การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลหมายถึงอะไร

การเรียนรู้พฤติกรรมนักเรียนในแต่ละปีการศึกษาของโรงเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณครูในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพให้กับนักเรียนของเรา ดังนั้นคุณครูจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้ทำความรู้จักนักเรียน เป็นการวางแผนสำหรับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องศึกษาและเรียนรู้ก่อนเป็นลำดับแรก

การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่คุณครูจะต้องคำนึงถึง เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญของนักเรียนเพื่อดูนักเรียนแต่ละคนว่ามีจุดสนใจ จุดที่ควรพัฒนา ปรับปรุงอยู่ตรงไหน และเป็นเรื่องอะไร จะทำให้คุณครูได้จัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและตรงตามความสามารถของนักเรียนแต่ละคน ในการศึกษาข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณครู เราสามารถศึกษาข้อมูลได้จากคุณครูประจำชั้น คุณครูประจำวิชา หรือคุณครูที่เคยสอนมาก่อน ครูแนะแนว เป็นต้น เพื่อจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์มากที่สุดในการที่จะวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ข้อมูลพื้นฐานที่คุณครูจะต้องศึกษา   (ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส, 2555:25) ได้แก่ ภูมิหลังทางครอบครัว ,ผลการเรียนตามหลักสูตร, พัฒนาการทุกด้าน (ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ สติปัญญา ค่านิยมฯลฯ) , ความสนใจ ความถนัด ศักยภาพ และความต้องการจำเป็น และปัญหา / ข้อจำกัด 

ข้อมูลเหล่านี้อาจจะได้มาจากสมุดพกของนักเรียน ระเบียนสะสมจากแนะแนวของโรงเรียน คุณครูประจำชั้นและประจำวิชา คุณครูที่เคนสอน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อนนักเรียน พี่-น้อง หรือแม้แต่ตัวของนักเรียนเอง ประกอบกับการสังเกตการณ์ดำเนินชีวิตประจำวันของนักเรียนปัจจุบันในห้องเรียน สามารถนำมาประมวลผลเป็นแบบรายงานการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน คุณครูสามารถจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนได้ข้อมูลเชิงประจักษ์แก่เพื่อนครูต่อไป

          การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มจะช่วยให้ครูมีข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม  ตามความต้องการ  ความถนัด  ความสนใจการเรียนรู้ชองผู้เรียนแต่ละคน  ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เรียนอย่างชัดเจนจะช่วยให้เข้าใจนักเรียนมากขึ้น  สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม  พัฒนาหรือป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนได้อย่างถูกทาง

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน

การดูแลช่วยเหลือ หมายรวมถึง การส่งเสริม การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และปลอดภัยจากสารเสพติด

กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการปฏิบัติงานมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ

  1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
  2. การคัดกรองนักเรียน
  3. การส่งเสริมนักเรียน
  4. การป้องกันและแก้ไขปัญหา
  5. การส่งต่อ

ความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังนั้น “การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวนักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูผู้สอนมีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรียนเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม การป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียนได้อย่างถูกทาง” ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดา โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด

 

ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน ครูผู้สอนควรมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน อย่างน้อย 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

  1. ด้านความสามารถ แยกเป็น ด้านการเรียน และด้านความสามารถอื่นๆ
  2. ด้านสุขภาพ แยกเป็น ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-พฤติกรรม
  3. ด้านครอบครัว แยกเป็น ด้านเศรษฐกิจ ด้านการคุ้มครองนักเรียน
  4. ด้านอื่นๆ ที่ครูพบเพิ่มเติม ซึ่งมีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

ครูที่ปรึกษาควรใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลนักเรียนที่ครอบคลุมทั้งด้านความสามารถ ด้านสุขภาพ และด้านครอบครัว ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญ คือ

  1. ระเบียนสะสม
  2. แบบประพฤติกรรมเด็ก (SDQ)
  3. วิธีการและเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์นักเรียน การศึกษาจากแฟ้มสะสมผลงาน การเยี่ยมบ้าน การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองซึ่งจัดทำโดยกรมอนามัย เป็นต้น

ขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีหลักปฏิบัติง่ายๆ และสามารถทำได้ดังนี้

  1. จัดทำบัญชีรายชื่อและสรุปผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคน โดยจำแนกนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน (สร้างเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มเอง ตามความเหมาะสม)
  2. จัดทำแบบฟอร์มแนะนำตนเองของนักเรียนที่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน
  3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้: สำหรับขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลนี้ ผู้เขียนได้เริ่มดำเนินการ โดยการนำผลการเรียนของนักเรียนมาวิเคราะห์และจำแนกกลุ่ม เก่ง ปานกลาง อ่อน ในเบื้องต้นไว้ และเตรียมแบบฟอร์มการแนะนำตนเองให้นักเรียนบันทึกด้วยตนเอง ในชั่วโมงการปฐมนิเทศ ควบคู่กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน (ทุกครั้งที่สอน) ซึ่งถือเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่จะมองข้ามไม่ได้ นอกจากนี้ การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน และการประเมินพฤติกรรมนักเรียนด้านต่างๆ โดยใช้ SDQ จะช่วยให้ครูผู้สอน ครูที่ปรึกษา นำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา ปรับปรุง หรือแก้ไขนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลหมายถึงอะไรและส่งผลต่อครูผู้สอนอย่างไร

สรุป การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลคือการที่ครูทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ นักเรียนจะต้องทำความรู้จักรกับนักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบในทุกทกด้านโดยการ ศึกษาข้อของเด็กจากลหายที่เช่น ระเบียนสะสม เยี่ยมบ้าน สังเกต สัมภาษณ์ เป็นต้น

การคัดกรองนักเรียนมีความสำคัญอย่างไร

การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหาวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นด้วยความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอาจจัดกลุ่มนักเรียนตามผลการคัดกรองเป็น 2, 3 หรือ 4 กลุ่มก็ได้ ตาม ...

โรงเรียนมีระบบในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างไร ใช้วิธีการใดบ้าง

วิธีการและเครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 1.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีเครื่องมือดังต่อไปนี้ 1.ระเบียบสะสม 2.แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) 3. หรืออื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์นักเรียน การศึกษาจากแฟ้มสะสมผลงาน การเยี่ยมบ้าน การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตัวเองซึ่งจัดทําโดยกรมอนามัย เป็นต้น

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียนเป็นขอบข่ายของงานใด

๓. ขอบเขตของงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในสังกัดจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างครบ วงจรได้มาตรฐาน ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การจัดกิจกรรมป้องกันและ แก้ไขปัญหา การจัดกิจกรรมพัฒนาและการส่งต่อ โดยมีกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน กิจกรรมประชุมชั้นเรียน

การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลหมายถึงอะไรและส่งผลต่อครูผู้สอนอย่างไร การคัดกรองนักเรียนมีความสำคัญอย่างไร โรงเรียนมีระบบในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างไร ใช้วิธีการใดบ้าง การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการคัดกรองนักเรียนเป็นขอบข่ายของงานใด ในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เครื่องมือใดที่ให้ข้อมูลรอบด้าน แบบฟอร์มรู้จักนักเรียนรายบุคคล การคัดกรองนักเรียนหมายถึง การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ภาษาอังกฤษ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งผลต่อครูและนักเรียนอย่างไร การคัดกรองนักเรียน 4 กลุ่ม กิจกรรมรู้จักนักเรียน ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล