คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระอุบาลี คืออะไรบ้าง

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระอุบาลี คืออะไรบ้าง

พุทธประวัติกำเนิดและปฐมวัย
.........ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระนางสิริมายา ราชธิดาของกษัตริย์โกลิยวงค์ผู้ครองกรุงเทวทหะ พระมเหสีของ พระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูตรพระโอรส เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับ กรุงเทวทหะ (ปัจจุบัน คือ ตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล)
หลังจากประสูติ
.......อสีตดาบส เป็นมหาฤษีอยู่ ณ เชิงเขาหิมพานต์เป็นที่เคารพของราชสกุลได้รับ ทราบข่าวการประสูตร ของ พระกุมารจึงเดินทางมาเยี่ยม และได้ทำนายว่า ถ้าพระกุมารอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออก บวชจะ ได้เป็นศาสดาเอก ของโลก ๕ วันหลังประสูติพระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระนางสิริหามายา พระ ประยูรญาติ ได้จัดพิธีขนานพระนามพระราชกุมารว่า สิทธัตถะ โดยเชิญ พราหมณ์ ๑๐๘ คนมาเลี้ยง แล้วได้ คัดเลือกเอา พราหมณ์ชั้นยอด ๘ คนให้เป็น ผู้ทำนายลักษณะพระกุมาร เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก ็เสด็จทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบให้พระนางประชาบดีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของ พระนางสิริมหามายา เป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ 8 พรรษา ได้ทรงศึกษาในสำนักครูวิศวะมิตร พระองค์ทรง ศึกษาได้อย่างรวดเร็ว มีความ จำดีเลิศ และทรงพระปรีชาสามารถในการกีฬา ขี่ม้า ฟันดาบ และยิงธนู
อภิเษกสมรส
......วัยหนุ่ม พระราชบิดาไม่ต้องการให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะ ให้เจ้าชาย สิทธัตถะเป็นองค์จักรพรรดิ จึงใช้ความพยายามทุกวิถีทางเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ให้ประทับใน ๓ ฤดู และทรงสู่ขอพระนาง โสธราพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ อยู่ในตระกูลโกลิยวงค์ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะ ได้เสวยสุขสมบัติจนพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระนางยโสาธาราก็ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่าราหุล......
ออกบรรพชา
.........เสด็จออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ สมบัติอย่างเหลือล้น พระองค์ก็ยังคงตริตรองถึงชีวิตคน ฝักใฝ่พระทัยคิดค้นหาวิธีทางดับทุกข์ที่ มนุษย์เรามีมาก มาย พระองค์คิดว่า ถ้ายังอยู่ในเพศฆราวาส พระองค์คงหา ทางแก้ทุกข์ อันเกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่ได้แน่ พระองค์จึง ตัดสินใจ เสด็จ ออกบวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ สู่แม่น้ำอโนมา ณ ที่นี้ พระองค์ทรง อธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตและ มอบหมายเครื่องประดับและม้า กัณฐกะให้นายฉันนะนำกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
เข้าศึกษาในสำนักดาบส
...... การแสวงหาธรรม ระยะแรกหลังจากทรงออกบวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬาร ดาบส ที่กรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธเมื่อสำเร็จการ ศึกษาจากสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางใน การหลุด พ้นจากทุกข์ ตามที่พระองค์ได้ทรงมุ่งหวังไว้พระองค์จึงลาอาฬารดาบส และอุททกดาบส เดินทาง ไปแถบแม่น้ำ คยา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งกรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา
......การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่า เรียนในสำนักอาจารย์แล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่าการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำเนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ ค้นหาทางหลุดพ้นจาก ทุกข์ได้ พระองค์ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุง พระวรกายให้แข็งแรง จะได้มี กำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติรับใช้ ด้วยความหวังว่า พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการถ่ายทอด บ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษล้มเลิกการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งมหาบุรุษไปทั้งหมด เป็นผล ทำให้พระมหาบุรุษได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง ปัญจวัคคีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤค-ทายวันกรุงพาราณสี พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทาง สายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร
ตรัสรู้
........ตรัสรู้ ตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ นางสุชาดาได้นำ ข้าวมธุปายาสเพื่อไป บวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายทอด ข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ได้กลับมา ยังต้นโพธิ์ที่ประทับพบ คนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้าให้พระองค์ปูลาด ณ ใต้ต้นโพธิ์ แล้วขึ้นประทับหันพระพักตร์ ไปทางทิศตะวันออก และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม ถ้ายังไม่พบธรรมวิเศษแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ก็ทรง สำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุดทรงชนะความลังเลพระทัยทรงบรรลุ ความสำเร็จเมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากกิเลสทั้งปวง พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ปีระกา ธรรมสูงส่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
                                                                                                           พุทธสาวก,พุทธสาวิกาประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา
พุทธสาวกและพุทธสาวิกา เป็นคณะบุคคลที่มีชีวิตรวมสมัยกับพระพุทธเจ้า ท่านเหล่านั้นอยู่ทันเห็นและได้ฟังพระธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้า มีจริยวัตรที่งดงาม ควรค่าแก่การศึกษาและนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน
๑) พระอุบาลี
พระอุบาลี เป็นบุตรช่างกัลบก (ช่างตัดผม) อาศัยอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้นก็ได้เป็นพนักงานภูษามาลา (ช่างตัดผม) ประจำราชสำนักพระเจ้าศากยะ ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ได้ออกบวชด้วยกัน ๖ องค์ คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ กิมพิละและเทวทัต โดยได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้าที่อนุปยนิคม แคว้นมัลละ อุบาลีจึงได้ตามเสด็จออกลวชด้วย และเนื่องจากพระราชกุมารทั้ง ๖ ทรงมีพระประสงฆ์จะขจัด "ขัตติยะมานะ" คือความถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ หรือ มีเชื้อสายกษัตริย์ จึงทรงยินดีพร้อมกันประทานอนุญาตให้อุบาลีบวชก่อน เพื่อให้อุบาลีมีอาวุโสในทางศาสนามากกว่าจะได้กราบไหว้อย่างสนิทใจ อุบาลีจึงได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าก่อน และมีพรรษามากกว่าพระราชกุมารองค์อื่นๆ
หลังบวชแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประทานกรรมฐานให้พระอุบาลีฝึกปฏิบัติ ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ทรงอภิญญาและมีปัญญาแตกฉาน ๔ ประการ ได้แก่
๑) ปัญญาแตกฉานในอรรถ คือ เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะ อธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่งก็สามารถแยกแยะ กระจาย และเชื่อมโยงต่อออกไปจนล่วงรู้ถึงผล
๒) ปัญญาแตกฉานในธรรม คือ เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่งก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้
๓) ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้
๔) ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมเข้ากับกรณีและเหตุการณ์
พระอุบาลีมีความสนใจในพระธรรมวินัยเป็นอย่างมาก ได้ศึกษาพระวินัยจากพระพุทธเจ้าจนมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการพิจารณาอธิกรณ์ หรือ การตัดสินคดีหรือข้อพิพาทของภิกษุ นอกจากนี้พระอุบาลียังได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะหรือเป็นผู้เลิศในการทรงจำพระวินัย
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
๑) เป็นผู้เชี่ยวชาญพระวินัย
พระอุบาลีได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศในด้านทรงจำพระวินัย ดังนั้นเมื่อมีการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก พระอุบาลีจึงได้รับหน้าที่วิสัชนาพระวินัย นับว่าพระอุบาลีได้ทำประโยชน์อันสำคัญยิ่งแก่พระพุทธศาสนา
๒) เป็นครูที่ดี
พระอุบาลีได้เอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้เรื่องพระธรรมวินัยให้แก่ภิกษุเป็นจำนวนมากโดยไม่ห่วงความรู้ มีโอกาสเมื่อใดท่านก็สั่งสอนภิกษุรูปอื่นให้รู้ตาม จนเกิดเป็นสำนักทรงจำพระวินัยในสมัยต่อมา และพระเถระที่เชี่ยวชาญพระวินัยจากสำนักนี้ ล้วนเป็นศิษย์หรือศิษย์ของพระอุบาลีทั้งสิ้น
๓) ใฝ่ความรู้อยู่เสมอ
พระอุบาลีเป็นพระสาวกที่มีคุณธรรมในด้าน "สิกขามาตา" คือ ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาหรือมีความใฝ่รู้อย่างเด่นชัด แม้จะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีความรู้เรื่องพระวินัย แต่ท่านก็ยังขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
๒) นางวิสาขา
นางวิสาขา เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีและนางสุมนาแห่งเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เมืองสาเกต ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองสาวัตถี เมื่อมีอายุได้ ๗ ปี นางวิสาขาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน
เมื่อนางวิสาขาอายุได้ ๑๖ ปี บิดามารดาได้ให้สมรสกับบุตรชายของมิคารเศรษฐีชื่อปุณณวัตนกุมาร จึงย้ายไปอยู่ในตระกูลของสามีตามธรรมเนียมของอินเดีย ทั้งนี้ก่อนที่จะส่งตัวนางวิสาขาไปยังบ้านเจ้าบ่าว ธนัญชัยเศรษฐีได้เรียกนางวิสาขามาตักเตือนและให้โอวาทซึ่งเป็นปริศนา ๑๐ ประการ ดังนี้
โอวาท ๑๐

