คำบรรยายลักษณะงานหมายถึงอะไร

ในกระบวนการขั้นตอนสมัครงาน เมื่อผู้สมัครต้องการจะสมัครงานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก่อนที่จะร่อนใบสมัครไปยังฝ่าย HR ขององค์กรนั้น ๆ ผู้สมัครงานจำเป็นต้องอ่านรายละเอียดการรับสมัครงานอย่างครบถ้วนก่อนตัดสินใจ ซึ่งรายละเอียดการรับสมัครงานนั้น ฝ่าย HR จะทำหน้าที่ประสานงานกับหัวหน้าแผนกต่าง ๆ เพื่อเขียนรายละเอียดในการประกาศรับสมัครงาน

สำหรับ HR คนไหนที่ยังไม่มีความรู้ในเรื่องของการเขียน job description งานในบทความนี้ GreatDay HR จะอาสาพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับการเขียน job description งานให้เป๊ะปังจนผู้สมัครงานอยากส่งเรซูเม่มาหา

Job description คืออะไร

Job description หรือที่เรียกในชื่อสั้น ๆ ว่า JD คือ รายละเอียดต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงขอบเขตในหน้าที่การงานตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง รวมไปถึงความรับผิดชอบของงานในตำแหน่งนั้น ๆ และยังมีการบอกรายละเอียดอีกด้วยว่าต้องการบุคคลที่มีความสามารถแบบไหนบ้างเพื่อเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้

Job description งานมีความสำคัญอย่างไร

หลาย ๆ องค์กรมักมองข้ามความสำคัญของ Job description เนื่องจากคิดว่าเป็นงานที่จุกจิก รายละเอียดเยอะ และไม่คุ้มค่ากับเวลาทำงาน เนื่องจากอาตคิดว่างานอื่น ๆ มีความสำคัญมากกว่า แต่จริง ๆ แล้ว job description ที่ดี มีผลกระทบต่อการทำงานมากกว่าที่หลาย ๆ คนคิด เพราะถือว่าเป็นแนวทางในการทำงาน และเป็นตัวกำหนดหน้าที่บทบาทของพนักงานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โดยความสำคัญของ job description มีดังนี้ 

ช่วยดึงดูดผู้สมัครงานที่ใช่

วัตถุประสงค์ของการเขียน job description คือ เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าที่การงานนั้น ๆ จะตอบสนองความต้องการขององค์กรได้เป็นอย่างดี และถือเป็นมาตรฐานในการใช้ในการคัดเลือกผู้มีความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้น ๆ ให้เข้ามาทำงาน เมื่อคุณระบุคุณสมบัติสำหรับบทบาทหน้าที่นั้น ๆ อย่างชัดเจนแล้ว จะมีโอกาสน้อยมากที่จะได้พนักงานใหม่ที่ไม่ตรงตามเกณฑ์ อีกทั้งยังช่วยองค์กรประหยัดเวลาในการรับสมัครงาน โดยใช้เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกใบสมัครที่ถูกส่งเข้ามา ซึ่งจะช่วยคัดกรองผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการ

ช่วยเป็นแนวทางในการฝึกอบรมพนักงาน

การจัดทำคู่มือการอบรมพนักงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย job description จึงถือเป็นส่ิงที่ช่วยกำหนดแนวทางในการฝึกอบรมพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ โดย  job description ที่มีรายละเอียดครบถ้วนนั้นจะช่วยให้การเขียนคู่มืออบรมพนักงานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพี่ะจะทำให้ทราบว่าพนักงานใหม่ขาดความรู้ ทักษะ หรือคุณสมบัติตรงไหนบ้าง และตำแหน่งใดบ้างที่พนักงานอาจต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม

ช่วยประเมินความพึงพอใจของพนักงานและป้องกันพนักงานลาออก

รายละเอียดงานหรือ job description งานถือเป็นภาพรวมตัวอย่างว่าชีวิตการทำงานของผู้สมัครงานกับองค์กรจะเป็นอย่างไร หากองค์กรไม่นำเสนอรายละเอียดต่าง ๆ ของ job description งานอย่างชัดเจน อาจนำไปสู่ปัญหาพนักงานสับสนหรือรู้สึกว่ารายละเอียดงานต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานในองค์กรไม่รู้สึกพึงพอใจในการทำงาน หรืออาจทำให้เกิดการลาออกจากงานได้ แต่ในทางกลับกัน หาก job description มีความชัดเจนและให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน พนักงานจะรับทราบหน้าที่การทำงานได้อย่างชัดเจน และทำให้การทำงานนั้นมีความราบรื่นมากย่ิงขึ้น

ช่วยวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

Job description ถือเป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานถึงสิ่งที่พนักงานคนหนึ่งในตำแหน่งนั้น ๆ ต้องทำให้บรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายขององค์กรให้ได้

ส่วนประกอบของ job description

รายละเอียดงานใน job description ประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้

ตำแหน่งงาน

ตำแหน่งงานเป็นคำอธิบายสั้น ๆ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยสะท้อนถึงเนื้อหา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของงาน และสอดคล้องกับตำแหน่งงานอื่น ๆ ที่มีบทบาทคล้ายคลึงกัน

วัตถุประสงค์งาน

วัตถุประสงค์ของงานจะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของบทบาทและขอบเขตความรับผิดชอบของงานซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นส่วนที่ทำให้รู้ว่า “ทำไมงานนี้ถึงมีอยู่ในองค์กรนี้”

หน้าที่การงานและความรับผิดชอบ

ส่วนนี้ประกอบด้วยคำอธิบายหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย เป็นส่วนที่อธิบายลักษณะของงาน โดยต้องบอกว่างานที่ต้องรับผิดชอบนั้นเป็นอย่างไร ทำงานที่ไหน หรือต้องทำงานนี้บ่อยเพียงใด

คุณสมบัติที่จำเป็น

ในส่วนนี้จะบ่งบอกถึงความรู้ความสามารถที่จำเป็นในการทำงานตำแหน่งนั้น ๆ (เช่น ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ และความสามารถต่าง ๆ) ที่จำเป็นในการทำงาน 

สภาพการทำงาน

ใน job description งานควรระบุสภาพการทำงานและความต้องการทางกายภาพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยสิ่งที่ต้องระบุในส่วนของสภาพการทำงาน มีดังนี้

  • สภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ทำงานในออฟฟิศหรือกลางแจ้ง และตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
  • การสัมผัสสาร วัสดุอันตราย การต้องเผชิญกับเสียงดัง เป็นต้น
  • ข้อกำหนดทางกายภาพ เช่น จำเป็นต้องมีการปีนเขา ต้องมีการยืนทั้งวัน หรือต้องพิมพ์งานเป็นระยะเวลาตามที่กำหนด เป็นต้น
  • ระบุว่าจำเป็นต้องมีการทำงานล่วงเวลาหรือไม่
  • ข้อกำหนดการเดินทางมาทำงาน
  • ข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยและเหตุฉุกเฉิน

เขียน Job description อย่างไรให้ตรงใจผู้สมัคร

การเขียน job description ควรมีการวางแผนและจัดเตรียมรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานในตำแหน่งนั้น ๆ โดยเคล็ดลับในการเขียน job description ให้ดูน่าอ่าน มีเคล็ดลับดังต่อไปนี้

JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

ส่วนประกอบที่อยู่ใน JD

– ข้อมูลทั่วไป (Job Title): ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ชื่อตำแหน่งงาน แผนก ฝ่าย ผู้บังคับบัญชา ระดับตำแหน่งเป็นต้น

– วัตถุประสงค์ของตำแหน่งงาน หรือ ที่เรียกว่า Job Purpose

– ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนที่บรรยายลักษณะงานหลักที่จะต้องทำหรือหน้าที่ความรับผิดชอบที่ดำเนินงาน ซึ่งในบ้างกรณีก็อาจจะแบ่งส่วนงานนี้ออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.      ความรับผิดชอบหลัก (Key Responsibilities),

2.      Key Activities คือกิจกรรมหลักที่ต้องทำ ซึ่งบางองค์กรที่มีการทำ Competency จะต้องมีการกำหนด KA ให้ชัดเจน เพื่อจะนำมาใช้ในการประเมิน Competency.  

