คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร

  • Facebook iconแชร์
  • LINE iconส่งไลน์

กรุณาทำแบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

ภาษาไทยมีคำยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต

ภาษาอังกฤษ  ภาษาจีน  ภาษาเขมร   ภาษาชวา  ภาษาละติน  เป็นต้น

คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร

1.

คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร

2.ภาษาบาลีมีพยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งตามฐานที่เกิดได้ดังนี้
ก. พยัญชนะวรรคมี ๒๕ ตัว ได้แก่
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
ข. เศษวรรคมี 8 ตัว ย ร ล ว ส ห ฬํ °
3.ภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
4.คำทุกคำในภาษาบาลีจะต้องมีตัวสะกดและตัวตาม เช่น วัฑฒนา ฑ เป็นตัวสะกด ฒ เป็น
ตัวตามตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นไปตามกฎดังนี้
ก. พยัญชนะวรรคที่เป็นตัวสะกดได้ คือ ตัวที่ 1 3 5
ข. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 2 ตามได้
ค. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 4 ตามได้
ง. ในวรรคเดียวกันถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้
ตัวอย่าง

ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 ตาม เช่น สักกะ
ตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 2 ตาม เช่น ทุกข์
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 ตาม เช่น อัคคี
ตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 4 ตาม เช่น พยัคฆ์
ตัวที่ 5 สะกด ตามได้ทุกตัว เช่น องก์ สังข์ สงฆ์ สัญญา
ข้อสังเกต คำบาลีบางคำมีตัวสะกดไม่มีตัวตาม เพราะเดิมมีตัวสะกด เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย
เราตัดตัวสะกดออก เช่น
จิต     มาจาก   จิตต
กิต     มาจาก   กิจจ
เขต    มาจาก   เขตต
รัฐ     มาจาก    รัฏฐ
วัฒน   มาจาก   วัฑฒน
วุฒิ    มาจาก    วุฑฒิ
5.คำภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น ปฐม (สันสกฤตใช้ ประถม) , อินท์ (สันสกฤตใช้ อินทร์)
6.คำบางคำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ ภาษาสันสกฤตใช้ ฑ เช่น
 บาลี                       สันสกฤต
 ครุฬ                        ครุฑ
 กีฬา                         กรีฑา
 จุฬา                         จุฑา
7.นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น
8.นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์  หรือ  ณ  นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
  1. สระสันสกฤต แปลกจากบาลี 6 ตัว คำใดประสมด้วยสระฤฤา  ฦ  ฦา  ไอ  เอา  เป็นคำในภาษาสันสกฤต (คำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)
  2. คำใดประสมด้วยศษ  มีในภาษาสันสกฤต  ไม่มีในภาษาบาลี  เช่น  อภิเษก  ศีรษะ  อวกาศ  ศัตรู  ศิลปะ  ราษฎร  ศอก  ศึก  อังกฤษ  ศึกษาศาสตร์
  3. คำสันสกฤต ใช้ฑเช่น  กรีฑา คำสันสกฤต  ไม่นิยมใช้  ฬ
  4. คำในภาษาสันสกฤตมีระบบเสียงควบกล้ำ(พยัญชนะประสม) หรืออักษรนำ คำควบกล้ำ
จึงมักเป็นคำภาษาสันสกฤต  เช่น  สตรี  ปรารถนา  สวัสดี  สมัคร  มาตรา อินทรา
  1. นิยมใช้รร (รอหัน)  ตัว ร ที่ควบกับคำอื่นและใช้เป็นตัวสะกด  เช่น  มรรคสรรพ มารค
  2. คำที่ใช้ห์มักเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น   สังเคราะห์   โล่ห์  อุตส่าห์ เท่ห์ เล่ห์  เสน่ห์
  3. ฤ(ฤทธิ)ในสันสกฤต จะเป็น อิทธิ  (อิ อุ) ในภาษาบาลี
  4. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น

คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร

  1. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
  2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
  3. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
  4. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น กวยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น
วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย
ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว เป็น ตะหลิว, บ๊ะหมี่ เป็น บะหมี่, ปุ้งกี เป็น ปุ้งกี๋
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว กวยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก
ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกังจับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิดเซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวยเต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะแป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ยเฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษาอังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารมากที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่งไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้นทุกขณะทั้งในวงการ ศึกษา ธุรกิจ การเมือง การบันเทิง เป็นต้น
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทย
  1. การทับศัพท์ โดยการถ่ายเสียงและถอดตัวอักษร คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีจำนวนมาก คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า เพราะเข้าใจง่าย สื่อสารได้ชัดเจน เช่น
        คำภาษาอังกฤษ คำทับศัพท์
  • game เกม                           graph กราฟ
    cartoon การ์ตูน                    clinic คลินิก
    quota โควตา                       dinosaur ไดโนเสาร์
    technology เทคโนโลยี
  1. การบัญญัติศัพท์ เป็นวิธีการยืมคำ โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาแล้วสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างไปจากคำเดิม โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ภาษาไทยแทนคำภาษาอังกฤษ คือ ราชบัณฑิตยสถาน เช่น
       คำภาษาอังกฤษ คำบัญญัติศัพท์
  • airport สนามบิน
    globalization โลกาภิวัตน์
    science วิทยาศาสตร์
    telephone โทรศัพท์
  1. การแปลศัพท์ วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษา อังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป ดังตัวอย่างเช่น
  • blackboard กระดานดำ
    enjoy สนุก
    handbook หนังสือคู่มือ
    school โรงเรียน
    short story เรื่องสั้น
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
ภาษาเขมร มีลักษณะควรสังเกตดังนี้
1. เป็นคำ ๒ พยางค์ พยางค์ต้นจะเป็น บัง บัณ บัญ บัน บำ บรร เช่น บรรทัด บรรจบ
บำเพ็ญ บำรุง บันทึก บันเทิง เป็นต้น
2. คำที่มีเสียงควบกล้ำและอักษรนำ เช่น โตนด จมูก ไถง (ดวงอาทิตย์) เขนย  ขนาด ไพร (ป่า) ฉนำ (ปี) เขลา  ตลบ ขจี ไผท กระบือ
3. คำภาษาเขมรมักใช้ตัว จ ร ล ญ เป็นตัวสะกด เช่น เผด็จ เสด็จ อาจ อำนาจ สำรวจ ขจร  เดิน จร ถวิล  ตำบล เมิล(ดู) เจริญ   เชิญ ชาญ
4. คำ ๒ พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า บรร บัง บัน กำ คำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ มักเป็นภาษาเขมร เช่น  กำเนิด คำนับ ชำรุด บรรทม บรรจุ บังเอิญ บังคม บังอาจ  ดำริ ตำรวจ ทำเนียบ บันทึก กำจัด ทำนูล(บอก) สำเร็จ สำราญ สำคัญ เป็นต้น
5. คำเขมรที่ใช้เป็นราชาศัพท์ในภาษาไทยมีมาก เช่น สรง เสวย โปรด บรรทม เสด็จ ฯลฯ
6. คำเขมรที่เป็นคำโดด มีใช้ในภาษาไทยจนคิดว่าเป็นคำไทย เช่น  แข(ดวงจันทร์)  มาน(มี)  อวย(ให้) บาย(ข้าว)   เลิก(ยก)
7. คำเขมรมักไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ยกเว้นบางคำ เช่น เสน่ง(เขาสัตว์) เขม่า
8. คำที่มี ข และ ผ นำไม่ประวิสรรชนีย์ มักมาจากภาษาเขมร เช่น ขจี ขจัด เผอิญ ผสมผสาน ฯลฯ
หลักสังเกตคำเขมร คำเขมรส่วนมาก เรานำมาใช้โดยเปลี่ยนรูปและเสียงใหม่ตามความถนัด ซึ่งเป็นเหตุให้รูปผิดไปจากคำเดิม และทำให้เกิดการแผลงอักษรขึ้น เช่น  คำเขมร อ่านว่า ไทยใช้ แปลว่า  กรุบี กรอ – เบย  กระบือ ควาย  เกสร  เกลอ เกลอ เพื่อน  เฌอ ต้นไม้  ตระกอง กอด  เขมาจ ขม้อจ โขมด ผี   ผดาจ ผดั้จ เผด็จ ตัด, ขจัด   เป็นต้น
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาคำติดต่อ อยู่ในตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมาก เป็นภาษาเขียน  ซึ่งรับมาจากวรรณคดี  เรื่อง  อิเหนา เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษาเหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
คําภาษาไทยที่ยืมมาจากต่างประเทศ คืออะไร
ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์ ปัจจุบันเรียกว่า ภาษามาเลเซีย จัดเป็นภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language)  อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู มีวิธีการสร้างคำใหม่โดยวิธีเอาพยางค์มาต่อเติมคำทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คำในภาษามลายูส่วนใหญ่จะมีสองพยางค์และสามพยางค์ มาเลเซียกับไทยเป็นประเทศ ที่มีเขตแดนติดต่อกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาเป็นเวลานาน ภาษามาลายูเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมากพอสมควร  โดยเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ได้แก่  ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  และสตูล  ยังคงใช้ภาษามลายูสื่อสารในชีวิต ประจำวันอยู่เป็นจำนวนมาก