ปริศนา

ความหมาย
๑ ไฟในอย่านำออก อย่านำความลับหรือความไม่ดีภายในครอบครัวไปเล่าให้คนภายนอกฟัง
๒ ไฟนอกอย่านำเข้า อย่านำเอาคำที่คนอื่นนินทาคนภายในครอบครัวมาเล่าสู่กันฟัง
๓ จงให้แก่คนที่ให้ ใครที่ยืมของให้ใช้แล้วนำมาคืน คราวต่อไปเขามายืมอีกก็ควรให้ยืม
๔ จงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ คนที่ยืมของไปแล้วไม่คืน ภายหลังไม่ควรให้ยืมอีก
๕ จงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ ญาตมิตรแม้จะนำเอาสิ่งของที่เคยหยิบยืมกลับมาคืนให้หรือไม่คืนก็ตามก็ควรให้ยืมอีก
๖ จงนั่งให้เป็นสุข อย่านั่งในที่ซึ่งจะต้องลุกขึ้นเมื่อพ่อผัว แม่ผัว หรือสามีเดินผ่าน
๗ จงนอนให้เป็นสุข นอนเมื่อภายหลังพ่อผัว แม่ผัว และสามีเข้านอนแล้ว
๘ จงกินให้เป็นสุข กินเมื่อภายหลังพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้กินอิ่มแล้ว
๙ จงบูชาไฟ ให้ความเคารพยำเกรงพ่อผัว แม่ผัว และสามีดุจไฟ
๑๐ จงบูชาเทวดา ให้ความเคารพยำเกรงพ่อผัว แม่ผัว และสามีเสมือนเทวดา จงเอาใจใส่ดูแลอย่างดี

เนื่องจากตระกูลสามีของนางวิสาขานับถือพวกนิครถ์ เมื่อนางวิสาขาเข้ามาอยู่ในตระกูลนี้ ได้ชักจูงให้พ่อและแม่สามีมานับถือพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพ่อสามี เคารพนับถือนางเป็นเสมือนแม่ของตนเลยทีเดียว เพราะนางได้ชี้ทางสว่างแห่งชีวิตให้ ดังนั้น นางวิสาขาจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "มิคารมาตา" ซึ่งแปลว่า มารดาของมิคารเศรษฐีนางวิสาขาเป็นพุทธสาวิกาที่มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ไปวัดฟังธรรมทุกวันมิได้ขาดหลังจากฟังธรรมแล้วมักจะเดินตรวจรอบวัด เพื่อซักถามว่าภิกษุรูปใดมีความประสงค์สิ่งใดจะได้ช่วยจักหามาถวาย
หลังจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวันวิหารถวายพระพุทธเจ้าแล้ว นางวิสาขาได้สร้างวัดบุพพาราม ด้วยเงินจำนวน ๒๗ โกฏิ (ซื้อที่ดิน ๙ โกฏิ สร้างวัด ๙ โกฏิ และบริจาคทานเนื่องด้วยวัดอีก ๙ โกฏิ)
นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะคือเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในด้านการถวายทาน มีอายุยืนนานถึง ๑๒๐ ปี มีบุตรชาย ๑๐ คน บุตรสาว ๑๐ คน เป็นพุทธสาวิกาที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญและรู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนคู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี
  ชาวพุทธตัวอย่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2411 สวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 42 ปี
พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัติย์ที่ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย เป็นที่พึ่งตลอดระยะเวลายาวนานถึง 42 ปี ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นเอนกนานัปการ เช่น โปรดให้ยกเลิกประเพณีหมอบคลานและกราบ โดยให้ใช้ยืนและคำนับแทน โปรดให้เลิกทาส ตั้งโรงเรียนหลวงสอนทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โปรดให้มีการสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาในต่างประเทศ ทรงปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และแบ่งหน้าที่ราชการให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายกัน ในส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ส่วนในจังหวัดหนึ่งๆ ก็ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดดูแลรับผิดชอบ อาณาเขตจังหวัดก็แบ่งเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โปรดให้จัดการในเรื่องการสุขาภิบาล การบำรุงท้องที่ การไปรษณีย์ การโทรเลข การไฟฟ้า การรถไฟ โปรดให้ตั้งกระทรวงสำคัญๆ ต่างๆ และกิจการในด้านศาลยุติธรรม โปรดให้จัดการตำรวจภูธร ใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารเมื่อชาติต้องการหรือมีเหตุการณ์แกเฉินและเกิดสงคราม และการสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ เป็นต้น
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้ทันต่อสภาวะความเจริญของบ้านเมืองได้ก้าวไปไกลอย่างมาก ทรงได้มีการปรับปรุงพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา ดังนี้
1. การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย-การชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยนี้ นานถึง 6 ปี เริ่มแต่ปี พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2436 โดยทรงปรารภเหตุหลายประการ กล่าวคือ
(1) เป็นการดำเนินการตามขัตติยะประเพณีที่ปฏิบัติกันต่อๆ มาของพระมหากษัตริย์ในปางก่อนที่ทรงสร้างในการสังคายนาพระธรรมวินัย
(2) ด้วยทรงปรารภพึงพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อจัดพิมพ์แล้ว จะช่วยส่งเสริมให้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแพร่หลาย เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
(3) การพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จะช่วยให้สะดวกแก่การค้นคว้าและการพิมพ์เป็นเล่มสมุดก็สะดวกต่อการเก็บและรักษา แม้ไม่ทนเหมือนจารึกลงบนใบลาน แต่ก็สามารถจัดพิมพ์ใหม่อีกได้ง่าย
การชำระและการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ เสร็จทันงานฉลองรัชดาภิเษก (การครองราชย์ครอบ 25 ปี) ของพระองค์
ทรงพระราชทานแด่พระอารามหลวงและวัดราษฎร์ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองโดยทั่วกัน นับเป็นการพิมพ์คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ฉบับภาษาไทย ครั้งแรกในประเทศไทย
