กระเพาะปัสสาวะอักเสบกินอะไรถึงจะหาย

บางท่านอาจเคยมีประสบการณ์ปวดปัสสาวะขณะที่รถติดยาวหลายกิโลเมตร ดูทีท่าแล้วไม่ขยับในเวลาอันใกล้แน่ๆ หาปั้มบริการน้ำมันใกล้ๆ ก็ไม่พบ ต้องทนปวดไปก่อน พอถึงที่หมาย มีอาการปวดท้องน้อย

ปัสสาวะแสบขัด

ถ้าเคยมีประสบการณ์แบบนี้ คุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบขับปัสสวาะ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุก็มาจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้น สั้นกว่าของผู้ชายมาก จึงมีโอกาสติดเชื้อจากอวัยที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด หรือรูทวารหนัก

ความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. การกลั้นปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการสะสมของแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นเมื่อปวดปัสสาวะ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หรือถ้ามีเหตุสุดวิสัย เช่น การจราจรติดขัด อาจจะใช้ถุงสำหรับปัสสาวะ และควรวางแผนการเดินทางไกล โดยการปัสสาวะก่อนออกเดินทาง
  2. การดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะผู้หญิง ที่มีช่องคลอด และรูทวารหนักอยู่ใกล้เคียงกับรูเปิดของท่อปัสสาวะ ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดให้ถูกต้อง โดยการเช็ดทำความสะอาดจากหน้าไปหลัง ห้ามย้อนทาง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะข้างเคียงมาปนเปื้อนบริเวณรูเปิดท่อขับปัสสาวะ ซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อ และเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย จึงควรควบคุมโรคประจำตัวให้ดี โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  4. การตั้งครรภ์ พบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ที่ไม่เคยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบมาก่อน เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับการตรวจปัสสาวะเป็นระยะ ระหว่างการตั้งครรภ์ และได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและบุตรในครรภ์
  5. เพศสัมพันธ์
  6. การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้เกิดการทำลายแบคทีเรียตัวดี ที่ทำหน้าที่ป้องกันโรค จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

อาการแสดงของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการที่เด่นชัดที่สุดคือ มีอาการปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ ปัสสวาะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น และอาจมีเลือดปน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

การตรวจวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกาย ร่วมกับส่งปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ แต่ถ้ามีอาการกลับเป็นซ้ำหลายครั้ง หรือได้รับการรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจะมีการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ส่งปัสสาวะเพาะเชื้อ ตรวจอัสต้าซาวด์ หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ เพื่อตรวจความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ภาวะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษาหลักๆ คือ การกินยาปฏิชีวนะ ประมาณ 3-5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ร่วมกับการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยากลายการบีบตัวของกระเพาะปัสาวะ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ แม้อาการจะดีขึ้นก่อนก็ตาม เนื่องการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ และการเกิดเชื้อดื้อยาได้ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 24-48 ชม. หลังได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

การป้องกันโรค และการดูแลตัวเองของผู้ป่วย

  1. ไม่กลั้นปัสสาวะ
  2. รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
  3. ไม่สวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  4. หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปัสสาวะทิ้งและทำความสะอาดร่างกายทันที
  5. ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน

สุดท้ายถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือสงสัยว่าจะเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ

พญ.กัญญวิสาข์ ตั้งกิจวณิชย์เจริญ
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 08-0074-8800, 02-115-2111
แฟกซ์ : 02-738-9740
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Line : @ch9airport

โรคคืออะไร? 
     เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น การกลั้นปัสสาวะ เป็นปัจจัยที่พบบ่อยของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ บางคนที่กลั้นปัสสาวะเพราะเห็นว่าห้องน้ำไม่สะอาด มีโอกาสเกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

อาการ
ปวดท้องน้อย ปัสสาวะไม่สุด ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปัสสาวะได้ครั้งละเล็กน้อย กดที่หน้าท้องจะเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือมีสีแดงคล้ายเลือดปนออกมา

     ปัจจัยเสี่ยง 

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ ตีบ ,นิ่ว หรือเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่องคลอดจะแห้ง เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
  • การมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เชื้อโรคกระจายเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น 
  • คนที่เคยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้วมีโอกาสเป็นได้อีกบ่อยๆ แต่ไม่ควรมากกว่า 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน หรือ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี

คำแนะนำในการดูแลไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม 6 -10 แก้ว แล้วแต่ความต้องการของร่างกายของ
    

แต่ละคน

  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลานานไม่ควรดื่มน้ำมาก ทำให้ต้องกลั้นนปัสสาวะนาน ๆ ซึ่ง  เสี่ยงต่อการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง 
  • ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยให้ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นร่างกายก็จะกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้เอง

กินอะไรให้หายจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรกินอะไร.
โปรตีนไม่ติดมัน เช่น เนื้อแกะ เนื้อหมู เนื้อวัว เนยถั่ว ไข่ ปลา กุ้ง.
ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ เช่น นม ชีส โยเกิร์ตไขมันต่ำไม่มีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเทียม.
ผักสดหลากสี เช่น บวบ ผักกาด ผักโขม หัวไชเท้า มันฝรั่ง มันเทศ ถั่ว เห็ด มะเขือ ผักชีฝรั่ง แครอท บรอกโคลี หัวผักกาด หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด.

ยากระเพาะปัสสาวะอักเสบ กินตอนไหน

1. ขณะที่มีอาการ ควรดื่มน้ำมากๆ 2. หากมีอาการปวด ให้ใช้ยาแก้ปวด 3. ให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ - cotrimoxazole 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน - amoxicillin 500 mg ทุก 8 ชั่วโมง นาน 3 วัน - norfloxacin 400 mg วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน แต่ยาเหล่านี้อาจใช้ไม่ได้ผล กรณีที่เชื้อดื้อยา ฉะนั้นหากมีอาการของโรคควรพบแพทย์ เพื่อตรวจความไว ...

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หายได้ไหม

อย่างไรก็ตาม โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถหายขาดได้เองโดยไม่ต้องได้รับการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่อาการปานกลาง ไม่ได้อยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือมีโรคประจำตัว เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะค่อย ๆ ขจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายออกไป แต่อาจพบอาการเดิมคงอยู่นาน 2-3 วันหรือบางรายนานเป็นสัปดาห์ ดังนั้น หากต้องการให้หายไว ...

ขัดเบาห้ามกินอะไร

เช่น เนื้อวัว เป็ด แกะ แพะ งู จระเข้ เพราะใช้พลังงานในการย่อยสูง ทำให้ร่างกายมีความร้อน แผลอักเสบจะหายช้า.
ผลไม้รสเปรี้ยวจัด ... .
อาหารเค็มจัด ... .
อาหารเผ็ด ... .
ผักมีกลิ่น ... .
อาหารทะเล ... .
ผลิตภัณฑ์จากนม ... .
เนื้อสัตว์ย่อยยาก.