ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

      ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษา
โปรแกรม และระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไร ซึ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้คือ
1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม
5. นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งานทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจและทำการวิเคราะห์ปัญหาเป็นลำดับแรก เพราะการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบว่าโจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร และการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น ต้องป้อนข้อมูลอะไรบ้าง และเมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปแล้วจะทำการประมวลผลอย่างไร สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าผู้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับความต้องการของโจทย์ได้
รูปแบบการวิเคราะห์ปัญหา

1. วัตถุประสงค์ของงาน
เป็นการหาคำตอบว่า โจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร
2. ออกแบบผลลัพธ์ ( Output )
เป็นการออกแบบจอภาพหรือผลลัพธ์ของโปรแกรมเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ต้องการให้มีรูปแบบอย่างไร แสดงข้อมูลอะไรบ้าง
3. ข้อมูลนำเข้า ( Input )
ต้องวิเคราะห์ว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการนั้น ต้องป้อนข้อมูลอะไรเข้าไป เพื่อให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาประมวลผล
4. ชื่อตัวแปรที่ใช้
เป็นการกำหนดข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบการแทนข้อมูลด้วยสัญลักษณ์หรือชื่อตัวแปร โดยตั้งชื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ความกว้างของสี่เหลี่ยม   กำหนดตัวแปรใช้แทนข้อมูลความกว้างของสี่เหลี่ยมชื่อ width เป็นต้น
5. ขั้นตอนวิธีการประมวลผล/ลำดับงาน
เป็นการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เป็นขั้น ๆ ตามลำดับ

 
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

 

 

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

                ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นก็ต้องมีคำแนะนำให้ผู้ใช้โปรแกรมปฏิบัติ    ตัวอย่างเช่น การเก็บโปรแกรมต้นฉบับ   ควรเก็บไว้ในกล่องที่มิดชิด  ป้องกันฝุ่นได้  ไม่ควรเก็บไว้บนโต๊ะทำงาน ไม่ควรเก็บไว้ในรถยนต์เพราะอาจถูกอากาศร้อนทำให้เสียได้  นอกจากนี้ต้องมีการสำเนาโปรแกรมต้นฉบับเอาไว้อย่างน้อย  1  ชุด  แล้วนำชุดที่สำเนาไปใช้ ไม่ควรใช้โปรแกรมต้นฉบับโดยตรง ควรเก็บเอาไว้สำหรับกรณีที่โปรแกรมสำเนาเกิดปัญหาจะได้นำโปรแกรมต้นฉบับมาทำสำเนาและใช้งานได้ทันทีสำเนาและใช้งานได้ทันที 

1.การเขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่างๆ ของภาษา C มาเขียนเรียงต่อกัน จนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ

2.คอมไพล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใด ๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องก่อน

3.การลิงค์โปรแกรม ในภาษา C นั้นจะมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อคอมไพล์แล้วไม่มีข้อผิดพลาดประการใด ตัวคอมไพล์จะทำการดึงโปรแกรมอื่นที่ถูกเรียกใช้จากโปรแกรมที่กำลังทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์ การรันโปรแกรม เมื่อทำการลิงค์เสร็จแล้ว โปรแกรมนั้นก็พร้อมที่จะรัน และเมื่อรันโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติงาน โปรแกรมนั้นจะถูกโหลดลงสู่หน่วยความจำหลัก จากนั้นก็ทำการรัน ซึ่งเรียกว่า Loader การพัฒนาโปรแกรม การพัฒนาโปรแกรมขึ้นมา ไม่ใช่จะเขียนโปรแกรมได้เลย เพราะการพัฒนาโปรแกรมนั้นจะมีขั้นตอน ที่เรียกว่า System Development Life Cycle โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.หาความต้องการของระบบ ( System Requirements ) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง

2.วิเคราะห์ ( Analysis ) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ต้องการได้หรือไม่

3.ออกแบบ ( Design ) เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะเป็นอย่างไรขั้นตอนต่อมาก็คือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้

