พระสงฆ์ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณป่าเขา หมายถึงข้อใด

หน้าที่ชาวพุทธ

 

พระสงฆ์ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณป่าเขา หมายถึงข้อใด
          
พระสงฆ์ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณป่าเขา หมายถึงข้อใด

ชาวพุทธคือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 

1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์

2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา

ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน ดังนี้

 1. หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะเป็นพระนักเทศน์ พระธรรมฑูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา

ทั้งพระภิกษุและสามเณร มีบทบาทและหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้ 

1.1 การศึกษาตามหลักไตรสิกขา คือ จะต้องศึกษาทั้ง 3 ด้าน

(1) ศีล เป็นการศึกษาด้านพระวินัย (ศีล 227 ข้อ) ธรรมเนียม วัตรปฏิบัติ และมารยาทต่าง ๆ ของพระสงฆ์ เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและด้วยอาการสำรวมระวัง

(2) สมาธิ เป็นการศึกษาด้านสมาธิ ฝึกเจริญวิปัสสนาเพื่อให้จิตสงบ

(3) ปัญญา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาด้านปัญญา โดยใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้เข้าใจถึงสัจธรรมหรือความจริงของชีวิต รวมทั้งเป็ฯเครื่องมือดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาชีวิตต่าง ๆ 

1.2 เป็นพระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ 

(1) พระนักเทศน์แม่แบบ หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมจากคณะกรรมการฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง 

เพื่อไปจัดอบรมพระนักเทศน์ประจำจังหวัด 

(2) พระนักเทศน์ประจำจังหวัด หมายถึง พระนักเทศน์ที่ผ่านการอบรมปฏิบัติหน้าที่เทศน์ภายในจังหวัดที่สังกัดหรือสถานที่ที่ทายกอาราธนา

นอกจากนั้น พระภิกษุทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถ ก็สามารถเป็นพระนักเทศน์ได้ โดยให้การสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และ

ต้องมีความรู้ทางด้านธรรมเป็นอย่างดียิ่ง

พระสงฆ์ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในบริเวณป่าเขา หมายถึงข้อใด

 1.3 เป็นพระธรรมฑูต เป็นพระภิกษุที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธสาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ในนามคณะสงฆ์ ถ้าเผยแผ่เอง เรียกว่าธรรมกถึก หรือพระนักเทศน์ 

1.4 เป็นพระธรรมจาริก ได้แก่ พระภิกษุที่ออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ และกรมประชาสงเคราะห์ โดยการปฏิบัติงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาเผ่าต่างๆ รวม 6 เผ่า ได้แก่ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ และกระเหรี่ยง ณ สถานที่ต่างๆ ในภาคเหนือ

1.5 เป็นพระวิทยากร ได้แก่ พระภิกษุผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป และเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนถึงการจัดอบรมต่างๆ ตามที่คณะสงฆ์มอบหมาย หรือหน่วยงานนั้นๆ ขอความอนุเคราะห์

นอกจากนั้น พระวิทยากร ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี มีทักษะความคล่องตัวในการสอนตามเนื้อหาวิชาเฉพาะที่ได้รับมอบหมาย มีการเตรียมการล่วงหน้า มีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีบุคลิกลักษณะดี และเหมาะสมเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสุภาพอ่อนโยน และมีศรัทธาในเรื่องการอบรมอย่างแท้จริง มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบดีไม่หลีกเลี่ยง และตรงต่อเวลา

1.6 เป็นพระวิปัสสนาจารย์ ได้แก่ พระภิกษุผู้ทำการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ กล่าวคือ ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมโดยผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด และผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์จากกรมการศาสนา

นอกจากนั้น พระภิกษุที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็อาจเผยแผ่การปฏิบัติกรรมฐานได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา

1.7 พระนักพัฒนา ได้แก่ พระสงฆ์ที่ทำงานสงเคราะห์ชุมชนด้วยการให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือชาวบ้านด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น เช่น การจัดตั้งศูนย์เด็กในวัด การอบรมเยาวชน การทำโครงการฝึกอาชีพ ธนาคารข้าว หรือการส่งเสริมการแพทย์พื้นบ้าน ให้คำแนะนำด้านสุขอนามัย รวมทั้งการส่งเสริมชาวบ้านในเรื่องเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรกรรมเพื่อการพึ่งตนเอง ซึ่งการทำงานดังกล่าวนี้เกิดจากความคิดริเริ่มของท่านเอง มิใช่เพราะการชักนำของหน่วยงานรัฐหรือเพื่อสนองนโยบายรัฐ 

 พระสงฆ์เหล่านี้ได้ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่า พระนั้นไม่ได้มีบทบาทเฉพาะพิธีกรรมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่านยังมีบทบาทที่สำคัญในพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอีกด้วย

 2. หน้าที่และบทบาทของอุบาสก อุบาสิกา ที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน 

อุบาสก (ชาย) และอุบาสิกา (หญิง) หมายถึง ชาวพุทธผู้ครองเรือนหรือคฤหัาถ์ผู้อยู่ใกล้พระศาสนา ซึ่งอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อพระศาสนาและประกอบกิจกรรมทางศาสนามากกว่าชาวพุทธทั่วไป เช่น สามทานรักษาพระอุโบสถศีล (ถือศีล 8) ในวันพระเป็นต้น อุบาสก อุบาสิกาที่ดีควรยึดหลัก " อุบาสกธรรม 7 " เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้

 หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะ การไปวัดจะได้พบปะกับพระภิกษุผู้ทรงศีลทรงคุณธรรมหรือได้พบกับมิตรที่สนใจในเรื่องธรรมเหมือนกับเรา ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการคบหากัลยาณมิตร หรือเรียกว่ามิตรที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า

ยํ เว เสวติ ตาทิโส ( ยังเว เสวะติ ตาทิโส ) คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้นแล

 หมั่นฟังธรรม เมื่อมีโอกาสควรใส่ใจในการฟังธรรมอยู่เสมอ เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้ได้รู้สิ่งไม่รู้ ส่วนสิ่งที่รู้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การไปวัดเพื่อฟังเทศน์ ฟังธรรมตามโอกาสต่าง ๆ ฟังการแสดงธรรมเทศนาทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์ เป็นต้น

 พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศานามาใช้ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง

 มีความเลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์แต่ละรูปได้เสียสละความสุขทางโลก เพื่อมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์และพระสงฆ์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดไป

 ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม มิใช่ฟังธรรมโดยคิดในแง่ อคติ คิดขัดแย้ง พยายามฟังธรรมเพื่อก่อให้เกิดกุศล จิตใจจะได้เป็นสุข

 ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่แสวงบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

 ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน ถ้าสามารถช่วยเหลือพระพุทธศาสนาได้ ด้วยวิธีการใดก็ควรขวนขวายเร่งรีบกระทำ อาทิ การตั้งชมรมพุทธศาสน์ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย จัดให้มีการอบรมเยาวชน บุคคลทั่วไป หรือ คนต่างชาติให้เข้าใจใน พระพุทธศาสนา

 3. การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัท

 ชาวพุทธหรือเหล่าพุทธบริษัท 4 มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระศาสนาให้มั่นคง โดยปกป้องพระพุทธ พระธรรมและพระสฆ์ รวมทั้งวัฒนธรรม ดังนี้ 

1. สนใจศึกษาหลักธรรมคำสอนอยู่เสมอและนำไปปฏิบัติให้ถูต้อง ทั้งการรักษาศีล การปฏิบัติธรรม และการเจริญสมาธิ

2. ช่วยเผยแพร่หลักธรรมคำสอน โดยอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างถูกต้องชัดเจน หรือเผยแพร่ในรูปของเอกสารสิ่งพิมพ์หรือสื่อต่างๆ เท่าที่จะทำใด้

3. ไม่ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ทำกิจนอกเหนือพุทธบัญญัติ เช่น ทำไสยศาสตร์ ทำนายโชคชะตาราศรี ใบ้หวย ทำเครื่องรางของขลัง หรือประกอบพุทธพาณิชย์อื่น ๆ

4. ส่งเสริมพระภิกษุสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสศรัทธา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชิบ หรือเคร่งงครัดในพระธรรมวินัยตามพุทธบัญญัติ โดยจัดกิจกรรมเชิดชูทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือระดับประเทศ โดยความร่วมมือระหว่างวัด สถานศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

5. ไม่ทำลายศาสนสถานหรือศาสนสมบัติ เช่น โบสถ์ ภาพกิจกรรมฝาผนัง หรือสิ่งของเครื่องใช้ภายในวัดให้ชำรุดแตกหัด รวมทั้งมีส่วนร่วมอนุรักษ์พุทธวัฒนธรรมต่าง ๆ ในสังคมไทย เช่น ประเพณีทอดผ่าป่า ทอดผ่ากฐิน ทำบุญตักบาตร ฯลฯ

6. สอดส่องดูแลมิให้เกิดการกระทำอันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ลบหลู่ ทำลาย หรือบิดเบือนพระพุทธศาสนา 

การเผยแผ่ศาสนาของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอะไร

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการนําหลักคําสอนของพระพุทธเจ้า ไปแสดงให้เหมาะสมกับกาลเทศะ มี เหตุผล มีจิตเมตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่คนฟัง โดยมุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพบุคคลในการดําเนินชีวิตได้ด้วยตนเองตาม หลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียของสํานักสงฆ์จันทรัตนาราม อําเภอเบตง จังหวัดยะลา มีการดํา ...

พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เรียกว่าอะไร

พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้ คือรู้อย่างจำรัส หรือแจ่มแจ้ง พระธรรม หมายถึง ความจริง หรือสัจธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และนำมาสั่งสอน พระสงฆ์ หมายถึง พระพุทธสาวก ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระสงฆ์ ในระดับสูงได้แก่ ท่านผู้บรรลุความเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภท

พระสงฆ์มีความหมายว่าอย่างไร

พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือน ...

พระสงฆ์มีบทบาทต่อพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง

พระสงฆ์มีบทบาทส าคัญในการสืบสานวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์ ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่และความเชื่อเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา และในฐานะที่พระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระสงฆ์จึง สามารถใช้บทบาทดังกล่าวในการถ่ายทอดประวัติหลักธรรมค าสอนของพระพุทธศาสนา สู่ ความเป็นรูปธรรม ...