เงินสงเคราะห์บุตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สอบถามได้ที่ประกันสังคมทั้ง 1506 และ Live Chat

  • สอบถามได้ที่ประกันสังคมทั้ง 1506 และ Live Chat
    • Q : ส่งสมทบตัวเอง ไม่ได้มีนายจ้าง ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมไหม
    • Q : เงินสงเคราะห์บุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง และขอเบิกที่ไหน
    • Q : ขั้นตอนขอรับผลประโยชน์
    • Q : มีลูก..เบิกได้กี่คน?
    • Q : เข้าไปเช็คด้วยตัวเองได้อย่างไรว่าเงินโอนเข้าเมื่อไหร่?
    • Q : เท่ากับว่าเด็ก 1 คน เบิกได้ทั้งหมดเท่าไหร่?
    • Q : เบิกย้อนหลัง ยื่นเรื่องอย่างไร??

ข่าวดีสำหรับผู้ที่มีลูกคนแรก หรือคนที่ 2 และ 3 และได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมาจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจาก 400 บาทเป็น 600 บาทแล้ว ซึ่งจะเริ่มจ่ายในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป ส่วนใครที่ได้ 400 บาท ตั้งแต่มกราคมปี 2561 ก็จะยกยอดจ่ายย้อนหลังให้จนครบ 12 เดือน โดยวิธีการจ่าย จะจ่ายย้อนหลังให้ 1 เดือน อย่าเพิ่งงงกันว่าจ่ายยังไง? ผู้เขียนขออธิบายในลักษณะ Q&A จะได้ไม่งงกัน มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันค่ะ

เงินสงเคราะห์บุตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

Q : ส่งสมทบตัวเอง ไม่ได้มีนายจ้าง ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคมไหม

A : ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรทั้งแบบนายจ้าง (มาตรา 33) และ ภาคสมัครใจ (มาตรา 39)

Q : เงินสงเคราะห์บุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง และขอเบิกที่ไหน

A : แนะนำว่าให้ไปที่ประกันสังคมโดยตรงค่ะ ไม่ควรส่งไปรษณีย์หรือฝากใครไป และบางบริษัททาง HR ก็ไม่ได้จัดการให้เพราะนอกเหนือหน้าที่ เพื่อความชัวร์เราไปยื่นเองได้ที่ประกันสังคมจังหวัดค่ะ โดยเตรียมเอกสารดังนี้

เงินสงเคราะห์บุตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. สำเนาบัตรประชาชนของคุณพ่อ หรือ คุณแม่ ที่มีสิทธิ์เบิกกับประกันสังคม
  2. แบบคำร้องขอรับผลประโยชน์ทดแทน สปส.2-01
  3. สำเนาสูติบัตรของลูก 1 ฉบับ
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ ที่เห็นเลขบัญชี
  5. ถ้าพ่อเป็นคนเบิก สำเนาใช้ทะเบียนสมรส
  6. ถ้าผู้ประกันตนเปลี่ยนชื่อสกุล ให้ใช้สำเนาใบเปลี่ยนชื่อด้วย

โดยทุกใบต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้อง

ควรไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมเขต / จังหวัด 
ยกเว้นสำนักงานใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุข

Q : ขั้นตอนขอรับผลประโยชน์

A : ถ้าไปยื่นเอกสารเอง เราต้องกรอกใบคำขอที่เรียกว่า สปส.2-01 ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม หรือไปขอที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมแนบเอกสาร หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารให้และเก็บเอกสารไป และหากพิจารณาแล้วว่าเข้าเงื่อนไขเบิกได้ จะใช้ระยะเวลา 3 เดือน จึงจะโอนเงินครั้งแรก โดยโอนทีละเดือน

คำว่าโอนทีละเดือน ก็จะโอนมากสุดก็ 600 บาท ไม่ใช่โอนทบจากงวดก่อน ๆ เป็น 1,200 บาท

Q : มีลูก..เบิกได้กี่คน?

A : ตามความเข้าใจง่าย ๆ คือ พ่อ หรือ แม่ เบิกให้ลูกได้คนละ 3 ..มันมีเงื่อนไขรายละเอียดเช่น บุตรบุญธรรม บุญนอกสมรสอีก เช่น

  • หากยกลูกให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นแล้ว ผู้ที่เป็นพ่อแม่บุญธรรมจึงจะใช้สิทธิ์จากบุตรไปเบิกได้ พ่อแม่ที่แท้จริงเอาไปเบิกไม่ได้
  • เบิกได้จนกว่าลูกจะอายุ 6 ขวบ
  • ถ้าเป็นบุตรนอกสมรส พ่อจะเบิกค่าสงเคราะห์บุตรก็ต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมรับเป็นบุตรก่อน

รายละเอียดอื่น ๆ สอบถามที่สำนักงานประกันสังคม

Q : เข้าไปเช็คด้วยตัวเองได้อย่างไรว่าเงินโอนเข้าเมื่อไหร่?

A : ล็อคอินเข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ได้เลยค่ะ

Q : เท่ากับว่าเด็ก 1 คน เบิกได้ทั้งหมดเท่าไหร่?

A : 600 * 12 * 6 = 43,200 บาท (ได้้รับ 600 บาท เป็นเวลา 6 ปี)

Q : เบิกย้อนหลัง ยื่นเรื่องอย่างไร??

A : กรณีที่คุณแม่หลังคลอดยังไม่มีเวลาไปยื่นเบิกเรื่องสงเคราะบุตรทันทีหลังจากคลอด ก็จะต้องยื่นเอกสารเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น กับสำนักงานประกันสังคม และรอรับสิทธิ์หลังจากตรวจสอบไปแล้ว 3 เดือน ซึ่งทางประกันสังคมจะจ่ายไม่เกินครั้งละ 600 บาท ยกตัวอย่างดังนี้

  • คุณแม่คลอดเดือนมกราคม พ.ศ. 2562
  • คุณแม่ไปทำเรื่องเอกสารเดือน มีนาคม
  • เอกสารของคุณแม่มีโอกาสได้รับอนุมัติเร็วสุดคือเดือน พฤษภาคม และจะได้รับการจ่ายเป็นงวดเดือน
  • เงินสงเคราะห์บุตรเดือนแรกจะจ่ายในเดือน มิถุนายน 2562 – 600 บาท (ซึ่งเป็นงวดของเดือนมกราคม 2562 ส่วนของเดือนอื่น ๆ ก็จะโอนเข้าย้อนหลังไล่ไปเรื่อย ๆ)
  • เท่ากับว่าพอลูกอายุครบ 6 ปี คุณแม่จะได้รับโอนต่อไปอีก 3 เดือน เป็นยอดของเดือน มีนาคม,เมษายน,พฤษภาคม เพราะถูกทบมาเรื่อย ๆ
เงินสงเคราะห์บุตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร จ่ายเป็นงวดเดือน

ใครที่มีลูกเล็กหรือกำลังจะมีบุตรคนที่ 2 – 3 ก็ต้องศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของการเบิกเงินค่าสงเคราะห์บุตรให้ดี ๆ เท่าที่อัพเดทในปี พ.ศ. 2562 ใน 1 ครอบครัว พ่อกับแม่ สามารถเบิกให้บุตรร่วมกันได้ไม่เกิน 6 คน (ได้สิทธิ์ฝั่งละ 3 คน) และภายในอนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องจำนวนเงินจ่ายค่าสงเคราะห์บุตรจาก 600 บาท เป็นจำนวนที่มากกว่านี้ตามเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจก็ได้ ควรวางแผนการเงินครอบครัวให้ดี ๆ เพราะ 600 บาท ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรไปได้มาก แต่ก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลยนะคะ ว่าไหม?

ด้วยรายละเอียดของการเบิกจ่ายนั้นมีอีกมาก หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลประกันสังคม โทรสอบถามได้ที่หมายเลข 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง (โทรตอนกลางคืนก็ได้ ไม่ค่อยมีคนแย่งโทร มีเจ้าหน้าที่คอย Stand By รับสายอยู่ตลอด) หรือใช้บริการ Live Chat ผ่านมือถือหรือ Computer คลิก >> http://www.sso1506.com/ssolivechat/

Read More :

  • วิธีเช็คเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออก
  • ประกันสังคมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้งานยังไง ?
  • รู้ยัง? ผู้ประกันตน ตรวจโรคฟรี ด้วยสิทธิ์ประกันสังคม

ศึกษาข้อมูลประกันสุขภาพเพิมเติม ได้ที่นี่

เงินสงเคราะห์บุตรต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

พ่อยื่นสงเคราะห์บุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง

หากเป็นผู้ชายใช้สิทธิ ต้องยื่นสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อย่างละ 1 ชุด โดยสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านได้ทุกแห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ...

เงินอุดหนุนบุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง2565

ขอรับ เงินอุดหนุนบุตร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?.
แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร. 01).
แบบรับรองสถานะครัวเรือน (ดร.02).
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง.
สูติบัตรเด็กแรกเกิด.
สมุดบัญชีเงินฝาก (ธ. กรุงไทย ออมสิน หรือ ธกส. เท่านั้น).
สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่มีชื่อของคุณแม่).

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการลงทะเบียนรับสิทธิตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (600 บ./คน/เดือน) โดยตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 65 เป็นต้นไป สามารถลงทะเบียนได้ทั้ง 2 วิธี คือ 1.ลงทะเบียน ณ เทศบาล/ตำบล/เขต ที่เด็กแรกเกิด - ผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง และ 2.ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เงินเด็ก” ที่สามารถลงทะเบียนและ ...

เงินสงเคราะห์บุตรได้กี่บาท

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขรับเงินสงเคราะห์บุตร 1.ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39. 2.จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน