วงจรไฟฟ้าแบบขนานมีคุณสมบัติในการทำงานเป็นอย่างไร

       สามารถกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ครับผม วงจรไฟฟ้าแบบขนานเป็นการนำปลายข้างเดียวกัน ( ขั้วเดียวกัน) ของแต่ละอุปกรณ์ มารวมกันก่อน แล้วจึงต่อเข้ากับเซลล์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่างโดยกกระแสไฟฟ้ารวมในวงจรเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แยกผ่านอุปกรณ์แต่ละอย่างรวมกัน เช่น จากภาพด้านบน มีแหล่งจ่าย และ หลอดไฟจำนวน 2 หลอด ต่อขนานกันอยู่ ซึ่งข้อดีของการต่อหลอดไฟแบบขนานก็คือ ถ้าหลอดไฟหลอดใดหลอดหนึ่ง เกิดเสีย อีกหลอดหนึ่งก็จะยังคงใช้งานได้เช่นเดิมครับ

การต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นสิ่งที่เราควรที่จะคำนึงถึงเป็นพิเศษ เนื่องจากไฟฟ้านั้นสามารถทำอันตรายกับเราได้ หากเราไม่มีการต่อวงจรไฟฟ้าด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานที่

ซึ่งการต่อวงจรไฟฟ้าภายในบ้านนั้นก็มีมากมายหลากหลายวิธีให้ได้เลือกสรรกันตามความเหมาะสมของสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านหรืออาคาร

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับการต่อวงจรไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ในหลาย ๆ ครัวเรือนนิยมใช้กัน นั่นก็คือ การต่อวงจรขนาน นั่นเอง

วงจรไฟฟ้าแบบขนานมีคุณสมบัติในการทำงานเป็นอย่างไร

วงจรขนาน (Parallel Circuit) คือ การนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก ๆ ชนิดมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่จุดหนึ่ง โดยการนำปลายสายของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก ๆ ตัวมาต่อรวมกัน และนำส่วนที่เหลือไปต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกจุดหนึ่ง 

ซึ่งเมื่อต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลไปได้หลายทาง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน และในกรณีที่ภายในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานต่อได้ ทำให้ในปัจจุบันหลาย ๆ ครัวเรือนมักจะนิยมต่อวงจรแบบนี้กัน

หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลยก็คือ วงจรขนาน มีคุณสมบัติในการทำให้แรงดันของไฟฟ้านั้นไหลเท่ากันทั้งวงจร ผ่านการแบ่งกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านนั่นเอง

   9. ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้           เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ

วงจรจรขนาน คืออะไร

เอาไปต่อใช้งานในชีวิตจริงไงวันนี้มีคำตอบ

***********************************************

ครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงวงจรอนุกรมกันไปบ้างแล้ว
ใครที่ยังไม่ได้อ่านย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่นี้เลยนะครับ
👉 http://bit.ly/35D4y5f

มี เป็น VDO อธิบายไว้ด้วยกดดูได้เลยที่นี่ครับ
👉 http://bit.ly/39RdxD1


อะ มาเข้าเรื่องกัน

🎯
วงจรขนาน คือ วงจรที่นำอุปกรณ์ไฟฟ้า/โหลด
(ในที่นี้ใช้ตัวต้านทานเป็นตัวอย่างนะ) มาต่อกัน
โดยลักษณะ ต้น (+) ต่อต้น (+) ,ปลาย (-) ต่อปลาย (-)
หรือ เรียกง่ายๆ ว่าการต่อขนานกันไปเรื่อยๆ

🎯
คุณสมบัติของวงจรขนานคือ
“แรงดันเท่ากันทั้งวงจร”
“แต่แบ่งกระแสไฟฟ้า”
ไปที่อุปกรณ์ไฟฟ้า/โหลดหรือตัวต้านทานนั้นเอง

วงจรไฟฟ้าแบบขนานมีคุณสมบัติในการทำงานเป็นอย่างไร

 ข้อดี ของวงจรขนาน คือ

ลักษณะการต่อที่ทำให้ โหลดสามารถรับแรงดันได้เท่ากันทั้งวงจร

ทำให้โหลดได้รับแรงดันไม่ลดลงเหมือนกับ วงจรอนุกรมนั้นเอง


งงใช่ไหม 555+
ยกตัวอย่างง่ายๆ ละกัน


ถ้าต่อขนานหลอดไฟ ไฟจะสว่างเท่ากันทุกดวง เพราะทุกดวงแรงดันไฟฟ้าคงที่เท่ากันหมด

แต่ถ้าเราต่ออนุกรม ไฟดวงแรกสว่างสุด ดวงท้ายๆ ไฟจะสว่างน้อยลง เพราะแรงดันไฟฟ้าดวงแรก
จะเยอะสุดดวงอื่นๆ จะค่อยๆ ลดลง ครับ


วิธีการต่อขนาน ช่างเลยนิยมต่อใช้งานมากที่สุด เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องการแรงดันไฟฟ้า อยู่ที่ 220 โวลต์ ในการทำงาน ถ้าแรงดันตกลงจะทำงานไม่ได้


 ข้อเสีย ของการต่อใช้งานวงจรขนาน คือ

ไม่เหมาะในการต่อวงจรลักษณะเชิงป้องกัน
หรือ สวิทช์

ถ้าจะต่อ วงจรอนุกรมเหมาะกว่าครับ

วงจรไฟฟ้าแบบขนานมีคุณสมบัติในการทำงานเป็นอย่างไร


🎯 สรุปวงจรขนาน 🎯


🔸 วงจรขนาน เป็นวงจรที่เหมาะสมกับการต่อเพื่อใช้งานโหลด แต่ไม่เหมาะสมกับการนำมาต่อใช้งานเชิงป้องกัน

 เหมาะสม กับการนำมาต่อใช้งาน ปลั๊กไฟ หลอดไฟ

 ไม่เหมาะสม กับการนำมาต่อสวิตช์ไฟในการตัดต่อส่วนวงจร

🔸 วงจรอนุกรมนั้น เหมาะสม ในการมาต่อเชิงป้องกันมากกว่า การต่อเพื่อนำมาใช้งาน

ยกตัวอย่างเช่น การต่อ ฟิวส์ หรือ การต่อสวิตช์


ถ้าใครสงสัยว่าทำไม ย้อนกลับไปอ่านบทความ
วงจรอนุกรมที่นี้นะ 👉 http://bit.ly/35D4y5f

ทำอธิบายไว้ให้แล้วครับ

***********************************************

เรียบเรียงบทความโดย : แผนกวิชาการ

#โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น
#ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร #วงจรขนาน
#วงจรไฟฟ้า #ไฟฟ้าพื้นฐาน #ไฟฟ้า
#ช่างไฟฟ้า #สอนช่างไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมมีคุณสมบัติในการทำงานเป็นอย่างไร

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม 1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร 2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด 3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

ค่าความต้านทานรวมในวงจรไฟฟ้าแบบขนานมีลักษณะเป็นอย่างไร

ตัวต้านทาน เมื่อต่อขนานจะทาให้กระแสไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายออกมา ไหลแยก ไปสู่ตัวต้านทานแต่ละตัวที่ขนานกัน ผลรวมของกระแสที่ไหลผ่าตัวต้านทานในวงจรขนาน รวมกัน จะเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจ่ายออกมา(I1+I2=I) ค่าความต้านทานรวม ของวงจรขนานจะลดลงน้อยกว่าค่าของตัวต้านทานตัวที่มีค่าน้อยที่สุด ดังรูปที่2.3 แรงดันไฟฟ้า(V ...

ลักษณะของวงจรไฟฟ้า มีกี่ลักษณะ

ส่วนสำคัญของวงจรไฟฟ้าคือการต่อโหลดใช้งาน โหลดที่นำมาต่อใช้งานในวงจรไฟฟ้าสามารถต่อได้เป็น 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม (Series Electrical Circuit) วงจรไฟฟ้าแบบขนาน (Parallel Electrical Circuit) และวงจรไฟฟ้าแบบผสม (Series - Parallel Electrical Circuit)

คุณสมบัติของวงจรอนุกรมมีอะไรบ้าง

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม 1.1 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันและมีทิศทางเดียวกันตลอดทั้งวงจร 1.2 ความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน 1.3 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด