ศึกษาศาสตร์ ต่ออะไรได้บ้าง

ศึกษาศาสตร์ ต่ออะไรได้บ้าง

คณะครุศาสตร์-คณะศึกษาศาสตร์ เป็นคณะที่ผลิตครูและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะเรียนศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับครูทั้งสิ้น ตั้งแต่เนื้อหาที่จะนำไปสอน การนำข้อมูลความรู้ไปประยุกต์ใช้ การพัฒนาการศึกษาหรือการอบรมสั่งสอน จิตวิทยาการสอน วิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งความรู้ทั้งหมดจะนำไปประยุกต์ใช้ในอาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา

ปัจจุบันตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เริ่มมีการทยอยปรับหลักสูตรของคณะครุศาสตร์ จาก 5 ปี เป็น 4 ปี หลังจบแล้วสามารถเลือกสอบใบประกอบวิชาชีพเองได้ โดนแต่ละปีจะมีการแบ่งการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

ปี 1 เน้นเรียนวิชาทั่วไป ความรู้พื้นฐานด้านวิชาชีพครู เช่น ภาษาอังกฤษ วิชาพื้นฐานประจำมหาวิทยาลัย รวมถึงอาจมีการเริ่มสังเกตการสอนตั้งแต่ปี 1 เลย

ปี 2 เข้าวิชาเฉพาะมากขึ้นในด้านของวิชาชีพครู เช่น จิตวิทยาด้านการสอน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับครู หรือสาขาเฉพาะของแต่ละสาขาที่เลือก

ปี 3 เน้นไปที่การสอน และวิชาชาเฉพาะแบบเข้มข้น เช่น การวิจัยการเรียนรู้ เทคนิคการสอน การพัฒนาหลักสูตร โดยปีนี้เนื้อหาจะเข้มข้นมาก ๆ เพื่อการเตรียมพร้อมในการฝึกสอนปีต่อไป

ปี 4 เตรียมการสอน มีการสลับเข้าฝึกสอนกับเรียนเพื่อรายงานผล ในปีนี้จะเริ่มมีการทยอยเข้าโรงเรียนเพื่อดูการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด ถือว่าเป็นอีกปีที่หนักหน่วงมาก เพราะต้องรับผิดชอบทั้งหน้าที่ที่โรงเรียน และที่มหาวิทยาลัย

** การจัดการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละสถาบัน หากน้อง ๆ มีที่ที่สนใจแล้วสามารถเข้าไปดูหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยได้เลย

คณะครุศาสตร์ มีสาขาอะไรบ้าง

  1. สาขาการศึกษาปฐมวัย
  2. สาขาวิชาประถมศึกษา
  3. สาขามัธยมศึกษา
  4. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  5. สาขาวิชาดนตรีศึกษา
  6. สาขาวิชาสุขศึกษา และพลศึกษา
  7. สาขาการศึกษาพัฒนาชุมชน
  8. สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา
  9. สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
  10. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต
  11. สาขาวิชาการศึกษาจิตวิทยา และการแนะแนว
  12. สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา
  13. สาขาศึกษานอกระบบโรงเรียน

เรียนคณะครุศาสตร์ จบมาทำอาชีพอะไรได้บ้าง

  • ครูโรงเรียนเอกชน
  • ข้าราชการครู
  • ครูสอนพิเศษ / tutor
  • นักวิชาการ
  • นักพัฒนาการศึกษา
  • นักออกแบบสื่อเพื่อการสอน
  • ผู้อำนวยการโรงเรียน

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเท่านั้น การเรียนส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการจัดการสอนของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่มหาวิทยาลัยในดวงใจแล้ว อย่าลืมเข้่ไปเช็กระเบียบการรับสมัคร หรือหลักสูตรการสอนของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ด้วย สู้ ๆ นะทุกคนน

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ลองมาเตรียมความพร้อมไปพร้อม ๆ กันได้จากที่นี่เลย เตรียมสอบ TCAS65 หรืออยากหาโจทย์เก่า ๆ ทำเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ก็เข้ามาที่นี่ได้เลยน้าา คลังข้อสอบ แล้วมาฝึกทำข้อสอบไปพร้อม ๆ กันนะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับคณะครุศาสตร์

  • 5 เรื่องสุดโหด! ของคนอยากเรียนครูต้องรู้
  • แนะแนว/ข่าวคณะ คณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์
  • ทำความรู้จักคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ไปพร้อมกันกับรุ่นพี่รีวิว”

