หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น

เผยแพร่: 2 ต.ค. 2552 15:07   โดย: MGR Online

ในการใช้ชีวิตคู่ครองเรือน สามีภรรยาหรือผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว นอกจากจะปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อการสร้างตนทางเศรษฐกิจ เช่น หลักการขยันหาทรัพย์ หลักการใช้จ่ายทรัพย์ เป็นต้นแล้ว เพื่อให้ครอบครัวหรือตระกูลมีหลักฐานมั่นคง ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีควรปฏิบัติตามหลักธรรมที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบตระกูลหรือครอบครัวของตน โดยปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลตั้งอยู่ได้นาน ซึ่งเรียกว่า กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. นัฏฐคเวสนา ของหายหมดไป รู้จักหามาไว้
๒. ชิณณปฏิสังขรณา ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม
๓. ปริมิตปานโภชนา รู้จักประมาณในการกิน การใช้
๔. อธิปัจจสีลวันตสถาปนา ตั้งหญิงหรือชายมีศีลธรรมเป็นแม่บ้านพ่อเรือน

ผู้ครองเรือนแม้ว่าจะสามารถตั้งตัวจนครอบครัวมีหลักฐานมั่นคง มีทรัพย์สมบัติมาก มีบริวารพวกพ้องมาก แต่ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมที่เป็นเหตุทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นานทั้ง ๔ ประการข้างต้นนี้แล้ว ไม่ช้าไม่นาน ครอบครัวหรือตระกูลย่อมถึงความวิบัติล่มจม ชีวิตครองเรือนหรือชีวิตครอบครัวก็จะมีอุปสรรคทันที ซึ่งเหตุแห่งความวิบัติหรือล่มจมของครอบครัว ก็มีนัยตรงกันข้ามกับหลักกุลจิรฏฐิติธรรมทั้ง ๔ ประการนั้น ดังนี้
๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔. ตั้งหญิงหรือชายทุศีลให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน
เหตุ ๔ ประการนี้ เป็นเหตุให้ตระกูลหรือครอบครัวที่มีทรัพย์สมบัติจะตั้งอยู่ดำรงความมั่งคั่งไม่ได้นาน คือจะล่มจมลงในไม่ช้า มีอธิบายดังนี้
๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป หมายถึง เมื่อมีสิ่งของพัสดุเครื่องใช้ต่างๆหายไป หมดไป ก็ไม่รู้จักหามาไว้คืน สิ่งของต่างๆที่สูญหายไป หรือเงินทองที่ใช้สอยไปทุกวันๆ หากไม่ตามคืนหรือไม่หาทางนำมาชดเชย เพราะมัวแต่คิดว่ามีมาก ไม่มีวันหมดหรือไม่เป็นไรแล้ว ทรัพย์สินหรือเงินทองสิ่งของก็จะร่อยหรอไปทุกๆวัน ผู้ครองเรือนจำต้องอุดรอยรั่วนี้
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า หมายถึง ไม่รู้จักบูรณะซ่อมแซมของเก่าหรือของที่ชำรุด ปล่อยให้เสียไปตามกาลเวลา พัสดุหรือวัสดุสิ่งของเครื่องใช้ไม้สอย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ เสื้อผ้า หรืออะไรอื่น หากชำรุดไปหรือเสียหายไปตามกาลเวลา ก็อาจซ่อมแซมปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สภาพให้เหมือนเดิม หรือนำไปใช้ในกรณีอื่นได้ แต่ถ้าผู้ครองเรือนประมาท ทิ้งขว้างให้เสียหาย โดยซื้อใหม่เปลี่ยน ใหม่อยู่เรื่อยๆ ก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุเรื่อยๆเช่นกัน นี่ก็เป็นรอยรั่วที่จำเป็นต้องอุดอีกรอยหนึ่ง
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ หมายถึง ไม่รู้จักประมาณในการกินในการใช้ทรัพย์สมบัติ กินใช้อย่างฟุ่มเฟือย ในการใช้สิ่งของก็ดี ใช้เงินทองก็ดี จำต้องใช้อย่างทะนุถนอม ใช้อย่างประหยัด ใช้ให้สมคุณค่า ผู้ครองเรือนที่ดีจำต้องมีความมัธยัสถ์ในการใช้สอย ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ให้เข้าทำนอง “ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน” หากไม่รู้จักกินใช้ ก็จะถึงความวิบัติในไม่ช้า นี่ก็เป็นรอยรั่วที่ควรอุดเช่นกัน
๔. ตั้งหญิงหรือชายทุศีล ให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน หมายถึง ไม่ตั้งคนดีมีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน แต่กลับไปตั้งคนไม่มีศีลธรรมหรือคนประพฤติชั่วมัวเมาในอบายมุขมาเป็นใหญ่ คือเป็นพ่อบ้านหรือเป็นแม่เรือนที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในครอบครัว ไม่ช้าไม่นานก็จะเป็นเหตุนำ พาให้ตระกูลที่มั่งคั่งมาแต่เดิม ต้องล่มจมไปในที่สุด
ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงหลักความจริงที่ว่า ผู้เป็นแม่บ้าน พ่อเรือนหรือเป็นพ่อบ้านแม่บ้านจะต้องเป็นคนมีศีลธรรม เป็นคนดี เช่น เป็นคนซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ เป็นคนมีหลักเบญจศีลเบญจธรรม งดเว้นอบายมุขได้ บุคคลประเภทนี้สมควรยกย่องหรือตั้งให้เป็นผู้บริหารครอบครัว บริหารกิจการของครอบครัว คือ ให้เป็นพ่อบ้านหรือแม่เรือนในการครองเรือนนั้น หากพ่อบ้านหรือแม่บ้านคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนเป็นคนทุศีล ไม่มีคุณธรรมต่างๆ ดังยกตัวอย่างข้างต้นนั้น ครอบครัวและการครองเรือนก็จะพบกับความวิบัติและล่มจมในที่สุด รอยรั่วที่ ๔ นี้เป็นรอยรั่วใหญ่ที่อุดได้ยาก และเป็นเหตุให้เกิดรอยร้าวข้างต้น ได้ง่าย
เพราะฉะนั้น ผู้ครองเรือนที่ปรารถนาจะให้การครองเรือนของตนมีสวัสดิภาพ ปลอดภัย และมั่งมีศรีสุขตลอดไป พึงระวังเหตุแห่งความวิบัติทั้ง ๔ ประการนี้มิให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและครอบครัวของตนได้

