อะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

แม้จะไม่ถึงขั้นต้องยึดถือศีล 5 เป็นหลักในการดำรงชีวิตอยู่ทุกวัน แต่ก็พอจะรู้ว่า วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธประกอบด้วยวันอะไรบ้าง และถ้าหากมีโอกาสจะไปทำบุญและร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์จะเอื้ออำนวย

ยิ่งปีนี้พิเศษกว่าทุกปี รัฐบาลของ นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เขามีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ว่า ถ้าหากเดือนไหนมีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน และบังเอิญมีวันทำงานคั่นอยู่ ก็กำหนดให้วันนั้นเป็นวันหยุดรวมไปเลย เหตุผลเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก็เท่ากับว่าปีนี้คนทำงานอยู่ในระบบราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะมีวันหยุดติดต่อกันรวมเสาร์-อาทิตย์ 5 วัน คือตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. ไปสิ้นสุดวันที่ 8 ก.ค.

นี้ล่ะครับทำให้ผมเป็นห่วงว่า บางคนจะจัดตารางในการท่องเที่ยวจนลืมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ยิ่งเดี๋ยวนี้เวลาไปถามพวกเด็ก และเยาวชนบางคน เห็นอาการแล้วตกใจ เพราะตอบง่าย ๆ ว่า หนูรู้จักแต่วัน วาเลนและ วันฮัลโลวีน

พอถามว่า วันอาสาฬหบูชา วิสาขบูชา มาฆบูชา เข้าพรรษา มีความหมายเป็นอย่างไร หลายคนตอบแบบอึก ๆ อัก ๆ วันนี้เลยขออนุญาตนำรายละเอียดของวันสำคัญทางศาสนาซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 7 และ 8 ก.ค. มาขยายให้รับทราบกันอีกครั้งหนึ่ง

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8 เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก)

เนื้อหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรก ที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่ประกาศให้มี วันอาสาฬหบูชา และถือปฏิบัติมาจน กระทั่งปัจจุบัน

สำหรับ วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น

เข้าพรรษา แปลว่า พัก หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่า ไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือนในฤดูฝนคือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ผมเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าหากประชาชนทุกสาขาอาชีพ มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว รับรองได้เลยว่าความวุ่นวาย ไม่เกิดแน่.

เรื่องนี้เริ่มต้นจากที่คลิปวิดีโอโฆษณาประชาสัมพันธ์หลักสูตรแนว “ปลดล็อกชีวิต พิชิตกรรมเก่า” ของวิทยากรและนักเขียนชื่อดังถูกส่งต่อกระจายกลายเป็นไวรัล

Advertisment

ด้วยความ “แปลกตา” แบบ “ไปสุดทาง” ของภาพและเสียงที่แสดงบรรยากาศของการอบรมในหลักสูตรนั้น ประกอบกับเรื่องราวตัวตนของวิทยากรผู้จัด ผสมด้วยท่าทีทั้งตอบรับและปฏิเสธ และ “ดราม่า” ของผู้คนที่ปรากฏตัวในคลิปวิดีโอ เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้ชาวเน็ตและสื่อมวลชนไปสืบค้นลากดึงเอาเรื่องของการจัดอบรมหรือสัมมนาของวิทยากรท่านนั้นออกมานำเสนอและวิพากษ์วิจารณ์กันในทุกแง่มุม

ทุกแง่มุมนั้นก็เป็นเหตุให้คำว่า “การโค้ช” และ “โค้ชชีวิต” ถูกนำขึ้นมาเป็นที่สนใจตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไปด้วยพร้อมกัน

Advertisement

“โค้ชชีวิต” คืออะไร อธิบายได้ว่า คือแนวคิดที่เชื่อว่าบุคคลสามารถประสบความสำเร็จ แก้ปัญหาชีวิต หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เป็นคนละคนไปเลยก็ได้ หากสามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวของเขาออกมาให้ได้เต็มที่ รวมถึงการปลดล็อกคลายปมในจิตใจที่ขัดขวางความสำเร็จ ผ่านการให้คำแนะนำจากบุคคลที่รู้เทคนิควิธีการดังกล่าวที่เรียกว่า “โค้ชชีวิต” (Life Coach) ซึ่งเป็น “ศาสตร์” ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันเป็นระบบ มีการสอบใบอนุญาตเป็นโค้ชชีวิตกันในระดับสากล

ส่วนวิธีการโค้ชนั้นจะเป็นการให้ผู้เข้ารับการโค้ชนั้นสะท้อนตัวตนออกมาผ่านวิธีการทางจิตวิทยาที่โค้ชชีวิตจะใช้วิธีการตั้งคำถามเพื่อค้นหาตัวตนของผู้เข้ารับการโค้ช เมื่อผู้มาโค้ชได้รับคำตอบถึงตัวตนของตัวเองแล้ว ก็จะนำไปสู่วิธีการเยียวยาบำบัดหรือการดึงพลังและศักยภาพของตัวผู้เข้ารับการโค้ชนั้นออกมา

หลักการที่เป็นเหมือนหัวใจของกระบวนการนี้มีอยู่ว่า “ถ้าคุณเปลี่ยนแปลงตัวตนภายในของคุณได้ โลกภายนอกก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน”

Advertisement

เครื่องมือสำคัญที่นิยมใช้กันในการโค้ชก็ได้แก่ การสื่อสารกับระบบประสาท หรือ NLP (Neuro-Linguistic Programming) อธิบายง่ายๆ ก็คือการสื่อสารกับตัวเองถึงระดับจิตใต้สำนึกเพื่อใส่โปรแกรมจิตของเราใหม่ว่า เราเป็นคนที่เก่ง ประสบความสำเร็จ มีความสุข มีความมั่งคั่ง มีครอบครัวที่อบอุ่น มีคนที่รัก ซึ่งแนวคิด
นี้ก็ไปกันได้กับหลักการ “กฎของแรงดึงดูด” (Law of Attraction) และการ “คิดบวก” ที่เชื่อว่าคนเราจะได้รับหรือเป็นไปตาม “ความคิด” หรือ “ความคาดหวัง” ของเราเอง เช่น ถ้าเราคิดถึงความร่ำรวยหรือเงินทอง ความคิดนั้นก็จะดึงดูดเงินทองและความร่ำรวยมาให้เรา ซึ่งแนวคิดแบบนี้ในบางสำนักนั้นไปไกลถึงขนาดเชื่อว่าความคิดของคนเรานั้นเชื่อมต่อกับ “จักรวาล” “พระเจ้า” “โชคชะตา” หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งสุดแต่จะเรียกที่มีอำนาจเหนือเรา สามารถประทานสิ่งต่างๆ ให้เป็นจริงได้ตามความคิดของเรา

นอกจากนี้ สำหรับบางคนที่มี “ความคิดลบ” หรือ “ปมชีวิต” บางอย่างมาขัดขวางการดึงพลังหรือศักยภาพ ผู้เป็นโค้ชก็จำเป็นจะต้องทำการ “ล้าง” พลังลบและคลายปมเหล่านั้นก่อน ด้วยพิธีกรรมที่เรียกว่าการ “ทรานซ์” (Trance) ด้วยวิธีการที่คล้ายการสะกดจิตให้เข้าสู่ภาวะดำดิ่ง เพื่อการค้นหาและสำรวจปมปัญหาที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ อันเป็นต้นเหตุแท้จริงที่คอยรบกวนการมีความสุขในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าต้นตอของคนส่วนใหญ่มาจากบาดแผลของการเลี้ยงดูโดยพ่อแม่ในวัยเยาว์ หลักสูตรเหล่านี้จึงมักจะมีกระบวนการที่จะทำให้ผู้เข้าสัมมนาหรือรับการโค้ชนั้นปลดปล่อยบาดแผลนั้นด้วยการให้อภัยกับพ่อแม่ของตัวเองเพื่อนำไปสู่การปลดล็อกปมปัญหาในชีวิตด้วย

ภาพบางส่วนในคลิปวิดีโอที่เป็นกระแสกล่าวขวัญ เช่น อากัปกิริยาของคนที่ร้องไห้ตัวสั่นตัวโยนที่ได้เห็นกัน ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ “ทรานซ์” ที่ว่านี้เอง และภาพที่แสดงให้เห็นหมู่ผู้คนที่กระโดดโลดเต้นอย่างแสดงถึงความสุขที่ดูล้นเกินระดับของผู้คนทั่วไปนั้น ก็คือการปลุกใจตัวเองหลังจากการปลดล็อกตัวเองจากอดีตที่ขมขื่นได้แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการนำโปรแกรมสิ่งใหม่ลงไปในจิตใต้สำนึกว่า เราเป็นคนใหม่ที่ประสบความสำเร็จและกำลังจะมีความสุขความมั่งคั่ง

ต้องยอมรับว่าการนำภาพระหว่างประกอบ “พิธีกรรม” ในการทรานซ์ก็ดี การปลุกพลังบวกตัวเองก็ตาม ออกมาเผยแพร่ต่อสื่อสาธารณะนั้นเป็นดาบสองคม ด้วยว่ามันเป็นกิริยาสภาวะที่ออกจะดู “แปลกตา” สำหรับคนทั่วไปให้ชวนนึกขยาดหวาดระแวงว่าเหมือนการสะกดจิตหรือสร้างอุปาทานหมู่ ประกอบกับสนนราคาค่าใช้จ่ายในการพาตัวเข้าไปรับ “บริการ” นั้นก็สูงอยู่ในระดับหลักหมื่น อัตราเฉลี่ยของการไปเข้าสัมมนาแบบเป็นหมู่คณะกับโค้ชหรือวิทยากรผู้มีชื่อเสียง อยู่ที่ประมาณสองหมื่นถึงห้าหมื่นบาท แต่ถ้าจะ “โค้ช” แบบตัวต่อตัว ก็มีอัตราว่ากันตั้งแต่ห้าหมื่นถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว

ประเด็นเรื่องราคาค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนภายนอกที่ไม่เลื่อมใสอยู่แล้ว ยิ่งมองไปในทางว่า แท้แล้วการโค้ชหรือการสัมมนาแบบนี้เป็นการหาประโยชน์แบบง่ายๆ จากคน “จิตอ่อน” ที่มีปัญหาในชีวิตหรือไม่

กลายเป็นว่าคนเข้ารับการโค้ชหรือเข้าอบรมนั้นจะร่ำรวย มีความสุข ประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น
ยังไม่รู้ ที่แน่ๆ โค้ชหรือวิทยากรนั้นร่ำรวยนำหน้าไปก่อนแล้ว

ถ้ามองอย่างพยายามทำความเข้าใจ การไปรับการโค้ชก็เป็นเหมือนการบำบัดทางจิตส่วนบุคคลด้วยวิธีการแบบหนึ่ง ที่มีทั้งส่วนที่เป็น “ศาสตร์” และส่วนที่เป็นความเชื่อซึ่งยังไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลสามัญ เช่น หลักการ NLP ก็ยังถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม (Pseudoscience) หรือแม้แต่เพียงใช้ศัพท์สแลงให้ฟังดูคล้ายๆ กับวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่อง “กฎของแรงดึงดูด” แต่ถ้าจะถือว่าเป็นเรื่องของความเชื่อหรือความสมัครใจส่วนบุคคลก็น่าจะได้

แล้วอะไรทำให้การโค้ช การบำบัดจิต หรือสร้างแรงบันดาลใจแนวนี้ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้

มีข้อสังเกตว่า การเติบโตของวงการโค้ชชีวิตและการสัมมนาเพื่อพัฒนาตัวเองหรือปลดล็อก
ชีวิตนี้ เติบโตแพร่หลายขึ้นมาเคียงคู่ไปกับกระแสการ “ลาออกเพื่อจะรวย” หรือแนวคิดแบบ “งานไม่ประจำทำเงินกว่า” และแนวคิดการสร้างรายได้เชิงดอกผล หรือ Passive income เพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงินที่จะนำมาซึ่งอิสรภาพในชีวิต อันตอบสนองกับแนวทางการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่มีความผูกพันกับองค์กรหรือการทำงานประจำน้อยลง มีอิสระในตัวเองสูงขึ้น เชื่อเรื่องการทำงานน้อยได้ผลตอบแทนมาก มีค่านิยมการเร่งสร้างทุนและสินทรัพย์แล้วปล่อยพวกมันทำงานแทนให้ เพื่อตัวเองจะสามารถไปใช้ชีวิตได้อย่างที่อยากใช้จริงๆ ไม่ใช่การอุทิศชีวิตเพื่อการทำงานไปจนถึงวันเกษียณอายุแล้วค่อยพักผ่อนหาความสุขเหมือนคนรุ่นก่อน

การประสบความสำเร็จในอุดมคติเช่นนี้ไม่ใช่เป็นไปได้โดยง่าย ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากระบบการศึกษานั้นไม่สามารถตอบสนองความสำเร็จในลักษณะนี้ได้ หลักสูตรสัมมนาแนะแนวทางรวยประเภท “รวยด้วยหุ้น” “มั่งคั่งด้วยคอนโดฯ” หรือแม้แต่ “เขียนหนังสืออย่างไรให้ได้เงินล้าน” จึงผุดขึ้นมารองรับความต้องการในชั้นแรกนี้

แต่เท่านั้นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้เข้าสัมมนาหรือได้รับองค์ความรู้เดียวกันนั้นจะสามารถประสบความสำเร็จร่ำรวยกันได้ทุกคน สำหรับคนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง ก็ยังมีคำถามว่าตัวเองยัง “ขาด” หรือยัง “ติด” อยู่ตรงไหน รวมถึงคนที่อาจจะประสบความสำเร็จในเรื่องการงานหรือเงินทองแล้ว ก็ยังมีบ้างที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขเต็มที่กับชีวิต ยังมีปัญหาความรักและความสัมพันธ์ที่ไม่ลงตัวคล้ายว่ามีอะไรบางอย่างที่ขัดขวางเอาไว้

ตรงนี้เองที่ “โค้ชชีวิต” และหลักสูตรอบรมสัมมนาเพื่อ “ปลดล็อก” ชีวิตก็จะเข้ามาตอบสนองรองรับความต้องการ หรือสิ่งที่ยังขาดหายไปได้อย่างลงตัวพอดี ซึ่งเป็นความต้องการในส่วนที่ทั้งวิทยาศาสตร์และศาสนาเข้าไปไม่ถึง

เพราะการบำบัดหรือแก้ปัญหาทางจิตใจตามวิธีทาง “วิทยาศาสตร์” ด้วยการไปพบจิตแพทย์นั้น อาจจะช่วยให้ความเครียดหรือปมปัญหาทางจิตใจนั้นทุเลาลงบ้างด้วยคำปรึกษาหรือยา แต่การพบจิตแพทย์นั้นไม่ได้ให้ “ความหวัง” ว่าเราจะมีชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร คงไม่มีจิตแพทย์รายใดสัญญาว่ารักษาแล้วคุณจะรวยขึ้น หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่คุณรัก หรือประสบความสำเร็จในชีวิต

ส่วนการหันหน้าเข้าหาศาสนานั้น สำหรับบางคนก็เป็นเรื่องที่สูงส่งห่างไกลเกินไป เพราะความพ้นทุกข์ของศาสนานั้นเป็นการพ้นทุกข์เชิงจิตวิญญาณ หรือความหวังที่ศาสนามอบให้ก็เป็นความหวังสำหรับชีวิตใหม่ในโลกหน้า ยิ่งคำสอนในทางพุทธศาสนาที่ให้สละละทิ้งซึ่งกิเลสตัณหาความอยากได้ใคร่ดีด้วยแล้ว ยิ่งสวนทางกับความต้องการความมั่งคั่งร่ำรวยแบบเดินกันคนละทาง

แต่จะให้พึ่งพาไสยศาสตร์เซ่นไหว้บนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บูชาเครื่องรางของขลัง หรือไปสังกัดกับลัทธิศาสนาบางสายที่มีคำสอนให้ทุ่มเททำบุญเพื่อความร่ำรวยหรือความสำเร็จแบบตรงไปตรงมา การที่ได้รับการศึกษาและอยู่ในสังคมที่มีจริตทางศาสนาและความเชื่อแบบสมัยใหม่ก็จะรู้สึกต่อต้านในใจว่าเป็นเรื่องงมงายหรือพุทธพาณิชย์ฉาวโฉ่ อันยากต่อการทำใจยอมรับนับถือได้

การไป “โค้ช” หรือเข้าร่วมกลุ่มสัมมนาในแนวนี้ จึงสามารถตอบสนองความต้องการเชิงจิตใจได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องตะขิดตะขวงใจว่ากำลังสมาทานตัวเข้าสู่ลัทธิศาสนาหรือไสยศาสตร์ ด้วยคำอธิบายที่ใกล้เคียงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์อันฟังดูมีเหตุมีผลมากกว่า เหมือนที่ยอมรับและเข้าใจได้กับการสั่งจิตใต้สำนึกของเราผ่านวิธีการ “NLP” หรือเชื่อมต่อจิตเราเข้ากับ “พลังจักรวาล” หรือ “กฎแห่งแรงดึงดูด” ได้สนิทใจกว่าไปบนบานศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องเดียวกัน และการจ่ายเงินเป็นค่าโค้ชหรือการสัมมนาก็เป็นการจ่าย “ค่าบริการ” แบบต่างตอบแทนเยี่ยงธุรกิจมืออาชีพ ไม่เหมือนการทำบุญเพื่อหวังร่ำรวยอันโจ่งแจ้งตามแนวทางพุทธพาณิชย์ที่ชวนพิพักพิพ่วน

เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคืออะไร

สังคหวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน, ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หมายถึง หลักการครองใจคน, หลักยึดเหนี่ยวใจกันไว้, วิธีทำให้คนรัก, หลักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเครื่องประสานใจและเหนี่ยวรั้งใจคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และทำให้อยู่กันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน เหมือนลิ่มสลักรถที่ตรึงตัวรถ ...

คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นไว้ได้มีอะไรบ้าง

ประการที่หนึ่ง ได้แก่ การให้ คือให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีต่อกัน ประการที่สอง ได้แก่การมีวาจาดี คือพูดแต่คำสัตย์คำจริงต่อกัน พูดให้กำลังใจกัน พูดแนะนำประโยชน์ให้แก่กัน และพูดให้รักใคร่ปรองดองกัน

หลักธรรมในการยึดเหนี่ยวจิตใจมีอะไรบ้าง

สังคหวัตถุ 4. สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจคนอื่นที่ยัง ไม่เคยรักใคร่นับถือ ให้เกิดความรัก ความนับถือ สังคหวัตถุเป็นหลักธรรมที่ช่วยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให้ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา

หลักธรรมใดที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน

สังคหวัตถุธรม หลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจคนในสังคม ให้มีความรักใคร่ กลมเกลียวสามัคคีกัน เป็นหลักธรรมสำหรับการผูกมิตรไมตรีระหว่างกัน สังคหวัตถุธรรม เป็นเสมือนยานพาหนะที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขความเจริญ สังคมของมนุษย์ประกอบขึ้น ด้วยบุคคลที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนที่ร่ำรวยและยากจน ดังนั้นจึง ...