2. การสร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด คือ วัดราชบพิธ วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางค์นิมิต วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ และทรงปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ โดยพระราชทรัพย์ส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ วัดมหาธาตุจึงมีสร้อยนามในเวลาต่อมาว่าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
3. การส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์การศึกษา เพราะทรงห่วงใยเรื่องคุณธรรม
ในปี พ.ศ. 2414 ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและสอนเลขทุกๆ พระอาราม
จัดทำที่วัดมหรรณพารามเป็นแห่งแรก มีประกาศจัดการศึกษาในหัวเมือง เผดียงให้พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเอาใจใส่สอนธรรมแก่ประชาชน และฝึกสอนวิชาความรู้ต่างๆ แก่กุลบุตร ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระองค์ทรงห่วงใยเรื่องคุณธรรคือความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ที่ได้รับการศึกษาไปแล้วเป็นอย่างมาก เพราะผู้ได้รับการศึกษาดีก็มิใช่จะมีหลักประกันได้ว่าจะเป็นคนดีทุกคนไป หากขาดเรื่องการศึกษา เรื่องการศาสนา
4. การศึกษาของพระสงฆ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงสองแห่งจนกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในปัจจุบัน คือ
(1) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร (2) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์
5 ทรงตราพระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวในการบริหารคณะสงฆ์ ปี ร.ศ. 121 นับเป็นกฎหมายของพระสงฆ์ไทยฉบับแรก
การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากจะทำให้เกิดผลดีแก่ประเทศชาติในด้านต่างๆ แล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีในส่วนของพระองค์ด้วย ทำให้ฐานะการเมืองของพระองค์มั่นคงขึ้น เพราะประชาชนต่างให้ความจงรักภักดีในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระองค์ตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรมคือ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ และทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภ์อย่างแท้จริง จึงทำให้การปกครองในสมัยของพระองค์ประสบความสำเร็จ และยังสามารถรักษาความเป็นเอกราชของประเทศจากภัยคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกไว้ได้ ทั้งนี้นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระนรมเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่พระองค์ว่าพระปิยมหาราช
คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง
1. เป็นศาสนูปถัมภก คือเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา โดยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เช่น การจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทยเป็นครั้งแรก การสร้างวัดที่สำคัญ ๆ การให้วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา และการส่งเสริมการศึกษาพระสงฆ์ โดยการสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และทรงตราพระราชบัญญัติเพื่อเป็นแนวบริหารคณะสงฆ์
2. ทรงดำรงตนอยู่ในพุทธธรรม โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น หลักทศพิธราชธรรม จักรวรรคิวัตร สังคหวัตถุ เป็นต้น เป็นแนวทางในการปกครองอาณาประชาราชจนได้รับขนานพระนามว่าพระปิยมหาราช
         ชาดก ราโชวาชาดกในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภโอวาทของพระราชา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระฤๅษีนำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์ มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหาร ในสมัยนั้น พระเจ้าพรหมทัตขึ้นครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระองค์เป็นผู้รังเกียจความไม่ดี วันหนึ่งทรงดำริว่า "เราปกครองเมืองมานี้ มีใครเดือนร้อนและกล่าวโทษของเราหรือเปล่าหนอ" จึง ทรงแสวงหาอยู่ทั้งในวังและนอกวังก็ไม่พบเห็นใครกล่าวโทษพระองค์ ทรงปลอมพระองค์ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ไม่พบเห็นจึงแวะเข้าไปในป่าหิมพานต์เข้าไปสนทนากับฤๅษีด้วยทำทีเป็นคนหลงทาง
