งบดุลส่วนบุคคลได้แก่อะไรบ้าง

💲งบการเงินส่วนบุคคล

งบดุลส่วนบุคคลได้แก่อะไรบ้าง

รายการที่จะแสดงข้อมูลทางการเงินของเรา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกหรือสะท้อนว่าการเงินของเราเป็นอย่างไร มีสภาพคล่องและความมั่งคั่งเป็นอย่างไร

👉โดยการแสดงข้อมูลสำคัญทางการเงิน หรือ “งบการเงินส่วนบุคคล” แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. งบรายรับ-รายจ่าย คือ รายการทางการเงินที่บอกถึง “สภาพคล่อง” ของแต่ละบุคคล

▪️รายรับ – เงินออม - ค่าใช้จ่าย = เงินคงเหลือ

▪️เงินคงเหลือ = “สภาพคล่อง”

= ซึ่งอธิบายการไหลเข้าออกของเงิน ว่าได้รับมาจากช่องทางใดบ้าง และจ่ายออกไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน

2. งบแสดงฐานะทางการเงิน จะบอกถึงระดับของความมั่งคั่งผ่านรายการ “ทรัพย์สิน” และ “หนี้สิน” ที่เจ้าของงบการเงินถือครองอยู่

▪️ทรัพย์สิน – หนี้สิน = ความมั่งคั่ง

ในแต่ละปี เรามีรายได้มากขึ้นหรือลดลง ดูได้จากงบแสดงฐานะทางการเงิน

🌟ทรัพย์สินสุทธิ (ความมั่งคั่งสุทธิ) = มูลค่าทรัพย์สินรวม - หนี้คงค้างรวม

.

.

➡️หากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชีออนไลน์

หรือตัวช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ AccRevo สามารถช่วยคุณได้

🔶ง่าย ครบ จบ ! เรื่องการทำบัญชี

.

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ

 วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัล

ที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : https://page.line.me/accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

งบดุลส่วนบุคคลได้แก่อะไรบ้าง

แม้ว่าการไม่มีหนี้ถือเป็นลาภอันประเสริฐ แต่การมีเงินออม และสามารถนำไปลงทุนให้งอกเงยได้ จะยิ่งทำให้บุคคลนั้น ๆ มีอิสรภาพทางการเงินมากยิ่งขึ้น ซึ่ง “งบการเงินส่วนบุคคล” จะช่วยให้เราตรวจเช็กสุขภาพทางการเงินส่วนบุคคลได้ว่ามีสภาพคล่องหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการเงินอย่างถูกต้อง

งบการเงินส่วนบุคคลคืออะไร?

“งบการเงินส่วนบุคคล” (Personal Financial Statements) คือการตรวจสอบสถานะทางการเงินของตนเอง เพื่อจะได้รู้ว่าเรามีหนี้สินมากกว่ารายได้ หรือมีเงินเหลือมากพอที่จะนำไปต่อยอดได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ้างนักบัญชีมาทำให้แต่อย่างใด 

โดยงบการเงินส่วนบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่  “งบดุลส่วนบุคคล” ที่จะคำนวณได้ว่าเรามีทรัพย์สินหรือหนี้สินมากกว่ากัน และ “งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล” ที่เป็นการสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายของเรา ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ประเมินความมั่งคั่งจาก “งบดุลส่วนบุคคล”

งบดุลส่วนบุคคล (Personal Balance Sheet) เป็นการประเมินความมั่งคั่งทางการเงินของแต่ละบุคคล ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการวางแผนการเงิน เพราะช่วยให้เราประเมินความมั่งคั่งทางการเงินในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนทางการเงินให้เป็นไปอย่างเหมาะสมได้

โดยมีสูตรคำนวณ  สินทรัพย์ – หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ นั่นหมายความว่า เราต้องรู้ก่อนว่ามีสินทรัพย์เท่าใด และมีหนี้สินเท่าใด เพื่อจะได้คำนวณออกมาเป็นความมั่งคั่งได้

สินทรัพย์ คือ รายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เราเป็นเจ้าของ ซึ่งต้องบันทึกมูลค่าตามราคาตลาดที่ยุติธรรมด้วย โดยสินทรัพย์ประกอบด้วย

