หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการคือ กิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้คุณค่าทางด้านจิตใจเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของลักษณะของกิจกรรมนันทนาการเท่านั้น และจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมนันทนาการนั้นจะคำนึงถึงเรื่องสำคัญคือ ความต้องการหรือความประสงค์ของกลุ่มบุคคลหรือสมาชิก เพื่อพัฒนาบุคลิกลักษณะบุคคลด้านต่าง ๆ 

นันทนาการ

เขียนโดย Green Recreation ,

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง
หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง
หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

นันทนาการ ( Recreation ) หมายถึง กิจกรรมที่คนเราใช้เวลาว่างจากภารกิจงานประจำโดยเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ทำในยามว่าง และ ต้องไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและกฎหมายบ้านเมือง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากความตึงเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจ หรือก่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การเล่น พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด ซึ่งการการมีเล่นช่วยพัฒนาและเป็นการฝึกทักษะต่าง ๆ เช่นทักษะการเคลื่อนไหว สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาว่างหรือ วันหยุด สุดสัปดาห์ ซึ่งโดยทั่วไปของกิจกรรมนันทนาการสำหรับมนุษย์ สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้คือ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การท่องเที่ยว การเล่นกีฬาเป็นต้น



หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง
หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง


นันทนาการ เป็นคำมาจากคำเดิมว่า "สันทนาการ" ซึ่งพระยาอนุมานราชธน หรือเสถียรโกเศศได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ.2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Recreation" มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของนันทนาการไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

นันทนาการ หมายถึง กิจกรรม (Activities) ต่างๆ ที่บุคคลเข้าร่วมในช่วงเวลาว่าง โดยไม่มีการบังคับหรือเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ มีผลก่อให้เกิดการพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนานหรือความสุขสงบ และกิจกรรมนั้นๆ จะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปหัตกรรม การอ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้าจังหวะ และนันทนาการกลางแจ้งนอกเมือง

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง
หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง


ประโยชน์ของนันทนาการ
1. ต่อครอบครัว : กิจกรรมนันทนาการ เป็นสื่อสำคัญที่จะช่วยสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความอบอุ่น และสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้สมาชิก
2. ต่อชุมชน : นันทนาการจะช่วยพัฒนาชุมชน คือ ช่วยสร้างคนให้เป็นสมาชิกที่ดี มีเหตุผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักการเสียสละ
3. ต่อประชากรในสังคม : กิจกรรมนันทนาการจะเป็นสื่อและส่งเสริมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. ต่อประเทศชาติ : กิจกรรมนันทนาการ จะช่วยให้ ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดปัญหาอาชญากรรม ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุข

ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ
1. นันทนาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ตั้งแต่เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี ละคร กิจกรรมกลางแจ้งนอกเมือง งานอดิเรก โยคะ สมาธิ
2. นันทนาการมีรูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จำกัด
3. นันทนาการจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและมีแรงจูงใจ
4. นันทนาการเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่จำกัด บุคคลมีอิสระที่เข้าร่วม
5. นันทนาการจะต้องมีจุดมุ่งหมาย เป็นการ พัฒนาอารมณ์สุข
6. นันทนาการเป็นการบำบัดรักษา ช่วยฟื้นฟู และรักษาคนไข้
7. นันทนาการเป็นกิจกรรมที่สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม สภาพแวดล้อม ความต้องการและสนใจของชุมชน ตลอดจนอุปกรณ์ และสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก
8 นันทนาการจะต้องเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม กิจกรรมนันทนาการของสังคม หรือ ชุมชนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกชุมชนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะความสนใจ ต้องการค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี สภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นขอบข่ายวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการจะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ๆ

.....................................................................






















หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง
หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

                  กิจกรรมนันทนาการ เป็นกิจกรรมที่บุคคลทำในเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ และไม่ผิดกฏหมาย แล้วทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสบายใจ

๑ ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ    กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท ได้แก่
                 ๑)กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น
                 ๒)งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น
                 ๓) เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น
                 ๔)กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล
                 ๕) การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น
                 ๖) งานศิลปหัตถกรรม เช่น เขียนภาพระบายสี แกะสลักผัก การปั้น
                 ๗) การอ่าน เขียน พูด เช่น เล่านิทาน อ่านหนังสือ เขียนบันทึก เป็นต้น
                 ๘) งานสังคม เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร ผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น

๒ การเลือกกิจกรรมนันทนาการ
                 กินกรรมนันทนาการมีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงควรมีหลักในการเลือกให้เหมาะสมกับวัย เพศ โอกาส ความรู้ ความสามารถ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้
                 ๑) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศและวัย เช่น การเย็บปักถักร้อยเหมาะกับผู้หญิง กีฬาชกมวยเหมาะกับผู้ชาย หมากเก็บเหมาะกับเด็ก ๆ เป็นต้น
                 ๒) ความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะจะทำให้เกิดความสนุกสนานขณะปฎิบัติ เช่น ถ้ามีความสามารถในการพูด อาจเลือกเล่านิทานหรือโต้วาทีร่วมกับเพื่อน เป็นต้น
                 ๓) สภาพร่างกายการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมจะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตดี เช่น ผู้ที่ป่วยไม่ควรเลือกการเล่นกีฬากลางแจ้ง
                 ๔) โอกาสและสถานที่ เช่น การเล่นกีฬาควรเล่นในสนามหรือโรงยิมเนเซียม การเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลไม่ควรไปในฤดูฝน เป็นต้น
                 ๕) สังคม ขนมธรรมเนียม ประเพณี เช่น ไม่ควรเลี้ยงสุกรในชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก เป็นต้น
                 ๖) งานอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานที่ไม่ได้ใช้แรงกายมาก ควรเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง ได้แก่ การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เป็นต้น
                 ๗) ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวกิจกรรมบางชนิดใช้ค่าใช้จ่ายสูง เช่น กีฬากอล์ฟ เล่นเปียโน การสะสมของที่มีราคาแพง ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ที่ยากจนดังนั้นจึงควรเลือกให้สอดคล้องกับฐานะ
                 ๘) ประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และส่วนรวม กิจกรรมที่เลือกควรมีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม เช่น การขุดลอกคูคลอง

๓ ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ
                 ๑) ช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๒) ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพจิตดี และผ่อนคลายความเครียด
                 ๓) ช่วยให้เกิดความสนุกสนามเพลิดเพลิน และมีความสุข
                 ๔) ช่วยสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดในครอบครัว ชุมชน และสังคม
                 ๕) ช่วยลดปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติดเพราะกิจกรรมนันทนาการช่วยส่งเสริมให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                 ๖) ช่วยในการบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ
                 ๗) ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชองชุมชนและของประเทศ

หลักการเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

การเลือกกิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

กิจกรรมกีฬา เช่น ฟุตบอล แชร์บอล บาสเกตบอล เป็นต้น.
งานอดิเรก เช่น การปลูกไม้ดอก การเลี้ยงสัตว์ สะสมแสตมป์ เป็นต้น.
เกมการเล่น เช่น วิ่งสามขา ปาเป้า ขี่ม้าส่งเมือง เป็นต้น.
กิจกรรมนอกเมือง เช่น การอยู่ค่ายพักแรม การเดินทางไกล.
การเล่นดนตรี ละคร ฟ้อนรำ เช่น ร้องเพลง เล่นโขน เป็นต้น.

แหล่งนันทนาการมีอะไรบ้าง

สถานที่ที่่ใช้นันทนาการ สามารถมีหลายสถานที่เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัด โรงมหรสพ ศูนย์การค้า เป็นต้น สถานที่ดังกล่าว เป็นแหล่งความรู้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และช่วยในการสร้างงานในท้องถิ่น

กิจกรรมนันทนาการแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

กิจกรรมนันทนาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภท เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ สร้างความสนุกสนาน บางกิจกรรมอาจจะมีทั้งการร้องเพลงและเต้น ไปพร้อม ๆ กัน เช่น เต้นบัลเล่ต์ Hip Hop B-Boy รำาไทย ลีลาศ ระบำาพื้นเมือง โมเดิร์นแด๊นซ์ และนาฏศิลป์อื่น ๆ

การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ทั้งหมดกี่ด้าน

พีระพงษ์ บุญศิริ (2542, หน้า 30) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของนันทนาการไว้ ดังนี้ 1. ให้ความสนุกสนาน พบกับความสุขในชีวิตและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตแจ่มใส 3. ช่วยป้องกันและลดปัญหาอาชญากรรมและความประพฤติเกเรของเด็ก กําจัด ความไม่สงบสุขของสังคม 4. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี รู้จักบํารุงสุขภาพ มี ...