การประกอบอาชีพสุจริต หมาย ถึง ข้อ ใด

การประกอบอาชีพสุจริต หมาย ถึง ข้อ ใด


การประกอบอาชีพในอิสลาม

อับดุลวาเฮดสุคนธาเรียบเรียง

ความหมายและความสำคัญ 

          การประกอบอาชีพหมายถึงการทำมาหากินอย่างสุจริตทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ และการประกอบอาชีพจะต้องเป็นที่อนุมัติตามหลักศาสนาอิสลาม

          อิสลามเป็นศาสนาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพและการทำมาหากินอย่างสุจริตการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพเช่นนี้อิสลามถือว่าเป็นสิ่งที่มีเกียรติเพราะเป็นการเลี่ยงจากการขอทานผู้อื่นซึ่งทำให้ตัวเองดูต่ำต้อย

          จากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้กล่าวสนับสนุนการทำงานไว้

مَا أَكَلَ أَحَدٌ طَعَاماً خَيْراً مِن أَنَ يَأْكُلَ مِن عمَلِ يَدِهِ

     “ผู้ใดผู้หนึ่งจะไม่รับประทานอาหารใดๆที่ประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้หามาด้วยการทำงานจากน้ำมือของตัวเอง” 

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

หลักการ 

          การทำมาหากินเลี้ยงชีพถือเป็นหน้าที่ของมนุษย์โดยเฉพาะมุสลิมก็ต้องมีหน้าที่ต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยการปฏิบัติศาสนกิจที่ถูกกำหนดเช่นกันทั้งสองหน้าที่นั้นต้องมีการปฏิบัติควบคู่กันไปตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดเพราะมุสลิมต้องหาความสุขให้ได้ทั้งทางโลกนี้และโลกหน้าอัลลอฮฺตรัสว่า

رِجَالٌ لّا تُلْهِيهِمْ تِجَارَةٌ وَلا بَيْعٌ عَن ذِكْرِ اللَّهِ وَإِقَامِ الصَّلاةِ وَإِيتَاء الزَّكَاةِ يَخَافُونَ يَوْمًا تَتَقَلَّبُ فِيهِ الْقُلُوبُ وَالأَبْصَارُ

     “บรรดาผู้ชายที่การค้าขายมิได้ทำให้พวกเขาละจากการระลึกถึงอัลลอฮฺการดำรงละหมาดและการบริจาคซะกาตโดยพวกเขากลัววันที่หัวใจและตาเหลือกถลนในวันนั้น

(สูเราะฮฺอันนูรโองการที่ 37)

อัลลอฮฺตรัสว่า

(وَأَحَلَّ اللهُ الْبَيْعَ وَحَرَّمَ الرِّبَا)

และอัลลอฮฺทรงอนุมัติการซื้อขายและทรงห้ามเรื่องดอกเบี้ย” 

(สูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺอายะฮฺที่ 275)

          การทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองแม้เพียงด้วยงานเล็กๆที่อาจจะดูไม่มีเกียรติใดๆทางสังคมเลยแต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐในอิสลาม ดีกว่าการขอจากผู้อื่นโดยไม่ยอมทำงานท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้

لَأَنْ يَحْتَطِبَ أَحَدُكُمْ حُزْمَةً علَى ظَهْرِهِ، خَيْرٌ له مِن أَنْ يَسْأَلَ أَحَدًا فيُعْطِيَهُ أَوْ يَمْنَعَهُ.

     “การที่พวกท่านผู้ใดผู้หนึ่งหาฟืนแล้วแบกบนหลังเอาไปขายนั้นย่อมดีกว่าการเที่ยวขอจากผู้อื่นซึ่งเขาอาจจะให้หรือไม่ให้” 

(บันทึกโดยบุคอรีย์)

          ดังนั้นเราจึงพบว่าบรรพบุรุษอิสลามสมัยก่อนทั้งบรรดานบีทั้งหลายก็เป็นคนที่ทำงานเช่นนบีมูซาเคยรับจ้างทำงานเลี้ยงแพะนบีดาวูดก็ทำงานและหาเลี้ยงชีพจากน้ำมือของตน

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

كَانَ دَاوُدُ عليهِ السَّلامُ لا يَأْكُل إِلاَّ مِن عَملِ يَدِهِ

ท่านนบีดาวูดไม่เคยกินอาหารใดเว้นแต่ที่ได้มาจากการทำงานด้วยน้ำมือของตน” 

(บันทึกบุคอรีย์)

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

كان زكريا - عليه السلام – نجارًا     “ท่านนบีซักกะรียา เป็นช่างไม้” 

(บันทึกโดย มุสลิม)

การประกอบอาชีพขอบบรรดานบีต่างๆ

     ท่านศาสดาดาวูดทำงานเป็นช่างทำเสื้อเกราะ

     ท่านศาสดาซอและฮฺทำงานเป็นนักธุรกิจการค้า

     ท่านศาสดานูฮฺทำงานเป็นช่างก่อสร้าง

     ท่านศาสดาอิดรีสทำงานเป็น ช่างเย็บเสื้อผ้า

     ท่านศาสดามุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมทำงานเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์

     ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเองก็เคยทำงานเช่นกันสมัยที่ยังเป็นเด็กท่านเคยรับจ้างเลี้ยงแพะและเมื่อเป็นหนุ่มท่านเคยทำงานเป็นพ่อค้าและเคยเดินทางค้าขายถึงเมืองซีเรีย

เศาะหาบะฮฺและอิม่ามก็มีอาชีพต่างๆเช่น

- ท่านอบูบักรฺเป็นช่างฝีมือและเป็นพ่อค้า

- ท่านอุมัรฺเป็นชาวสวน

- ท่านอุษมานอับดุรเราะหฺมานบินเอาฟฺเป็นพ่อค้า

- อะบูกอตาดะฮฺล่าสัตว์

- อิม่ามมาลิก อิม่ามอบูฮานีฟะพ่อค้าขายเสื้อผ้า

- อิม่ามอะหมัดเย็บผ้าให้เช่าที่พัก

การปฏิบัติ 

     - การทำงานอย่างสุจริตเพื่อหาเลี้ยงชีพเป็นสิ่งที่อิสลามสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

     - การทำงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตามถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่มีเกียรติถึงแม้จะดูต่ำต้อยในสายตาผู้อื่น

     - อิสลามไม่สนับสนุนให้ขอทานจากผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถจะทำงานได้

     - อิสลามต้องการให้มุสลิมเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ

     - การทำงานเป็นสิ่งที่บรรดานบีและคนรุ่นก่อนได้ทำไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้ทำตาม

ดุอาอฺ 

اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْهُدَى، وَالتُّقَى، وَالْعَفَافَ، وَالْغِنَى

     อ่านว่า: อัลลอฮุมม่าอินนียฺอัซอ้าลู้กั้ลฮู่ดาวัตตู้กอวัลอ้าฟ๊าฟวัลฆี่นา

     ความว่า: โอ้อัลลอฮฺแท้จริงฉันขอต่อพระองค์ซึ่งทางนำความยำเกรง และการครองตนให้สะอาดปราศจากบาปและซินาและความพอเพียง 

(บันทึกโดย: มุสลิม)

اللَّهُمَّ اكْفِنِيْ بِحَلَالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِنِيْ بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ

     อ่านว่า: อัลลอฮุมมักฟี้นีบี้ฮ่าลาลี้ก้าอันฮ่ารอมี้ก้าว่าอัฆนี้นีบี้ฟัดลี่ก้าอัมมัน ซี่วาก้า

     ความว่า: โอ้อัลลอฮฺโปรดให้ฮาลาลของพระองค์เป็นที่เพียงพอแก่ฉัน(ให้พ้น)จากหะรอมของพระองค์และโปรดให้ฉันร่ำรวยอันเนื่องด้วยความโปรดปรานของพระองค์ให้พ้นจาก(การพึ่งพา)ผู้อื่นจากพระองค์ 

(บันทึกโดย: อัตติรมิซียฺ)

اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ عِلْمًا نَافِعًا وَرِزْقًا طَيِّبًا وَعَمَلا مُتَقَبَّلاً

     อ่านว่า: อัลลอฮุมม่าอินนียฺอัซอ้าลู้ก้าอิ้ลมันนาฟี้อันว่าริซก็อนต็อยยี้บันว่าอ้าม่าลันมู่ต้าก็อบบ้าลัน

     ความว่า: โอ้อัลลอฮฺแท้จริงขอต่อพระองค์ซึ่งความรู้ที่ให้ประโยชน์ ปัจจัยยังชีพที่ดีและการงานที่ถูกตอบรับ 

(บันทึกโดย: อิบนุมาญะฮฺ)