ข้อกำหนดสำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน ตรงตามข้อใด

อนุญาตให้ใช้รางเดินสายได้เฉพาะการติดตั้งในที่เปิดโล่งซึ่งสามารถเข้าถึงเพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ตลอดความยาวของรางเดินสาย ห้ามเดินในฝ้าเพดาน ถ้าติดตั้งภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดกันฝน (Raintight) และต้องมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่เสียรูปภายหลังการติดตั้งและต้องเป็นไปตามข้อกำหนด

4.5 กล่องสำหรับงานไฟฟ้า (Box)

            4.5.2 ข้อกำหนดและลักษณะการใช้งาน

        4.6 การเดินสายบนผิวหรือเดินสายเกาะผนัง (Surface Wiring)

การเดินสายบนผิวหรือเดินเกาะผนังใช้กับการเดินสายแรงต่ำภายในอาคารทั่วไป ยกเว้น ในบริเวณอันตราย หรือที่ได้ระบุว่าห้ามใช้ในเรื่องนั้น ๆ โดยสายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเหมาะสมกับสภาพติดตั้งด้วย

ฏกและมาตรฐานที่ใช้งานในระบบติดตั้งไฟฟ้า

หัวข้อเรื่อง

4.1 ข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงต่ำ

4.2 การเดินสายเปิดหรือเดินลอย (Open Wiring) บนวัสดุฉนวน

4.3 การเดินสายในท่อร้อยสาย

4.4 การเดินสายในรางเดินสาย (Wire Ways)

4.5 กล่องสำหรับงานไฟฟ้า (Box)

4.6 การเดินสายบนผิวหรือเดินสายเกาะผนัง (Surface Wiring)

4.7 แผงสวิตช์และแผงย่อย

4.8 สรุปสาระสำคัญ

แนวคิดสำคัญ

งานในระบบติดตั้งไฟฟ้านั้น บริภัณฑ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้าที่ใช้และวิธีการเดินสายต่าง ๆ ต้องมีมาตรฐาน

เป็นสิ่งกำหนด มาตรฐานที่ประเทศไทยคุ้นเคยมากคือ มาตรฐานไออีซี (IEC) มาตรฐานของทวีปยุโรปและ

มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยบริภัณฑ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าทุกชนิดต้องเป็นไปตาม

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานอื่นที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ ส่วนข้อกำหนดต่าง ๆ ในงาน

ติดตั้งไฟฟ้าอ้างอิงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย

สมรรถนะย่อย

            แสดงความรู้เกี่ยวกับกฎและมาตรฐานที่ใช้งานในระบบติดตั้งไฟฟ้า

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. บอกสาระของข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงต่ำได้

2. บอกข้อกำหนดและข้อห้ามใช้สำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนได้

3. บอกข้อกำหนดและข้อห้ามใช้สำหรับการเดินสายในท่อร้อยสายได้

4. บอกข้อกำหนดและข้อห้ามใช้สำหรับการเดินสายในรางเดินสายได้

5. บอกข้อกำหนดและลักษณะใช้งานของกล่องสำหรับงานไฟฟ้าได้

6. บอกข้อกำหนดและข้อห้ามใช้สำหรับการเดินสายเกาะผนังได้

7. อธิบายข้อกำหนดของแผงสวิตช์และแผงย่อยได้

ใบความรู้ 4

สื่อการเรียน

แบบฝึกหัดหลังเรียน

ในอาคารสายไฟที่ใช้กันโดยทั่วไป เป็นชนิดตัวนำทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพีวีซีที่ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 11-2431 การติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคารส่วนใหญ่ใช้สายไฟชนิดต่าง ๆ ดังนี้

ข้อกำหนดสำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน ตรงตามข้อใด

สายไฟ VAF เป็นสายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์ เป็นสายไฟฟ้าที่มีทั้งชนิด 2 แกน และ 3 แกน และ 2 แกนแบบมีสายดิน ชนิดที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาด คือสายไฟฟ้า VAF แบบ 2 แกน หรือที่เรียกว่า “สายคู่” หรือ “สายพีวีซีคู่” ซึ่งนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัด (Clip) ยึดเกาะติดผนัง สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟส 380 โวลต์

ข้อกำหนดสำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน ตรงตามข้อใด

การใช้งาน

- เดินเกาะผนัง หรือเดินซ่อนในผนัง

- ห้ามเดินร้อยในท่อ เพราะอาจทำให้สายไฟฟ้าบิดตัวและชำรุดได้

สายไฟฟ้า THW เป็นสายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ มีตัวนำแกนเดียวหุ้มฉนวน 1 ชั้น สำหรับเดินเป็นสายไฟฟ้าเมนเข้าอาคารและเดินภายใน สำหรับบ้านพักอาศัยที่ใช้ระบบแรงดัน 220 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เดินในวงจร 380 โวลต์ 3 เฟส 3 สาย ทั่วไป

การใช้งาน

- เดินลอย ต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน

- เดินในช่องเดินสาย หรือในรางเดินสาย

- เดินในท่อร้อยสายฝังดินได้ หากสามารถป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปภายในท่อได้

- ห้ามเดินฝังดินโดยตรง

สายไฟฟ้า NYY เป็นสายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายกลมที่มีจำนวนแกนตั้งแต่ 1 แกนถึง 4 แกน ชนิด 1 แกนจะมีเปลือกหุ้มทับชั้นฉนวน 1 ชั้น ส่วนชนิด 2 – 4 แกนจะมีเปลือกหุ้มทับฉนวนอีก 2 ชั้น สำหรับเดินเป็นสายเมนเข้าอาคารบ้านพักอาศัย กรณีที่เดินสายไฟฟ้าใต้ดินและใช้ในวงจรทั่วไปที่เดินใต้ดิน

ข้อกำหนดสำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน ตรงตามข้อใด

การใช้งาน

- ใช้งานได้ทั่วไป

- เดินในท่อร้อยสาย และในรางเดินสาย

- เดินฝังดินโดยตรง

สายไฟฟ้า NYY - N เป็นสายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายกลมชนิด 4 แกน มีสายไฟอยู่ 3 แกน และมีสายศูนย์หรือสายนิวทรัล อีก 1 แกน ใช้สำหรับเดินสายไฟฟ้าเมนเข้าอาคาร ที่ใช้ระบบแรงดัน 380/220 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

การใช้งาน

- ใช้งานได้ทั่วไป

- เดินในท่อร้อยสาย และในรางเดินสาย

- เดินฝังดินโดยตรง

สายไฟฟ้า NYY – G เป็นสายไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายกลมชนิดแกน คือ มีสายไฟอยู่ 3 แกน และมีสายดินหรือสายกราวด์ อีก 1 แกน ใช้สำหรับเดินเป็นสายไฟฟ้าเมนเข้าอาคาร ที่ใช้ระบบแรงดัน 380/220 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

การใช้งาน

- ใช้งานได้ทั่วไป

- เดินในท่อร้อยสาย และในรางเดินสาย

- เดินฝังดินโดยตรง

สายไฟฟ้า VCT – G เป็นสายไฟฟ้าชนิดแรงดัน 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายกลมที่มีจำนวนแกนตั้งแต่ 1 แกน ถึง 4 แกน ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกันกับสายไฟฟ้า VCT แต่มีสายดินหรือสายกราวด์ เพิ่มอีก 1 แกน สำหรับการต่อลงโดยเฉพาะ

การใช้งาน

- เดินในท่อร้อยสาย

- เดินในรางเดินสาย หรือวางบนรางเคเบิล

- เดินฝังดินโดยตรง

สีของสายไฟฟ้า

ความสำคัญอย่างมากอีกอย่างหนึ่งก็คือรหัสสีที่จะทำให้ทราบว่า สายไฟฟ้าเส้นนั้นเป็นสายอะไร หรือท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าประเภทใด ทำให้สะดวกต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษา และใช้งานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

รหัสสีของสายไฟฟ้า ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ได้กำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำดังนี้

- ตัวนำนิวทรัล ให้ใช้สีเทาอ่อน หรือ สีขาว

- สายเส้นไฟ ต้องมีสีต่างไปจากสายนิวทรัล และตัวนำสำหรับต่อลงดิน

- สายไฟฟ้าในระบบ 3 เฟส ให้ใช้สายที่มีสีฉนวน หรือ ทำเครื่องหมายเป็นดังนี้ เฟส 1 ใช้สีดำ เฟส 2 ใช้สีแดง เฟส 3 ใช้สีน้ำเงิน

- สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ให้ใช้สีเขียว หรือ สีเขียวแถบเหลือง

รหัสของท่อไฟฟ้า และกล่องพักสาย รหัสสีของท่อไฟฟ้ามีประโยชน์มาก ทำให้ทราบได้ว่า สายในท่อเป็นสายอะไร ซึ่งกระทำได้โดยมีเครื่องหมายแสดงสีทุกระยะ 1 เมตร โดยรวมทั้งข้อต่อ และกล่องพักสาย ตามตาราง

ข้อกำหนดสำหรับการเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวน ตรงตามข้อใด

การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ

วิธีการต่อสายไฟฟ้า งานเดินสายไฟฟ้าจำเป็นต้องมีการต่อสายไฟฟ้า อาจมาจากหลายเหตุด้วยกันคือ สายไฟฟ้ายาวไม่พอ จำเป็นต้องต่อแยกสายไฟฟ้าไปในทางอื่น วิธีการต่อสายไฟฟ้าที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งในการทำงาน และในการต่อใช้งาน เพราะการต่อสายที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดการอาร์กของจุดต่อทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้

1. การปลอกสายไฟฟ้า โดยใช้ใบมีดคัตเตอร์หรือใช้มีบางขนาดเล็ก กำหนดความยาวของสายที่จะปอก โดยการใช้มีดจะมีลักษณะคล้ายกับการเหลาดินสอ อย่าปอกสายไฟฟ้าโดยการใช้มีดกดลงบนสายเป็นมุม 90 องศาเพราะคมมีดจะกินเข้าไปในเนื้อโลหะตัวนำของสายไฟฟ้า เมื่อนำสายไฟฟ้าไปใช้งาน มักจะหักตรงรอบที่ถูกมีด

2. การต่อสายเข้าจุดต่อสายแบบสกรูยึด การคล้องสายไปรอบสกรูยึด ต้องคล้องโดยหมุนโค้งสายไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หมุนสกรูให้แน่น

3. การต่อสายด้วยวายร์นัต เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำหน้าที่ช่วยในการต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องพันเทปฉนวน ช่วยให้สะดวกขึ้น การต่อสายไฟฟ้าแบบนี้ทำโดยนำสายไฟฟ้าที่ต้องการต่อสายเข้าด้วยกัน ปอกฉนวนแล้วหมุนลวดตัวนำให้ติดกัน นำวายร์นัตครอบลงไปที่ปลายสายทั้งสองจนสุด หมุนวายร์นัตไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกาจนสายไฟฟ้าแน่น

4. การต่อสายแบบหางเปีย การต่อสายโดยปอกฉนวนของสายไฟที่ต้องการจะต่อกันให้ยาวพอประมาณทั้งสองเส้น วางให้ส่วนที่เป็นตัวนำของสายทั้งสองให้กับกัน ใช้มือหรือคีมบิดส่วนที่ไม่มีฉนวนหุ้ม เพื่อตีเกลียวให้แน่น เพื่อความแข็งแรง และสวยงาม หลังจากนั้นนำวายร์นัตสวม ขันให้แน่น ซึ่งจะใช้กับสายไฟที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 2.50 ตารางมิลลิเมตร

กฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

สายเมนหรือสายป้อนเป็นวงจรไฟฟ้าที่เป็นวงจรย่อย มีวิธีการเดินสายอยู่หลายวิธีด้วยกันเพื่อให้เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม แต่ละวิธีมีข้อกำหนดการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละวิธีการ เพื่อให้การออกแบบและการใช้งานมีความประหยัด ปลอดภัย สวยงาม ข้อกำหนดและวิธีการเดินสายนี้ไม่รวมถึงการเดินสายภายในเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งประกอบสำเร็จรูปมาจากโรงงาน

ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเดินสาย จุดประสงค์เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สะดวดในการใช้งานและการบำรุงรักษา รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาอีกด้วย ข้อกำหนดที่สำคัญโดยทั่วไปมีดังนี้ การเดินสายไฟฟ้าที่มีแรงดันต่างกัน การติดตั้งใต้ดิน การติดตั้งวัสดุ และการจับยึด การป้องกันไม่ให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำ การป้องไฟลุกลาม การกำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำ ข้อกำหนดการเดินสายสำหรับระบบแรงสูง

การเดินสายไฟฟ้าแบบลอย

อาคารขนาดเล็กหรือบ้านพักอาศัย สามารถแบ่งการเดินสายออกเป็น 2 ส่วน คือ การเดินสายไฟฟ้าภายนอกอาคาร และการเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และงบประมาณด้านค่าใช้จ่าย

การเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย

ในปัจจุบันท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ใช้งานมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานและเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน ดังนี้

การเดินสายเปิดบนวัสดุฉนวนหมายถึงอะไร

การเดินสายไฟเปิดหรือเดินลอย (Open Wiring) บนวัสดุฉนวน เป็นวิธีการเดินสายไฟรูปแบบหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นการเดินสายไฟแบบเปิดโล่ง โดยสายไฟจะถูกแขวนลอยอยู่ในอากาศ และมีตุ้มหรือลูกถ้วยฉนวนเป็นตัวจับยึดสาย ส่วนสายที่ใช้ต้องเป็นสายแกนเดี่ยวชนิดมีฉนวนหุ้ม

การเดินสายในท่อโลหะอ่อนมีข้อกำหนดอย่างไร

ท่อโลหะอ่อนที่ประกอบมากับขั้วหลอดไฟและมีความยาวไม่เกิน 1.80 เมตร จำนวนสายไฟฟ้าสูงสุดในท่อโลหะอ่อนต้องเป็นไปตามที่กำหนดในตารางที่ 5-3. มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360 องศา ต้องติดตั้งระบบท่อให้เสร็จก่อน จึงทำการเดินสายไฟฟ้า

ข้อกําหนดที่สําคัญในการติดตั้งรางเคเบิลมีอะไรบ้าง

การติดตั้งรางเคเบิล 1. รางเคเบิลต้องมีความต่อเนื่องทางกล 2. รางเคเบิลที่เป็นโลหะต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า และต้องต่อลงดิน 3. สายที่ติดตั้งบนรางเคเบิล เมื่อเดินแยกเข้าท่อสายอื่นต้องมีการจับยึดให้มั่นคง 4. ห้ามติดตั้งสายเคเบิลระบบแรงต่ำในรางเคเบิลเดียวกับเคเบิลระบบแรงสูง

การเดินสายในรางเคเบิลต้องวางสายไฟฟ้าอย่างไร

1.หากเป็นสายเคเบิลฝังดินควรมีความลึกต่ำสุดอยู่ที่ 0.60 เมตร 2.กรณีเคเบิลฝังดินโดยตรง และมีแผ่นคอนกรีตที่หนาไม่น้อยกว่า 50 มม. ควรวางอยู่เหนือสายโดยมีความลึกต่ำสุดที่ 0.45 เมตร 3.ใช้วิธีการเดินสายไฟด้วยท่อโลหะหนา ควรมีความลึกต่ำสุด 0.15 เมตร