ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายประการอะไรบ้าง

            3.  การวางแผนระดับโครงการ   เป็นการวางแผนเป็นรายโครงการ  มีรายละเอียดมากกว่าแผนระดับชาติและแผนระดับภาคเศรษฐกิจ  โดยกำหนดแผนการดำเนินงาน  วิธีการดำเนินงาน  และกำหนดหน่วยปฏิบัติไว้เป็นระเบียบแบบแผน

อาจถึงเวลาต้องยอมรับกันเสียที ว่าถ้าหากเศรษฐกิจไทยยังไม่ถูกปรับโครงสร้างอย่างจริงจัง อย่าว่าแต่จะเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชียอย่างที่เคยหวังในอดีตเลย แม้แต่จะเป็นเสือในอาเซียนเอง เราก็อาจเป็นไม่ได้ด้วยซ้ำ

KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เคยทำงานสำรวจที่น่าสนใจเอาไว้หลายชิ้น ซึ่งล้วนชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนหลายประการ และยังไม่พร้อมที่จะเดินหน้าไปในโลกเศรษฐกิจแห่งอนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

ยังยึดติดอยู่กับอุตสาหกรรมเก่า และไม่ไฮเทค

จุดอ่อนแรกคือ เศรษฐกิจไทยยังคงยึดติดอยู่กับอุตสาหกรรมเก่า ที่กำลังค่อยๆ หมดความสำคัญลงไป ในขณะที่สินค้าและบริการทางเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ไทยกลับไม่ค่อยมีความสามารถที่จะผลิตได้

ลองดูข้อมูลที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอย่างตลาดหุ้น จะเห็นได้ว่าบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหุ้นไทย 10 อันดับแรก ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเก่า ไม่ว่าจะเป็น ปิโตรเลียม พลังงาน เกษตร และการธนาคาร  ในขณะที่ถ้าหากไปดูตลาดหุ้นของสหรัฐฯ บริษัทที่มูลค่าสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ล้วนเป็นบริษัทเทคโนโลยีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, Facebook, Microsoft, Amazon, และ Tesla เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อมองภาพรวมทั้งตลาดหุ้นไทย KKP Research ยังพบด้วยว่าบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี มีมูลค่าเพียง 3% ของมูลค่าตลาดหุ้นไทยเท่านั้น  ในขณะที่ประเทศอย่างสหรัฐฯ (28%) เกาหลีใต้ (37%) และไต้หวัน (57%) ล้วนมีบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นมูลค่าในตลาดหุ้นมากกว่าไทยทั้งสิ้น

นี่เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นในประเทศเหล่านี้สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าตลาดหุ้นไทยด้วย เนื่องจากวิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และผลักดันพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกให้ต้องหันไปพึ่งพาสินค้าและบริการทางเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วก็ส่งผลไปยังตลาดหุ้นด้วย โดยช่วงที่ผ่านมาเราเห็นได้ว่าบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ สามารถเติบโตได้ดีกว่าและเร็วกว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเก่า

การที่ประเทศไทยยังคงติดอยู่ในโลกอุตสาหกรรมเก่า ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลกลดลงด้วย เห็นได้จากสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีของไทย ที่อยู่ในระดับ 20-30% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2007 เป็นอย่างน้อย  ในขณะที่เวียดนามซึ่งสามารถปรับตัวไปผลิตสินค้าไฮเทคที่ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกได้มากขึ้น มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไฮเทคเพิ่มขึ้นจาก 10% ในปี 2008 ไปเป็นกว่า 40% แล้วจากข้อมูลล่าสุดปี 2018

พูดได้ว่าการที่ไทยยังติดอยู่ในโลกอุตสาหกรรมเก่าและธุรกิจแบบเก่าๆ  กำลังทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และยังเป็นตัวกดผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยให้ด้อยกว่าตลาดหุ้นของต่างประเทศด้วย

พึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศมากเกินไป

จุดอ่อนที่ 2 คือ ประเทศไทยยังคงพึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งไม่สอดคล้องกับเทรนด์โลก ที่การค้าโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจมาเที่ยวไทยไม่มากเท่าเดิม

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกมากขึ้นเรื่อยๆ จากประมาณไม่ถึง 40% ของ GDP ในช่วงทศวรรษ 1990 มาเป็นมากกว่า 70% ของ GDP ในปัจจุบัน  ส่วนภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 15 ล้านคนในปี 2010 มาเป็นเกือบ 40 ล้านคนในปี 2019

ดังนั้น เศรษฐกิจไทยจึงอาศัยรายได้จากต่างประเทศในการเติบโตอย่างมากในช่วงหลาย 10-20 ปีหลัง  แต่เมื่อมองดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกในขณะนี้แล้ว ก็ต้องบอกว่าประเทศไทยคงจะไม่สามารถพึ่งพารายได้ในส่วนนี้เป็นหลักแบบเดิมได้อีก

สำหรับเรื่องการส่งออก KKP Research ชี้ให้เห็นว่าการค้าโลกที่นำโดยสหรัฐฯ และจีนกำลังชะลอตัวลง  โดยมูลค่าการค้าสินค้าและบริการของจีนลดลงจากเกือบ 70% ของ GDP ในช่วงปี 2005 เหลือเพียงประมาณ 35% ของ GDP ในปี 2020   ส่วนตัวเลขเดียวกันของสหรัฐฯ ก็ลดลงจากประมาณ 30% ของ GDP ในปี 2011 เหลือเพียงประมาณ 20% ต้นๆ ในปี 2020

นอกจากนี้ จีนยังเปลี่ยนแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของตัวเองโดยหันไปเน้นการเติบโตจากภายในประเทศด้วย และจากสถิติก็เห็นได้ว่าการออกไปลงทุนต่างประเทศของธุรกิจจีนลดลงตั้งแต่ปี 2016  นอกจากนี้ จีนยังมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศจีนเองด้วย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวไทยที่เคยมีนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวในสัดส่วนกว่า 30%

เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจไทยที่ยังคงพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง จึงมีความเปราะบางอย่างยิ่งว่าจะไม่สามารถกลับไปเติบโตได้เท่าเดิมอีก เนื่องจากแนวโน้มและบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้

กำลังกลายเป็นสังคมสูงอายุ ส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานรุนแรงขึ้น

จุดอ่อนประการที่ 3 ก็คือ ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ ซึ่งจะส่งผลให้สถานการณ์การขาดแคลนแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

โดยในอีกเพียง 10 ปีข้างหน้า ประชากรไทยกว่า 40% จะเข้าสู่วัยเกษียณและเตรียมเกษียณ ซึ่งหมายความว่าสัดส่วนวัยแรงงานในไทยจะลดลงอีก  เมื่อผนวกกับข้อเท็จจริงที่ว่าขณะนี้ค่าแรงค่าจ้างของไทยสูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างเวียดนามมาก ก็แปลว่าประเทศไทยจะยิ่งน่าดึงดูดน้อยลงอีกสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

มิหนำซ้ำเมื่อบวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติ (automation) มาทดแทนแรงงานมนุษย์ และทิศทางของประเทศมหาอำนาจที่พยายามดึงบริษัทต่างๆ ให้กลับไปตั้งฐานการผลิตในประเทศตัวเอง (reshoring) ก็ยิ่งแปลว่าความจำเป็นที่บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่จะต้องมาลงทุนในประเทศไทยยิ่งต่ำลงไปอีก

นอกจากนี้ ไทยยังขาดแคลนแรงงานที่จะมาช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมได้ด้วย โดยสัดส่วนนักวิจัยของไทยต่อประชากรล้านคนอยู่ที่ 1,141 คนเท่านั้น ในขณะที่ประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้ากว่าไทยอย่างสิงคโปร์ (6,915) และเกาหลีใต้ (7,394) มีจำนวนนักวิจัยต่อประชากรในสัดส่วนที่สูงกว่าไทยมาก

และในเชิงคุณภาพ ก็ดูเหมือนว่าแรงงานไทยจะมีคุณภาพสู้แรงงานจากประเทศอื่นๆ ไม่ได้อีก โดยคะแนน PISA ด้านวิทยาศาสตร์ของไทยในปี 2018 อยู่ที่ 426 คะแนน ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม (543) มาเลเซีย (438) และสิงคโปร์ (551) ล้วนมีนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ที่สูงกว่าไทย

ดังนั้นแล้ว ไทยจึงกำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลน “จำนวนแรงงาน” ซึ่งกำลังถูกเร่งให้วิกฤติขึ้นจากแนวโน้มการกลายเป็นสังคมสูงอายุ ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาเรื่อง “คุณภาพแรงงาน” ด้วย  พร้อมกันนั้นก็ถูกบีบรัดจากการที่กลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ทั่วโลกมีนโยบายดึงการลงทุนกลับสู่ประเทศ และใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติ (automation) มาทดแทนแรงงานราคาถูกจากประเทศกำลังพัฒนา

ในภาพรวม ประเทศไทยจึงยังขาดทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเป็นหัวจักรนำพารถยนต์เศรษฐกิจคันนี้มุ่งสู่โลกอนาคต  ในขณะเดียวกันก็มีความเปราะบางเนื่องจากยังคงพึ่งพารายได้จากต่างประเทศในสัดส่วนสูง ทั้งที่การค้าโลกและภาคการท่องเที่ยวไทยเองดูเหมือนจะเลยจุดพีคมาแล้ว  และสุดท้าย เศรษฐกิจไทยยังถูกซ้ำเติมจากแนวโน้มสังคมสูงอายุและการขาดแคลนแรงงานคุณภาพด้วย ซึ่งส่งผลให้การปรับตัวใดๆ เพื่อรับมือกับคลื่นเศรษฐกิจโลกยุคใหม่เป็นไปได้อย่างยากลำบากขึ้นอีก

ผู้เขียนก็ได้แต่หวังให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองได้มองเห็น ว่ารัฐถือเป็นผู้เล่นคนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่เพียงผู้แก้ปัญหาระยะสั้น ที่หวังเพียงพยุงให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจดูดีเป็นปีๆ ไป โดยที่ไม่ใส่ใจซ่อมสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจที่กำลังผุพังและยังไม่พร้อมรับมือโลกใหม่อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

บทความโดย กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์

 

ที่มา https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/thai-economy-and-technology-development

ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ชุมชนในประเทศไทยสั่งสมมาอย่างยาวนาน และต่อเนื่อง ประกอบด้วย ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ปัญหาการว่างงานและขาดแคลนงานทำในชุมชน ปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกชุมชน ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการผลิต เมื่อแต่ละชุมชนประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ...

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economics Problems) ✓ จะผลิตอะไร (What to produce) ✓ จะผลิตอย่างไร (How to produce) ✓ จะผลิตเพื่อใคร (Produce for whom) จัดสรรทรัพยากรเพื่อผลิต สินค้าและบริการให้ได้รับความพอใจสูงสุด ความต้องการมีไม่จ่ากัด ทรัพยากรมีจ่ากัด

ปัญหาเศรษฐกิจเกิดจากอะไร

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้าและบริการของมนุษย์ มีอยู่มากมาย ไม่จำกัด แต่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดจึงเกิดปัญหาว่าจะจัดสรรทรัพยากรไปใช้ใน การผลิตสินค้าและบริการอย่างไร จึงจะสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ให้มากที่สุด แลเกิดประโยชน์สูงสุด

ประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใดเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร

ลักษณะเศรษฐกิจไทย ไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมแต่ค่อนข้างไปทางทุนนิยมเอกชนมีบทบาทในการผลิตด้านต่าง ๆ มากกว่ารัฐบาลเอกชนมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้ารัฐบาลดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านกิจกรรมสาธารณูปโภค