ลักษณะการยืมคำภาษาชวา – มลายูมาใช้ในภาษาไทย
                คำภาษาชวา – มลายูก็เช่นเดียวกับคำภาษาอื่นๆ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงในทางเสียง ความหมาย ตัวสะกด เพราะคนไทยถือเอาความสะดวกแก่ลิ้น คือการออกเสียงและความไพเราะหูเป็นประมาณ จึงทำให้ไม่สามารถสืบสาวไปถึงคำเดิมได้ เพียงแต่ใช้วิธีการสันนิษฐานอาจถูกต้องตามความเป็นจริง อาจใกล้เคียง หรืออาจผิดไปเลยก็ได้ คำบางคำอาจกร่อนเสียง เสียงเพี้ยนไปจนไม่อาจหาความหมายได้ก็มี (ประสิทธิ์ ธ.บุญปถัมภ์, 2526 : 59) อย่างไรก็ตามจากการรวบรวมคำที่สันนิษฐานว่าไทยรับมาจากภาษาชวา – มลายูนั้น พบว่ามีทั้งที่ยังคงเสียงและความหมายของคำตามภาษาเดิม และมีที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของการหยิบยืมภาษา และการเปลี่ยนแปลงนั้นในคำเดียวอาจจะเปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้
  1.  ออกเสียงเหมือนหรือใกล้เคียงกับภาษาเดิมและคงความหมายตามภาษาเดิม เช่น
    กง           มาจากคำว่า        kong      (ไม้รูปโค้งที่เป็นโครงเรือ)
    กะปะ     มาจากคำว่า          kapak    (ชื่องูพิษ)
  1. เสียงพยัญชนะบางเสียงเปลี่ยนไปแต่ใกล้เคียงกับเสียงเดิม
    ปาเต๊ะ    มาจากคำว่า           batek      กลายมาจากเสียง  /b/  เป็นเสียง  /p/
    กัญชา     มาจากคำว่า           ganja      กลายมาจากเสียง  /j/  เป็นเสียง  /ch/
  1. เสียงสระเปลี่ยนแปลงไป คำที่เสียงสระเปลี่ยนแปลงไปนี้ โดยทั่วไปจะเปลี่ยนแปลงไปแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เปลี่ยนจากสระเสียงสั้นเป็นสระเสียงยาว หรือเปลี่ยนเป็นเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ส่วนคำที่เสียงสระเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนมีไม่มากนักและมักจะเปลี่ยนทั้งเสียงพยัญชนะและสระ เช่น
    กระแชง              มาจากคำว่า          kajang (กายัง = เครื่องบังแดดแบบหนึ่ง)
    กะละแม             มาจากคำว่า          kelamai (เกอะลาไม)
  1. คำที่ไทยนำมาออกเสียงประสมสระอะที่พยางค์หน้า บางคำแทรกเสียง “ร” ควบกล้ำซึ่งอาจจะเป็นเพราะอิทธิพลของคำไทยที่มีคำลักษณะนี้อยู่มาก เช่น
    kakatua       กระตั๋ว   (นกกระตั๋ว)
    ketok          กระทอก   (กระแทกขึ้นลง)
  1. เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน่วยเสียงตัวสะกด ส่วนมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวสะกดให้ตรงตามมาตราตัวสะกดของไทย เช่น
    กระพัน       มาจากคำว่า           kabal     (ทนทานต่อศัสตราวุธ)
    กำปั่น         มาจากคำว่า           kapal     (เรือกำปั่น)
  1. การกลายเสียงวรรณยุกต์ ระดับเสียงในภาษาชวา–มลายู อยู่ในระดับกลางและต่ำ ไม่อยู่ในระดับสูง เช่น บุหรง ชวา–มาลายู ซึ่งชวา–มลายูออกเสียงระดับกลางว่า บุ–รง เหตุที่เสียงวรรณยุกต์กลายจากเสียงระดับกลางและต่ำเป็นเสียงสูงนั้นก็คงเป็นเพราะว่าเราได้รับคำเหล่านี้ผ่านเข้ามาทางเสียงชาวปักษ์ใต้ นัยว่าเพราะนางข้าหลวงผู้ที่นำเรื่องอิเหนามาเล่าถวายเจ้าหญิงสองพระองค์ของไทย เป็นชาวปักษ์ใต้ (พระยาอนุมานราชธน, 2510 : 77) สำเนียงภาษาถิ่นใต้นั้นโดยทั่วไปแล้วจะออกเสียงอยู่ในระดับเสียงสูง คำภาษาชวา – มลายู ที่มีในวรรณคดีเรื่องอิเหนาจะมีคำที่กลายเสียงในลักษณะนี้จำนวนมาก และส่วนใหญ่พยางค์ท้ายจะกลายเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น
    bulan                   บุหลัน    (ดวงเดือน)
    pandan                ปาหนัน  (ดอกลำเจียก)
  1. มีการเปลี่ยนแปลงเสียงในลักษณะการกลมกลืนเสียง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเสียงในลักษณะนี้มีหลายคำ มักเป็นการกลมกลืนเสียงไปข้างหน้าและกลมกลืนเสียงร่วมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  • 7.1 กลมกลืนเสียงไปข้างหน้า  เช่น
    บันนังสะตา  (ชื่ออำเภอ)   มาจากคำว่า  bendang  setar
  • 7.2 กลมกลืนเสียงร่วมกัน (บางคำเสียงพยัญชนะต้นกลายไปด้วย) เช่น
    พรก        มาจากคำว่า           porok     (กะลามะพร้าว)
  1. การตัดพยางค์ มักเป็นการตัดพยางค์หน้าและพยางค์กลาง
    8.1 ตัดพยางค์หน้า  เช่น  กัด       มาจากคำว่า  pukat    (อวน)
    8.2 ตัดพยางค์กลาง เช่น  กำยาน  มาจากคำว่า  kemenyan (เครื่องหอมชนิดหนึ่ง)
    8.3 ตัดพยางค์ท้าย    เช่น  มะเร็ง    มาจากคำว่า  merengsa  (แผลเน่าเปลื่อยไม่ยอมหาย)
  2. การเพิ่มเสียงและเพิ่มพยางค์ มีบางคำที่ไทยรับมาใช้แล้วเพิ่มเสียงเข้าไป ซึ่งทำให้พยางค์เพิ่มขึ้นด้วย แต่มีไม่มากนัก เช่น
                      กระจับปิ้ง         มาจากคำว่า        chaping     เพิ่มพยางค์หน้า (จะปิ้ง ก็ใช้)
  1. ไทยนำมาใช้ความหมายกลายไปจากเดิม คือ ความหมายแคบเข้า ความหมายกว้างออก หรือ ความหมายย้ายที่ ดังตัวอย่าง
    10.1 ความหมายแคบเข้า เช่นกูบ  (kop)  ยอดกลมมน หลังคา กูบบนหลังช้าง ไทยใช้
    ความหมายแคบลง คือ ใช้เฉพาะกูบบนหลังช้าง
    10.2 ความหมายกว้างออก เช่นกระโถน  (ketuy)  ความหมายเดิม คือ กระโถนบ้วนน้ำหมาก
    ไทยใช้ความหมายกว้างขึ้น หมายถึงกระโถนทั่วไป
    10.3 ความหมายย้ายที่หรือความหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น
    สลัด  (selat) ความหมายเดิม คือ ช่องแคบในทะเล ความหมายที่ไทยใช้ หมายถึงโจรที่ปล้นทางทะเล เรียกว่า “โจรสลัด”

กรุณาทำแบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยมีกี่วิธี

๑. ใช้ตามคำเดิมที่ยืมมา เช่น เมตร (อังกฤษ) หมายถึง หน่วยวัดความยาว แข (เขมร) หมายถึง ดวงเดือน ๒. เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวก เช่น เผอิลฺ (เขมร) เปลี่ยนเป็น เผอิญ ๓. เปลี่ยนรูปและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้เหมาะกับการออกเสียงภาษาไทย เช่น ฮวงโล้ว (จีน) เป็น อั้งโล่

คําที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศมีอะไรบ้าง

กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ...

ไทยยืมคำมาจากประเทศอะไรบ้าง

การรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้นั้น ไทยเรามีวิธีออกเสียงให้เป็นแบบไทย ไม่ว่าจะเป็น บาลี สันสกฤต เขมร พม่า ลาว จีน ชวา มลายู อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส หรืออาหรับ การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทยทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มากขึ้น ลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดาของทุกภาษาในโลก ภาษาบาลี และสันสกฤต

เหตุใดจึงมีการยืมคําภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย * 1 คะแนน

สาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ คือการมีอาณาเขตใกล้เคียงกัน ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกัน โดยมีการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ การติดต่อค้าขายระหว่างกันและการรับเอาวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ และความคิดความเชื่อทางศาสนา จึงมีการยืมคำในภาษาต่างมาใช้มากมาย เช่น ภาษาเขมร จีน พม่า ชวา ...