อยากเรียนครูต้องรู้! เรามาทำความรู้จักอาชีพครูกันก่อนดีกว่า

อยากเรียนครูต้องรู้ .. อาชีพครู คือ อาชีพที่ใช้ความรู้ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี คือ เป็นผู้ชุบพลเมืองให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นักค้นคว้าเหตุผล นักวิชาการ ฯลฯ เป็นต้น

ความสามารถในการดำเนินการสอนของครูนั้นถือว่า..การสอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และครูที่ดีจะต้องมีความสามารถในวิทยาการหลายๆด้าน เพื่อนำมาสั่งสอนศิษย์ได้

อาชีพครู ยังสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอนและลักษณะของสังกัดอีกด้วย คณะครุศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการศึกษาและวิชาชีพครู โดยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการและแสวงหาวิธีการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างสรรค์สังคมที่สันติสุขอย่างแท้จริง โดยมีสาขาให้เลือกเรียนได้ว่า..เราอยากเป็นครูสอนอะไร

  1. อยากเป็นครูต้องเรียนคณะอะไร ?

ถ้าอยากเรียนคณะที่เป็นครูโดยตรง แนะนำให้เลือกเรียนคณะหรือสาขาตามนี้ :

– คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

– สาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ.)

– คณะหรือสาขาที่ต้องสอบ PAT5 (รหัสวิชา 75. ความถนัดทางวิชาชีพครู)

น้องๆสามารถเช็กมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ และคณะเกี่ยวกับครูได้ที่แอป TCASter ฟรี!!

  1. เรียนครู ที่ไหนได้บ้าง?

คณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีเปิดในหลายๆมหาลัย ถ้าน้องๆอยากทราบว่ามีมหาลัยใดบ้าง สามารถเช็กได้ที่แอป TCASter ที่บอกรายละเอียดทุกคณะทุกมหาลัย พร้อมเกณฑ์การรับสมัครของแต่ละคณะ และแต่ละมหาลัยอย่างครบถ้วน
โหลดแอป TCASter ฟรี! ที่ >> http://bit.ly/2Prdgg4   หรือเสิร์ชคำว่า TCASter ในช่องค้นหา โหลดฟรี! ทั้ง iOS และ Android

ตัวอย่างมหา’ลัยที่เปิดสอนได้แก่ :

  • คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ (หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร (หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
    **คณะนี้จบมาจะได้วุฒิศิลปศาสตร์ จึงไม่ใช่หลักสูตรที่เน้นการผลิตครูโดยตรง แต่จะเน้นให้ออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้ หากสนใจจะเป็นครู ต้องเรียนต่อบัณฑิตวิชาชีพครู
  • คณะศึกษาศาสตร์ มศว. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะจีนวิทยา ม.แม่ฟ้าหลวง
  • *การสอนภาษาจีน (หลักสูตร 5 ปี)
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร
  • คณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น

และยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ได้กล่าวถึง น้องๆสามารถ เช็กคณะ/มหา’ลัยทั้งหมดได้ที่แอป TCASter ได้เลย

  1. ถ้าไม่ได้เรียนคณะที่เกี่ยวกับ “ครู” มาแต่อยากเป็น “ครู” มากๆๆ ต้องทำอย่างไร?

ถ้าหากเราไม่ได้จบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ มาแต่อยากเป็นครู อาจจะต้อง

– ต้องเรียนและสอบมาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน (โดยคุรุสภา)

– หลังจากที่ได้ใบอนุญาตสอน ก็สมัครเป็นครูตามโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนเอกชนที่ไม่ขอใบประกอบวิชาชีพ

– เมื่อสอนครบ 1 ปี และผ่านการประเมินการสอนแล้วก็จะสามารถขึ้นทะเบียนขอใบประกอบวิชาชีพครูได้ ซึ่งใบประกอบวิชาชีพนี้ต้องต่ออายุทุก 5 ปี

  1. PAT 5 บททดสอบสำคัญสำหรับคนอยากเรียนครู

PAT 5 คือวิชาวัดความถนัดทางอาชีพครู ที่น้องๆ จะใช้ยื่นคะแนนที่คณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ ข้อสอบ PAT 5 เป็นข้อสอบเฉพาะกลุ่มมากๆ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ได้สำเร็จ เช่น ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น และส่วนที่สองคือ ความถนัดในการเรียนในคณะดังกล่าวให้สำเร็จ หรือการวัดแววความเป็นครูแบบที่สมัยก่อนเรียกกันนั่นเอง

แต่สำหรับคนที่อยากสอบครูแล้วไม่มั่นใจว่าเราจะทำข้อสอบได้คะแนนดีไหม ขอแนะนำให้สอบสนามจำลอง TCASter Mock Exam ก่อนสอบจริง! ซึ่งจะได้วัดว่าเราได้คะแนนแค่ไหน พอสำหรับคณะที่เราสนใจหรือยัง แถมมีคลิปเฉลยทุกข้อไปอีก
สมัคร TCASter Mock Exam >> http://bit.ly/2wco4Wn