(จากส่วหนึ่งของหนังสือพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 โดยแก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา)

หลักธรรมของชีวิตคู่
โพสต์เมื่อวันที่ : 5 ก.ค. 2552 เปิดอ่าน : 43,358 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น

☰แชร์เลย >  
หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น

Advertisement


หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น

Advertisement


จะเป็นคู่สร้างคู่สม เมื่อมีสมธรรม ๔ ประการ

              ชีวิต คู่ครองนี้  มีคำเรียกตามนิยมว่า ชีวิตสมรส  ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนว่า ชีวิตสมรสที่จะมีความสุข ราบรื่น มั่นคงยืนยาวได้นั้น คู่สมรสควรมีคู่ธรรมที่สมหรือสม่ำเสมอกัน อันจะพึงเรียกได้ว่า สมธรรม ๔ ประการ คือ สมศรัทธา สมศีลา สมจาคา และ สมปัญญา สมธรรม ๔ ประการนี้ เป็นฐานรองรับชีวิตคู่ครองในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าฆราวาสธรรม ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้ว เพราะแสดงถึงความมีคุณสมบัติสมกันและความมีลักษณะนิสัยสม่ำเสมอกันของคู่ ครอง ซึ่งจะทำให้ผู้สมรสทั้งสองสมชีพหรือสมชีวี คือมีชีวิตที่สมหรือเสมอกัน สมธรรม ๔ ประการ นั้น คือ

             ๑. สมศรัทธา มีศรัทธาสมหรือเสมอกัน ศรัทธานั้นหมายถึงความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือความใฝ่นิยม เช่น ความเชื่อถือในลัทธิศาสนา ความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย และความใฝ่นิยมในคุณค่า หรือสิ่งที่ยึดถือเข้าใจว่าเป็นความดีงามต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกันย่อมเป็นสิ่งสำคัญเบื้องแรกที่จะทำให้ชีวิตครองเรือน กลมกลืนสนิทสนมแน่นแฟ้น เพราะศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิด และเป็นพลังชักจูงใจในการดำเนินชีวิตและกระทำกิจการต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกัน ตั้งต้นแต่ความเชื่อถือในลัทธิศาสนาอย่างเดียวกัน   ตลอดจนการมีรสนิยมแนวเดียวกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตสมรส ถ้าศรัทธาเบื้องต้นไม่เป็นอย่างเดียวกัน ก็ต้องตกลงปรับให้เป็นไปด้วยความเข้าใจต่อกัน

           ๒. สมศีลา มีศีล คือความประพฤติสมหรือเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือขัดแย้งรุนแรงต่อกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งปากร้าย ชอบกล่าวคำหยาบคาย อีกฝ่ายหนึ่งได้รับการอบรมกวดขันมาทางด้านการพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ทนฟังคำหยาบ ไม่ได้ หรือฝ่ายหนึ่งชอบเป็นนักเลงหัวไม้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งชอบชีวิตสงบไม่วุ่นวาย ก็อาจเป็นทางเบื่อหน่ายร้าวฉานเลิกร้างกัน หรืออยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน

           ๓. สมจาคา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละสมหรือเสมอกัน ในชีวิตของบุคคลที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เริ่มแต่ญาติมิตรสหายเป็นต้นไปนั้น ธรรมข้อสำคัญที่จะต้องแสดงออกอยู่เสมอก็คือ ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีใจกว้างขวาง การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน หรือในทางตรงข้าม ก็เป็นความ ตระหนี่ ความมีใจคับแคบ กระด้าง คู่ครองที่มีจาคะไม่สมกันย่อมมีโอกาสเกิด ความขัดแย้งกระทบกระเทือนจิตใจกันอยู่เรื่อยไป  ทำให้ชีวิตครอบครัว เป็นชีวิตที่เปราะ มีทางที่จะแตกร้าวได้ง่าย

           ๔. สมปัญญา มีปัญญาสมหรือเสมอกัน ปัญญาหมายถึงความรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดีชั่ว รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ความรู้จักคิด ความสามารถในการ ใช้ความคิดและเข้าใจในเหตุผล ความมีปัญญาสมกันมิได้หมายความว่าคู่ครองทั้งสองฝ่ายจะต้องได้เล่าเรียน ศิลปวิทยาการ ทรงความรู้เชี่ยวชาญเหมือน ๆ กัน แต่หมายถึงการมีความคิด การรู้จักรับฟังและเข้าใจในเหตุผลของกันและกัน และการช่วยเป็นคู่คิดของกันและกันได้ อย่างที่กล่าวกันง่าย ๆ ว่าพูดกันรู้เรื่อง คุณธรรม ข้อนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะสามีภรรยาเป็นผู้อยู่ร่วมใกล้ชิดกันทุกเวลา จำต้องมีความเข้าใจกัน ร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือกัน บรรเทาข้อหนักใจ และช่วยกันหาทาง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นกำลังแก่กันและกันได้ ความมีปัญญาสมกันนี้ นอกจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทำให้มีความสนิทสนมกันด้วยดีแล้ว ยัง ทำให้ชีวิตของคู่ครอง ทั้งสองฝ่ายเป็นชีวิตที่ส่งเสริมคุณค่าเพิ่มกำลังแก่กันและกันอีกด้วย

              พระ บรมศาสดาตรัสแสดงว่า สมธรรม ๔ ประการ นี้ จะเป็นเหตุให้คู่สามีภรรยาได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าตามความประสงค์  สมดังพุทธพจน์ที่ยกขึ้น เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า  อากงฺเขยฺ ยํเจ คหปตโย อุโภ ชานิปตโย” ดังนี้เป็นต้น แปลความว่า ถ้าคู่สามีภรรยา หวังจะได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าแล้วไซร้ ทั้งสอง พึงเป็นผู้มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีจาคะสมกัน มีปัญญาสมกัน ดังนี้

             ความ สมหรือเสมอกันของคู่ครองตามหลักธรรม ๔ ประการนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะบุคคลทั้งสองมามีชีวิตอยู่ร่วมกันใกล้ชิดยิ่งกว่าใคร ๆ จนใน ทางโลกกล่าวว่าเป็นบุคคลเดียวกัน การที่จะมารวมเข้าด้วยกันจึงต้องอาศัยความประสานกลมกลืนเหมาะสมกันตามทาง ธรรมดังกล่าวมา

จะร่วมชีวิตกันทั้งที ควรคิดให้ดีว่าจะเป็นคู่ประเภทใด

                การ อยู่ครองเรือนของคู่สมรสนั้น เป็นการร่วมกันนำชีวิตทั้งสองผ่านเหตุการณ์ทั้งปวงทั้งที่ดีและร้ายไปด้วย กัน เป็นชีวิตที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ทั้งปวง ในแง่นี้ ท่านจึงถือว่าทั้งสองฝ่ายเป็นเพื่อนหรือเป็นสหายกัน และเป็นเพื่อนที่ยิ่งกว่าเพื่อนใด ๆ เพราะร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ ร่วมรับสุขทุกข์ครบถ้วนพร้อมกันกว่าเพื่อนอื่น ๆ ดังพุทธภาษิตที่ว่า “ภริยา ปรมา  ขา” แปลว่า ภรรยาเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง หรือ ภรรยาเป็นยอดสหาย โดยความหมายว่าเป็นคู่ร่วมสุขร่วมทุกข์ดังอธิบายมาแล้ว

