ผู้ป่วยมะเร็งกินอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยมะเร็งกินอะไรได้บ้าง

เมื่อร่างกายได้รับคีโมรักษามะเร็งก็จะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยบำรุงร่างกายให้ฟื้นตัวไว หรือต่อสู่กับเคมีที่ได้รับได้ดีขึ้น นั่นก็คือการกินอาหารที่เหมาะสม การรักษาโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมดวย หรือที่เราคุ้นหูกับคำว่า “การทำคีโม” ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการปรามโรคไม่ให้เกิดซ้ำ เมื่อได้รับคีโมร่างกายของคนเราจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยบำรุงร่างกายให้ฟื้นตัวไว หรือต่อสู่กับเคมีที่ได้รับได้ดีขึ้น นั่นก็คือการกินอาหารที่เหมาะสม

กินอย่างไรช่วยลดเสี่ยงมะเร็งกลับมา

ปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มักมาจากการมีน้ำหนักมากเกินไป การกินหลังจากรักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งทั้งหลายแล้วจึงต้องพิถีพิถันมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารหวาน ของหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก และอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นสาเหตุหลักของการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ถ้าจะให้กะง่ายๆ การบริโภคน้ำตาลควรอยู่ในช่วง 4-6 ช้อนชา อย่าให้เกินกว่านี้ ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อไปถึงน้ำตาลที่ปะปนมาอยู่ในอาหารปกติซึ่งมีมากอยู่แล้วเข้าไปด้วย ทั้งน้ำตาลและอาหารไขมันสูง ย่อมไปเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือดให้สูงขึ้น และทำให้คอเลสเตอรอลชนิดเลว หรือ LDL cholesterol ในร่างกายสูงขึ้น แถมยังไปลดคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL cholesterol ให้ลดน้อยลงด้วย

ไขมันแบบไหนที่กินได้บ้าง

ไขมันที่กินได้หรือควรกิน คือไขมันที่เป็นกรดไขมันดี หรือเป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน หรือกินอาหารประเภทถั่วที่มีไขมันดี อย่าง อัลมอนด์ อะโวคาโด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือแม้แต่เมล็ดดอกทานตะวันก็กินได้ การซื้ออาหารถุง แกงถุง อาหารปรุงสำเร็จ มักหลีกเลี่ยงไขมันเลวได้ยาก แถมอาหารทอดก็มักใช้น้ำมันซ้ำๆ ซึ่งเป็นไขมันเลวอย่างไม่ต้องสงสัย ไขมันประเภทนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งแทบทุกชนิด

ถ้าอย่างนั้นไม่กินไขมันเลย จะได้ไหม?

การกินไขมันไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพียงแต่ต้องเลือกประเภทของไขมัน และคนเราก็ยังจำเป็นต้องกินไขมัน เพราะมีวิตามินหลายชนิดที่ต้องอาศัยไขมันในการแตกตัวและใช้ในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพียงแต่ว่าควรบริโภคไขมันให้น้อยกว่าคนทั่วไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่านั้นคือกินสัก 30% ของคนปกติได้ยิ่งดี

คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนต้องเลือกแบบไหน

คาร์โบไฮเดรต เลือกเป็นข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ดีกว่าข้าวขาวที่ผ่านการขัดสี ส่วนโปรตีน แน่นอนว่าร่างกายยังต้องการอย่างมาก แต่ควรเลือกกินโปรตีนที่มีไขมันแทรกอยู่น้อยๆ อย่างไข่ขาว เนื้อปลา อกไก่ ส่วนโปรตีนจากไข่แดงไม่ควรกินมากกว่า 3 ฟองต่อสัปดาห์

กินผลไม้หลายสี ก็ดีนะ

การกินผักและผลไม้หลากสี เขียว ม่วง แดง ขาว เหลือง สลับกันไป ให้ได้วันละ 300 กรัม รวมถึงการเลือกกินธัญพืชไม่ขัดสี อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ จะทำให้ร่างกายได้รับทั้งโปรตีน วิตามินบี ไฟเบอร์ เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ หรือหากต้องการกินผลไม้ก็ควรกินทั้งผล แนะนำเป็นกล้วย แตงโม มะละกอ มะม่วง ส้ม เพราะมีวิตามินเอสูง ไม่ควรกินน้ำผลไม้แยกกากเพราะจะได้รับน้ำตาลมากเกินไป

อาหารแบบไหนที่ควรเลี่ยง

สิ่งที่ไม่ควรกิน ก็คืออาหารที่ผ่านการแปรรูปประเภท หมัก ดอง อาหารปิ้ง ย่าง เนื้อสัตว์ที่มีการรมควัน เครื่องในสัตว์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน น้ำอัดลม หากต้องการดื่มนมควรเลือกชนิดพร่องมันเนย และไม่ควรดื่มมากกว่าวันละ 1 แก้ว ส่วนคำถามที่ว่าดื่มน้ำเต้าหู้ หรืออาหารประเภทถั่วเหลืองได้ไหมนั้น ขอแนะนำว่าสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมควรหลีกเลี่ยง เพราะในถั่วเหลืองจะมีสาร "ไอโซฟลาโวน" หรือที่เราเรียกว่าเป็น "เอสโตรเจนธรรมชาติ” จะมีฤทธิ์ต้านยารักษามะเร็งเต้านม และอาจจะกระตุ้นทำให้เกิดเป็นซ้ำได้ด้วย”
ผู้ป่วยมะเร็งกินอะไรได้บ้าง
ผู้ป่วยมะเร็งกินอะไรได้บ้าง

          สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาจได้รับผลข้างเคียงทำให้กินอาหารได้น้อยลง จากอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การรับรสเปลี่ยน ปากแห้ง และอาจมีแผลในปาก ซึ่งทางโรงพยาบาลราชวิถี ได้จัดตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดไว้ ดังนี้

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสมก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม

ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็งผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง

ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง

สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากเสียชีวิตจากการขาดอาหาร มากกว่าการลุกลามของโรค

ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร

  1. ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว
  2. รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้
  3. ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร

ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น สลัดผัก อาหารยำ น้ำแข็ง น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้

  1. กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป
  2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า
  3. กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้
  4. การกินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง
  5. การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว
  6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง
  8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาหฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง
  9. งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย

**ในผู้ป่วยมะเร็งมีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารตามอาการที่ปรากฎ