ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

                  จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)  เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงามแสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน   นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง  โดยเขียนด้วยสีฝุ่นตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ  เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดี ชีวิตไทย และพงศาวดารต่าง ๆ  ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา

ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ แบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์  เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ  จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่างรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้านหน้า และหลังพระประธาน

รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทย จิตรกรได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติแสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ มีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง  ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา  สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า  ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ

ตัวอย่างงานจิตรกรรมไทยประเพณี

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

เมนูนำทางเรื่อง

แจกเช็กลิสต์ 25 วัดทั่วไทยที่โดดเด่นด้วยงาน จิตรกรรมฝาผนัง มีให้เลือกชมทั้งผลงานช่างหลวง ช่างชาวบ้าน ซึ่งล้วนสอดแทรกวิถีชีวิต เรื่องเล่า ตำนานของในแต่ละท้องถิ่นไปจนถึงศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบัน เก่าแก่สุดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายไล่มาถึงงานศิลปะโมเดิร์นเลยทีเดียว

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

01 วัดเกาะ : รวมพลชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา

วัดเกาะ เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาในจังหวัดเพชรบุรีซึ่งมี จิตรกรรมฝาผนัง ที่งดงามเขียนเต็มผนังทุกด้านเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติที่หาชมยาก ในภาพเล่าถึงสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพาน และสถานที่ที่ทรงประทับเพื่อเสวยวิมุตติสุขหลังตรัสรู้ ไฮไลต์ของภาพจะเห็นรูปชาวต่างชาติหลากหลายชาติที่เข้ามาค้าขายในยุคนั้นซึ่งน่าสนใจว่าเพชรบุรีอาจมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาถึงถิ่น หรือช่างสกุลเพชรบุรีกลุ่มนี้เป็นชุดที่โด่งดังจนได้เข้าไปทำงานในเมืองพระนครจนรู้จักชาวต่างชาติกลุ่มต่าง ๆ เป็นอย่างดี เช่น ชาวตะวันตก ชาวอาหรับ ชาวจีน พลพรรคชาวต่างชาติเหล่านี้ถูกวาดแทนหน้าเทวดาและยักษ์แบบไทย ๆ จึงเป็นรายละเอียดของภาพที่ดูได้เพลินมาก ๆ

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

02 วัดสุทธิวราราม : พุทธศิลป์ในศิลปะร่วมสมัย

วัดสุทธิวรารามเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงธนบุรีอายุกว่า 250 ปีที่ตอนนี้ถูกปรับโฉมใหม่ให้พุทธศาสนาเข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายและสนุกขึ้นผ่านงานศิลปะร่วมสมัยที่จะได้เห็น Google, Facebook, MacBook รวมทั้งร้านสะดวกซื้อเปิดตลอด 24 ชั่วโมงซ่อนอยู่ในพุทธศิลป์เหล่านี้ด้วย

ไฮไลต์ต้องชมอยู่บนชั้น 2 ที่เปรียบได้กับแกลเลอรีใหญ่สุดเป็นผลงานการวาดภาพลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ของ “ทรงเดช ทิพย์ทอง” ศิลปินชาวเชียงรายที่ทำงานศิลปะเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนามาตลอด เช่น จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังพระประธานที่วัดแม่คำสบเปิน และจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถที่วัดป่าอ้อร่มเย็น จังหวัดเชียงราย งานของทรงเดชมักเขียนด้วยสีขาวบาง ๆ เพื่อให้ผลงานดูสะอาดสว่าง และสงบ เหมือนความรู้สึกของเขาที่มีต่อพระพุทธศาสนา สำหรับงานศิลปะภายในโบสถ์วัดสุทธิวรารามแห่งนี้ ทรงเดชใช้เวลาวาดนานถึง 7 ปีซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยพระมหาสุทิตย์ อาภากโร เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

03 วัดสุทัศนเทพวราราม : ต้นแบบภาพสัตว์หิมพานต์ที่สมบูรณ์ที่สุดในไทย

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร นอกจากจะยืนหนึ่งเรื่องขนาดความใหญ่ของพระวิหารหลวงแล้ว จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวงยังได้รับการยกย่องให้เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยประเพณี เพราะทรงคุณค่าด้วยฝีมือบรมครูช่างสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อเข้าไปภายในพระวิหารหลวง ทุกคนจะทึ่งกับจิตรกรรมฝาผนังที่สร้างสรรค์อย่างวิจิตรจากพื้นจดเพดานว่าด้วยเรื่องประวัติพระพุทธเจ้า 27 พระองค์ รวมไปถึงเสาสี่เหลี่ยมทั้ง 8 ต้นเป็นภาพเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐานว่าด้วยภพภูมิ โลก และจักรวาล ตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนา ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวของป่าหิมพานต์และสัตว์วิเศษในจินตนาการอยู่

ภาพสัตว์หิมพานต์ในวัดสุทัศนเทพวรารามนั้นมีครบทุกวงศ์ แต่ละวงศ์วาดไว้ครบทุกสีและทุกประเภท เรียกได้ว่าหากอยากจะรู้จักสัตว์หิมพานต์และถิ่นที่อยู่ว่าแต่ละตัวมีลักษณะ ท่าทาง ความชอบ นิสัยอย่างไร ให้มาดูได้ที่วัดสุทัศน์ฯ และที่พิเศษคือนอกจากจิตรกรรมฝาผนังแล้ว เหนือกรอบประตูและหน้าต่างวัดสุทัศน์ฯ จะมีภาพชุดจิตรกรรมสีฝุ่นบนกระดาษข่อยบรรจุในกรอบไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษาอย่างฝรั่งประดับอยู่เหนือช่องประตูหน้าต่างช่องละ 3 ภาพ รวม 48 ภาพ เป็นงานฝีมือชั้นสูงของช่างหลวงในราวสมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 และเป็นภาพชุดจิตรกรรมที่เล่าเรื่องสัตว์หิมพานต์ที่สมบูรณ์แบบและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

04 วัดภุมรินทร์ราชปักษี: วัดร้างที่ซ่อนความอลังการของ จิตรกรรมฝาผนัง

วัดภุมรินทร์ราชปักษี หรือ วัดภุมรินทร์ หลายคนอาจไม่คุ้นหูนัก หรือแม้แต่คนย่านฝั่งธนบุรีเองก็อาจจะยังไม่เคยได้ยินชื่อวัดแห่งนี้สักเท่าไร ทั้ง ๆ ที่วัดนี้มีความสำคัญและมีมาก่อนการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เหตุที่ชื่อวัดภุมรินทร์ราชปักษีถูกลืมเลือนก็เพราะวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างไร้พระสงฆ์จำพรรษาและถูกยุบรวมไปอยู่ภายใต้การดูแลของ วัดดุสิดารามวรวิหาร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6

จิตรกรรมฝาผนัง ของที่นี่ยังคงเอกลักษณ์ลายเซ็นของงานจิตรกรรมฉบับช่างสกุลวังหน้าในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าน่าจะวาดในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่เกินรัชกาลที่ 4 และการที่วัดเล็ก ๆ แห่งนี้ได้รับการบูรณะโดยช่างสกุลวังหน้าซึ่งเป็นกลุ่มช่างที่เลื่องชื่อของพระนครในยุคนั้นย่อมบ่งบอกถึงความสำคัญของวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี 

หากเงยหน้าขึ้นมองด้านบนเหนือกรอบประตูทางเข้าวิหารจะพบจิตรกรรมขนาดใหญ่เต็มผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติตอน มหาสุทัสสนสูตร หนึ่งในพระสูตรตามพระไตรปิฎก มีเนื้อความกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อพระพุทธเจ้าใกล้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในป่าเขตเมืองกุสินารา ครั้งนั้นพระอานนท์ได้กราบทูลขอพระองค์ว่าอย่าเสด็จปรินิพพาน ณ นครขนาดเล็กแห่งนี้เลยเพราะเกรงว่าจะไม่สมพระเกียรติ พระพุทธองค์จึงทรงเล่าถึงความยิ่งใหญ่ของนครแห่งนี้ในอดีตว่าเคยเป็นที่ตั้งของ “นครกุสาวดี” มี พระมหาสุทัสสนะ เป็นกษัตริย์ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง มีปราสาท โรงทาน มีเมืองบริวารมากถึง 84,000 เมือง มีกำแพงและต้นตาลล้อมรอบถึง 7 ชั้น โดยทั้งกำแพงและต้นตาลล้วนแล้วแต่เป็นทอง เงิน แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก แก้วโกเมน แก้วบุษราคัม และรัตนะ ซึ่งถ้าดูตามภาพที่ปรากฏจะพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวในมหาสุทัสสนสูตรเป็นอย่างมาก

จิตรกรรมฝาผนังไม่ได้สลักแค่ความเชื่อด้านพุทธศาสนา มากไปกว่าความสวยงาม จิตรกรรมฝาผนังยังใส่เรื่องราวของวิถีชีวิต ภูมิประเทศในยุคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และในภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภุมรินทร์ราชปักษีจะพบ ต้นตาล เป็นองค์ประกอบภาพอยู่หลายแห่ง สื่อถึงความนิยมในสมัยโบราณเรื่องเสียงของต้นตาลยามเมื่อต้องสายลมจะคอยประโคมเสียงไพเราะราววงมโหรีกำลังขับกล่อมเมืองและในมหาสุทัสสนสูตรเองมีกล่าวถึงป่าตาลที่ห้อมล้อมไว้ด้วยกันถึง7 ชั้น

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

05 วัดดุสิดาราม : ที่สุดของภาพนรกภูมิสายโมเดิร์น

จิตรกรรมของวัดดุสิดารามเป็นผลงานฝีมือช่างเขียนในสมัยรัชกาลที่ 1 เทียบได้กับภาพเขียนในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์แห่งวังหน้าซึ่งอยู่ในยุคเดียวกัน ไฮไลต์ของจิตรกรรมฝาผนังชุดนี้ซ่อนอยู่ด้านหลังพระประธานเป็นภาพเมืองนรกขนาดใหญ่ที่ผสมผสานเรื่องความเชื่อในด้านพระพุทธศาสนาและความสวยงามของงานจิตรกรรมได้ชวนขนลุก โดยเฉพาะรูปเปรตตัวสูงที่ดูน่าสะพรึงไม่น้อยกว่าเปรตวัดสุทัศน์ฯ ดูแล้วก็ให้รู้สึกเกรงกลัวบาปขึ้นมาทันที

โดยปกติแล้วภาพขุมนรกตามวัดต่าง ๆ อาจจะมีแค่กระทะทองแดง ต้นงิ้ว หรือพระมาลัยท่องแดนนรกที่ไม่ได้เน้นฉากของภูตผีที่อยู่ในนรกมากนัก แต่ภาพจิตรกรรมนรกภูมิขนาดใหญ่ชิ้นนี้ได้วาดความทรมานของนรกแต่ละขุมอย่างชัดเจน ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงผลของการทำบาปแต่ละประเภทว่าหากพุทธศาสนิกชนกระทำความผิดบาป เมื่อตกนรกไปแล้วจะต้องเจออะไรบ้าง การใช้ลายเส้นและรูปแบบที่ไม่ได้วาดตามขนบของภาพนรกไทยแบบประเพณีทำให้ภาพนรกลายเส้นโมเดิร์นชิ้นนี้ดูน่ากลัวและสมจริงจนยกให้เป็นหนึ่งในภาพนรกภูมิที่ต้องห้ามพลาดชมในเมืองไทย

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

06 วัดพลับพลาชัย : จิตรกรรมสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

วัดพลับพลาชัย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดโคก วัดคอก หรือ วัดโคกอีแร้ง เนื่องจากที่บริเวณหน้าวัดแห่งนี้เคยเป็นลานประหารนักโทษในช่วงรัตนโกสินทร์อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งทัพของรัชกาลที่ 1 ก่อนจะเดินทางไปสระพระเกศาที่วัดภูเขาทองเพื่อทำพิธีพระกระยาสนาน (อาบน้ำ) เมื่อครั้งที่เสด็จกลับจากเขมรมาปราบจลาจลในธนบุรี และเสด็จสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์

ภายในอุโบสถมีภาพ จิตรกรรมฝาผนัง บอกเล่าเรื่องราวของปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ทรงยกทัพกลับมาจากการศึกที่เขมร ปราบจลาจลที่ธนบุรี และเสด็จไปสระพระเกศาก่อนเถลิงถวัลย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้ว และการอัญเชิญพระพุทธศรีศากยมุนีมาไว้ที่วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นต้น

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

07 วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร : ภาพดาวเสาร์และปริศนาธรรมของ “ขรัวอินโข่ง”

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดบรมสุข โดดเด่นด้วยภาพ จิตรกรรมฝาผนัง ผลงานศิลปินไทยผู้โด่งดังในรัชกาลที่ 4 นั่นคือ “ขรัวอินโข่ง” ในอุโบสถมีภาพปริศนาธรรมที่ขรัวอินโข่งตั้งใจจะหลีกขนบการวาด จิตรกรรมฝาผนัง แบบเดิมที่ต้องเป็นชาดกหรือพุทธประวัติเท่านั้น เช่น ภาพเรือกำปั่นเดินทางข้ามห้วงวัฏสงสารแทนการเวียนว่ายตายเกิด ไฮไลต์คือภาพดอกบัวขนาดใหญ่ที่เคยถูกนำไปเป็นภาพแสตมป์ไทยมาแล้วในแสตมป์ชุดพิเศษบันทึกภาพจิตรกรรมฝาผนังสำคัญของไทย

ความโดดเด่นของขรัวอินโข่งคือมีการใช้เทคนิคการเขียนรูปแบบตะวันตกไม่ว่าจะเป็นเปอร์สเปกทีฟ แสง เงา เข้ามาผสมผสานกับความอ่อนช้อยแบบไทย รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการตีความภาพ การเขียนภาพแบบไม่ต้องยึดหลักสมดุลที่ต้องมีแกนกลางภาพและความเท่ากันของฝั่งซ้ายและขวาเหมือนงานเขียนจิตรกรรมตามขนบเดิม เป็นต้น

นอกจากปริศนาธรรมที่ให้ผู้ที่เข้ามาชมเป็นผู้ตีความหมายเองแล้ว ภาพชุดนี้ยังสะท้อนถึงเทคโนโลยี วัฒนธรรมของซีกโลกฝั่งตะวันตกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ เทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ซึ่งรัชกาลที่ 4 ให้ความสนพระทัยเป็นอย่างมาก ในเรื่องดาราศาสตร์นั้นขรัวอินโข่งได้วาดภาพการดูดาว วงแหวนของดาวเสาร์ และหอดูดาวที่เริ่มมีในไทยสมัยรัชกาลที่ 4 ลงไปด้วย

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

08 วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร: ภิกษุปลงอสุภะ

เดินข้ามเลาะเลียบคลองโอ่งอ่างในกรุงเทพฯมาเรื่อย ๆ จะเจอวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร หรืออีกชื่อที่คนนิยมเรียกคือ “วัดเชิงเลน” หรือ “วัดตีนเลน” วัดโบราณที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และในราวพ.ศ.2328 ได้รับการยกสถานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระราชทานนามว่า วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ซึ่งเป็นอีกวัดที่มีไฮไลต์ลับ ๆ น่าชม น่าศึกษาเยอะมาก

เริ่มจากพระอุโบสถที่ดูเรียบง่ายแต่สวยงามด้วย จิตรกรรมฝาผนัง ดอกไม้ร่วงสีทองเต็มผนัง เป็นลวดลายดอกไม้ร่วงผสมกับกรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดที่วาดเชื่อมต่อกันทั้งผนัง นับเป็นการใช้รูปทรงเรขาคณิตมาผสมผสานกับลวดลายดอกไม้ของจีนแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกับตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทยช่วงการบูรณะวัดแห่งนี้ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 และอีกไฮไลต์ประจำพระอุโบสถคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพเขียนสีบนกระจกวงรีติดไว้อย่างเรียบง่าย เป็นจิตรกรรมที่น้อยแต่มากด้วยความหมายของปริศนาธรรมเรื่องการเกิด แก่ เจ็บตาย แต่ละภาพเป็นรูปภิกษุกำลังปลงอสุภะเพื่อให้เห็นว่าความตายเป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์โดยจะมีภาพความตายของมนุษย์แตกต่างกันออกไปในแต่ละกรอบ

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

09 วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร: เทพชุมนุมเขียนชื่อโยมอุปัฏฐาก

รู้หรือไม่ว่าพระบางแห่งล้านช้างเคยประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ และวัดที่เคยมีการสร้างหอพระบางคือ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม หรือ วัดนางปลื้ม) ตั้งอยู่ริมถนนจักรวรรดิและซอยวานิช (สำเพ็ง) และเป็นวัดโบราณที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

นอกจากประวัติพระบางแล้ว อีกจุดเด่นของที่นี่คือพระอุโบสถที่มี จิตรกรรมฝาผนัง รูปเทพชุมนุมวาดแปลกกว่าเทพชุมนุมวัดอื่นตรงที่ตามปกติเทพชุมนุมจะนั่งเป็นระเบียบเรียงชั้นพรหม แต่ที่นี่วาดเป็นเทวดานางสวรรค์เหาะเหินเดินอากาศในท่าทาง เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับที่แตกต่างกันออกไปบ้างถือพัด บ้างถือกระถางดอกไม้มงคล บ้างถือธง บ้างถือแค่ดอกไม้โดยมีทั้งดอกบัวไทยและดอกโบตั๋นของจีนปะปนกันไป ที่โดดเด่นสะดุดตาคือมีการใส่ชื่อผู้ที่อุปถัมภ์วัดลงไปในริ้วผ้าสีขาวที่ติดอยู่กับเทวดาแต่ละองค์ซึ่งโดยปกติแล้วชื่อโยมอุปัฏฐากวัดจะนิยมเขียนตามแนวฝาผนังหรือกำแพงวัดมากกว่า

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

10 วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร : มาสเตอร์พีซของ “สมเด็จครู”

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร มีชื่อเดิมว่า วัดสมอราย เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาทั้งยังเคยเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งทรงผนวชและรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่ยังทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุ วัดแห่งนี้ยังเป็นหนึ่งในตำนานพระกริ่งและเป็นหนึ่งในผลงานอันทรงคุณค่าของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือ “สมเด็จครู”ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบพระอุโบสถ กำแพงแก้ว และสะพานนาคหน้าอุโบสถเมื่อครั้งมีการบูรณะวัดครั้งใหญ่

นอกจากสถาปัตยกรรมแล้ว ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถถือว่าเป็นไฮไลต์ โดยภาพทั้งหมดมาจากภาพต้นแบบที่ “สมเด็จครู” ร่างขึ้นก่อนจะส่งต่องานให้ช่างชาวอิตาลี คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) เป็นผู้วาดโดยใช้เทคนิคเขียนสีบนปูนเปียก เล่าเรื่องชาดก 13 กัณฑ์ แตกต่างจากวัดอื่น ๆ ในยุคเดียวกันด้วยการเขียนคนอย่างสมจริงอย่างที่นิยมในศิลปะตะวันตกโดยมีมัดกล้ามเนื้อสัดส่วน แสงเงา และการใช้เทคนิคการผลักระยะใกล้-ไกลเข้ามาใช้

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง
ภาพ : นายรอบรู้

11 วัดไชยศรี: ฮูปแต้มสินไซ สุดยอดวรรณกรรมแดนอีสาน

“ฮูปแต้ม” หรือ รูปแต้ม คือจิตรกรรมฝาผนังของชาวอีสานที่นอกจากปรากฏบนผนังภายในสิมหรือโบสถ์แล้ว ช่างยังแต้มหรือวาดที่ผนังภายนอกสิม เนื่องจากสิมมีขนาดเล็ก ช่างแต้มไม่สามารถวาดได้จบเรื่องจึงต้องวาดบนผนังภายนอกสิมด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องดีเพราะผู้ที่ไม่สามารถเข้าไปร่วมพิธีในสิมโดยเฉพาะผู้หญิงที่ตามขนบอีสานไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในสิม สถานที่ที่ถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบกิจของสงฆ์ จะได้มีโอกาสเรียนรู้หลักธรรมคำสอนจากฮูปแต้มภายนอกสิม

หนึ่งในฮูปแต้มที่โด่งดังได้แก่ฮูปแต้มสินไซแห่ง วัดไชยศรี จังหวัดขอนแก่น ฝีมือช่างท้องถิ่นที่เขียนเต็มพื้นที่สินให้ชมได้เพลินมาก โดย สินไซ เปรียบเสมือนมรดกทางวรรณกรรมอันล้ำค่าของชาวล้านช้าง เป็นวรรณกรรมเก่าแก่ซึ่งเดิมเป็นหนังสือเทศน์ แต่งเป็นคำกลอนโดยท้าวปางคำเมื่อพ.ศ. 2192 ต่อมามีการพิมพ์เป็นภาษาไทยและลาวอย่างกว้างขวาง วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากมีความงดงามทางภาษาแล้ว เนื้อหายังสนุกสนานน่าติดตามด้วยการผจญภัย “หกย่านน้ำ เก้าด่านมหาภัย” ของสินไซ ทั้งยังสอดแทรกเรื่องคุณธรรมหลายอย่าง คนอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า สินไซเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นแบบปัญญาสชาดกหรือชาดกนอกนิบาต จึงไม่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

12 วัดภูมินทร์ : ภาพกระซิบรักบรรลือโลก

ตามหลักฐานพงศาวดารเมืองน่านระบุว่า เดิมวัดนี้ชื่อวัดพรหมมินทร์สร้างโดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2139โดยสร้างเป็นอาคารจตุรมุข ประดิษฐานพระประธาน 4 องค์หมายถึงพรหมวิหารสี่สมดังพระนามของพระองค์ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดภูมินทร์ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ราว พ.ศ. 2410 เจ้าอนันตวรฤทธิเดชต่อมาเจ้าผู้ครองนครน่านเห็นว่าอาคารทรุดโทรมไปมากจึงได้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่และให้หนานบัวผัน จิตรกรผู้วาดภาพฝาผนังวัดหนองบัวมาวาดภาพที่วัดภูมินทร์นี้ด้วยการบูรณะและวาดภาพเพิ่มเติมนี้ใช้เวลาถึง8 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในจำนวนภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้นอกเหนือจากภาพขนาดเล็กที่เขียนเป็นเรื่องชาดกแล้วยังมีภาพขนาดใหญ่อีกจำนวนหนึ่งตามด้านข้างของกรอบประตู หรือบริเวณใกล้เคียงกับภาพพุทธประวัติเช่นภาพแม่ชีกำลังให้อาหารแมวหรือพระเณรกำลังอ่านหนังสือบนผนังด้านทิศเหนือภาพชายสูงศักดิ์สวมเสื้อครุยสีแดงที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ บนผนังทิศตะวันออกและผนังด้านใต้ 2 ฝั่งประตูเป็นภาพหญิงและชายสูงศักดิ์ในชุดพื้นเมือง

และภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกภาพคือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน หรือภาพกระซิบรักบรรลือโลก เป็นภาพบุคคลขนาดใหญ่ริมประตูด้านทิศตะวันออก ชายหนุ่มเปลือยอกเห็นรอยสักดำตั้งแต่สะดือมาจนถึงโคนขา สมดังคำเรียก ลาวพุงดำ ที่หนุ่มไหนไม่กล้าสักแสดงความกล้าหาญ หญิงสาวมักไม่ชายตามองทำท่าเกาะไหล่กระซิบกับหญิงสาวที่นุ่งซิ่นลุนตยา สวมเสื้อคลุมแบบพม่า การเกาะไหล่แบบนี้ในสมัยก่อนบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระดับสามีภรรยา ทั้งแววตา สีหน้า ท่าทางอากัปกิริยาของทั้งคู่ก็แสดงถึงความรักความผูกพันกัน

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง
ภาพ : นายรอบรู้

13 วัดหนองบัว : ผลงานช่างไทลื้อ “หนานบัวผัน” 

วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา เป็นวัดไทลื้อเก่าแก่ในจังหวัดน่าน เดิมตัววัดตั้งอยู่ริมหนองบัวท้ายหมู่บ้าน ต่อมาราวพ.ศ. 2145 จึงย้ายมาอยู่บริเวณที่ตั้งปัจจุบันโดยกรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2538 เนื่องจากมีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทลื้อ

ภายในวิหารวัดหนองบัวประดิษฐานพระประธานศิลปะล้านนา สีทองอร่าม ด้านข้างซ้ายมีธรรมมาสน์ไม้เก่าแก่ บริเวณด้านหลังมีภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้า ส่วนผนังอีก 3 ด้านมีภาพจิตรกรรมเขียนอยู่เต็มโดยรอบ นักวิชาการสันนิษฐานว่าเขียนโดย “หนานบัวผัน”ซึ่งเมื่อเขียนภาพที่วัดนี้สำเร็จแล้ว ต่อมาจึงได้ไปเขียนภาพที่โด่งดังระดับโลก “ปู่ม่านย่าม่าน” ที่วัดภูมินทร์

การชมจิตรกรรมฝาผนังให้สนุกนั้นต้องรู้จักเรื่องราวและแง่มุมที่แอบแฝงอยู่ในภาพเขียน ซึ่งจะสะท้อนทั้งภาพวิถีชีวิต ภูมิทัศน์สังคม วัฒนธรรมในขณะนั้นสำหรับภาพในวัดหนองบัวนั้นจะวาดเป็นพุทธประวัติและชาดกแต่มีพระพุทธประวัติที่โดดเด่นงดงามมากอยู่บริเวณด้านบนของผนังด้านตะวันออกเหนือประตูทางเข้า เป็นภาพพระอินทร์ดีดพิณสามสายถวายพระพุทธเจ้า สื่อว่าสายที่ตึงเกินไปย่อมขาด หย่อนเกินไปย่อมไร้เสียง สายที่ขึงตึงพอดีเท่านั้นจึงบรรเลงเพลงได้ไพเราะพระพุทธองค์สดับดังนั้นจึงเกิดพระโพธิญาณตระหนักถึงทางสายกลาง ยุติการบำเพ็ญทุกรกิริยา และตรัสรู้ในกาลต่อมา

ส่วนชาดกนั้นเป็นเรื่อง “จันทคาธ” เป็นชาดกในหนังสือ ปัญญาสชาดก ปัจฉิมภาค คนเหนือเรียกว่า ค่าวธรรมจันทคาปูจี่ เป็นเรื่องยาว มีรัก โศก สนุกสนาน นิยมสอนให้ลูกหลานเอาแบบอย่าง มีทั้งความกตัญญูกตเวทีความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์สุจริต จนถึงการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

นอกจากเรื่องราวในพุทธศาสนาแล้วสิ่งที่เห็นได้ชัดจากภาพชุดนี้คือวิถีชีวิตชาวไทลื้อในอดีตตั้งแต่เรื่องการแต่งกาย รอยสัก ประเพณี การกินอยู่ ถือเป็นสมุดบันทึกประวัติศาสตร์เล่มเยี่ยมเลยทีเดียว

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

14 วัดคงคาราม : จิตรกรรมหัวเมืองแต่ฝีมือระดับครูช่าง

วัดคงคาราม เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดราชบุรี สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วคงร้างไประยะหนึ่ง ต่อมาจึงได้รับการบูรณะในราวสมัยรัชกาลที่ 2-3 จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดคงคารามเป็นงานจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 อันสืบทอดจากสกุลช่างรัชกาลที่ 3 เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 4 ด้าน ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมาร ผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน พื้นที่ห้องระหว่างช่องหน้าต่างเขียนภาพทศชาติชาดก พื้นที่เหนือช่องหน้าต่างขึ้นไปเขียนภาพพุทธประวัติ และเหนือขึ้นไปเขียนภาพพระอดีตพุทธเจ้า

