ขั้นตอนปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพมีอะไรบ้าง

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง และทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เจอซึ่งจะกล่าวในภายหลัง

2. โทร
รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยแจ้งอาการผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งเพื่อให้เจ้าเหน้าที่ติดต่อกลับหากที่หาที่เกิดเหตุไม่เจอ รวมถึงแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อาการ สถานที่ที่พบ เส้นทางที่เดินทางมาได้สะดวก หากอยู่เพียงลำพัง อย่าทิ้งผู้ป่วยไปไหน ให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารและรับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หากอยู่หลายคนให้ผู้อื่นเป็นคนโทร.แจ้ง หากแถวนั้นไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย

ตัวอย่างการแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ : พบผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 45 ปี ที่หน้าโรงรับจำนำ ตลาดบางพลี ผมผู้พบเหตุ ชื่อนายสง่า เบอร์ติดต่อ 089-XXX-XXXX และให้นำเครื่อง AED มาด้วย

3. ปั๊ม
การกดหน้าอกสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะที่รอหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพ โดยให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก – ดึงคางขึ้น และตรวจสอบการหายใจโดยการเอียงหูฟังแนบที่จมูกผู้ป่วย จากนั้นให้เริ่มช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 – 120 ครั้งต่อนาที

ข้อแนะนำ : หากมีโอกาสได้เรียนให้พยายามซ้อมทำบ่อย ๆ เวลาทำจริงเราจะทำได้ด้วยความแรงและน้ำหนักที่ถูกต้อง

โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัลโรงพยาบาลพันธมิตรยอดเยี่ยม Best Healthcare Provider Partnership Award 2022

Best Healthcare Provider Partnership Award เป็นรางวัลสำหรับโรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จและมีความเป็นเลิศในด้าน

อ่านเพิ่มเติม

ขั้นตอนปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพมีอะไรบ้าง

โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Rising Star Sustainability Awards งาน SET Awards 2022

รางวัลสำหรับบริษัทที่มุ่งสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม ในงานประกาศรางวัล SET Awards 2022

อ่านเพิ่มเติม

ขั้นตอนปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพมีอะไรบ้าง

กิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2565

โรงพยาบาลพระรามเก้า จัดกิจกรรมถวายราชสักการะ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี 2565


เครดิต : สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

ขั้นตอนปฏิบัติในการช่วยฟื้นคืนชีพมีอะไรบ้าง

การกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ แนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย
1. การประเมินผู้ป่วยว่ายังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่ โดยการเรียกผู้บาดเจ็บ หรือการเขย่าผู้บาดเจ็บเบาๆ หากไม่มีสติ คลำหาชีพจรไม่พบ ควรเรียกขอความช่วยเหลือหรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินจากหน่วยงานต่าง ๆ ทันที โดยสามารถโทร 1669
2. การกดหน้าอกอย่างถูกต้องและทันท่วงที(CPR)สำหรับอาการของผู้บาดเจ็บที่ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนด้วยการทำ CPR สามารถสังเกตได้ดังนี้
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว (Unconsciousness)
  • ไม่หายใจ (No Breathing)
  • หัวใจหยุดเต้น (No Pulse)
  • 3. การทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ (AED) ภายใน 3-5 นาที
    4. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
    5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ

    แนวทางการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญ โดยแต่เดิมมีคำแนะนำให้ทำตามลำดับ A-B-C (Airway-Breathing-Circulation) แต่ปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงลำดับขั้นตอนเป็น C-A-B (Chest compression-Airway-Breathing) เนื่องจากการกดหน้าอกก่อนจะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญ เช่น หัวใจและสมอง
    C : Chest compression คือการกดหน้าอก ปั๊มหัวใจช่วยให้ผู้บาดเจ็บมีการไหลเวียนของเลือดในร่างกายอีกครั้งหนึ่ง
    ให้ผู้บาดเจ็บนอนราบกับพื้นแข็ง ๆ กดหน้าอกโดยจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ด้านข้างของผู้ป่วย วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางอีกข้างทับประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียดตรง โดยให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกผู้ป่วยและเริ่มกดหน้าอกผู้ป่วย โดยกดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว ความเร็วอย่างน้อย 100ครั้งต่อนาที ควรกดให้มีน้ำหนักเท่าๆกันในการกดแต่ละครั้ง
    A : Airway หมายถึง การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพราะโดยมากผู้บาดเจ็บที่หมดสติจะมีภาวะโคนลิ้นและกล่องเสียงตกลงไปอุดทางเดินหายใจส่วนบน

  • หากผู้ป่วยไม่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ จะใช้วิธีการแหงนหน้าและเชยคาง
  • หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธีการวางมือสองข้างบริเวณด้านข้างของศีรษะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนของศีรษะ
  • หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังบริเวณคอให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธียกขากรรไกร คือ ดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปด้านบน โดยผู้ช่วยเหลือจะอยู่เหนือศีรษะของผู้ป่วย
  • B : Breathing หมายถึง การช่วยหายใจ ด้วยการรักษาระดับออกซิเจนให้เพียงพอและขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการใช้มือข้างหนึ่งปิดจมูกผู้ป่วย มืออีกข้างเชยคางผู้ป่วย แล้วทำการเบาลม โดยเบาลมยาวอย่างน้อย 1 วินาที โดยให้สังเกตุที่อกผู้ป่วยขยายแสดงว่ามีลมเข้า
    ***ทั้งนี้ในการช่วยหายใจได้กำหนดข้อปฏิบัติให้เริ่มจากการกดหน้าอก(C)ไปก่อน 30 ครั้ง แล้วจึงสลับกับการช่วยหายใจ (B)2 ครั้ง ตามสูตร 30:2

    ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

    การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ 1. A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ดูรายละเอียด >>> 2. B - Breathing : การช่วยให้หายใจ ดูรายละเอียด >>> 3. C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง ดูรายละเอียด >>>

    หลักการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 5 ขั้นตอนอะไรบ้าง

    กู้ชีพ กู้ภัย บรรเทาสาธารภัย.
    เรียกคนช่วยอย่างรวดเร็ว และรีบแจ้งสายด่วน1669..
    ให้เริ่มปฏิบัติการช่วยชีวิตในทันที โดยการทำCPR..
    เมื่อมีข้อบ่งชี้ให้การกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจให้รวดเร็วที่สุด.
    ปฏิบัติการช่วยชีวิตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากหน่วยกู้ชีพขั้นสูง.
    ให้การดูแลหลังจากCPRอย่างใกล้ชิดในโรงพยาบาล.

    การช่วยฟื้นคืนชีพจะสามารถกระทำได้ในเหตุการณ์ใดบ้าง

    เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ

    ข้อใด เป็นขั้นตอนแรกในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

    8 ขั้นตอน ฟื้นคืนชีพเด็กจมน้ำ (CPR).
    ขั้นที่ 1 เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่ ... .
    ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ ... .
    ขั้นที่ 3 การกดหน้าอก 30 ครั้ง ... .
    ขั้นที่ 4 เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ... .
    ขั้นที่ 5 การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก ... .
    ขั้นที่ 6 ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED).