายุ 18-64 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ควรมีกิจกรรมเพิ่มความ

สมดุลของร่างกาย เช่นฝึกการเดินทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม 2 – 3 วันต่อสัปดาห์กิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ควรทำ 2 – 3

วันต่อสัปดาห์ ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำตามข้อแนะนำดังกล่าวได้นั้น ควรจะทำกิจกรรมทางกายตามศักยภาพและเงื่อนไขของร่างกายเท่าที่จะ

นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนตามความสนใจ ความถนัดเพื่อนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนและสังคม กิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนที่น่าสนใจ มีดังนี้

  1. เต้นรำ ฟ้อนรำและกิจกรรมเข้าจังหวะ
  • เต้นลำลีลาศเป็นกิจกรรมที่นิยมทุกเพศ ทุกวัย จัดขึ้นในงานรื่นเริงต่างๆ
  • ฟ้อนรำเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงลักษณะความประณีต สวยงามและอ่อนช้อย แสดงถึงความเป็นอยู่เครื่องแต่งกายละศิลปะประจำท้องถิ่นนั้น เช่นฟ้อนเล็บเชิ้ง รำกลองยาว
  • กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดนตรี เสียงเพลงหรือจังหวะต่างๆ ให้เข้ากับอัตราความเร็วหรือความช้าของโน้ตในรูปแบบต่างๆ การเต้นรำ ฟ้อนรำ และกิจกรรมเข้าจังหวะให้ความสนุกสนาน ช่วยผ่อนคลายความเครียดของร่างกายและอารมณ์

รอบรู้อาเซียน

การเต้นเป็นพลังอันแข็งแกร่งในวัฒนธรรมประเทศฟิลิปปินส์ มีการจัดตั้งคณะบัลเลย์ขนาดใหญ่และขนาดศิลป์พื้นบ้านแห่งชาติ คือ บายานิฮัน เนชันแนล โฟส์กดานซ์ (Bayanihan National Folk Dance) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลกศิลปะการเต้นต่างๆ จึงเป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์ และมีการเปิดสอนในหลักสูตรระดับโรงเรียน และมหาวิทลัยด้วย

        2. ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ

      ศิลปหัตถกรรมและการฝีมือ เป็นกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมต้องใช้มือประกอบกิจกรรมทำขึ้นในยามว่างและไม่ประกอบอาชีพ เป็นกิจกรรมนันทนาการที่แสดงออกถึงความสามารถพิเศษทางศิลปะงานประดิษฐ์และหัตถกรรมมีความละเอียดอ่อน ใช้ทักษะความคิด ความสามารถในหารทำงานและพัฒนาไปสู่ทักษะงานอาชีพ เช่น แกะสลัก งานประดิษฐ์ งานปั้น งานพิมพ์ งานปักถักร้อย ศิลปะการตกแต่งบ้าน

          3. กิจกรรมอาสาสมัคร

อาสาสมัคร หมายถึง ผู้ที่งานด้วยความเต็มใจ ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน เป็นการให้เปล่าไม่คิดเงินและค่าตอบแทนใดๆ  เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ เช่น อาสาสมัครของภาชาดไทย อาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยในทุกๆด้านรวมทั้งผู้เดือดร้อนทุกข์ยากด้านอื่น

จุดประกายความรู้

สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อใด

คำตอบ: สภาชาดไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในสมัยราชกาลที่ ๕ เดิมเรียกว่า สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม

         4. กิจกรรมนอกเมือง

กิจกรรมนอกเมืองหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักธรรมชาติได้ไกล้ชิดธรรมชาติได้พักผ่อนย่อนใจไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ธรรมชาติกิจกรรมนอกเมืองยังการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมนอกเมืองที่นักเรียนสามารถเลือกเข้ากิจกรรมโดยทั่วไปได้ดังนี้

  1.   การท่องเที่ยวทัศนศึกษาหรือทัศนาจร การเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุวนอุทยานสวนสาธารณะน้ำตกชายทะเล
  2. กิจกรรมที่ท้าทายความสามรถ เช่น การไต่ยอดเขา การผจญภัยในป่าที่ไม่ได้พัฒนาซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถ
  3. การดูนก ส่องสัตว์ต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ได้พักผ่อนกับธรรมชาติ รู้จักสัตว์ต่างๆ หลากหลายชนิด
  4. การอยู่ค่ายพักแรม การใช้ชีวิตอยู่ค่ายพักแรมเป็นการฝึกให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดีมีความอดทน รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ เคารพในสิทธิผู้อื่น ได้เรียนรู้ถึงธรรมชาติกิจกรรมของชาวค่ายต้องปฏิบัติด้วยกันมากมาย เช่น การเดินทางไกล การปลูกป่า การกีฬาบางชนิด รวมทั้งกิจกรรมอาสาพัฒนา
  5. การเดินทางไกล ทำให้สมาชิกเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยเหลือกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยสร้างความอดทนโดยอาศัยความสวยงามตามธรรมชาติเป็นสิ่งจูงใจ การเดินทางไกลมักจะเป็นกิจกรรมหนึ่งของการอยู่ค่ายพักแรมบางประเภท
  6. การเลือกกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

การนำกิจนันทนาการไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม

กิจกรรมนันทนาการมีความสำคัญต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งนักเรียนสามารถนำหลักการและแนวคิดของกิจกรรมนันทนาการไปปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ดังนี้

การเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

การเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอกโรงเรียนให้เกิดผลดีมีหลักการดังนี้ ความรู้ และความสามารถความถนัดตนเอง ควนเลือกเข้ากิจกรรมที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดของตนเอง เพราะทำให้สามารถประกอบกิจกรรมนั้นได้เต็มที่ เกิดความพึงพอใจและไม่เบื่อหน่าย

กิจกรรมสันทนาการ มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างกิจกรรมนันทนาการ.
การเต้นรำ.
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม.
การล่าสัตว์และการตกปลา.
การท่องเที่ยว.
เล่นอินเทอร์เน็ต.
อ่านหนังสือ.
เขียนนิยายหรือเรื่องสั้น (ในกรณีที่เขียนโดยไม่ได้ตั้งใจจะนำไปจัดพิมพ์).
การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย.

ประเภทของกิจกรรมนันทนาการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ สร้างความสนุกสนาน บางกิจกรรมอาจจะมีทั้งการร้องเพลงและเต้น ไปพร้อม ๆ กัน เช่น เต้นบัลเล่ต์ Hip Hop B-Boy รำาไทย ลีลาศ ระบำาพื้นเมือง โมเดิร์นแด๊นซ์ และนาฏศิลป์อื่น ๆ

กิจกรรมนันทนาการมีความสําคัญอย่างไร

กิจกรรมนันทนาการจะช่วยส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และสังคม เพราะกิจกรรมนันทนาการ เป็นการช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและ สมรรถภาพทางกายและจิตใจ นอกจาก นี้ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ประชากรทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ยากจน แออัด มั่งมี กลุ่มบุคคลพิเศษ