ผู้ช่วยนักวิจัย ทําอะไรบ้าง

นอกจากทุน SUN ที่เป็นทุนอุดหนุนค่าเทอมของ Ewha GSIS ที่นี่ยังมีทุนประเภทอื่นๆ อีก

พอเราเข้ามาเรียน และได้ทำงานในออฟฟิศ Ewha GSIS เลยได้รู้ว่าเพื่อนหลายๆ คน ก็รับทุนเหล่านี้ แลกกับการทำงานตามจำนวนชั่วโมงใน Ewha GSIS เอง อาจจะเป็นที่ออฟฟิศ ในศูนย์วิจัยย่อยในคณะ หรือเป็นผู้ช่วยวิจัยของอาจารย์ในคณะเอง

คนที่ทำงานในออฟฟิศเกือบทั้งหมดเข้ามาทำงานผ่านการสมัครทุน EWHA Scholarship on a Working Basis และ GSIS KOICA-Sun พวกนี้จะมีตำแหน่งเรียกว่า TA (Teacher Assitant) แต่ไม่ใช่ว่า TA ทุกคนต้องอยู่ในออฟฟิศ อาจจะไปเป็น TA หรือผู้ช่วยสอนจริงๆ แบบช่วยกรอกเกรด จัดการอัพไฟล์ในระบบหลังบ้านต่างๆ ซึ่งเราไม่ค่อยรู้รายละเอียดตรงนี้ เนื่องจาก TA ที่เราเห็นและรู้จักคือพวกที่อยู่ในออฟฟิศ ทำงานเรื่องการแปลเอกสาร ตอบอีเมลนักศึกษา ไปส่งไปรษณีย์ให้วิทยากรที่รับเชิญมาบรรยาย ฯลฯ

เรียกได้ว่ามีให้ทำงานสารพัด สมัครมาแล้วก็ลุ้นกันเอาเองว่าจะได้ไปหย่อนอยู่ที่งานประเภทไหน แล้วก็จะได้ทุนการศึกษาตามระดับของชั่วโมงทำงานตามประเภทที่สมัคร

อีกทุนหนึ่งที่เราเพิ่งมารู้จักก็หลังจากที่เข้ามาเรียนแล้วก็คือทุน Research Assistant แต่เราไม่ได้คิดว่าใครอยากจะเป็นก็เป็นได้ เพราะชื่อมันฟังดูยากๆ

กลายเป็นว่าอยู่ๆ หลังจากที่เราไปลงเรียนวิชาหนึ่งของอาจารย์ที่ปรึกษา (Prof.Thomas Kalinowski) ชื่อ Comparative Political Economy เมื่อเทอมที่สอง อาจารย์ก็จำได้และติดต่อมาให้เป็น Research Assistant หรือผู้ช่วยวิจัยในเทอมถัดมา

วิชานั้นมีคนลงเรียนน้อย คือมีกันอยู่แค่ 5 คน (จีน ไทย ลาว เกาหลี และอเมริกัน) ก่อนลงเรียนเราก็ได้ยินมาจากเพื่อนอีกคนว่าวิชาของอาจารย์คนนี้ยากมากๆ เพราะเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง ไม่แปลกที่หลายคนจะหลีกเลี่ยงแล้วไปลงวิชาอื่นแทน

ผู้ช่วยนักวิจัย ทําอะไรบ้าง
Photo by Armin Rimoldi on Pexels.com

แต่การที่มีนักเรียนน้อยกลับกลายเป็นข้อดีในเวลาต่อมา เพราะนั่นเป็นเทอมแรกที่มีการเรียนแบบออนไลน์ (เจอโควิดเข้ามาพอดี) และเราได้พูดคุยกันเหมือนเป็นมีตติ้งเล็กๆ ใกล้ชิดกันในสไกป์ แม้ว่าเนื้อหามันจะยากจริงๆ ทำเอาเราเครียดทุกครั้งที่ต้องอ่านเอกสารและเปเปอร์และเขียนความคิดเห็นลงใน Cybercampus ก่อนเข้าเรียน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองอ่านเข้าใจถูกต้องครบถ้วนไหม บางบทความเป็นนักวิชาการฝรั่งเศสเขียนภาษาอังกฤษ เป็นความยากไปอีกขั้น

แต่สุดท้ายอาจารย์ก็ให้ทำอะไรยากๆ เพื่อดูว่าเราจะรับได้แค่ไหน (ไม่ใช่เพราะรู้สึกสะใจ 555) แล้วผลตอบรับก็ออกมาโอเค อาจารย์เอาความซับซ้อนนั้นมาอธิบายเป็นความเรียบง่ายงดงามให้ฟังอีกทีในชั้นเรียนออนไลน์

จริงๆ แล้วตอนอาจารย์ส่งเมลมาถามว่าสนใจเป็น RA ไหม เราทั้งอึ้งทั้งดีใจ อึ้งเพราะคิดว่าตัวเองต้องทำไม่ได้แน่ๆ ตั้งแต่มาเรียนก็รู้สึกว่าไม่ใช่สายนักวิชาการที่นั่งทำวิจัย กว่าจะเขียนออกมาได้แต่ละเปเปอร์ก็เป๋ๆ ไปเยอะ มันไม่เหมือนเขียนบทความที่ปล่อยไหลไปตามกระแสความคิด (ที่มีโครงสร้างหลวมๆ ประมาณหนึ่ง) ก็เลยเมลไปขอบคุณและบอกความกังวลเรื่องนี้ไปตรงๆ

อาจารย์บอกว่า ไม่เป็นไร ลองทำดูก่อน ทำแล้วเดี๋ยวก็ค่อยแนะนำกันไป เราก็เลยโอเค

แล้วผู้ช่วยวิจัยต้องทำอะไร?

สำหรับกรณีของอาจารย์คาลินาฟสกี ภารกิจหลักสามอย่างของทีมวิจัยเรา ได้แก่ รายงานประจำปี Sustainable Governnance Indicators รายงานประจำปี Bertelsmann Transformation Index และการนำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการโควิดของเกาหลี ใน KISA 12th Annual Convention & APISA 14th Congress

ผู้ช่วยนักวิจัย ทําอะไรบ้าง
Photo by Markus Winkler on Pexels.com

ที่เรียกว่าทีมวิจัยเรา เพราะนอกจากอาจารย์และเราแล้ว ยังมีแนนซี่ คิม เพื่อนอีกคนที่เคยทำงาน NGO และมาลงเรียนวิชาเดียวกันเมื่อเทอมก่อน

เรากับแนนซี่แบ่งประเด็นกันทำรายงาน SGI โดยที่แนนซี่รับผิดชอบเรื่อง Social Policies และ Democracy ส่วนเราทำเรื่อง Economic Policies และ Governance โดยที่ในประเด็นหลักนี้แตกออกเป็นหัวข้อย่อยมากมาย เช่นในหมวด Economic Policies แบ่งออกเป็นอีก 10 กว่าหัวข้อ เพื่อจัดทำออกมาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพในแต่ละหมวดในแต่ละมิติ

แต่รายงาน SGI ปีนี้พิเศษตรงที่เป็นปีที่มีเรื่อง COVID-19 สะเทือนไปทั้งโลก ประเด็นของคำถามใน SGI ปีนี้เลยเจาะไปที่การจัดการวิกฤตโควิดของแต่ละประเทศ ในด้านต่างๆ ข้างต้น และทีมวิจัยเราประจำ Ewha GSIS แน่นอนว่าต้องรับผิดชอบบรรดาตัวชี้วัดของ ประเทศเกาหลีใต้

การทำงานจะมีการคุย Zoom กันนานๆ ครั้ง เพื่อดูว่าใครทำอะไร หรือควรทำอย่างไร ที่เหลือเป็นการคุยกันผ่านอีเมลและไฟล์ document ที่แชร์กันมาเติมหัวข้อของตัวเอง สุดท้ายอาจารย์ก็จะมาคอมเมนต์ถ้าเห็นว่ายังตกหล่นประเด็นไหน หรือเห็นว่าข้อความไหนยังน่าสงสัยหรือมีแหล่งอ้างอิงไม่ชัดเจน

จริงๆ แล้วมันก็สนุกน่าตื่นเต้นดี เพราะทำให้เรารู้ว่าคำว่า “ทำไม่ได้” กับคำว่า “ทำได้” ของเรา มันอยู่ใกล้กันแค่นี้ แค่ลองทำไปก่อน แล้วถึงได้รู้ว่าที่คิดว่าทำไม่ได้ มันก็เป็นแค่ความรู้สึกกลัวว่าสิ่งที่ทำออกไป (จนได้) จะไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้หรือดีพอในสายตาคนอื่นๆ

แต่ช่วงเวลาสามสี่เดือนที่ทำรายงานนี้ พร้อมเป็นลูกมือให้อาจารย์กับแนนซี่ซึ่งเป็นนักศึกษา ป.เอก เขียนเปเปอร์ไปลงวารสาร ก็ทำให้เราได้ฟีดแบ็กกลับมาบ้าง ว่ายังขาดอะไรอยู่ ยังต้องการข้อมูลอะไรเพิ่ม บางทีก็ใช้เวลานานมากๆ กับข้อมูลที่จะไปปรากฏในสไลด์เดียว

แต่ก็ยังดีที่ไม่ได้ขาดมากซะจนรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวถ่วงหรือไม่มีประโยชน์ แล้วผลลัพธ์แบบนี้มันก็สร้างความมั่นใจอยู่ลึกๆ ในแวดวงที่ก่อนหน้านี้เราแทบไม่รู้อะไรเลย

เป็นผู้ช่วยนักวิจัย อาชีพนี้ดีไหมคะ

เป็นผู้ช่วยนักวิจัย(ในองค์กรของรัฐ) งานเป็นยังไงคะ มีโอกาสขยับไปเป็นนักวิจัย หรือได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศไหมคะ
รายได้และความมั่นคงเทียบกับทำงานบริษัทอย่างไหนดีกว่ากัน
ใครเคยเป็นหรือเป็นอยู่หรือพอรู้ข้อมูลช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อยค่ะ

0

ผู้ช่วยนักวิจัย ทําอะไรบ้าง

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