ลักษณะเด่นของจิตรกรรมแห่งนี้คือเป็นงานจิตรกรรมในหัวเมือง อันเกิดจากงานฝีมือระดับครูช่างหรือช่างจากกรุงเทพฯ ที่ออกไปรับงานตามหัวเมืองและเกิดการผสมผสานกับคติความเชื่อ วัฒนธรรมของผู้คนในหัวเมืองจนกลายเป็นงานจิตรกรรมที่มีเอกลักษณ์ของหัวเมือง จิตรกรรมแห่งนี้มีลักษณะอย่างงานช่างในกรุงเทพฯ มีการปิดทอง การตัดเส้นเล็กและเรียบสม่ำเสมอ การเขียนรูปปราสาทและอาคารบ้านเรือนที่มีอิทธิพลของศิลปะจีนผสมกับลักษณะของศิลปะยุโรป การเขียนภาพต้นไม้ ท้องฟ้า ภูเขา (เขามอ เขาไม้) ตลอดจนภาพบุคคลชั้นสูงและภาพข้าราชสำนัก การเขียนภาพชาวบ้าน ประกอบกับเทคนิคการใช้สีโดยเฉพาะสีเขียวแก่จัด จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้จึงจัดว่างดงามสูงสุดและคัดเลือกครูช่างที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญในงานจิตรกรรม และมีความเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง (ข้อมูล : สถาบันไทยศึกษา)

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

15 พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ : ต้นแบบศิลปะต้นกรุงรัตนโกสินทร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ไม่ได้มีเพียงห้องจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำคัญของชาติเท่านั้น ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ยังเป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ สถานที่ประดิษฐาน พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปคู่เมืองที่มีเพียง 3 องค์เท่านั้นในประเทศไทย อีกสิ่งที่โดดเด่นในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ คืองานจิตรกรรมเต็มฝาผนังทั้ง 4 ด้าน เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 เกี่ยวกับพุทธประวัติ วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีของผู้คนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งภาพเทพชุมนุม และภาพตอนพระพุทธเจ้าชนะมาร มีพระแม่ธรณีบีบมวยผมมีเหล่าสัตว์ต่าง ๆ กำลังสู้รบกันอยู่ในภาพ ซึ่งรวมถึงเหล่าสัตว์หิมพานต์ด้วย

เมื่อเดินเข้าไปทางด้านหลังองค์พระประธานจะพบตู้เก็บพระไตรปิฎก เป็นตู้ลายรดน้ำลายทองถมพื้นดำ มีเรื่องราวเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ลวดลายที่โดดเด่นคือสัตว์หิมพานต์ที่ใช้เป็นพาหนะ ได้แก่ คชสีห์ ราชสีห์ และกิเลน อีกไฮไลต์ต้องชมคือฉากกั้นลับแล วาดเรื่องรามเกียรติ์ตอนยกรบโดยในภาพจะพบสัตว์หิมพานต์ที่ใช้เป็นพาหนะหลายตระกูล เช่น ปักษาวายุ สดายุ ลิงนิลพัท และกินนร เป็นต้น

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง
ภาพ : นายรอบรู้

16 วัดบางยี่ขัน : ผลงานเลื่องชื่อของ “ครูคงแป๊ะ”

ตามประวัติเล่าถึงความเก่าแก่ของวัดนี้ที่มีมาราวพ.ศ.2172 เดิมชื่อ “วัดมุธราชาราม” บางเอกสารระบุชื่อว่า “วัดมุขธราชธาราม” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาและมีการบูรณะในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 2-3 พระอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีหน้าบันและคันทวยเป็นไม้สลัก ใบเสมาทำด้วยศิลาทรายสีแดง อยู่ในเขตพุทธาวาสที่ปัจจุบันมีถนนตัดผ่านกลางวัด แยกพระอุโบสถออกจากส่วนอื่น ๆ ของวัด ว่ากันว่าเคยเป็นถนนที่ใช้ลำเลียงสุราของโรงสุราบางยี่ขัน จึงไม่แปลกใจที่พบว่าทำไมมีถนนอยู่กลางวัดได้ ปัจจุบันเป็นเส้นทางสัญจรของผู้คนละแวกนี้

จิตรกรรมฝาผนังเป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 เชื่อกันว่าเป็นฝีมือของ ครูคงแป๊ะ จิตรกรเอกแห่งรัตนโกสินทร์ ฝีมือการเขียนภาพของท่านจะสอดแทรกอัตลักษณ์ความเป็นจีนอยู่เสมอเช่นเทวดาจีน ผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูเป็นภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดก ผนังเหนือขอบหน้าต่างเขียนเป็นภาพเทพชุมนุมบริเวณด้านหลังพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้ายืนเหนือมหาสมุทรมีปูและปลาพอให้เห็นว่าเป็นผืนน้ำ มีสาวกขนาบซ้ายและขวาในท่าประคองอัญชลีอาจารย์สันติ เล็กสุขุม ให้ความเห็นว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อในวัฒนธรรมมอญและอาจเป็นฝีมือการซ่อมในระยะหลัง

ส่วนด้านหน้าพระประธานเป็นชุดภาพทศชาติเรื่องมโหสถ เหนือขึ้นไปคือภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ และพระแม่ธรณีบีบมวยผม ภาพจิตรกรรมยังมีความสวยงามอยู่หลายจุด เช่น ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพยักษ์ผู้หญิงซึ่งต่างจากยักษ์วัดอื่นที่เป็นชาย

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

17 วัดป่าแดด : ภาพแรกนาขวัญและเรื่องเล่าล้านนา

จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร วัดป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เขียนขึ้นเมื่อพ.ศ.2431 ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 แบบศิลปกรรมพื้นถิ่นและใช้เทคนิคสีฝุ่นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ชาดก และพระอุปคุตจิตรกรรมฝาผนังได้รับการอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ.2534 โดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรมกองโบราณคดี กรมศิลปากรจึงทำให้ภาพที่เลือนรางชัดเจนขึ้นมาก ภาพที่โดดเด่นคือภาพพิธีแรกนาขวัญ การปลูกข้าว ซึ่งสะท้อนความสมบูรณ์ของดินและน้ำ รวมทั้งยังมีเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวล้านนาในยุคนั้นให้ได้ศึกษา และถ้าจะชมจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดดให้สนุกแนะนำให้ติดต่อไกด์ในท้องถิ่นซึ่งมีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนและมียุวมัคคุเทศน์เป็นเยาวชนในท้องถิ่นมาร่วมเล่าเรื่องด้วย

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

18 วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร: ครั้งแรกในไทยที่มีการเขียนสีน้ำมันลงผนัง

วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร ตำบลหอรัตไชย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ “นายทองดี”สมเด็จพระบรมราชชนกในรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิมโดยใช้ชื่อว่า “วัดทอง” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตกและวัดทองถูกพม่าทำลายกลายเป็นวัดร้างนานถึง 18 ปี เมื่อรัชกาลที่ 1ปราบดาภิเษกแล้วก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองของบิดาที่ถูกทิ้งร้างให้งดงามขึ้นอีกครั้ง

ไฮไลต์คือจิตรกรรมฝาผนังในวิหารซึ่งเป็นภาพเขียนสีน้ำมันฝีมือของ “มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตร”สันนิษฐานว่าภาพนี้ถือเป็นครั้งแรกในไทยที่มีการนำสีน้ำมันมาเขียนจิตรกรรมฝาผนังลงบนผนังจริง ๆ ตัวภาพเล่าถึงประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยแบ่งตามเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น เช่น การประกาศอิสรภาพ การทำยุทธหัตถี เป็นต้น

19 วัดสว่างโพธิ์ศรี : ช่างพื้นเมืองเล่าเรื่องอีสาน

วัดสว่างโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแวงฮี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดดเด่นด้วยสิมอีสานโบราณ เขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดกอยู่รอบนอกของสิม เป็นผลงานของช่างชาวบ้านวาดโดย พระอำคา และนายจันทร์ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะมีชื่อทั้งสองเขียนไว้ในภาพ แต่ละรูปเล่าเรื่องวิถีชีวิต การแต่งกายของคนในท้องถิ่น มีทั้งการกิน การละเล่น ดนตรีอีสาน เป็นรายละเอียดเล็ก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในภาพ

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

20 วัดพนัญเชิงวรวิหาร : ภาพโต๊ะเครื่องบูชาแบบจีน

เมื่อพูดถึงวัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดเก่าแก่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นักท่องส่วนใหญ่จะนึกถึงเฉพาะหลวงพ่อโต พระประธานองค์ใหญ่ที่สร้างก่อนก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี26 ปี ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถคู่กับพระพุทธรูปทองสมัยสุโขทัย แต่ใกล้กันยังมี “วิหารเขียน” ซึ่งด้านในเขียนจิตรกรรมฝาผนังสวยงามแปลกตาเป็นรูปเครื่องโต๊ะของจีนเต็มผนังทุกด้าน แต่ละโต๊ะจะประดับดอกไม้ ผลไม้มงคลของจีน เครื่องแจกันรูปทรงต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปทุกโต๊ะบูชา

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

21 วัดพระแก้ว : จิตรกรรมฝาผนังที่ยาวที่สุดในโลก

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่รู้จักกันในนาม วัดพระแก้ว ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมงานศิลปะวังหลวงในดีไซน์ของกรุงรัตนโกสินทร์แทบจะทุกสาขา และสำหรับผู้ที่สนใจงานจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดพระแก้วแห่งนี้โดดเด่นด้วยเนื้อหาของรามเกียรติ์ที่วาดเต็มผนังตลอดระเบียงคด ซึ่งรามเกียรติ์เป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิจาก“มหากาพย์รามายณะ”ของอินเดีย มาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ขึ้นเพื่อรวบรวมตั้งแต่ต้นจนจบให้สมบูรณ์ และสำหรับรามเกียรติ์บนระเบียงคดวัดพระแก้วนั้นได้รับการยกย่องให้เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่ยาวที่สุดในโลก แบ่งการเขียนภาพออกเป็นห้อง ๆ ทั้งหมด 178 ห้อง

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

22 วัดโพธิ์ : เรื่องเล่าตำนาน “แม่ซื้อ”

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ถือเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยที่มีสรรพวิชาให้ได้ศึกษาหลากหลายศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ ก็ประดับอยู่ตามศาลารายต่าง ๆ นอกจากตำราแพทย์แผนไทยและแผนผังกลอนกลต่าง ๆ แล้ว ที่น่าสนใจคือภาพจิตรกรรม “แม่ซื้อ” หรือเทพผู้พิทักษ์เด็กประจำวันต่าง ๆ วาดอยู่บนผนังศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ด้านทิศใต้ หรือที่เรียกศาลาแม่ซื้อ

เรื่องแม่ซื้อ เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณ ยุคสมัยที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ทารกแรกเกิดมักมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เป็นทารก เป็นผลให้เกิดความเชื่อกันว่า มนุษย์ที่จะเกิดมานั้นผีปั้นรูปขึ้นก่อน แล้วจึงหาวิญญาณใส่เข้าในหุ่นนั้นเพื่อสิงเข้าสู่ครรภ์มารดา และเมื่อทารกเกิดแล้วตายแต่แรกคลอด ก็เป็นเพราะผีผู้ปั้นหุ่นเห็นว่า ทารกนั้นงามชอบใจอยากเอาไปเลี้ยงจึงทำให้เด็กตายในที่สุด ส่วนทารกที่ไม่ชอบก็ปล่อยให้มนุษย์เลี้ยงเอง

ตามความเชื่อนี้เป็นผลให้เกิดพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผีนำทารกกลับคืนไป เช่น ลวงผีให้เข้าใจว่าทารกนั้นไม่น่ารัก โดยติว่าน่าเกลียดน่าชัง หรือเรียกชื่อว่า เหม็น เป็นต้น กับยังมีการให้ผู้อื่นรับซื้อเด็กไป เพื่อให้ผีเข้าใจว่า แม้แต่แม่ยังไม่รัก ไม่อยากได้ไว้ ผู้ที่ซื้อเด็กจึงมีชื่อเรียกว่า แม่ซื้อ

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

23 วัดร่องเสือเต้น : อลังการจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำเงิน

วัดสีน้ำเงินอันโด่งดังของจังหวัดเชียงราย ถือเป็นคู่ตรงข้ามกับวัดร่องขุ่นที่สีขาวทั้งหมด ทุกอย่างในวัดตั้งแต่ประตูรั้ว โบสถ์ วิหาร ล้วนเป็นสีฟ้าทั้งสิ้น รวมทั้งลวดลายของจิตรกรรมฝาผนังก็ใช้โทนสีน้ำเงินเป็นหลัก ซึ่งดูแปลกตาอย่างมาก ยิ่งกระทบแสงไฟยามค่ำคืนก็ยิ่งเหมือนสีน้ำเงินเรืองแสงอย่างไรอย่างนั้น

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

24 วัดโยธานิมิต : จิตรกรรมจากสีคราม

วัดในตัวเมืองตราดที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประวัติศาสตร์พระเจ้าตากสิน เล่ากันว่าเดิมทีพระเจ้าตากสินได้มีการเกณฑ์กำลังไพร่พลจากชาวบ้านที่สมัครมาร่วมกันรบ จึงได้ปักหลักกันอยู่บริเวณนี้ สันนิษฐานจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระวิหารพบว่ามีรูปแบบคล้ายคลึงกันกับช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และที่บันทึกอย่างแน่ชัดคือวัดนี้ถูกบูรณะเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ 3 เพราะช่วงนั้นสยามได้ตั้งทัพบริเวณนี้ก่อนที่จะไปรบกับฝั่งญวนทำให้วัดได้รับการบูรณะเพิ่มเติมและได้ชื่อว่าวัดโยธานิมิต

ไฮไลต์ของวัดอยู่ด้านในพระวิหารซึ่งประดิษฐานพระประธานฝีมือช่างเมืองตราดสมัยอยุธยา พิเศษกับจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามอยู่รายล้อมแม้ปัจจุบันจะเลือนรางไปมากก็ตาม ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าภาพส่วนใหญ่มีการใช้สีครามจึงสันนิษฐานว่าภาพชุดนี้น่าจะถูกวาดขึ้นในช่วงที่สีครามเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ด้วยเรื่องของการขนส่งจากพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจึงเป็นไปได้ว่าจะถูกวาดขึ้นหลังจากนั้นเล็กน้อย จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพระเวสสันดร แต่จะมีเพียง 12 กัณฑ์เท่านั้น

ผลงานจิตรกรรมไทยมีอะไรบ้าง

25 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร : วิถีชาวรัตนโกสินทร์

วัดสำคัญของกรุงเทพฯ ที่นอกจากจะมีผลงานภาพจิตรกรรมปริศนาธรรมสมัยใหม่ผลงานของศิลปินไทยชาวเพชรบุรี “ขรัวอินโข่ง” ผู้เป็นจิตรกรเอกที่รัชกาลที่ 4 โปรดแล้ว ในอาคารต่าง ๆ ก็มีภาพงานจิตกรรมฝาผนังที่น่าสนใจแตกต่างกันไป เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารพระไสยาสน์ ซึ่งวาดรูปต้นโพธิ์และพุทธสาวกเพื่อให้สอดคล้องเป็นฉากหลังขององค์พระพุทธไสยาสน์ ภาพจิตรกรรมระหว่างช่องหน้าต่างของหอพระไตรปิฎกที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเพณีไทยในพุทธศาสนา เช่น พิธีอัฏฐมีบูชา ส่วนในพระอุโบสถและภายในพระวิหารพระศรีศาสดา ก็เต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เน้นไปที่ประเพณีต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้จัดแล้วหรือหาชมได้ยากในปัจจุบัน

ผลงานจิตรกรรมไทยมีแนวคิดในการสร้างผลงานมาจากเรื่องใด

ภูมิปัญญาและฝีมือของช่างเขียนไทยแต่โบราณนั้น สะท้อนแนวความคิด และเรื่องราวทางพุทธศาสนา กิจกรรมทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ภาพจิตรกรรมประเภทนี้ เป็นศิลปะ ที่ช่างไทยสร้างสรรค์สั่งสม สืบทอด ปรับปรุงกันมาหลายชั่วอายุคน จนเป็นศิลปะ ที่มีระเบียบงดงาม มีความชัดเจนแนบเนียน จนกลายเป็นจิตรกรรมไทยแบบประเพณี ปรากฏให้เห็น ...

งานจิตรกรรมไทยมักวาดภาพเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์ ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอด

งานจิตรกรรมไทยมีลักษณะเป็นแบบใด

จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง ...

งานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีหมายถึงข้อใด

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี / ภูวดล ศรีแก้ว / แนวความคิด เป็นการนำเรื่องราวในพุทธประวัติมาถ่ายทอดในรูปแบบศิลปไทย โดยใช้ลายกนกเข้ามาร่วมในการเขียนภาพมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมนั้นนิยมใช้การเขียนลายรดน้ำมากกว่า