3.      ผลที่บริษัทคาดหวัง  (Key Expect Results)  ผลลัพธ์ที่คาดหวังที่จะได้รับออกมาจากในแต่ละกิจกรรมหลัก

– ความยากของงาน (Major Challenge): ซึ่งเป็นงานที่จะต้องทำที่อาจจะต้องใช้ความรู้ทักษะในการดำเนินงานหรือ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

– ขอบเขตงานของผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinate's Responsibilities) ในส่วนนี้จะทำให้ทราบว่าจะมีลูกน้องที่อยู่ใต้บังคับบัญชากี่คน รวมถึง ลูกน้องที่อยู่ภายใต้การดูแลมีตำแหน่งอะไรบ้าง

– การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น (Working Relationship) การกำหนดหน่วยงานที่จะต้องทำงานร่วมด้วย และงานที่ต้องติดต่อ หรือความถี่ที่ต้องติดต่อหรือทำงานด้วย

– คุณสมบัติประจำตำแหน่ง (Job Specification) ซึ่งเป็นรายละเอียดของคุณสมบัติที่จะต้องมีสำหรับผู้ปฎิบัติในตำแหน่งนี้ เพื่อเป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมารับผิดชอบให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลหรือแก้ไขปัญหา

ซึ่งรายละเอียดในส่วนนี้มีความสำคัญสำหรับที่ใช้ในกระบวนสรรหาพนักงานอีกด้วย ซึ่งใน Job Specification อาจจจะมีส่วนประกอบดังนี้

- วุฒิการศึกษา (Education Background)

- ประสบการณ์ทำงาน (Professional Experiences)

-ความสามารถประจำตำแหน่ง (Key Competencies)

-คุณสมบัติอื่น ๆ (Other)

-อบรม,สัมนา (Training)

ใครมีหน้าที่เขียน JD

สำหรับการเขียนในบางองค์กรให้ทาง   HR  เขียน  JD  แต่คนที่รู้ลักษณะงานดีที่สุดในตำแหน่งนั้นๆ คงจะไม่ใช่  HR  ดังนั้น HR อาจเป็นคนเตรียมการและติดตาม  (Facilitator) คือ เตรียมเอกสาร ทำตัวอย่างอธิบายรายละเอียดที่ควรจะกรอกข้อมูลในแต่ละช่อง หลังจากนั้นให้ผู้รับผิดชอบในแต่ละแผนกดำเนินการ

แต่ละหน่วยงานเป็นคนเขียน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นหัวหน้างานเขียนรายละเอียดให้กับตำแหน่งของลูกน้อง  หรือ บางองค์กรอาจจะให้ทางตำแหน่งงานนั้นๆเขียนหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ หลังจากนั้นทบทวนโดยหัวหน้าอีกครั้งหนึ่ง

การเขียน  JD ที่ดี

1.            เขียน JD โดยนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ของผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ

2.            JD ที่เขียนต้องให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่มีอยู่ในผังองค์กร  (Organization chart)

3.            JD เมื่ออ่านแล้ว ผู้อ่านสามารถเข้าใจเหมือนกันหรือเข้าใจตรงกันกับเนื้อหาที่เขียน

4.            ใช้คำกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย

5.            กรณีที่ใช้คำศัพท์เทคนิค ตัวย่อ ควรมีคำอธิบายเพิ่มเติม หรือ วงเล็บคำอธิบายให้ชัดเจน

ประโยชน์ของ  JD

•             ช่วยในการสรรหา และคัดเลือกพนักงาน เพราะมีรายละเอียดของคุณสมบัติของคนที่จะรับอยู่ใน ส่วนของ  Job Specification ในบางองค์กรจะต้องมีการแนบ JD มาพร้อมกับใบขอคน

•             เป็นเครื่องมือมอบหมายงานให้กับพนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานใหม่ทราบขอบเขตงานหรือกิจกรรมที่จะต้องทำหลังจากเริ่มงานใหม่

•             ช่วยกำหนด Competency ของตำแหน่งงานนั้นๆ ในบางองค์กรมีการกำหนด KA (Key Activity), รวมถึง Knowledge ความรู้, Skill ทักษะ, Attribute คุณลักษณะลงใน JD อีกด้วย

•             สามารถนำไปใช้ในการประเมินค่างาน/ใช้ในการประเมินและวัดผลงาน

•             นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำสำรวจค่าจ้างเงินเดือน ช่วยเปรียบเทียบในการตัดสินใจด้านค่าตอบแทนพนักงาน

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำ JD

•             คนที่เขียน JD เป็นผู้ที่ไม่ได้เข้าใจหรือทำงานในตำแหน่งนั้น แต่ได้รับมอบหมายให้มาเขียน JD

•             เมื่อมีตำแหน่งเพิ่มเติมจากผังองค์กร แต่ไม่มีการเขียน JD   เพิ่มในตำแหน่งใหม่

•             จัดทำ JD แต่ไม่มีการทบทวน หรือ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการทำงานปัจจุบัน

•             การทำ JD กว้างๆ ไม่ละเอียดเพียงพอ อ่านแล้วอาจจะยังไม่เข้าใจว่าเนื้อหางานหรือ Key Activity ที่จะต้องทำจริงๆคืออะไร

•             เขียนหน้าที่งานเหมือนกันหมดตั้งแต่ระดับปฎิบัติการไปถึงผู้จัดการ ซึ่งในแต่ละระดับหน้าที่ความรับผิดชอบควรที่จะต้องแตกต่างกัน

•             ทำไว้เพื่อให้ผู้ตรวจสอบ (Audit) ตรวจสอบว่ามี เพราะถูกบังคับจากข้อกำหนดของระบบคุณภาพ ทำไว้ให้ตรวจเท่านั้นไม่ได้เอามาใช้งานจริง หรือทบทวนอยู่เสมอ

ข้อกำหนดสำหรับระบบ  ISO9001  มีข้อกำหนดข้อไหนบ้างที่เกี่ยวข้องกับ  JD

ข้อกำหนดหลักที่เกี่ยวข้อง คือ ข้อกำหนด 5.3 บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในองค์กร

ผู้บริหารสูงสุดต้องมอบหมายความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่เพื่อให้

a) มั่นใจว่า QMS  เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

b) ทำให้มั่นใจว่ากระบวนการได้ส่งมอบผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง

c) รายงานสมรรถนะของ QMS และโอกาสในการปรับปรุงโดยเฉพาะต่อผู้บริหารสูงสุด

d)สร้างความตระหนักในการให้ความสำคัญกับลูกค้า

e) ทำให้มั่นใจว่า QMS ยังสมบูรณ์ระหว่างการวางแผนการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลง QMS

ดังนั้นการที่องค์กรมีการกำหนด  JD   ก็เป็นการกำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่นั้นเอง

ผู้เขียน

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ

 ที่ปรึกษาระบบบริหารงานคุณภาพบริษัท PMC Expert Co., Ltd.

  Certified Lead Auditor: ISO9001, IATF16949.

www.pmcexpert.com

https://www.facebook.com/rattanasereekiatsukhum/


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

ข้อกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานหมายถึงอะไร

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification) เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละตำแหน่ง จัดเป็นเอกสารที่สำคัญสำหรับ HR มืออาชีพ ที่จะใช้ในการสื่อให้ผู้สนใจในตำแหน่ง นั้น ๆ ทราบและตัดสินใจว่าเขาเหมาะกับตำแหน่งนั้น ๆ หรือไม่ ดังนั้น HR ควรจะเขียนอธิบาย ...

คำบรรยายลักษณะงาน(Job Description) หมายถึงอะไร

Job Description หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า JD ก็คือคำบรรยายลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง ภาษาไทยทางการอาจเรียกว่า “ใบพรรณนาหน้าที่งาน” หรืออาจเรียกให้เข้าใจขึ้นว่า “เอกสารแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบ” ซึ่งจะต้องระบุคุณสมบัติ ขอบเขตการทำงาน ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมถึงโครงสร้างของการบริหารงานให้ชัดเจนที่สุด JD ที่ดีนั้นจะ ...

รายละเอียดของงานคืออะไร

JD (Job Description) คืออะไร JD (Job Description) ภาษาไทยเรียกว่า ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน หรือ คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรยายลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน รวมถึงคุณสมบัติของคนที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด

Job Description มีไว้เพื่ออะไร

ช่วยระบุหน้าที่งาน และคุณสมบัติพนักงาน ทำให้สรรหาพนักงานให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เป็นการมอบหมายภาระหน้าที่งานให้กับพนักงานใหม่อย่างครบถ้วน เป็นแนวทางในการจัดทำ OJT (On The job training) ใช้วิเคราะห์หลักสูตรฝึกอบรม