ฤๅษีได้ทำการต้อนรับด้วยผลไม้ป่านานาชนิด พระราชาปลอมได้เสวยผลไม้ป่ามีรสหวานอร่อยดี จึงถามถึงสาเหตุที่ทำให้ผลไม้มีรสหวานอร่อยดี ฤๅษีจึงทูลว่า "ท่านผู้มีบุญ เป็นเพราะพระราชาครองราชย์โดยธรรมเป็นแน่ ผลไม่จึงมีรสหวานอร่อยดี" พระราชาปลอมสงสัยจึงถามอีกว่า "ถ้าพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรม ผลไม้จะมีรสชาติเป็นเช่นไรล่ะพระคุณเจ้า "ฤๅษีตอบว่า "ผลไม้ก็จะมีรสขมฝาด หมดรสชาติไม่อร่อยละโยม" พระราชาปลอมสนทนาเสร็จแล้วก็อำลาฤๅษีกลับคืนเมืองไป ทรงทำการทดลองคำพูดของพระฤๅษีด้วยการไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นปีแล้วกลับไปหาฤๅษีอีก ฤๅษีก็ทำการต้อนรับด้วยผลไม้ พอผลไม้เข้าปากเท่านั้นก็ต้องถ่มทิ้งไป เพราะผลไม้มีรสขมฝาด
ฤๅษีจึงแสดงธรรมว่า "โยม..คงเป็นเพราะพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรมแน่เลย ธรรมดาฝูงโคว่ายข้ามแม่น้ำ จ่าฝูงว่ายคดฝูงโคก็ว่ายคดตามกันไป เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำมนุษย์ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนก็ประพฤติไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็เป็นทุกข์ทั่วกัน
ถ้าจ่าฝูงโคง่ายน้ำตรง ฝูงโคก็ว่ายตรงเช่นกัน เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำประพฤติเป็นธรรม ประชาชนก็ต้องประพฤติเป็นธรรมเช่นกัน พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็อยู่ร่มเย็นเช่นกัน"
พระราชาสดับธรรมของพระฤๅษีแล้วจึงแสดงพระองค์เป็นพระราชาให้พระฤๅษีทราบ ไหว้ฤๅษีแล้วกลับคืนเมืองประพฤติตั้งตนอยู่ในทศพิธราชธรรมเช่นเดิม ทำให้สรรพสิ่งทั้งปวงกลับเป็นปกติตามเดิม
    มิตตมินุกะพระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหามิตตวินทุกชาดก ก็นายมิตตวินทุกะนี้ถูกเขาโยนทิ้งในทะเล แล้วได้ไปพบนางเวมานิกเปรตแห่งหนึ่ง ๔ นาง แห่งหนึ่ง ๘ นาง แห่งหนึ่ง ๑๖ นาง แห่งหนึ่ง ๓๒ นาง ก็ยังเป็นผู้ปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ จึงเดินต่อไปข้างหน้า ได้พบอุสสุทนรกอันเป็นสถานที่เสวยวิบากของพวกสัตว์นรก จึงได้เข้าไป ด้วยสำคัญผิดว่าเป็นเมือง ๆ หนึ่ง เห็นจักรกรดพัดอยู่บนหัวสัตว์นรก สำคัญว่าเป็นเครื่องประดับ จึงยินดีชอบใจจักรกรด อ้อนวอนขอได้มา คราวนั้น พระโพธิสัตว์เป็นเทวบุตรเที่ยวจาริกไปในอุสสุทนรก นายมิตตวินทุกะนั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะถาม จึงกล่าวคาถา ที่ ๑ ว่า :[๗๙๓] ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้ให้แก่เทวดาทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้ จักรกรดจึงได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าพัดอยู่บนกระหม่อม?พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:[๗๙๔] ท่านล่วงเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทแก้วมณี ปราสาทเงิน และปราสาททอง แล้วมาในที่นี้เพราะเหตุอะไร?ลำดับนั้น นายมิตตวินทุกะกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :[๗๙๕] เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย เพราะความสำคัญเช่นนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้ เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นั้น.ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า:[๗๙๖] ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๔ มาได้นางเวมานิกเปรต ๘ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๘ มาได้นางเวมานิกเปรต ๑๖ ละทิ้งนางเวมานิกเปรต ๑๖ มาได้นางเวมานิกเปรต ๓๒ ปรารถนาไม่รู้จักพอ จึงมายินดีจักรกรดจักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน ผู้ถูกความปรารถนาครอบงำไว้.[๗๙๗] อันธรรมดา ตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่ ณ เบื้องบน ให้เต็มได้ยากมักเป็นไปตามอำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้. ในคาถานี้ พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะ ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้ เมื่อบุคคลซ่องเสพอยู่ ย่อมเป็นของกว้างขวางอยู่เบื้องบน คือเป็นของแผ่ไป ธรรมดาตัณหา ทำให้เต็มได้โดยยาก เสมือนมหาสมุทร มีปกติไปตามอำนาจความอยากได้ คืออยากได้ในอารมณ์นั้น ๆ เช่นในบรรดารูปารมณ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น คนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหาอย่างนั้น คือเป็นผู้อยากได้แล้ว ๆ เล่า ๆ ยึดถืออยู่ ชนเหล่านั้นย่อมทูนจักรกรดนั้นไว้.ก็นายมิตตวินทุกะกำลังพูดอยู่นั่นแหละ จักรนั้นก็พัดกดลงไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงไม่อาจจะกล่าวได้อีกต่อไป เทพบุตรจึงไปยังเทวสถานของตนทีเดียว.พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก ส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.จบ มิตตวินทุกชาดก              คุณธรรมที่เป็นตัวอย่าง

คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

1.เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ต่อความรัก รักเดียวใจเดียว

2.เป็นผู้มีความรักและเคารพต่อบิดามารดา 3.เป็นผู้มีความรักต่อสามีและลูก ๆ อย่างมาก 4.เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย 5.เป็นผู้มีความตั้งใจขยันหมั่นเพียรรักษาระเบียบวินัยภิกษุณีอย่างเคร่งครัด

                                                                                เด็กชายธนวัฒน์  ภูนิลวาลย์  ชั้น ม.2/2 เลขที่ 6

แหล่งอ้างอิง: 

www.google.com

สิ่งที่พระอุบาลีปฏิบัติตลอดชีวิตของท่านที่เราควรถือเป็นแบบอย่างได้แก่อะไรบ้าง

คุณธรรมที่ควรถือเอาเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้ทรงภูมิความรู้ เนื่องจากท่านได้ทรงจำและผ่านการศึกษาเล่าเรียนมามาก จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้มีหน้าที่วิสัชชนาพระวินัยปิฎก 2.เป็นผู้ที่วางตนเหมาะสม เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลผู้ใกล้ชิด 3. เป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญเพียร และมีความทรงจำอย่างแม่นยำชำนิชำนาญ

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของพระอุบาลีมีอะไรบ้างที่นักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

นักเรียนควรนำคุณธรรมของพระอุบาลีเรื่องใดไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน วิถีชีวิตเรียบง่าย ใฝ่ความรู้เสมอ บริจาคทานเป็นนิจ

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกะ มีอะไรบ้าง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง 1. เป็นผู้มั่นคงในการทำบุญ มีความใจบุญสุนทานมาก ชอบทำบุญกุศล แม้ว่าช่วงชีวิตหนึ่งที่ท่านตกอับ ท่านก็ยังคงทำบุญให้แก่พุทธศาสนา 2. เป็นทายกตัวอย่าง เพราะท่านตระหนักถึงหน้าที่ของชาวพุทธเป็นสำคัญ เช่น การอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์

ใครถือว่านำคุณธรรมของพระอุบาลีมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

- “พระอานนท์” เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร เป็นผู้อุปัฏฐาก และ - “พระอุบาลีเป็นเอตทัคคะในด้านทรงจำพระวินัย เรียบเรียงโดย : ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ Tag : พุทธสาวก,, แบบอย่างในการดำเนินชีวิต

สิ่งที่พระอุบาลีปฏิบัติตลอดชีวิตของท่านที่เราควรถือเป็นแบบอย่างได้แก่อะไรบ้าง คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของพระอุบาลีมีอะไรบ้างที่นักเรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกะ มีอะไรบ้าง ใครถือว่านำคุณธรรมของพระอุบาลีมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างของพระมหากัสสปะ คืออะไรบ้าง คุณธรรมที่เด่นชัดที่สุดของอนาถบิณฑิกเศรษฐี คือข้อใด คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างของอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมีอะไรบ้าง เพราะเหตุใด พระราชกุมารแห่งศากยวงศ์และโกลิยวงศ์จึงทรงยินยอมให้อุบาลีบวชก่อน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้ที่มีคุณธรรมเด่นในด้านใด คุณธรรมของพระโสณะและพระอุตตระที่ควรถือเป็นแบบอย่าง คือข้อใด ประวัติพระอุบาลี คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง นางวิสาขา