  1. สาขาที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ก็จัดอยู่ในหลักสูตรครุศาสตร์

สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา เป็นสาขาที่เรียนวิชาทางธุรกิจและบริหาร เช่น การบัญชี การตลาด การเงิน ควบคู่ไปกับวิชาทางครุศาสตร์ พอจบไปแล้วนอกจากจะสามารถไปเป็นครูสอนเศรษฐศาสตร์ได้แล้ว ยังสามารถเปิดธุรกิจของตนเอง หรือทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องในบริษัทเอกชนได้อีกด้วย

สาขาจิตวิทยาการศึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ ผู้ที่เรียนสาขานี้ จะได้เรียนเกี่ยวกับการแนะแนว การให้คำปรึกษาเด็กนักเรียนทั้งในด้านจิตวิทยาและอาชีพ ไปจนถึงการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน เอกการศึกษาพิเศษ เป็นสาขาที่เรียนรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา เพื่อให้พวกเขาพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ

สาขาเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นสาขาที่จะสอนให้น้องๆ รู้จักใช้วิธีการสอน และสื่อต่างๆ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอาจรวมไปถึงการออกแบบสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ เช่น รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา เป็นต้น

ครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นเอกที่ผสมผสานระหว่างการเรียนวิชาทางครุศาสตร์ และ วิชาทางวิชาชีพต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บัณฑิตสามารถไปสอนในระดับปวช. ปวส. หรือวิทยาลัยทางเทคนิค เพื่อพัฒนาบุคลากรสายอาชีพที่มีความจำเป็นต่อประเทศ แต่ผู้ที่จบสาขานี้ ก็สามารถทำงานในสายอาชีพที่เรียนมา (เช่น วิศวกรรมศาสตร์) ได้เช่นกัน

การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) และสาขาที่ใกล้เคียงกันอย่าง สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นสาขาที่เชื่อว่า การเรียนรู้ของเราทุกคนไม่ได้สิ้นสุดกันแค่ในโรงเรียน แต่ทุกคนสามารถเรียนได้ตลอดชีวิต จากทุกสถานที่ในโลก สาขานี้จึงเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้ที่ต้องการการเรียนรู้และการอบรมอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในชุมชน หรือการฝึกอบรมในหน่วยงาน เป็นต้น

ปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ปรับหลักสูตรให้ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี โดยปีที่ 5 จะเป็นปีสุดท้ายที่นักศึกษาทำการฝึกสอน ก่อนจะได้รับใบประกอบวิชาชีพครู แต่จะมีบางสาขา เช่น การเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี

  1. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
  • เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและตระหนัก ในคุณค่าของอาชีพ
  • มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และเนื้อหาวิชาเฉพาะในแต่ละสาขา
  • มีความเสียสละ มีความเป็นเหตุเป็นผล สามารถใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็นอย่างมี ขั้นตอน มีระเบียบชัดเจนและรัดกุม
  • มีมนุษย์สัมพันธ์
  • เป็นผู้รักงานสอน มีความรักและเมตตาต่อลูกศิษย์
  • มีโลกทัศน์กว้างไกล
  • สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
  1. ครุศาสตร์เหมาะกับคนแบบไหน แล้วเหมาะกับเราไหม?

ถึงแม้ว่าครูจะเป็นอาชีพที่มีคุณค่าและน่าสนใจ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นครูแล้วมีความสุข พี่อยากให้น้องๆ ลองดูคุณสมบัติต่อไปนี้แล้วลองถามตัวเองว่าเราพร้อมที่จะท้าทายตัวเองกับอาชีพนี้ไหม?

  • มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความรักและเมตตาต่อลูกศิษย์อย่างไม่มีเงื่อนไข
  • เชื่อมั่นว่านักเรียนของเราสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ
  • พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อลูกศิษย์ พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกับนักเรียนเสมอ
  • รักการเรียนรู้และรักการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีทักษะการบริหารจัดการ วางแผนได้อย่างเป็นระบบ
  • สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะการสื่อสารที่ดี
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นำ
TCASter Coach

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ลองมาเตรียมความพร้อมไปพร้อม ๆ กันได้จากที่นี่เลย เตรียมสอบ TCAS65 หรืออยากหาโจทย์เก่า ๆ ทำเพื่อเพิ่มความมั่นใจ ก็เข้ามาที่นี่ได้เลยน้าา คลังข้อสอบ แล้วมาฝึกทำข้อสอบไปพร้อม ๆ กันนะ