              อนึ่ง พึงสังเกตว่า ในทางพระศาสนา ท่านแสดงเพื่อนใกล้ตัวไว้อีกบุคคลหนึ่ง ดังพุทธภาษิตว่า “มาตา มิตฺตํ  เก ฆเร” แปลว่า มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน พุทธภาษิตนี้มิได้ขัดแย้งกับพุทธภาษิตข้อก่อนที่ว่าภรรยาเป็นเพื่อนอย่าง ยิ่งนั้นแต่ประการใด เพราะเพ่งความคนละอย่าง ในพุทธภาษิตข้อก่อน ท่านมุ่งแสดงลักษณะความเป็นไปของชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่มองเห็นได้ในภาย นอกว่า ภรรยาเป็นผู้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสามี ส่วนในพุทธภาษิตข้อหลัง ท่านมุ่งแสดงถึงคุณธรรมในใจ เพราะคำว่ามิตร  มีความหมายเพ่งเล็งไปในทางด้านจิตใจและคุณธรรมมากกว่าคำว่าสหายและเพื่อน ตามพุทธภาษิตข้อที่ ๒ นี้ จึงมีความหมายว่า ในบ้านของแต่ละคน มีมารดาเป็นผู้มีเมตตามีความปรารถนาดีต่อบุตร เป็นที่วางใจ พึ่งอาศัยได้อย่างแท้จริง เป็นมิตรแท้คู่บ้าน แน่นอนอยู่ท่านหนึ่งแล้ว

              ใน กรณีนี้ หากภรรยาผู้ใดสามารถปฏิบัติตนทำจิตใจให้เป็นมิตรแท้  มีเมตตาปรารถนาดีต่อสามีได้อย่างแท้จริงเหมือนอย่างมารดาแล้ว พระบรมศาสดา ก็ตรัสยกย่องภรรยานั้นว่าเป็น มาตาสมภริยา หรือ มาตาภริยา คือ ภรรยาเสมอด้วยมารดา หรือ ภรรยาเยี่ยงมารดา ส่วนภรรยาผู้มีคุณธรรมอย่างอื่นก็ตรัสเปรียบไว้เหมือนพี่น้องหญิง เหมือนเพื่อนเป็นต้น ดังที่เคยตรัสสอนนางสุชาดา ผู้เป็นสะใภ้ของอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า มีภรรยาอยู่ ๗ ประเภท เป็นฝ่ายร้าย ๓ ประเภท และฝ่ายดี ๔ ประเภท คือ

            ๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต ได้แก่ภรรยาผู้มีจิตประทุษร้าย ปรารถนาความเสื่อมเสียหายแก่สามี ดูหมิ่นและคิดหาทางทำลายสามี
             ๒.  โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร ได้แก่ภรรยาผู้ล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่สามีหามาได้
             ๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย ได้แก่ภรรยาผู้ไม่ใส่ใจการงาน เกียจคร้าน รับประทานมาก ปากร้าย หยาบคาย ใจเหี้ยม ข่มสามี
            ๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา ได้แก่ภรรยาผู้หวังดีทุกเวลา คอยห่วงใยรักษาสามีเหมือนมารดาปกป้องบุตร และประหยัดรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
           ๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว ได้แก่ภรรยาผู้เคารพสามีดังน้องกับพี่ มีใจอ่อนโยน คล้อยตามสามี
            ๖.  สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย ได้แก่ภรรยาที่พบสามีเมื่อใดก็ปลาบปลื้ม ดีใจเหมือนเพื่อนพบเพื่อนผู้จากไปนาน เป็นคนมีตระกูล (ได้รับการศึกษาอบรม) มีความประพฤติดี รู้จักปฏิบัติสามี
            ๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงทาส ได้แก่ภรรยาที่ยอมอยู่ในอำนาจสามี ถูกขู่ตะคอกเฆี่ยนตี ก็อดทนได้ ไม่โกรธตอบ

คนดีมาครองคู่คือเอาคุณค่าของชีวิตมาเสริมกัน และทวีกำลังในการสร้างสรรค์

             พรรณนาความ ตามที่แสดงมาทั้งหมดนี้ ควรถือเอาสาระสำคัญที่เป็นใจความอย่างหนึ่งว่า หลักธรรมสำหรับการครองเรือน ที่สอนให้คู่ครองมีความสมกันทั้งหลายก็ดี ให้รู้จักปฏิบัติหน้าที่ถนอมรักษาน้ำใจกันด้วยประการต่าง ๆ ก็ดี รวมทั้งหมดนี้ล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อให้การครองเรือนของคู่สามีภรรยา เป็นไปในทางที่ส่งเสริมคุณค่าแห่งชีวิตของกันและกัน และเป็นเครื่องอุปถัมภ์ส่งเสริมเพิ่มพูนกำลังแก่กัน เช่น เมื่อมีคุณธรรมความดีอยู่แล้ว ก็จักได้บำเพ็ญ คุณธรรมความดีเหล่านั้นให้เพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นไป   เมื่อกระ ทำประโยชน์ตนอยู่ก็จักได้กระทำประโยชน์นั้นให้เข้มแข็งหนักแน่น ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นอยู่ ก็จักได้มีกำลังช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์นั้นให้กว้างขวางได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการสร้างเสริมความสุขความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ชีวิตตนเอง ชีวิตคู่ครอง และชีวิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสังคมส่วนรวม ทำตนให้เป็นผู้ควรได้ชื่อว่าเป็น สัตบุรุษ หรือสัปปุรุษ  ซึ่งเป็นบุคคลที่ดีมีค่า ตามความ หมายของพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์แสดงปฏิปทาของสัตบุรุษว่า

          “ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แก่บิดามารดา แก่บุตรภรรยา แก่คนรับใช้ และกรรมกร แก่มิตรและผู้ร่วมงาน แก่บรรพชน แก่รัฐ แก่ทวยเทพ และแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆที่ตกลงมายังข้าวกล้าให้เจริญงอกงามทั่วกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ ความเกื้อกูล และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น”

             ประโยชน์ สุขอันกว้างขวางซึ่งเกิดมีเพราะสัตบุรุษเช่นนี้ ย่อมต้องเริ่มต้นจากวงแคบออกไปก่อนตามลำดับ คือเริ่มจากครอบครัว และเริ่มจากการประพฤติ ปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่ครองทั้งสองแต่ละฝ่าย เมื่อคู่ครองต่างฝ่ายมีคุณธรรมและรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตน เป็นกำลังส่งเสริมแก่กัน ทำชีวิตครอบครัวให้มีความสุขความเจริญแล้ว ก็จะแผ่ขยายประโยชน์สุขนั้นออกไปให้กว้างขวางได้สำเร็จสมความปรารถนา  ดังนั้น  ชีวิตครองเรือนที่มุ่งหมายในพระศาสนาจึงได้แก่ชีวิตที่คู่วิวาห์ มาร่วมอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน เพิ่มพูนคุณค่าแห่งชีวิตทั้งสอง ทวีกำลังในการบำเพ็ญประโยชน์ ุขให้ภิญโญแผ่ไพศาล คู่สมรสใดดำเนินชีวิตครอบครัวของตน ให้มี คุณลักษณะสมดังที่ได้พรรณนามา ก็จักได้ชื่อว่าเป็นคู่ครองที่ควรยกย่องสรรเสริญ ควรนับว่าเป็นชีวิตครองเรือนที่ประสบความสำเร็จด้วยดี

คู่ครองที่ดี

         คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติ และประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้

         ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้อง กลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า  สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ

          ๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิดความเชื่อถือ หรือหลักการต่างๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียว กันหนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
          ๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้อง ไปกันได้
          ๓. สมจาคา มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
         ๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๕/๘๐)
        
           ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ หรือ คู่บุญคู่กรรม คือ คู่ครองที่มีคุณธรรม ลักษณะนิสัยความประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกต่อกัน ที่ทำให้เกื้อกูลกันหรือถูกกัน ก็มี ต้องยอมทนกันหรืออยู่กันอย่างขมขื่น ก็มี ในกรณีนี้ ท่านแสดงภรรยาประเภทต่าง ๆ ไว้ ๗ ประเภท คือ

           ๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทำลายสามี
           ๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร  คือ ภรรยาชนิดที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
           ๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย คือ ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มสามี
           ๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา คือ ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใย  เอาใจใส่สามี หาทรัพย์มาได้ก็เอาใจใส่ คอยประหยัดรักษา
           ๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว คือ ภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี
           ๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย คือ ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน มีจิตภักดี เวลาพบสามีก็ร่าเริงยินดี วางตัวดี ประพฤติดี มีกิริยามารยาทงาม เป็นคู่คิดคู่ใจ
          ๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงนางทาสี คือ ภรรยาที่ยอมอยู่ใต้อำนาจสามี ถูกสามีตะคอกตบตี ก็อดทน ไม่แสดงความโกรธตอบ
(องฺ. ตฺตก. ๒๓/๖๐/๙๒)

         ท่าน สอนให้ภรรยาสำรวจตนว่าที่เป็นอยู่  ตนเป็นภรรยาประเภทไหน  ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยาประเภทใด สำหรับชายอาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตน ว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยตนหรือไม่

          แม้สามีก็ย่อมมีหลายประเภทพึงเทียบเอาจากภรรยาประเภท ต่าง ๆ เหล่านั้น

จาก : http://sathira-dhammasathan.org/

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


กินพริกแล้วจะช่วยให้ลดความอ้วนได้หรอ?
เปิดอ่าน 16,593 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


เตรียมตัวก่อนไปทะเล
เปิดอ่าน 7,772 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


เสริมสุขภาพลูกน้อยให้ได้ผลด้วย ผลไม้
เปิดอ่าน 11,759 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เปิดอ่าน 19,041 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


"พันธุกรรม"ทำให้ คนลดน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน
เปิดอ่าน 8,266 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


คู่มือถนอมผิวสวยใต้แสงแดด
เปิดอ่าน 11,865 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เปิดอ่าน 1,739 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน
เปิดอ่าน 13,085 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


มากกว่า Like! เฟซบุ๊กเตรียมเปิดตัวปุ่ม "Want" เร็ว ๆ นี้
เปิดอ่าน 8,074 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


นร.ยืน หัวดีกว่า นร.นั่งเรียนปกติ
เปิดอ่าน 10,072 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


ดื่มนม วิธีเสริมแคลเซียมอย่างประหยัด
เปิดอ่าน 10,682 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


แต่งบ้านเรียกทรัพย์
เปิดอ่าน 16,341 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


9 อันดับโน้ตบุ๊กเริ่ม"เอ๋อ"ภายใน 3 ปี
เปิดอ่าน 11,062 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


ทำยาเม็ดกินก่อความรัก ไปสร้างปฏิกิริยาเคมีขึ้นภายในสมอง
เปิดอ่าน 8,978 ครั้ง

หลักธรรมใดทางพระพุทธศาสนาที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครอบครัวตัวเองให้ดีขึ้น


มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดจากกรรมพันธุ์มากถึง 3 เท่า
เปิดอ่าน 10,143 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ข้อใดคือหลักธรรมที่ใช้ในการพัฒนาครอบครัว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ธรรมะหมวดหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักการวางรากฐานชีวิตและ ครอบครัวให้มั่งคง นั่นคือ “ฆราวาสธรรม ซึ่งประกอบด้วย หลักการ 4 ข้อ คือ สัจจะ ขันติ และจาคะ ทั้งสี่ข้อนี้ คือ หัวใจครอบครัว สามีภรรยาเป็นบุคคลที่พึ่งเป็นพึ่งตายซึ่งกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้มี ความซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ ...

การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาคือหลักธรรมข้อใด

๒. การพัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเอง หมายถึง การนำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 มรรคมีองค์ 8 และอนันตริยกรรม

หลักธรรมใดนำไปปฏิบัติในการดูแลครอบครัว

1) หลักฆราวาสธรรม เปนหลักธรรมที่ใชประเมินผลสำเร็จของชีวิตคู กลาวคือ ครอบครัวจะมี ความสุขความเจริญ ไมเกิดปญหาครอบครัว ขึ้นอยูกับการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมหรือไม (Phrakru nipasdhammāthimut, 2010) ซึ่งหลักฆราวาสธรรม เปนหลักการที่วาดวยการครองเรือนใหสมาชิกใน ครอบครัวรูจักการดำเนินชีวิตทางโลกอยางผูประสบความ ...

หลักธรรมใดที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง

3. อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและอาชีพ สามารถใช้พัฒนาตนเองและสังคมได้ ประกอบด้วย 1) ฉันทะ หมายถึง ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2) วิริยะ หมายถึง ความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้น 3) จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ ความรับผิดชอบต่อสิ่งนั้น