เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20

การรับรองแปลต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง ?

กรณีเจ้าของเอกสารมารับรองเอกสารด้วยตนเอง

คนไทยใช้สำเนาบัตรประชาชน คนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทางต่างประเทศ

กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเอกสาร

จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของเอกสาร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ทั้งนี้ เอกสารที่จะรับรองจะต้องมีต้นฉบับมาแสดงด้วยเสมอ

ทั้งนี้ ต้องนำเอกสารไทยที่จะไปใช้ในประเทศฝรั่งเศสไปรับรองสำเนาถูกต้องที่กองสัญชาติฯ กระทรวงการต่างประเทศก่อน แล้วนำมาติดต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เพื่อรับรองการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสอีกชั้นหนึ่ง

บุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย จะได้สัญชาติไทยอย่างไร ?

  • กรณีบิดาสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสกับ มารดาต่างสัญชาติ บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาสัญชาติไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาต่างสัญชาติ บุตรไม่ได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาต่างสัญชาติ จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย
  • กรณีบิดาต่างสัญชาติ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดาสัญชาติไทย บุตรได้สัญชาติไทย

ในการออกสูติบัตร เด็กจะใช้นามสกุลของมารดา หรือบิดา ?

  1. หากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส : ให้ใช้ชื่อสกุลบิดาได้ แต่หากทั้งบิดาและมารดายินยอม เด็กจะใช้นามสกุลของมารดาแทนก็ได้ (สถานทูตต้องสอบปากคำและบันทึกไว้)
  2. หากบิดามารดาไม่จดทะเบียนฯ : ให้ใช้นามสกุลมารดาได้ หากจะใช้ นามสกุลบิดา มารดาต้องให้ความยินยอมก่อน หากใบเกิดท้องถิ่นของบุตรใช้นามสกุลบิดาให้สอบปากคำมารดาว่ายินยอมให้บุตรใช้นามสกุลบิดาหรือไม่หากยินยอมให้ออกสูติบัตรตามนั้น

การแก้ไขนามสกุลของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้โดยวิธีใด ?

  1. หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง แต่หากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครอง (บิดา-มารดาบุญธรรม) ต้องดำเนินการแทน
  2. มท. ผ่อนผันให้มีการเปลี่ยน ชื่อ/สกุล ได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
    2.1) กรอกแบบ ช1.
    2.2) มี นส. มอบอำนาจให้ผู้อื่นในประเทศไทยไปดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ นส. มอบอำนาจนี้ต้องกระทำ ณ สอท./สกญ.
  3. สถานที่ติดต่อหรือเปลี่ยนแปลงนามสกุล คือ ภูมิลำเนาในประเทศไทยของผู้เป็นบุตรบุญธรรม มิใช่กรมประชาสงเคราะห์

คนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้เพียงใด ?

คนต่างด้าวไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรม และต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ (คือ เพื่ออยู่อาศัยต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว เพื่อการพาณิชยกรรมต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อการเกษตรกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว เพื่อการศาสนาต้องไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อการกุศลและสาธารณะต้องไม่เกิน 5 ไร่ และสุสานของตระกูลต้องไม่เกิน 1/2 ไร่) นอกจากนี้ นับแต่ปี 2542 คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่

ชาวต่างชาติจะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย จะต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2536 กำหนดให้ชาวต่างชาติที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศของไทย ต้องใช้หลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้

  1. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ (โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตขับรถดังกล่าวได้จะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี) พร้อมภาพถ่าย
  2. หนังสือเดินทาง (VISA ประเภท NON-IMMIGRANT) พร้อมภาพ 
  3. ใบรับรองถิ่นฐานที่อยู่ในประเทศไทย ออกโดยสถานทูต หรือหน่วยงานราชการ
  4. รูปถ่ายขนาด 4×6 เซนติเมตร (2 นิ้ว) จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  5. หนังอมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง)

ข้อควรรู้ ก่อน เปลี่ยนชื่อลูก

จาก พ.ร.บ. การเปลี่ยนชื่อของคนไทยกันก่อน พ.ร.บ.นี้ มีบัญญัติขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2505 ใจความของ พ.ร.บ. กล่าวไว้ว่าสำหรับคนไทยซึ่งมีสัญชาติไทย สามารถมีชื่อตัว นามสกุล และจะมีชื่อรองด้วยก็ได้  ชื่อตัวในที่นี้ ก็คือ ชื่อประจำของตัวบุคคล  ชื่อรอง ก็คือ ชื่อประกอบของคน  ๆ นั้น ที่ต่อจากชื่อจริง ส่วนชื่อสกุล ก็คือ ชื่อวงศ์ตระกูล นั่นเอง

ทั้งนี้หลักเกณฑ์ข้อห้ามในการเปลี่ยนชื่อ ก็คือ

1. สำหรับชื่อตัวหรือชื่อรอง ต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับพระนามของพระมหากษัตริย์ พระราชินี
และราชทินนาม ของพระองค์ทั้งสอง หรือเชื้อพระวงศ์ ทั้งหมด

2. ต้องไม่หยาบคาย หรือว่ามีความหมายในทางหยาบคาย

3. ไม่ส่อเจตนาไปในด้านที่ทุจริต

4. สำหรับผู้ที่เคยได้รับพระราชทานตำแหน่งต่างๆ และไม่ได้ถูกยกเลิกตำแหน่ง สามารถนำมาตั้งเป็นชื่อตัว และชื่อรองได้

ขั้นตอน และเอกสารสำหรับ เปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร

สำหรับการเปลี่ยนชื่อลูกในสูติบัตร ปัจจุบัน หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการ เปลี่ยนชื่อลูก อายุไม่ถึง 20 (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • บัตรประชาชนของตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ที่เป็นคนยื่นเรื่อง ซึ่งต้องเป็นใบปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (หากบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุแล้วและยังไม่ได้ต่อ ก็ต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ทราบก่อน)
  • บัตรประชาชนของลูก ซึ่งหากลูกยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน (อายุไม่ถึง 15 ปี) ให้ใช้ สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงไม่ใช่สำเนา) ที่มีชื่อของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนอยู่ในนั้นด้วยเท่านั้น
เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20
เอกสาร ที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนชื่อลูก
⇒ Must read : แม่ควรรู้! ทำอย่างไรเมื่อ สูติบัตรลูกหาย

เมื่อเตรียมเอกสารเสร็จ เพื่อความรวดเร็ว แนะนำให้คนเดินเรื่องเป็นคุณแม่คนเดียวก็สามารถมีสิทธิ์ที่จะ เปลี่ยนชื่อลูก ได้โดยง่าย แต่ถ้าให้คุณพ่อเป็นผู้ยื่นคำร้อง ต้องนำใบจดทะเบียนสมรสกับคุณแม่ไปยืนยันด้วย โดยสถานที่ยื่นเรื่องขอ เปลี่ยนชื่อลูกน้อย สามารถยื่นได้ ณ สำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่เท่านั้น คือ

  • ที่ว่าการอำเภอ
  • กิ่งอำเภอ
  • สำนักงานเขต

อ่านต่อ “ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำเรื่อง เปลี่ยนชื่อลูก” คลิกหน้า 3

Summary

Review Date

2018-09-11

Reviewed Item

เปลี่ยนชื่อมงคล เปลี่ยนชื่อลูก เปลี่ยนชื่อในสูติบัตร

Author Rating

4

เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20
เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20
เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20
เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20
เปลี่ยนชื่อต้องใช้อะไรบ้าง อายุไม่ถึง20