สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด

ที่มามติชนออนไลน์ ผู้เขียนยศวีร์ ศิริผลธันยกร น.ศ.ปี 4 สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เผยแพร่วันที่ 17 มิถุนายน 2559

จากการออกมาแถลงข่าวของ สทศ. เรื่องข้อสอบข้อ 63 ที่มีโจทย์ว่า “ข้อใดเป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกระหว่างไทยกับประเทศในตะวันตก” เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2559 ซึ่ง สทศ.ได้ยืนยันว่าคำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ 4. สนธิสัญญาเบาว์ริง ไม่ใช่ข้อ 2. สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ตามที่นักวิชาการและติวเตอร์หลายคนออกมาให้ความเห็นกัน

โดย สทศ. ให้เหตุผลว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกจริง แต่เป็นสนธิสัญญาทำพระราชไมตรี ไม่มีข้อตกลงด้านการค้า แต่คำถามถาม “การค้า” สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ว่าด้วยเรื่องการเก็บภาษีระหว่างกัน จึงมีความถูกต้องมากกว่า” พร้อมทั้งยังยืนยันด้วยตัวเลขว่ามีนักเรียนตอบถูกร้อยละ 52 ทำให้ผมในฐานะนักศึกษาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดข้อกังขา เพราะขัดกับหลักฐานชั้นต้นอย่างชัดเจน และสิ่งที่เรียนมาอย่างสิ้นเชิง

ในเบื้องต้นนี้ ผมขอยืนยันว่าจากหลักฐานชั้นต้น สนธิสัญญาเบอร์นีย์ เป็นสนธิสัญญาการค้าฉบับแรกของสยาม/ไทย ซึ่งผมจะยกข้อความจากหนังสือ “เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 2” (มีทั้งหมด 15 เล่ม) พิมพ์โดยกรมศิลปากร เมื่อ 2551 มาให้ลองพิจารณากัน และช่วงท้ายจะยกสนธิสัญญาเบาว์ริงมาเปรียบเทียบด้วย เพื่อให้เห็นว่าสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนั้นว่าด้วยเรื่องการค้าอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนพระราชไมตรีนั้นก็ต่างก็มีด้วยกันทั้งสองฉบับ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการทำสนธิสัญญาระหว่างกัน

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด

กรมศิลป์ระบุ ‘เบอร์นีย์’ เป็นสนธิสัญญา ‘พาณิชย์’ สยาม-ตะวันตก ‘ฉบับแรก’

ในหน้าคำนำของเอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ ของกรมศิลปากรซึ่งพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.2551 พูดไว้ชัดว่า “สนธิสัญญาเบอร์นีย์ที่ไทยตกลงลงนามกับประเทศอังกฤษใน พ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกสมัยรัตนโกสินทร์”

อังกฤษไม่ได้บังคับสยามด้วยการจับปากกาให้ลงนามในสนธิสัญญา เพราะก่อนหน้านั้นทั้งสองฝ่ายได้มีการร่างสนธิสัญญาระหว่างกัน เป้าหมายเพื่อให้เกิดมิตรภาพอันมั่นคงระหว่างชาติอังกฤษและรัฐสยาม และมีเป้าหมายเพื่อการพาณิชย์อย่างชัดเจน เพราะร้อยเอกเบอร์นีย์ได้ร่าง “กฎและวางระบบอัตราภาษีไว้ฉบับหนึ่ง” ด้วยโดยเพื่อให้ราชสำนักพิจารณา โดยร้อยเอกเบอร์นีย์เขียนไว้ว่า “ถ้าหากคณะเสนาบดีเห็นชอบด้วยกับร่างดังกล่าวก็อาจจะให้ผนวกกฎเหล่านี้เข้ากับสัญญาตามธรรมเนียม”

ดังนั้น นับตั้งแต่ “ร่างสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์” แล้วที่ร้อยเอกเบอร์นีย์ตั้งใจทำให้เป็นสนธิสัญญาการค้า

ส่วนสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ฉบับลงนามเสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2369 หรือตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Treaty between the King of Siam and Great Britain” มีทั้งหมด 14 ข้อ ในจำนวนนี้ตั้งแต่ข้อ 5-10 ว่าด้วยเรื่องการค้าอย่างชัดเจน (ก่อนหน้านั้นเป็นพระราชไมตรี)

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด

บรรทัดต่อบรรทัด หลักฐานชัด เบอร์นีย์ ‘สัญญาการค้า’

ผมขออนุญาตทำตัวทึบเพื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องการค้าชัดขึ้น มีดังนี้

“ข้อ 5 อังกฤษกับไทยได้ทำหนังสือสัญญาเปนไมตรีสุจริตต่อกันแล้ว ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างอังกฤษไปมาค้าขาย ณ เมืองไทยที่เมืองมีสินค้ามาก สลุบกำปั่นเรือสำเภาจะไปมาค้าขายได้ ไทยจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ถ้าลูกค้าฝ่ายข้างไทยไปมาค้าขาย ณ เมืองอังกฤษได้ ๆ เรือสำเภา สลุบกำปั่นจะไปมาค้าขายได้ อังกฤษจะทำนุบำรุงให้ซื้อขายโดยสดวก ไทยจะไปเมืองอังกฤษ ๆ จะไปเมืองไทย ให้ทำตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่รู้อย่างธรรมเนียม ขุนนางไทยให้ขุนนางอังกฤษบอกอย่างธรรมเนียม ให้พวกไทยที่ไปเมืองอังกฤษต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมเมืองอังกฤษทุกสิ่ง พวกอังกฤษไปเมืองไทยต้องทำตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมไทยทุกสิ่ง

ข้อ 6 ถ้าลูกค้าฝ่ายเมืองไทยก็ดี เมืองอังกฤษก็ดี จะไปซื้อขาย ณ เมืองมังกะลาแลหัวเมืองขึ้นแก่อังกฤษ จะไปซื้อขาย ณ กรุงไทยแลหัวเมืองขึ้นแก่กรุงไทย ให้ลูกค้าเสียค่าธรรมเนียมในการค้าขายให้ตามอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ให้ลูกค้าแลไพร่พลเมืองได้ซื้อขายเองในเมืองนั้น ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษจะมีคะดีข้อความสิ่งใด ๆ ก็ดี ให้ฟ้องร้องต่อขุนนางเจ้าเมืองกรมการฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษ ขุนนางเจ้าเมืองกรมการจะชำระตัดสินให้ตามกฎหมายอย่างธรรมเนียมบ้านเมืองทั้งสองฝ่าย ถ้าลูกค้าไทยถ้าลูกค้าอังกฤษก็ดีซื้อขายไม่สืบสวนว่าคนชั่วคนดี ซื้อขายปะคนชั่วพาเอาสิ่งของหลบหนีไป แลเจ้าเมืองกรมการจะสืบสวนเอาตัวมาชำระให้โดยสุจริต ถ้ามีเงินมีของใช้ให้ก็ได้ ถ้าไม่มีเงินมีของให้แลมิได้ตัวผู้หนี ก็เพราะลูกค้าทำผิดเอง

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (ภาพจาก wikipedia)

ข้อ 7 ถ้าลูกค้าฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดีจะไปซื้อขาย ณ เมืองอังกฤษแลเมืองไทย จะขอตั้งห้างตั้งเรือน จะขออาไศรยเช่าที่โรงเรือนใส่สินค้า ถ้าขุนนางไทยถ้าขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการไม่ยอมให้อยู่ ก็อยู่ไม่ได้ ถ้ายอมให้อยู่ จึ่งให้ลูกค้าขึ้นอยู่ตามสัญญาว่ากล่าวกัน แลให้ขุนนางไทยแลให้ขุนนางอังกฤษแลเจ้าเมืองกรมการช่วยดูแลเอาใจใส่ อย่าให้ไพร่บ้านพลเมืองทำข่มเหงแก่ลูกค้า อย่าให้ลูกค้าทำข่มเหงแก่ไพร่บ้านพลเมือง ถ้าลูกค้าอังกฤษพวกอังกฤษลูกค้าไทยพวกไทยที่ไม่เกี่ยวข้องจะขนเอาสิ่งของลงเรือสำเภาสลุบกำปั่นลากลับไปบ้านเมืองเมื่อใด ก็ให้ได้กลับไปโดยสดวก

ข้อ 8 ถ้าลูกค้าจะไปค้าขายบ้านใดเมืองใดฝ่ายไทยฝ่ายอังกฤษก็ดี ถ้าสลุบกำปั่นเรือแลสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีจะเปนอันตรายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขุนนางไทยแลขุนนางอังกฤษจะช่วยทำนุบำรุงกว่าจะเสร็จ ถ้าสลุบกำปั่นเรือสำเภาของอังกฤษของไทยก็ดีแตกลงที่บ้านใดเมืองใด ไทยอังกฤษเก็บได้สิ่งของในสลุบในกำปั่นเรือสำเภาที่แตกมากน้อยเท่าใด ให้ขุนนางอังกฤษให้ขุนนางไทยชำระไล่เลียงเอาสิ่งของคืนให้แก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของตายก็ให้คืนให้แก่พวกพ้อง ให้เจ้าของแลพวกพ้องแทนคุณผู้เก็บได้ตามสมควร ถ้าพวกไทยพวกอังกฤษไปเมืองอังกฤษไปเมืองไทยตาย สิ่งของพวกไทยพวกอังกฤษมีอยู่มากน้อยเท่าใด ให้คืนให้พวกพ้องของอังกฤษของไทย ถ้าพวกพ้องไทยถ้าพวกพ้องอังกฤษไม่มีที่เมืองนั้น อยู่เมืองอื่นมามิได้ จะแต่งคนถือหนังสือมารับเอาสิ่งของ ก็ให้ส่งสิ่งของให้แก่ผู้ถือหนังสือให้สิ้น

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
สำเนาสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (ภาพจาก wikipedia)

ข้อ 9 ถ้าลูกค้าข้างอังกฤษจะใคร่มาค้าขาย ณ เมืองของไทยที่ยังไม่เคยไปมาค้าขาย ให้ลูกค้าเข้าหาพระยาผู้ครองเมืองก่อน ถ้าเมืองไหนไม่มีสินค้า พระยาผู้ครองเมืองก็จะบอกว่า สลุบกำปั่นจะมาค้าขาย หามีสินค้าไม่ ถ้าเมืองไหนมีสินค้าพอจะรับสลุบพอจะรับกำปั่นได้ พระยาผู้ครองเมืองก็จะให้สลุบให้กำปั่นมาค้าขาย

ข้อ 10 อังกฤษแลไทยสัญญาต่อกัน การค้าขายซึ่งจะมีต่อกันโดยสดวกในเมืองอังกฤษ เมืองเกาะหมาก เมืองมลากา เมืองสิงหะโปรา แลเมืองของไทย คือ เมืองนคร เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตานี เมืองถลาง เมืองไทร และหัวเมืองอื่น ๆ ลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองอังกฤษให้ได้ค้าขายทางบกทางคลองโดยสดวก ถ้าลูกค้าจีนลูกค้าแขกเมืองมฤท เมืองทวาย เมืองตนาว เมืองเยซึ่งขึ้นกับอังกฤษจะเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทย อังกฤษจะมีหนังสือเข้ามาเปนสำคัญ ให้ได้ค้าขายทางบกทางน้ำโดยสะดวก แล้วจะห้ามมิให้ลูกค้าเอาฝิ่นซึ่งเปนของต้องห้ามเข้ามาค้าขาย ณ เมืองไทยเปนอันขาด ถ้าลูกค้าขืนเอาฝื่นเข้ามาขายเมืองใด ให้พระยาผู้ครองเมืองเก็บริบเอาฝิ่นเผาไฟเสียให้สิ้น”

(หากใครสนใจอ่านสนธิสัญญาฉบับเต็มหาอ่านได้จาก ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หรือในเว็บไซต์ wikisource)

ดังนั้น การที่ สทศ. ออกมาอธิบายว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์ไม่ใช่สนธิสัญญาการค้า จึงขัดแย้งกับหลักฐานชั้นต้นอย่างสิ้นเชิง

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
ซ้าย เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง ราชทูตอังกฤษ ขวา สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางสยามผู้มีบทบาทในการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง

เปิดสมุดข่อย อ่าน ‘เบาว์ริง’ พบสาระสำคัญไม่ต่าง

คราวนี้ลองมาพิจารณาสนธิสัญญาเบาว์ริงกันบ้างซึ่งจะพบว่าแทบไม่ต่างจากสนธิสัญญาเบอร์นีย์ และมีชื่อจริงว่า “หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม” สนธิสัญญานี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกว่าด้วยพระราชไมตรี กฎหมายที่เกี่ยวกับคนในบังคับและการค้า ส่วนที่สองมีชื่อว่า “กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้” ส่วนที่สาม “พิกัดภาษีนอกแลในที่จะเรียกเอาตามหนังสือสัญญานี้”

ขอยกข้อความข้อที่ 1 ในสนธิสัญญาส่วนแรกมาให้อ่านกัน ซึ่งจะพบว่าเป็นเรื่องพระราชไมตรี ความว่า

“ข้อ 1 ว่า ตั้งแต่นี้ไป พระเจ้าแผ่นดินกรุงบริตตันไอยยิแลนกับพระเจ้าแผ่นดินที่จะสืบวงษ์ต่อไปภายน่า กับด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ทั้งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินไทยที่จะสืบพระราชอิศริยยศต่อไปภายน่า ให้มีไมตรีรักใคร่กันราบคาบไปชั่วฟ้าแลดิน แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับอังกฤษซึ่งเข้ามาอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร เสนาบดีฝ่ายไทยก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้ใดฝ่ายไทยคุมเหงเบียดเบียฬ แต่บรรดาคนที่อยู่ในบังคับไทยที่จะไปอยู่ในแดนอังกฤษ ขุนนางอังกฤษก็จะช่วยบำรุงรักษาให้อยู่เปนศุขสบาย ให้ได้ค้าขายโดยสดวก มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดฝ่ายอังกฤษคุมเหงเบียดเบียฬ”

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
หน้าแรกของสนธิสัญญาเบาว์ริง จากหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (เอื้อเฟื้อภาพโดย คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร)

ส่วนในส่วนที่สองคือ กฎหมายอย่างพ่อค้าอังกฤษซึ่งมาค้าขายในกรุงฯ ต้องใช้มีทั้งหมด 6 ข้อ จะยกมาให้เห็นแค่ 2 ข้อเท่านั้น เพื่อไม่ให้ยาวจนเกินไป ที่เหลือสามารถหาอ่านได้ทั่วไปเช่นในอินเตอร์เน็ต

ข้อ 1 กับตันนายกำปั่นซึ่งจะเข้ามาค้าขาย ณ กรุงฯ เมื่อเข้ามาถึงนอกสันดอน จะทอดสมอใช้คนเข้ามาบอกแก่เจ้าพนักงาน ฤๅจะเอากำปั่นเลยเข้ามาเมืองสมุทปราการก็ได้ตามใจ แล้วจะต้องมาบอกเจ้าพนักงานที่ด่านเมืองสมุทปราการว่า เรือมาแต่เมืองใด มีลูกเรือกี่คน มีปื่นกี่บอก ทอดสมอที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องมอบปืนใหญ่แลดินดำแก่ขุนนางเจ้าพนักงานฝ่ายไทยที่เมืองสมุทปราการ แล้วต้องมีขุนนางกรมการฝ่ายไทยกำกับเรือขึ้นมาจนถึงกรุงฯ

ข้อ 2 ถ้ากำปั่นเลยเกินด่านสมุทปราการขึ้นมา มิได้เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการตามกฎหมายนี้ ต้องเอากำปั่นกลับลงไป เอาปืนแลดินดำขึ้นไว้เสียที่เมืองสมุทปราการ แล้วต้องปรับไหมเงินแปดร้อยบาท ด้วยไม่ฟังกฎหมายนี้ ถ้าเอาปืนใหญ่แลดินดำขึ้นไว้ที่เมืองสมุทปราการแล้ว ต้องปล่อยให้เรือขึ้นมาค้าขายที่กรุงฯ

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด

จะอิงหลักฐานหรือใช้การ ‘ชี้นกเป็นนก’ ?

ดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์และสนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น มีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อตกลงด้านการค้า ไม่เกินเลยที่จะบอกว่าสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมีสาระสำคัญไม่ต่างกัน
แต่ไฉนการให้เหตุผลของ สทศ. ที่เฉลยออกมากลับไม่ได้อ้างอิงอยู่บนหลักฐานชั้นต้นหรือหลักวิชาการ
หรือในท้ายที่สุดแล้วข้าพเจ้าเองจะต้องเป็นคนที่เปลี่ยนความคิด ละทิ้งเหตุผลและข้อมูลที่มี ปล่อยให้ความถูกต้องกลายข้อกำหนดของ “ผู้ใหญ่” ของบ้านนี้เมืองนี้ ที่ชี้เป็นนกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ กันแน่?
ตามแบบฉบับของการเป็นนักเรียนนักศึกษาที่ดี ผมขอแนบบรรณานุกรมที่ใช้ประกอบการเขียนมาในที่นี้ด้วยเพื่อให้ทุกท่านได้ค้นคว้ากันต่อไป

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
ภาพจาก http://www.payer.de/thailandchronik/chronik1855.htm

หนังสือ
ไกรฤกษ์ นานา. เบื้องหลังสนธิสัญญาเบาริ่งและประวัติภาคพิสดาร. กรุงเทพฯ: มติชน. 2555.
นันทพร บันลือสินธุ์. เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. 2551.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2554.

เว็บไซต์
http://www.admissionpremium.com/news/1136 วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.
https://th.wikisource.org/wiki/ ค้นหาคำว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง” วันที่ 28 กันยายน 2556 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.
https://th.wikisource.org/wiki/ ค้นหาคำว่า “สนธิสัญญาเบอร์นี” วันที่ 24 พฤษภาคม 2556 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน 2559.

เอกสารไฟล์ pdf.
TREATY BETWEEN THE UNITEDKINGDOM AND SIAM
treaties.fco.gov.uk/docs/fullnames/pdf/1909/TS0019%20(1909)%20CD-4703%201909%2010%20MAR,%20BANGKOK%3B%20TREATY%20BETWEEN%20UK%20&%20SIAM.pdf.

สนธิสัญญาเบอร์นี่ รัชกาลใด
ภาพจาก http://www.payer.de/thailandchronik/chronik1855.htm

สนธิสัญญาเบอร์นีเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เฮนรี เบอร์นีได้เป็นทูตอังกฤษเดินทางเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้า ในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษประสงค์ขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับรัตนโกสินทร์ และขอความสะดวกในการค้าได้โดยเสรี การเจรจาได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 และ ...

สาระสําคัญของสนธิสัญญาเบอร์นี่ มีอะไรบ้าง

สนธิสัญญาเบอร์นีมีสาระสำคัญได้แก่ อนุญาตให้พ่อค้าสยามทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี รัฐบาลสยามจะเก็บภาษีจากพ่อค้า อังกฤษตามความกว้างของปากเรือ เจ้าพนักงานสยามมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ และชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขาย ในประเทศสยาม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยามทุกประการ

สนธิสัญญาเบอร์นีกับสนธิสัญญาเบาว์ริงมีข้อแตกต่างกันอย่างไร

สนธิสัญญาเบอร์นีประกอบด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีรวม 14 ข้อ และมีสนธิสัญญาทางพาณิชย์แยกออกมาอีกฉบับหนึ่งรวม 6 ข้อ ที่เกี่ยวกับการค้าขายครับ สนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม สนธิสัญญาเบอร์นี่ย์ จริงๆก็เรียกว่า หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าขาย

เพราะเหตุใดสนธิสัญญาเบาว์ริงจึงมีความสําคัญกว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์

1. เพราะเหตุใด สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงมีความสำคัญกว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ต้องการให้ไทยยกเลิกการผูกขาดการค้าและให้มีการค้าแบบเสรี