ข้อใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง

ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะการบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์มีได้ 2 กรณี คือ (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง

กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”การใด ๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ “นิติกรรม” เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น จะอ้างว่าการกระทำนั้นมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้”ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์ หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่

ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา หรืออาจจะเป็นบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตาย ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา

ผู้ปกครอง ผู้ปกครองของผู้เยาว์จะมีได้ก็แต่เฉพาะในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ไม่มีบิดา หรือมีบิดามารดาแต่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองแล้ว

กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง

นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดยลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ

1) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่เจ้าหนี้ทำนิติกรรมปลดหนี้ให้

2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร

3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็นราย ๆ ไป

4) การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม พินัยกรรมนั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ

5) การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้ แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

คนไร้ความสามารถ

คือ เป็นบุคคลวิกลจริต และ

1.ต้องเป็นอย่างมาก คือ วิกลจริตชนิดที่พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง

2.เป็นอยู่ประจำ คือ วิกลจริตอยู่สม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา อาจมีเวลาที่มีสติอย่างคนธรรมดาบางเวลา ในเวลาต่อมาก็เกิดวิกลจริตอีก เช่นนี้เรื่อยไป

คนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. มีเหตุบกพร่องบางอย่าง ได้แก่

1.1 กายพิการ ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกายจะพิการก็ได้ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือชราภาพ

1.2 จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หมายถึงบุคคลที่จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต ยังมีความคิดคำนึงอยู่บ้าง และสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้ด้วยตนเอง

1.3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน ในที่สุดก็จะหมดตัว และการใช้จ่ายดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1.4 ติดสุรายาเมา เช่น ดื่มสุราจัด เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน เป็นประจำจนละเว้นเสียไม่ได้ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ความรู้สึกผิดชอบลดน้อยลงไป

1.5 มีเหตุอื่น ทำนองเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วใน 1.1 – 1.4

  1. ไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะเมื่อมีเหตุบกพร่อง 5 ประการดังกล่าวแล้ว บุคคลนั้นยังต้องไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

ข้อใดที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครอง

15 Nov ลูกผู้เยาว์ทำนิติกรรมสัญญาได้แค่ไหน

Posted at 06:50h in ครอบครัว / มรดก

เด็ก ซึ่งเป็นผู้เยาว์ หลายคนคงสงสัยว่าผู้เยาว์มีผลอย่างไรที่แตกต่างกับเด็กทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน  ตามกฎหมายแล้วเด็กที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่าเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ยังต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย  หลายท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายคืออะไร  ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน  แต่แท้จริงแล้วหากเด็กที่โตหน่อยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระดับวัยรุ่นแล้วจะมีการทำนิติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องมีกฎหมายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง  คงจะสงสัยอีกว่าลูกโตมาจนแต่งงานแล้วยังไม่เคยทำนิติกรรมใด ๆ เลย 

นิติกรรม คือ การกระทำที่มีผลทางกฎหมาย ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างกัน เช่น การซื้ออาหาร ซื้อเสื้อผ้า  รองเท้า  ขนม ขึ้นรถแท๊กซี่ ต่าง ๆ  ล้วนแต่เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นมีโอกาสเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ทั้งสิ้น ซึ่งตามกฎหมายให้สิทธิผูเยาว์นั้นสามารถทำได้หากเป็นการกระทำสมแก่ฐานะของเด็กนั้น และเป็นการกระทำอันจำเป็นในการดำรงชีพ แต่หากการกระทำใดที่ไม่สมควรเกินแก่ฐานะของเด็กนั้นเองแล้วการกระทำนั้นจะเป็นโมฆียะ หมายความว่าจะสามารถถูกบอกเลิกสัญญาได้ เช่น  เด็กเป็นลูกคนรวยเป็นที่รู้จักในสังคมแต่ไม่มีเงินเป็นของตนเอง การซื้อของต้องเป็นของพ่อแม่ เมื่อคนขายรู้ว่าพ่อแม่เด็กมีความสามารถที่จะซื้อรถคันนั้นได้ จึงได้ขายรถหรูให้เด็กขับกลับบ้านเช่นนี้ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆียะ พ่อแม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อบอกเลิกสัญญาก็ต้องนำของไปคืนผู้ขาย หากมีการสึกหรอก็ต้องชดใช้ความเสียหายในส่วนนั้นไป ค่ารถที่ต้องจ่ายก็เป็นหนี้ของเด็กไม่ใช่หนี้ของพ่อแม่ต้องรับภาระมาจ่ายเงินให้แทน

ในทางกลับกันเด็กผู้เยาว์อาจได้รับมรดกทรัพย์สิน หรือจากการให้ของบิดามารดาจนเป็นเศรษฐีได้  แล้วเด็กสามารถทำพินัยกรรมได้หรือไม่  ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น ทำพินัยกรรม การรับรองบุตรว่าเป็นบุตรของตนเอง เป็นต้น

กฎหมายยังกำหนดให้เด็กอายุมากกว่า 17 ปีสามารถบรรลุนิติภาวะ ทำนิติกรรมได้เองโดยการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก่อน เด็กนั้นก็จะบรรลุนิติภาวะได้

ในกรณีที่เด็กได้ทรัพย์สินมาไม่ว่าจากมรดก หรือจากการให้ของพ่อแม่แล้วกลายเป็นทรัพย์สินของเด็กไปนั้น กรณีที่เด็กมีอสังหาริมทรัพย์ หรือพ่อแม่จะจำหน่าย บ้าน ที่ดิน ของผู้เยาว์นั้น จะกระทำการเองมิได้ต้องขออนุญาตจากศาล เพื่อศาลได้ให้ความเห็นชอบ เป็นการป้องกันทรัพย์สินของเด็กตามกฎหมาย

นอกจากการขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว กฎหมายยังกำหนดอีกว่าการกระทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ พ่อแม่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตเสียก่อน

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ดังนั้นกรณีพ่อแม่จะให้ทรัพย์สินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต้องขออนุญาตศาลตามข้างต้นแล้วควรวางแผนให้รอบขอบถึงอนาคตว่าจะมีการกระทำใด ๆ ที่จะต้องขออนุญาตศาลหรือไม่ หรือยังไม่โอนให้แก่เด็กจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะเสียก่อนจะเป็นประโยชน์มากกว่า

ที่มา: บทความในนิตยสาร “บันทึกคุณแม่” คอลัมส์ “กฎหมายน่ารู้” 

โดย ชัชวัสส์  เศรษฐลักษณ์ ที่ปรึกษากฎหมาย-ธุรกิจ/ ทนายความ อดีตพิธีกรรายการ 

คุยกฎหมายกับทนายมวลชน”

ฉบับเดือน กันยายน 2558 (Vol.23 Issue 266 September 2015/ Page 110-111) 

นิติกรรมใดที่ผู้เยาว์สามารถทําได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใดได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร สมแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้อสินค้าอันจำเป็นตามปกติ การใช้จ่ายที่ไม่ฟุ้งเฟ้อตามปกติ การซื้อโทรศัพท์มือถือปัจจุบันอาจเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนได้ แต่การซื้อรถยนต์ ซื้อที่ดิน ยังคงเกินฐานานุรูป

สิ่งใดบ้างที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ด้วยตนเอง

ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์ ...

ผู้เยาว์สามารถทํานิติกรรมอะไรได้บ้างโดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง

1.ได้สิทธิต่างที่ปราศจากหน้าที่ เช่น รับการให้โดยไม่มีค่าตอบแทน 2.สิ่งที่ต้องทำเฉพาะตัว เช่น การรับรองบุตร 3.สิ่งที่เท่าฐานะของผู้เยาว์ เช่น ซื้อขนม เครื่องเขียน เพียงจำเป็น 4.ทำพินัยกรรมได้หากอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้กี่ชนิด อะไรบ้าง

มาตรา๒๑“ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน การใด ๆ ทีผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความ ยินยอมเช่นว่านันเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน” Page 9 9 ผู้เยาว์ทํานิติกรรมได้ ๒ ทาง (๑) ทําด้วยตนเองโดยได้รับความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (๒) ทําโดยผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นผู้ทําแทน