4.เขียนโปรแกรม ( Code ) เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ออกแบบไว้

5.ทดสอบ ( System Test ) เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ

6.ดูแล ( Mainteance ) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม

            การพัฒนาโปรแกรมภาษา  C  มีขั้นตอนดังนี้
            1) เขียนโปรแกรมต้นฉบับ  (source  program)  ด้วยภาษา  C
                        ใช้โปรแกรม  Dev c++ หรือ Turbo  C/ C++ เพื่อเขียนโปรแกรมต้นฉบับด้วยภาษา  C  จากนั้นบันทึกโปรแกรมพร้อมกับตั้งชื่อแฟ้มไว้ แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.c  หรือ  *.cpp  เช่น  simple.c  หรือ  simple.cpp  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังสามารถใช้โปรแกรม  Dev c++ หรือ Turbo C/C++  เขียนโปรแกรมภาษา  C++  ได้อีกด้วย
            2) แปลโปรแกรมภาษา  C  ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง  (object  program)
                        ใช้คำสั่ง  compile  เพื่อแปลโปรแกรมภาษา  C  ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.obj  ซึ่งในขั้นตอนนี้โปรแกรมต้นฉบับอาจเกิดความผิดพลาดทางไวยกรณ์ภาษา  (syntax  error)  ขึ้นได้  จึงต้องย้อนกลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับในข้อ  1.  ให้ถูกต้องเสียก่อน
            3) เชื่อมโยง  (link)  โปรแกรมภาษาเครื่องเข้ากับ  library  function  ของภาษา  C  จะได้เป็น  execute  program  โดยใช้คำสั่ง  link  แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.exe
            4) สั่งให้  execute  program   แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยใช้คำสั่ง  run

            ในขั้นตอนนี้ผู้เขียนโปรแกรม ควรตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่  ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการให้กลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับในข้อ 1.  เสร็จแล้วทำขั้นตอน  ข้อ 2.   ถึง  ข้อ 4. ซ้ำอีก ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

หมายเหตุ  ในทางปฏิบัติ  การ  compile/  link/ run  ในโปรแกรม  Turbo  C/C++  สามารถทำให้พร้อมกันทั้ง  3  ขั้นตอน  คือใช้คำสั่ง  Ctrl + F9  (กดปุ่ม  Ctrl  และปุ่ม  F9  พร้อมกัน)
            โดยสรุปเราสามารถเขียนผังงานแสดงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา  C  ได้ดังนี้


ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

รูปที่  2.1  ผังงานแสดงขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา  C

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็นกี่ส่วน

โครงสร้างของภาษาซี โปรแกรมภาษาซีประกอบด้วยส่วนสาคัญ ดังต่อไปนี้ คือ 1.) ส่วนหัวของโปรแกรม (Header files) 2.) ส่วนของตัวโปรแกรม (Body) 3.) ส่วนคาอธิบายโปรแกรม (Comment lines)

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี ขั้นตอนที่ 4 คืออะไร *

ขั้นตอนที่ 4 ประมวลผล (run) เมื่อนำ executable program จากขั้นตอนที่ 3 มาประมวลผลก็จะได้ผลลัพธ์ (output) ของโปรแกรมออกมา

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมมี 5 ขั้นตอน อะไรบ้าง

ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis and Feasibility Study) ... .
ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา หรือการออกแบบโปรแกรม (Algorithm Design) ... .
ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม (Program Coding) ... .
ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging) ... .
ขั้นการเขียนเอกสารประกอบ (Documentation).

ภาษาซีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ในโปรแกรมภาษาซีนั้น สามารถแบ่งชนิดของข้อมูลเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม และ ทางานตามวัตถุประสงค์กับข้อมูลชนิดต่าง ๆ ซึ่งได้มีการแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดคือ 1. ข้อมูลชนิดเลขจานวนเต็ม (Integer) 2. ข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม (Float) 3. ข้อมูลชนิดเลขฐานแปด (Octal) 4. ข้อมูลชนิดเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) 5. ข้อมูลชนิดตัวอักขระ ( ...