  • สินทรัพย์สภาพคล่อง เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต อาทิ เงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนระยะสั้น
  • สินทรัพย์ส่วนตัว เพื่อการใช้งาน อาทิ บ้าน ที่อยู่อาศัย รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ เครื่องประดับ
  • สินทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนเป็นตัวเงิน อาทิ พันธบัตร กองทุนรวม หุ้น ที่ดิน ทองคำ

หนี้สิน คือ รายการกู้ยืมที่มีพันธะสัญญาต้องชำระคืนในอนาคต ประกอบด้วย

  • หนี้สินระยะสั้น คือหนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี อาทิ หนี้บัตรเครดิต
  • หนี้สินระยะยาว คือหนี้สินที่ต้องใช้เวลาผ่อนชำระเกิน 1 ปี อาทิ สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์

หากนำมาคำนวณแล้วก็จะประเมินความมั่งคั่งสุทธิของตัวเองได้ ยิ่งทรัพย์สินสุทธิมีมูลค่ามากเท่าใด ก็มีโอกาสจะสร้างความมั่งคั่งได้มากเท่านั้น แต่ก็ต้องวิเคราะห์เพิ่มเติมด้วยเช่นกันว่าทรัพย์สินที่มีอยู่นั้น มีโอกาสสร้างรายได้ได้มากน้อยเพียงใด และเราสามารถทำงานหารายได้ได้มากน้อยเพียงใด

วางแผนการใช้จ่ายจาก “งบรายได้และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล”

งบรายได้และค่าใช่จ่ายส่วนบุคคล (Personal Income and Expense Statement) คือรายงานสรุปรายได้และค่าใช้จ่ายของเรา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้เราสามารถนำมาปรับปรุงพฤติกรรมการใช้เงิน และการวางแผนการใช้จ่ายสำหรับอนาคตได้

โดยมีสูตรคำนวณ รายได้ – รายจ่าย = เงินเกิน (รายได้มากกว่ารายจ่าย) หรือเงินขาด (รายได้น้อยกว่ารายจ่าย) ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าอนาคตทางการเงินของเราจะเป็นเช่นไร และเป็นการคาดการณ์การใช้จ่ายในอนาคตได้ด้วย

รายได้ หมายถึง รายได้ส่วนบุคคลที่มาจากช่องทางต่าง ๆ อาทิ จากงานประจำ งานเสริม ดอกผลจากการลงทุน บำเหน็จ บำนาญ และสวัสดิการต่าง ๆ 

รายจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือจำนวนเงินสดที่ใช้จ่ายออกไป เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ การใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิตประจำวัน  การใช้เพื่อซื้อทรัพย์สิน การใช้จ่ายค่าภาษี ชำระหนี้สินต่าง ๆ

  • ค่าใช้จ่ายคงที่ หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเท่ากันทุกงวด เป็นจำนวนที่แน่อนน อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันภัย
  • ค่าใช้จ่ายผันแปร หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่คงที่แน่นอน ผันแปรไปตามเหตุการณ์ความจำเป็น อาทิ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื้อผ้า
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน อาทิ เงินออม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

หากนำมาคำนวณแล้วจะทำให้เห็นว่ามีสภาพคล่องทางการเงินมากน้อยเพียงใด หากมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ก็จำเป็นต้องหาวางแผนการใช้จ่ายใหม่ ด้วยการหาวิธีแก้หนี้ หารายได้เพิ่ม หรือปรับพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง เพื่อทำให้รายจ่ายลดลง

ทั้งนี้ เราควรจะมีสัดส่วนการออมออมและลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองในอนาคต ซึ่งการที่จะไปถึงจุดนั้นได้ ก็จำเป็นต้องค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปรลงให้ได้เสียก่อน

งบการเงินส่วนบุคคลสำคัญอย่างไร?

การทำงบการเงินส่วนบุคคลจะทำให้เห็นพฤติกรรมการใช้เงินที่แท้จริงของเราว่าส่งผลให้เกิดการก่อหนี้หรือการออมมากกว่ากัน และช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงิน ของตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ ยังทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ซึ่งหากลดภาระหนี้สินลงได้จากการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย และหารายได้เพิ่มมากกว่ารับรายได้ทางเดียวจากงานประจำ ก็จะเริ่มมีเงินเก็บออมมากขึ้น แต่จะได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่จำเป็นต้องมีวินัยเป็นสำคัญ เพื่อที่จะได้มีเงินเหลือมากพอสำหรับการลงทุนเพื่อดอกผลที่งอกเงยในอนาคตนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูล : กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย