วิธีการสร้างเครือข่าย 1p3c ประกอบด้วยอะไรบ้าง

งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
(Network Building and Participatory)

2 หัวข้อการนำเสนอ ประวัติความเป็นมาของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
1 ประวัติความเป็นมาของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 2 ความสำคัญของการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 3 แนวคิดการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 4 ระดับการมีส่วนร่วม 5 แนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา 6 องค์ประกอบของการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา 7 การสร้างเครือข่าย 8 กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย 9 การมีส่วนร่วม 10 กรณีศึกษา

3 Part 1: ประวัติความเป็นมาของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
วิทยากรเกริ่นนำถึง “ประวัติความเป็นมาของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม”การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมายาวนาน ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงปฏิรูปการปกครองให้มีกำนัน มีเขตสุขาภิบาล ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จนถึงยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ จากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ ภายใต้การปกครองในระบบประชาธิปไตยนี้ ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น จนถึงช่วงประชาธิปไตยเบ่งบานเกิดกระบวนการประชาอาสาใน พ.ศ.2523 และมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์ในเรื่องธรรมาภิบาล (Good Governance) หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ มีการขยายแนวความคิดเรื่อง ธรรมาภิบาล โดยได้มีการกำหนดเป็นพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยฉบับที่ 1 ( ) และในปี พ.ศ แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ได้เข้ามามีความสำคัญในการบริหารการปกครองของไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ได้กำหนดหลักสำคัญเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเข้ามามีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการบริหารการปกครองประเทศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จึงได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ พ.ศ ซึ่งการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมนี้สามารถแบ่งเป็น 4 ยุคที่สำคัญๆ ได้ดังนี้

4 ประวัติความเป็นมาของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ยุคที่ 1: ยุคปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2475 ยุคที่ 2: ยุคประชาอาสา พ.ศ ยุคที่ 1: ยุคปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2475 ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ ถึง พ.ศ การบริหารราชการไทยเป็นแบบสั่งการจากบนลงสู่ล่าง เป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิดที่สะท้อนอำนาจของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้สั่งการไม่ว่าด้านนโยบาย การวางแผน การจัดสรรงบประมาณ การกำกับดูแล และการตรวจสอบ ฯลฯ ล้วนมาจากส่วนกลาง ในขณะเดียวกัน การบริหารภาครัฐก็มีการปรับปรุงมาโดยตลอดจนถึง พ.ศ ได้มีการนำหลักการบริหารแบบเอกชนที่เน้นการแข่งขัน โดยลดบทบาทภาครัฐและเพิ่มบทบาทภาคเอกชน ภาครัฐเริ่มเปลี่ยนจากการจัดการเองทั้งหมดมาเป็นผู้กำกับดูแล การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

5 ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้แทนภาครัฐ
ยุคที่ 2: ยุคประชาอาสา พ.ศ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้แทนภาครัฐ ประชาชน 1.กำหนดนโยบายและแผนงาน 1. รับมอบภารกิจ 1. ให้ข้อมูลในการดำเนินงาน 2. จัดสรรงบประมาณ 2. ปฏิบัติตามนโยบาย 2.ผู้นำชุมชนประสานงานประชาชนกับผู้แทนภาครัฐ 3. กำหนดผู้รับผิดชอบ 3. ปรับปรุงการดำเนินงาน 3. ร่วมหารือกับตัวแทนภาครัฐ 4. คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน 4. สรุปปัญหาและอุปสรรคที่พบ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชา 4.ร่วมมือกับผู้นำชุมชนจัดประชาคม เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 5. ติดตามการดำเนินงาน 5. รายงานผลตามระยะเวลา 5. ตัดสินใจร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา 6. สรุปและนำเสนอ 6. ประสานงานกับประชาชนในพื้นที่ 6.ให้ความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ติดตามประเมินผล 7. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 7. ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 7.ประสานงานกับองค์การท้องถิ่น เพื่อการสนับสนุน 1

6 ยุคที่ 3: ยุคการมีส่วนร่วมตามแนวการบริหารธรรมาภิบาล (Good Governance) พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

7 ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้แทนภาครัฐ
ยุคที่ 3 ยุคการมีส่วนร่วมตามแนวการบริหารธรรมาภิบาล (Good Governance) พ.ศ (ค.ศ. 2000) ถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ – 2550) ตามยุทธศาสตร์ฉบับที่ 7 ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้แทนภาครัฐ ประชาชน 1.นำปัญหาของชุมชนมาพิจารณา เพื่อให้การสนับสนุนทั้งทางวิชาการ วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ 1. ร่วมพิจารณาปัญหาและการจัดทำประชาคมกับชุมชน 1.ประชาชน ผู้นำชุมชน และ ปราชญ์ชาวบ้านร่วมกันพิจารณาปัญหาของชุมชน 2.อำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีอิสระอย่างเต็มที่ในการดำเนินงานกับชุมชน 2.ให้คำแนะนำทางวิชาการและความเป็นไปได้ ในประเด็นต่าง ๆ 2. นำเสนอปัญหาของชุมชนต่อที่ประชุมประชาคม หมู่บ้าน 3. สนับสนุนงบประมาณให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ 3.ให้ความเห็นต่อปัญหาของชุมชนที่นำเสนอทั้งด้านวิชาการ และการบริหาร 3.ที่ประชุมประชาคมลงมติที่จะแก้ไขปัญหาและการพัฒนา 4. พิจารณาผลการดำเนินงานในการประชุมร่วมระหว่างผู้ปฏิบัติงาน 4.สรุปปัญหาของชุมชน เพื่อนำเสนอผู้บริหาร 4.นำเสนอต่อตัวแทนหรือผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ 5.ให้การสนับสนุนและแก้ไขปัญหาตลอดการดำเนินงาน 5.ประสานงานระหว่างประชาชนกับผู้บริหาร 5. รวบรวมข้อมูลของชุมชน 6.ขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้น 6. ติดตามผลการดำเนินงาน 6.ร่วมสร้างภูมิปัญญาให้ชุมชน 7.สรุปเป็นบทเรียนแห่งการเรียนรู้ระหว่างภาครัฐกับประชาชน 7.รายงานผลการดำเนินงาน ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหาร 7. ร่วมทำให้ชุมชนพัฒนาบนพื้นฐานเศรษฐกิจแบบพอเพียง ในยุคนี้เองที่รัฐบาลไทยมีการกำหนดพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ โดยกำหนดเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไว้ในมาตรา 6 ดังนี้ มาตรา 6 การบริหารราชการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้ (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ (6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น พระราชกฤษฎีกานี้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือธรรมาภิบาล ร่วมกับการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ที่มุ่งให้ประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งเป็นหัวใจของการบริหารรัฐกิจแนวใหม่นี้ เพราะประชาชนมีฐานะของการเป็นพลเมือง และการเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ การให้บริการกับประชาชนจึงต้องเป็นไปเพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจ และมีความสุขเป็นสำคัญ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

8 ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย
ยุคที่ 4 ยุคการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถึง การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ ) ตามยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย 2. ปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายฝ่ายต่างๆรวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถปรับรูปแบบการปฏิบัติงานและเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ระดับความสำเร็จของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในการปรับปรุงแบบหรือวิธีการปฏิบัติงาน ระดับความสำเร็จของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดย เฉลี่ย ยุคที่ 4: ยุคการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถึง การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ ) ตามยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ได้กำหนดหลักสำคัญ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม มีการเน้นย้ำคุณค่า และความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลอันเป็นหลักจรรโลงชาติประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้กำหนดไว้ในส่วนที่ 3 ว่าด้วยแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ในมาตรา 78 ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีการระบุชัดเจนถึงการกำหนดให้มีการจัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบชัดเจนเหมาะแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ให้มีการพัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ยังให้มีการจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ทางสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ – 2555 ตามยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ซึ่งยุทธศาสตร์นี้ ให้ความสำคัญกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมอย่างมาก รวมทั้งให้การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นวิถีทางในกระบวนการบริหารราชการ และเป็นผลของความพึงพอใจในการได้มีส่วนร่วม (Means and Ends) ภาคประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 โมดูลที่ 7 เรื่อง การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

9 3 กลยุทธ์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 1) ให้ความรู้
2) จัดทำระบบ กลไก สำรวจความคิดเห็น 3) จัดตั้งคณะกรรมการภาคประชาชน วิทยากรทำการสรุปว่า “3 กลยุทธ์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม” ได้แก่ ให้ความรู้ จัดทำระบบ กลไก สำรวจความคิดเห็น จัดตั้งคณะกรรมการภาคประชาชน การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

10 “เพื่อตอบสนอง ความต้องการของ ผู้เรียน”
“เพื่อตอบสนอง ความต้องการของ ผู้เรียน” เพื่อบริการ ผู้เรียน วิทยากรชักชวนให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมกันทำ “กิจกรรมชวนคิด” เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ผ่านมาของท่าน ท่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการบริหารสถานศึกษาที่เปลี่ยนจาก “เพื่อบริการผู้เรียน” มาเป็น “เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน” บ้างหรือไม่ ลองยกตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟัง การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

11 ระดับของการมีส่วนร่วม
กิจกรรมที่ 1: ทบทวนประสบการณ์การมีส่วนร่วมในระดับต่างๆในสถานศึกษาของท่าน ระดับของการมีส่วนร่วม เรื่อง... ลักษณะการมีส่วนร่วม... กิจกรรมที่ 1: ทบทวนประสบการณ์การมีส่วนร่วมในระดับต่างๆในสถานศึกษาของท่าน ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำรวจกิจกรรมหรือการบริหารการมีส่วนร่วมภายในสถานศึกษาของท่าน จำแนกกิจกรรมออกเป็นระดับของการมีส่วนร่วม ระดับสถานศึกษา-ชุมชน-สังคม-ประเทศ-อื่น ๆ ให้รายละเอียดพอสังเขปในลักษณะของการมีส่วนร่วม ข้อสังเกตของวิทยากร: สถานศึกษาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระดับใดเป็นส่วนใหญ่ กิจกรรมหรือการบริหารแบบมีส่วนร่วมดังกล่าวเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงหรือไม่ อย่างไร  ใช้เวลา 5 นาทีในตอนท้ายสรุปตัวอย่างที่ดีในการบริหารแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

12 Part 2: ปูพื้นความรู้ วิทยากรเกริ่นนำถึงการบริหารสถานศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory) เป็นการดำเนินงานของสถานศึกษาที่สร้างคุณค่าของสังคม (Public Value) โดยพยายามตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องเข้าใจมุมมองของผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินกิจกรรมหรือบริการของสถานศึกษา เพื่อจะกำหนดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้หรือการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสม และก่อให้เกิดคุณค่าทางสังคมสูงสุดจากความรู้สึกของผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

13 1 2 3 ระดับการมีส่วนร่วม แนวคิดการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ความสำคัญของการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 4 5 องค์ประกอบของการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม แนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา หัวข้อการนำเสนอใน Part 2: ปูพื้นความรู้ ประกอบด้วย 1. ความสำคัญของการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 2. แนวคิดการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม 3. ระดับการมีส่วนร่วม 4. แนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา 5. องค์ประกอบของการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

14 ความสำคัญของการบริหารในรูปแบบ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
รัฐธรรมนูญ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ความสำคัญของการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ใน มาตรา 87 ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ร่วมตัดสินใจและตรวจสอบทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองทุกด้าน ตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ ก็เช่นกัน ได้กำหนดให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ประชาสังคม และทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา และสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) ได้บัญญัติสาระที่เป็นหลักสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ดังปรากฎในมาตรา 8 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มาตรา 9 (6) ให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

15 แนวคิดการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบ การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
ระดับองค์การ (Organizational Level) ระดับสถาบัน (Institutional Level) ระดับบุคลากร (Individual Level) แนวคิดในการปรับเปลี่ยนระบบราชการไปสู่การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบมีส่วนร่วมเน้นการปฏิบัติงานที่ให้ภาคประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทในลักษณะหุ้นส่วน ที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การริเริ่มดำเนินงาน และดำเนินโครงการ การจัดทำงบประมาณโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่หน่วยงานทางการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวมี 3 ระดับ คือ ระดับองค์การ (Organizational Level) ได้แก่ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การเพื่อรองรับการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เช่น ตั้งหน่วยงาน บุคลากร นโยบาย หรืองบประมาณด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น ระดับสถาบัน (Institutional Level) ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบใหม่ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม การปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน การปรับกระบวนทัศน์ของคนในองค์การให้สามารถปฏิบัติงานกับประชาชนในลักษณะเป็นหุ้นส่วน และการปฏิบัติงานในลักษณะเครือข่าย มีการออกกฎเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนในองค์การ ระดับบุคลากร (Individual Level) ได้แก่ การสร้างบุคลากรและฝึกทักษะบุคลากรในองค์การให้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานกับประชาชน เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีส่วนร่วมของประชาชน ทักษะการวิเคราะห์การมีส่วนได้ส่วนเสีย ทักษะการบริหารความขัดแย้ง การจัดหลักสูตรอบรมด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานทั้ง 3 ระดับ ถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญของการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นหน่วยงานที่มีการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม

16 วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมดูใบงานที่ 2.1 และอภิปรายร่วมกัน
วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมยกตัวอย่างการบริหารจัดการการศึกษาในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมดูใบงานที่ 2.1 และอภิปรายร่วมกัน โมดูลที่ 7 เรื่อง การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม (Network Building and Participatory)

17 ระดับการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางวิชาการมีหลากหลายตัวแบบ ในที่นี้ใช้ตัวแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนของสมาคมการมีส่วนร่วมสากล (IAP2 - International Association for Public Participation ) ที่เรียกว่า Public Participation Spectrum โดยประกอบด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) ระดับที่ 2 การมีส่วนร่วมในระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในระดับให้เข้ามามีบทบาท (To Involve) ระดับที่ 4 การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (To Collaborate) ระดับที่ 5 การมีส่วนร่วมในระดับให้เสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower)

18 ระดับการมีส่วนร่วม ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) ระดับที่ 2 การมีส่วนร่วมในระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในระดับให้เข้ามามีบทบาท (To Involve) ระดับที่ 4 การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (To Collaborate) ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในระดับให้เสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower) ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) ข่าวสารถือเป็นการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับเริ่มต้น แต่เป็นระดับที่สำคัญ เพราะเป็นก้าวแรกของการที่สถานศึกษาจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าสู่กระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ ที่ทางสถานศึกษาจัดขึ้น โดยวิธีการให้ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ของสถานศึกษา การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุชุมชน การจัดนิทรรศการ นอกสถานศึกษา จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ และการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสถานศึกษา เป็นต้น ระดับที่ 2 การมีส่วนร่วมในระดับการปรึกษาหารือ (To Consult) เป็นกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเพื่อประกอบการตัดสินใจของสถานศึกษาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การจัดเวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วมในระดับให้เข้ามามีบทบาท (To Involve) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมเสนอแนะทางที่นำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าข้อมูลความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงานของสถานศึกษา เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาประเด็นนโยบายสาธารณะ ประชาพิจารณ์ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเสนอแนะประเด็นนโยบาย เป็นต้น ระดับที่ 4 การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ (To Collaborate) เป็นการให้กลุ่มประชาชนผู้แทนภาคสาธารณะมีส่วนร่วม โดยเป็นหุ้นส่วนกับสถานศึกษาในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาที่มีฝ่ายประชาชนร่วมเป็นกรรมการสถานศึกษา เป็นต้น ระดับที่ 5 การมีส่วนร่วมในระดับให้เสริมอำนาจแก่ประชาชน (Empower) เป็นขั้นที่ให้บทบาทประชาชนในระดับสูงที่สุด โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ เช่น การลงประชามติในประเด็นกิจกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น

19 ผู้มีเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย
กิจกรรมที่ 2: ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียของสถานศึกษาในระดับต่างๆ ผู้มีเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย ระดับการมีส่วนร่วม รูปแบบ กิจกรรมที่ 2: ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียของสถานศึกษาในระดับต่างๆ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำรวจกิจกรรมหรือการบริหารการมีส่วนร่วมภายในสถานศึกษาของท่าน กำหนดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย ให้รายละเอียดพอสังเขประดับและรูปแบบการมีส่วนร่วมของบุคคลเหล่านี้  ใช้เวลา 5 นาทีในตอนท้ายสรุปตัวอย่างที่ดีในการบริหารแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอบรม การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Governance)

20 แนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา
ประเด็นสำคัญ การจัดเครือข่ายสถานศึกษา การมีผู้ประสานงานที่ดี สมาชิกในเครือข่ายมีความต้อองการร่วมกัน สมาชิกในเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน แนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา กระบวนการในการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม มีประเด็นสำคัญที่ใช้เป็นหลักการ ในการพิจารณา ดังนี้ 1) การจัดเครือข่ายสถานศึกษา ควรจัดตามลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ ที่มีบริบทสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน 2) การมีผู้ประสานงานที่ดี เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนประสานในการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย 3) สมาชิกในเครือข่ายมีความต้องการร่วมกันโดยการดำเนินการให้สมาชิกของเครือข่าย มีกิจกรรม ดังนี้ 3.1) การประชุมในแต่ละเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อการพบปะหารือกันระหว่างผู้ที่มีความต้องการเหมือนกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ภายในเครือข่ายเดียวกัน 3.2) จัดกิจกรรมให้สมาชิกร่วมกันแสดงความสามารถ ร่วมคิดร่วมกันวางแผน และร่วมกันทำงาน หมุนเวียนกันรับผิดชอบภายในเครือข่าย เน้นเครือข่ายแบบสังคมกัลยาณมิตร หรือเครือข่ายสังคมเรียนรู้ 3.3) การศึกษาดูงาน หรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน 4) สมาชิกในเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สมาชิกในเครือข่ายสถานศึกษา มีจิตสำนึกร่วมกัน เกิดความรัก ความสมานฉันท์ ความเอื้ออาทรต่อกัน มีความสามัคคีกลมเกลียว ช่วยกันคิด ช่วยกันทำจนงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

21 องค์ประกอบของการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
การจะทำให้การบริหารเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษาประสบความสำเร็จนั้น Goldsmiths และ Eggers (2004 อ้างถึงใน จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร, 2552) เสนอองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ได้แก่ 1. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ องค์ประกอบแรกที่สำคัญในการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและมีส่วนร่วม เกิดจากกระบวนการคิดที่ควรต้องเริ่มต้นจากเป้าหมายว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นในสิ่งที่ทำ มิใช่คิดว่าอยากทำอะไร (Start from the End) 2. การออกแบบเครือข่ายให้สอดคล้องกับเป้าหมาย สำหรับองค์ประกอบที่ 2 เป็นการเน้นถึงความสำคัญในการออกแบบ กำหนดลักษณะการดำเนินงาน และการกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกในเครือข่าย ว่าหากสามารถออกแบบระบบเครือข่ายได้ดีโอกาสที่เครือข่ายจะสามารถดำเนินการและบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ก็มีสูง การออกแบบเครือข่าย คือ การตอบคำถาม “อย่างไร” (How?) สมมติว่าสถานศึกษากำลังเปิดให้มีการประกวดราคาสำหรับจัดตั้งเครือข่าย นั่นหมายถึงสถานศึกษากำลังสร้างเครือข่ายที่ยังไม่มีอยู่ในเวลานั้น ซึ่งหมายความว่าหน่วยงานจำเป็นต้องคิดบนพื้นฐานที่กว้างขวางขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ (Mean to the End) การทำสิ่งนี้ให้ถูกต้อง จำเป็นต้องรู้ได้ว่าสุดท้ายแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของเครือข่ายสามารถย้อนดูได้ว่ามันถูกออกแบบมาอย่างไรตั้งแต่เริ่มแรก โดยการกำหนดแนวทางการบริหารเครือข่ายจะทำให้การออกแบบเกิดโครงสร้าง ซึ่งทำให้เกิดการลื่นไหลของข้อมูล ข่าวสาร และทรัพยากรภายในเครือข่าย เช่นเดียวกับแผนการดำเนินงานที่ดี การออกแบบที่เหมาะสมช่วยให้สถานศึกษาบรรลุนโยบายและเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติการ ไม่ว่าเครือข่ายจะจัดการได้ดีเพียงใด ข้อบกพร่องในการออกแบบแม้มีเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เสียเวลาและพลังงานของสมาชิกเครือข่าย และทำให้เกิดปัญหาได้

22 Part 3: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
วิทยากรเกริ่นนำถึงความสำคัญขององค์ประกอบและประโยชน์ของการบริหารในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม รวมทั้งเริ่มคิดว่าปัญหาในการดำเนินงานในปัจจุบันของสถานศึกษานั้น มีโอกาสที่จะนำแนวคิดของการดำเนินงานในรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมไปใช้ รวมทั้งได้คาดหมายไว้แล้วว่าใครบ้างที่น่าจะมาเป็นพันธมิตรและสมาชิกในเครือข่ายของสถานศึกษา เพื่อผลักดันให้สามารถแก้ปัญหานั้น ๆ ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้เรียนและสมาชิกเครือข่ายของสถานศึกษา

23 2. กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย
1. การสร้างเครือข่าย ทฤษฎีสู่ การปฏิบัติ 2. กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย 3. การมีส่วนร่วม ซึ่งหัวข้อในการนำเสนอใน Part 3: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การสร้างเครือข่าย กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย การมีส่วนร่วม

24 การสร้างเครือข่าย 1. การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือการสร้างเครือข่าย
2. การประเมินความพร้อมของเครือข่าย 3. การดำเนินการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่าย 4. การตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย การสร้างเครือข่าย สถานศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม และต้องการเป็นผู้ประสานงานหลักในการขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมให้เกิดการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้นั้น ต้องนำเสนอแนวทางสู่การปฏิบัติงาน การบริหารงานโดยเริ่มจากเครือข่าย ซึ่งมีรูปแบบเครือข่าย 4 ขั้นตอนหลัก โดยมีขั้นตอนการประสานงานเครือข่ายดังต่อไปนี้ คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือการสร้างเครือข่าย การประเมินความพร้อมของเครือข่าย การดำเนินงานปฏิบัติการด้วยเครือข่าย การตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย

25 1) การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือการสร้างเครือข่าย
กิจกรรมการวาดภาพในอุดมคติ (Rich Picture) ของเครือข่าย กิจกรรมการสร้างแผนผังการเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(Stakeholder Identification) กิจกรรมจัดทำตารางกำหนดจุดเด่นและจุดด้อยด้านความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 1) การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือการสร้างเครือข่าย ความสำเร็จของเครือข่ายนั้นจะเกิดขึ้นได้ หากสมาชิกทุกคนเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตน ตลอดจนรู้จักและเข้าใจข้อจำกัดในการดำเนินการของสมาชิกคนอื่น ๆ และที่สำคัญที่สุด สมาชิกทุกคนจะต้องเห็นพ้องต้องกันในวัตถุประสงค์และผลที่คาดหวังของการดำเนินงานในรูปแบบเครือข่าย การทำกิจกรรมต่อไปนี้ จะช่วยให้สมาชิกในเครือข่ายร่วมกันสร้างวัตถุประสงค์และผลที่คาดหวังร่วมกัน พร้อมกับการเรียนรู้ถึงบทบาทและข้อจำกัดของสมาชิกคนอื่น ๆ หน่วยงานที่คิดว่าเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายหรือหน่วยงานที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ สถานศึกษา ฯลฯ ควรจะเป็นเจ้าภาพดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.1) กิจกรรมการวาดภาพในอุดมคติ (Rich Picture) ของเครือข่าย 1.2) กิจกรรมการสร้างแผนผังการเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder Identification) 1.3) กิจกรรมจัดทำตารางกำหนดจุดเด่นและจุดด้อยด้านความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

26 2) การประเมินความพร้อมของเครือข่าย
2.1) แบบประเมินความพร้อมของโครงการ 2.2) แบบประเมินความพร้อมของบุคลากร 2.3) แบบประเมินความร่วมมือในเครือข่าย 2.4) แบบประเมินความพร้อมในด้านข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการ 2) การประเมินความพร้อมของเครือข่าย สำหรับแนวทางสู่การปฏิบัติในส่วนนี้ จะเป็นส่วนของผู้ประสานงานเครือข่าย โดยจะนำเสนอเครื่องมือที่จะช่วยประเมินความพร้อมในการดำเนินงานในรูปแบบเครือข่าย ภายหลังจากที่ผ่านการดำเนินกิจกรรมข้างต้น ซึ่งผู้ประสานงานควรจะไปเยี่ยมชมการดำเนินงานหรือพบปะกับสมาชิกในเครือข่ายที่ร่วมในโครงการ โดยใช้แบบประเมินต่อไปนี้เป็นแนวทางในการสอบถามและประเมินความพร้อมของเครือข่าย   ) แบบประเมินความพร้อมของโครงการ แบบประเมินนี้จะเป็นการประเมินซ้ำจากการทำกิจกรรมในหัวข้อข้างต้น โดยผู้ประสานงานเครือข่ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะทำการลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมการทำงาน ตลอดจนอธิบายแนวทางการดำเนินงานและโครงการที่จะร่วมกันดำเนินการ 2.2) แบบประเมินความพร้อมของบุคลากร แบบประเมินนี้จะถูกจัดทำขึ้นเมื่อผู้ประสานงานวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมของเครือข่ายขึ้น โดยผู้ประสานงานจะกำหนดคุณลักษณะของตัวหลักในการดำเนินกิจกรรม อาทิ ผู้นำการทำกิจกรรม ผู้นำการประชุมเพื่อกำหนดทิศทาง ผู้ประสานงานกิจกรรม วิทยากรประจำกิจกรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2.3) แบบประเมินความร่วมมือในเครือข่าย แบบประเมินนี้จะเป็นลักษณะของผลลัพธ์จากการส่งแบบสอบถามหรือโทรศัพท์สอบถามความคิดเห็นของสมาชิกว่ายินดีที่จะช่วยเหลือสมาชิกคนอื่น ๆ ในกิจกรรมใดบ้าง และในรูปแบบใด ซึ่งหมายถึง (1) ความช่วยเหลือในด้านความรู้ ประสบการณ์ แนวทางการดำเนินงาน (2) ความช่วยเหลือในด้านกำลังคน และ (3) ความช่วยเหลือด้านงบประมาณ ฯลฯ โดยสมาชิกแต่ละคนสามารถระบุเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือ อาทิ ต้องการค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งที่พัก เป็นต้น หรือสอบถามความต้องการจากสมาชิกว่าต้องการความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง เพื่อที่จะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ 2.4) แบบประเมินความพร้อมในด้านข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการ ในกรณีนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ประสานงานซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการรวมทั้งข้อมูลของเครือข่าย แต่ผู้ประสานงานจำต้องมีข้อมูลให้พร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและชัดเจน

27 3) การดำเนินการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่าย
มีตารางเวลาของแต่ละกิจกรรม มีรายชื่อของสมาชิกที่สำคัญในแต่ละกิจกรรม ระบุถึงความสอดคล้องของกิจกรรมกับวัตถุประสงค์ของเครือข่าย 3) การดำเนินการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่าย ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานสมาชิกในเครือข่ายควรจะต้องยื่นแผนการดำเนินงานให้ผู้ประสานงานโดยผู้ประสานงานจะต้องตรวจสอบว่ามีข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ 3.1) มีตารางเวลาของแต่ละกิจกรรม พร้อมทั้งระบุทรัพยากรที่ต้องใช้ 3.2) มีรายชื่อของสมาชิกที่สำคัญในแต่ละกิจกรรม 3.3) ระบุถึงความสอดคล้องของกิจกรรมกับวัตถุประสงค์ของเครือข่าย หากไม่มีสมาชิกต้องอธิบายว่ากิจกรรมนั้น ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์กับเครือข่ายอย่างไร เมื่อได้รับแผนงานของเครือข่ายแล้ว ผู้ประสานงานจะต้องกำหนดวันเวลาที่ไปตรวจติดตามการดำเนินงานของสมาชิกเครือข่าย

28 4) การตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย
ตรวจว่ามีการจัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ดูลักษณะการทำงานว่าร่วมมือกัน นำเอาผลการดำเนินการกับเป้าหมายที่ตั้งไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันกับเครือข่าย 4) การตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย เนื่องจากเป้าประสงค์ของการดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายมักเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาทางสังคมหรือบริการประชาชน ซึ่งยากจะวัดผลลัพธ์ที่จะประเมินผู้ปฏิบัติได้อย่างเที่ยงตรง ดังนั้น การตรวจติดตามและประเมินผลจึงควรเป็นการตรวจ ลักษณะการดำเนินการ รูปแบบการดำเนินการ ปัญหาของการดำเนินการ แนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำมาปรึกษาร่วมกับสมาชิกต่อไป โดยผู้ตรวจติดตามและประเมินผล ควรแบ่งการตรวจติดตามออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้ 4.1) ตรวจว่ามีการจัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งพิจารณาลักษณะของการดำเนินการเพื่อหาจุดปรับปรุง 4.2) ในกรณีที่กิจกรรมต้องทำร่วมกันหลายเครือข่าย ผู้ตรวจต้องดูลักษณะการทำงานว่าร่วมมือกัน ต่างคนต่างทำ มีหลักฐานของการประสานงานก่อนหน้ากิจกรรมหรือไม่ อาทิ บันทึกการประชุม เป็นต้น 4.3) ภายหลังการจัดกิจกรรม ต้องนำเอาผลการดำเนินการกับเป้าหมายที่ตั้งไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันกับเครือข่ายเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการปรับปรุงการทำกิจกรรมต่อไป

29 กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย
กระบวนการเริ่มประสานงานเครือข่าย 1 กระบวนการสร้างการทำงานอย่างสม่ำเสมอ 2 กระบวนการ พัฒนากระบวนการทำงานและเครือข่าย 3 กระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ 4 3.2 กระบวนการดำเนินการผ่านระบบเครือข่าย แนวทางการดำเนินงานภาครัฐโดยอาศัยเครือข่ายมีกระบวนการที่สำคัญของการดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กระบวนการหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการเริ่มประสานงานเครือข่าย (Initiation Process) 2) กระบวนการสร้างการทำงานอย่างสม่ำเสมอ (Sustainability) 3) กระบวนการพัฒนากระบวนการทำงานและเครือข่าย (Development) 4) กระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ

30 การมีส่วนร่วม แบ่งได้เป็น 2 ระดับ กระบวนการการมีส่วนร่วมระดับกระทรวง
กระบวนการการมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา วิทยากรเกริ่นนำว่า หลังจากเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎีการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมแล้ว ในบทนี้จะเสนอ แนวทางในการนำทฤษฎีไปปฏิบัติ โดยขอแบ่งแนวทางปฏิบัติออกเป็น 2 ระดับ คือกระบวนการการมีส่วนร่วมระดับกระทรวง และกระบวนการการมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา

31 1) กระบวนการการมีส่วนร่วมระดับกระทรวง
กระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการดำเนินงานของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นสาธารณะ (Participatory Governance in Public Issue Formulation) ขั้นตอนที่ 2 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง (Participatory Governance in Strategy Formulation) ขั้นตอนที่ 3 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายของกระทรวง (Participatory Governance in Law and Rule Making) ขั้นตอนที่ 4 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงในระดับพื้นที่ (Participatory Governance in Resource Allocating Decision) ขั้นตอนที่ 5 แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการออกแบบและการจัดบริการสาธารณะของกระทรวง (Participatory Governance in Designing and Providing Public Services)

32 กิจกรรมที่ 3 ตัวอย่างที่ดีในการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวง
ขั้นตอน แนวทางปฏิบัติที่ดีจากกระทรวง...  กำหนดประเด็นสาธารณะ  กำหนดยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง  กระบวนการจัดทำร่างกฏหมายของกระทรวง  จัดสรรทรัพยากรเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานระดับพื้นที่  ออกแบบและจัดบริการสาธารณะของกระทรวง

33 2) กระบวนการการมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดระบบการบริหารการศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีรูปแบบเช่นนี้เพราะในโลกยุคปัจจุบัน การพัฒนาและการให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม จำเป็นต้องเน้นการเพิ่มศักยภาพของการพัฒนาในมิติพื้นที่ (Area) ซึ่งจำเป็นต้องจัดระเบียบความสัมพันธ์ของการบริหารในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีเอกภาพ และสามารถบูรณาการ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานในระหว่างมิติและภาคส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จในการบริหารในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและพัฒนาในแต่ละพื้นที่ คุณภาพและความสามารถของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เขตพื้นที่การศึกษา ที่สะท้อนความต้องการและนำไปสู่ประโยชน์สุขของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ตลอดจนการควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงแผนงานต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effective Strategic Plan Executive and Control) ดังนั้นในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เขตพื้นที่การศึกษานี้ หัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การบริหารเพื่อประโยชน์สุขของผู้เรียนอย่างแท้จริง จึงอยู่ที่กระบวนการนำภาคประชาชนและผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษามี 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นที่  มีส่วนร่วมปรึกษาหารือและวางแผนงาน ประกอบด้วย การรับรู้ เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนและร่วมวางแผนกิจกรรม ขั้นที่  มีส่วนร่วมในการปฏิบัติและดำเนินการ ประกอบด้วยการเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในกิจกรรรมต่าง ๆ และการตัดสินใจ ขั้นที่  มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลงาน เป็นการตรวจติดตามถึงผลงานที่ได้ทำ หรือปฏิบัติไปแล้วเพื่อหาข้อสรุป ขั้นที่  มีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ เป็นการมีส่วนร่วมในการจัดสรรประโยชน์ ผลของกิจกรรม หรือผลของการตัดสินใจที่เกิดขึ้น

34 แนวทางปฏิบัติที่ดีจากเขตพื้นที่การศึกษา...
กิจกรรมที่ 4 ตัวอย่างที่ดีในการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับเขตพื้นที่การศึกษา ขั้นตอน แนวทางปฏิบัติที่ดีจากเขตพื้นที่การศึกษา...  มีส่วนร่วมปรึกษาหารือและ วางแผนงาน  มีส่วนร่วมในการปฏิบัติและ ดำเนินการ  มีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผล มีส่วนร่วมในการจัดสรร ผลประโยชน์

35 3) เทคนิคของการมีส่วนร่วม
1 2 3 3) เทคนิคของการมีส่วนร่วม การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น มีเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถเลือกใช้เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องประเด็น เวลา สถานการณ์ ทรัพยากรที่มีจำกัด หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและต่างสถานะ ต่างสภาพกัน การให้ข้อมูลหรือการรับฟังจากประชาชนจึงอาศัยรูปแบบที่ต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ เทคนิคการมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และเทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ 3.1) เทคนิคการมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ () ได้แก่ เอกสารข้อเท็จจริง (Fact Sheet) จดหมายข่าว (Newsletter) รายงานการศึกษา (Report Study) การจัดทำวิดีทัศน์ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (News Repositories) การแถลงข่าว (New Release) การสัมมนาทางวิชาการให้กับสื่อมวลชน การสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าวชุมชน (Village News Announcement) ทัศนศึกษาและเยี่ยมชมโครงการ (Facility Tour/Site Visit) การนำเสนอ (Presentation) และการชี้แจงในการประชุมของทางราชการ 3.2) เทคนิคการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ() ได้แก่ การสัมภาษณ์รายบุคคล (Community Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ (Interactive Website) การสำรวจความคิดเห็น (Surveys and Telephone Polls) สายด่วนสายตรง (Hot Line) และการปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการ (ประชาพิจารณ์) 3.3) เทคนิคการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือ () ได้แก่ เวทีสาธารณะ (Public Meeting/Forum) การพบปะแบบไม่เป็นทางการ (Open House/Informal Meeting) การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนแก่ชุมชน (Community Outreach Service) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และคณะที่ปรึกษา (Advisory Group) กระบวนการมีส่วนร่วม ระดับกระทรวง กระบวนการมีส่วนร่วม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เทคนิคของการมีส่วนร่วม

36 Part 4: กรณีศึกษา วิทยากรเกริ่นนำถึงกรณีศึกษาที่ใช้แนวคิดการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พร้อมให้ผู้เข้าอบรมศึกษาใบงานที่ 3.1 กรณีศึกษาและอภิปรายปัจจัยความสำเร็จร่วมกัน

37 กิจกรรมที่ 5 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ
ระดับ เทคนิค ระดับการมีส่วนร่วมของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้อสังเกตหรือ หมายเหตุ กำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำแผนงาน/โครงการ จัดบริการสาธารณะ วิทยากรให้ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมที่ 5 ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และอภิปรายร่วมกัน

วิธีการสร้างเครือข่ายคือข้อใด

การสร้างเครือข่าย (Networking) หมายถึง การทำให้มีการติดต่อสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ การสร้างเครือข่ายควรสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้สมาชิกในเครือข่ายมีความพัมพันธ์กันฉันท์เพื่อน ที่ต่างก็มีความเป็นอิสระมากกว่าสร้างการคบค้าสมาคมแบบพึ่งพิง นอกจากนี้การสร้างเครือข่ายต้องไม่ใช่ ...

การส่งเสริมการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. จัดตั้งเครือข่าย เป็นระยะของการเริ่มรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ประกอบด้วย 1) สร้างพันธสัญญาสู่ เป้าหมายร่วมกัน 2) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และการสร้างจุดร่วมของผลประโยชน์ 3) พัฒนาแผนยุทธศาสตร์ ความร่วมมือ

ภาคีเครือข่าย มีอะไรบ้าง

ภาคีเครือข่าย หมายถึง บุคคล หรือกลุ่มบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร การปกครองส่วนท้องถิน องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการและองค์กรอืน ๆ รวมทังสถานศึกษาอืนทีอยู่ในพืนทีจังหวัดอ่างทองทีมิได้สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ขั้นตอนแรกของการสร้างเครือข่าย คือข้อใด

การสร้างเครือข่าย ซึ่งมีรูปแบบเครือข่าย 4 ขั้นตอนหลัก คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือสร้างเครือข่าย การประเมินความพร้อมของเครือข่าย การดำเนินงานปฏิบัติการด้วยเครือข่าย และการตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย