ปัญหาทางด้านการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาต้องเผชิญคือข้อใด

29 ธ.ค. 2564 สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่าปี 2564 เป็นปีที่กระแสการรัฐประหารกลับมาอีกครั้งในทวีปแอฟริกา โดยเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศชาด, มาลี, กินี และซูดาน เทียบกับปี 2563 ที่มีกรณีการรัฐประหารเกิดขึ้นเพียงกรณีเดียวเท่านั้น ด้านนักวิเคราะห์มองว่าปัจจัยภายใน เช่น การทุจริต และการบริหารงานของรัฐบาลสร้างปัญหา เช่นเดียวกับปัจจัยภายนอกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโลกตะวัน รวมถึงจีน และรัสเซีย จนเกิดสภาพคล้ายยุคสงครามเย็น

พันเอกมามาดี ดุมบูยา (Mamady Doumbouya) ใช้ธงชาติกินีคลุมตัวและมีทหารคอยห้อมล้อมในช่วงที่เขาออกโทรทัศน์ช่องรัฐบาลซึ่งเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเขาก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2564 ดุมบูยาใช้โวหารอ้างว่ากินีเป็นประเทศที่สวยงาม บอกว่าเขาไม่ได้มาเพื่อที่จะ "ข่มขืน" ประเทศตัวเอง แต่จะมาเพื่อ "ทำรัก" กับประเทศตัวเอง

ปัญหาทางด้านการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกาต้องเผชิญคือข้อใด

พันเอกมามาดี ดุมบูยา ประธานาธิบดีกินี ผู้มาจากการรัฐประหาร มักปรากฎตัวต่อหน้าสื่อด้วยการใช้ธงชาติคลุมตัว และมีทหารอารักรายล้อม ซึ่งเป็นภาพลักษณะเดียวกับตอนที่เขาประกาศทำรัฐประหารผ่านโทรทัศน์ (ภาพจากวิกิพีเดีย)

การใช้โวหารเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่หน่วยกองกำลังพิเศษของดุมบูยาบุกทำเนียบประธานาธิบดีเพื่อยึดอำนาจและจับกุมตัวอัลฟา กงเด (Alpha Condé) ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย ถือเป็นการทำลายความหวังที่ว่ากงเดจะมาเป็นความหวังใหม่สำหรับกินีที่ทำให้ประเทศผ่านพ้นจากการปกครองแบบอำนาจนิยม

หลังจากกรณีการรัฐประหารในกินีเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2564 ก็มีเหตุการณ์รัฐประหารเกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศซูดาน ในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา กองทัพซูดานยึดอำนาจและจับกุมรัฐบาลพลเรือนซึ่งนำโดยโอมาร์ อัล-บาเชียร์ ประธานาธิบดีซูดาน (Omar al-Bashir) โดย 1 เดือนก่อนการทำรัฐประหาร อับดุลลา ฮัมดุก (Abdalla Hamdok) นายกรัฐมนตรีซูดานประกาศว่าพวกเขายับยั้งการทำรัฐประหารได้ และกล่าวหาว่าฝ่ายที่พยายามก่อรัฐประหาร คือกลุ่มผู้ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีอัล-บาเชียร์

ย้อนกลับไปเมื่อเดือน พ.ค. 2564 ที่ประเทศมาลีก็เกิดเหตุรัฐประหารขึ้น ซึ่งถือเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ในรอบ 10 เดือน และเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้ากรณีนี้ ที่ประเทศชาดก็เกิดการรัฐประหารเช่นเดียวกัน โดยกองทัพชาดซึ่งนำโดยนายพลมหามัต อีดรีส เดบี (Mahamat Idriss Deby) ได้ก่อการยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญ พร้อมสั่งยุบสภาทันที หลังจากที่อีดริส เดบี อิตโน บิดาของเขาซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ในขณะนั้นเสียชีวิตในสนามรบ โดยบิดาของนายพลเดบี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาตั้งแต่ พ.ศ.2533

ในช่วงกลางยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา กองทัพในทวีปแอฟริกามักก่อการรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมือง หลังจากที่ประเทศเหล่านั้นได้รับเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคม งานวิจัยชิ้นหนึ่งโดยเคลย์ตัน ไทน์ (Clayton Thyne) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเคนทักกี และโจนาธาน โพเวลล์ (Jonathan Powell) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา ระบุว่าช่วงระหว่าง พ.ศ.2503-2543 มีการก่อรัฐประหารและการพยายามก่อรัฐประหารเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 4 ครั้งทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หลังเกิดการเรียกร้องให้ปฏิรูปประชาธิปไตยและเกิดการแพร่กระจายของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมมากขึ้นในศตวรรษใหม่ พบว่าการรัฐประหารลดลงเหลือปีละ 2 ครั้งโดยเฉลี่ย จนกระทั่งถึงปี 2562

อย่างไรก็ตามในปี 2564 ที่การรัฐประหารในประเทศต่างๆ ดูเหมือนจะกลับมาจนทำให้อันโตนิอู กุแตเรช (Antonio Guterres) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) บอกว่าเป็นปรากฏการณ์ปีนี้นับเป็น "การระบาดของรัฐประหาร"

นักวิเคราะห์มองว่ากระแสการเมืองที่มีลักษณะถูกครอบงำจากการทหารมากขึ้นเป็นเพราะปัจจัยทั้งทางภายนอกและภายใน ปัจจัยภายนอกคือการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้กระทำการระดับข้ามชาติในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ปัจจัยภายในคือความไม่พอใจของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นต่อรัฐบาลในเรื่องการทุจริต การขาดความมั่นคง และการบริหารจัดการที่ไม่ดี

เรื่องนี้ทำให้นักวิเคราะห์อย่างโพเวลล์ และไรอัน คัมมิงส์ (Ryan Cummings) ผู้อำนวยการบริษัทให้คำปรึกษา ซิกนัล ริสก์ (Signal Risk) เห็นพ่อต้องกันว่าการทำให้กองทัพสร้างภาพและอ้างตนเป็น "ผู้กอบกู้" ขึ้นมาได้ เพราะอาศัยความไม่พอใจของประชาชนเป็นข้ออ้างความชอบธรรม เพื่อยึดอำนาจอย่างผิดหลักการรัฐธรรมนูญ ดังที่เกิดขึ้นในกรณีการโค่นล้มผู้นำอดีตประธานาธิบดีกงเดของกินี เพราะกงเดพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัวเองมีวาระการดำรงตำแหน่งยาวนานขึ้นและพยายามแก้ไขกระบวนการเลือกตั้ง

ส่วนกรณีของประเทศมาลีนั้น การรัฐประหาร 2 ครั้งซ้อนเกิดขึ้นจากการที่มีผู้คนทั่วประเทศประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี อิบราฮิม บูบาการ์ คีตา (Ibrahim Boubacar Keita) โดยกองทัพกล่าวหาว่ารัฐบาลของประธนาธิบดีคีตาทุจริต เล่นพรรคเล่นพวก และไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตความมั่นคงของประเทศที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ได้

กองทัพมาลีและซูดานต่างก็ใช้ยุทธวิธียึดอำนาจแบบเดียวกัน พันเอกอัสซิมี โกอิตา (Assimi Goita) หัวหน้าคณะรัฐประหารของประเทศมาลี เห็นชอบให้จัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านในรูปแบบรัฐบาลผสมระหว่างกองทัพและพลเรือน หลังจากก่อรัฐประหารในเดือน ส.ค. 2563 และให้สัญญาว่าจะถ่ายโอนอำนาจให้กับพลเรือนเมื่อสิ้นสุดการเปลี่ยนผ่าน

แต่ในเดือน พ.ค. 2564 นายพลโกอิตากลับสั่งจำคุกและถอดถอนประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีฝ่ายพลเรือนออกจากตำแหน่งในสภาถ่ายโอนอำนาจ ก่อนหน้านี้ เขามีคำสั่งโยกย้ายคณะรัฐมนตรี โดยแต่งตั้งสมาชิกจากกองทัพมาแทนที่นักการเมืองพลเรือน ขณะเดียวกันสัญญาของกองทัพที่อ้างว่าจะจัดการเลือกตั้งภายในเดือน ก.พ. ที่จะถึงนี้ก็ดูเหมือนจะไม่มีโอกาสเป็นจริง

ส่วนที่ซูดานนั้น นายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูรฮาน (Abdel Fattah al-Burhan) ก่อรัฐประหารในวันที่ 25 ต.ค. 2564 และคุมขังนายกรัฐมนตรีฮัมดุก ต่อมา มีการประท้วงต่อต้านการรัฐประหารในครั้งนี้และชาติตะวันตกได้ร่วมกันประณาม ทำให้กองทัพซูดานพวกเขาต้องนำตัวฮัมดุกกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยที่กองทัพซูดานยังคงเป็นผู้เล่นหลักในการเมืองที่เปราะบางของประเทศ

องค์กรในภูมิภาคอย่าง สหภาพแอฟริกา (AU) และประชาคมเศรษฐกิจของรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ได้ร่วมกดดันประเทศที่มีการรัฐประหาร ยกเว้นประเทศชาด เพื่อบีบให้ผู้นำกองทัพเจรจากับผู้นำฝ่ายพลเรือน แต่วิธีการกดดันของ AU และ ECOWAS ก็ส่งผลได้จำกัด

ศาสตราจารย์คัมมิงส์บอกว่สถาบันการเมืองในทวีปแอฟริกาและโลกตะวันตกโต้ตอบการยึดอำนาจที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้ "ค่อนข้างไร้เขี้ยวเล็บ" พวกเขามักเน้นเรื่องการเจรจาหารือแต่ไม่มีมาตรการลงโทษใดๆ ต่อการล่วงล้ำระบบการปกครองประเทศ เรื่องนี้ทำให้การตรึงความเข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตยในทวีปแอฟริกาเกิดเป็นรูปธรรมได้ยาก และเปิดทางให้กองทัพฉวยโอกาสต่อการขาดประชาธิปไตย

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์โพเวลล์เองก็มองว่าการขาดการประณามร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมจากนานาชาติและการที่มีตัวกระทำจากชาติอื่น เช่น จีน หรือรัสเซีย ที่พร้อมจะร่วมมือกับรัฐบาลทหาร ทำให้เกิดการส่งเสริมกองทัพในแอฟริกาก่อการรัฐประหารได้ง่ายขึ้น เพราะพวกเขารู้ว่าจะไม่ต้องเผชิญกับผลกระทบที่รุนแรงหรือเผชิญกับการถูกโดดเดี่ยวทางภูมิภาคหรือในระดับโลก

สำหรับประเทศจีน ทวีปแอฟริกาถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จีนมีนโยบายแบบไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศในทวีปแอฟริกา ตราบใดที่ประเทศเหล่านี้ยังคงดำรงไว้ซึ่งพันธะด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวกับจีน ซึ่งผู้นำประเทศในทวีปแอฟริกาจำนวนมากมองว่าเป็นเรื่องดี และหลงไปกับเรื่องราวความสำเร็จทางเศรษฐกิจในเวทีโลกของจีน จนทำให้ประเทศในทวีปแอฟริกาเหล่านี้เริ่มเชื่อว่าพวกเขาควรจะออกจากแนวทางแบบธรรมาภิบาลและการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบของโลกตะวันตก

ขณะเดียวกัน รัสเซียได้แผ่ขยายอำนาจอิทธิพลทางการเมืองและทางการทหารไปทั่วทวีปแอฟริกาด้วยการส่งเสริมผู้นำที่มาจากการยึดอำนาจโดยผิดกฎหมายอย่างพันเอกโกอิตาในประเทศมาลี และนายพลอัล-บูรฮานในประเทศซูดาน รวมถึงมีปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารสร้างข้อมูลลวงเพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์เชิงบวกของรัฐบาลรัสเซียไปพร้อมๆ กับการฉวยโอกาสสร้างอิทธิพลในช่วงที่มีความไม่พอใจฝรั่งเศสมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มประเทศแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศส

นอกจากนี้ กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย อย่างแวกเนอร์กรุ๊ป ก็ส่งทหารรับจ้างเข้าไปในประเทศที่มีความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็น สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, มาลี และลิเบีย แม้ว่ารัฐบาลรัสเซียจะปฏิเสธว่าพวกเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับบริษัทเอกชนด้านความมั่นคงรายนี้ก็ตาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โพเวลล์บอกว่ารัสเซียและจีนให้ความสำคัญเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาก่อน โดยไม่ได้สนใจเรื่องประชาธิปไตย การที่รัสเซียและจีนเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลของพวกเขามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สภาพการณ์คล้ายกับยุคสงครามเย็น กล่าวคือ ในยุคสมัยนั้น แม้ว่ากลุ่มนักวางแผนก่อรัฐประหารในแอฟริกาจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกอีกต่อไปแต่นั่นก็ไม่ได้ส่งผลสะเทือนอะไรต่อพวกเขา เพราะพวกเขาสามารถพึ่งพาการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว

แต่อิทธิพลที่ว่านี้ก็ไม่ได้มีแค่จากรัสเซียหรือจีน ในการรัฐประหารอียิปต์เมื่อปี 2556 กลุ่มประเทศตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯ ปฏิเสธว่าพวกเขาไม่ได้เรียกร้องให้มีการรัฐประหารในอียิปต์ แต่ก็ยอมรับรัฐบาลทหารของอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี (Abdel Fattah el-Sisi) ซึ่งรัฐบาลทหารของเขาได้รับความชื่นชมจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน ด้วยเช่นกัน

อีกกรณีหนึ่งคือการรัฐประหารที่ประเทศซิมบับเวในปี 2560 ที่ทำให้การปกครองอันยาวนาน 40 ปี ของโรเบิร์ต มูกาบี (Robert Mugabe) สิ้นสุดลง เขาถูกกองทัพบีบบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศยุโรปต่างยินดีที่มูกาบีออกจากตำแหน่ง แต่ก็ละเลยว่าเขาถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งด้วยอำนาจปลายกระบอกปืน

ขณะเดียกัน ฝรั่งเศสที่มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศแอฟริกาก็เน้นเรื่องการทหารและความมั่นคงอย่างมาก ทำให้พวกเขาใช้ยุทธศาสตร์แบบสนับสนุนผู้นำอำนาจนิยมเน้นตัวบุคคลหรือกลุ่มคนที่เรียกว่า "สตรองแมน" ในแบบดั้งเดิ

เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบัน สนับสนุนการรัฐประหารในประเทศชาดและเคยเรียกประธานาธิบดีอีดริส เดบี ที่เคยครองอำนาจอย่างกดขี่มาเป็นเวลา 30 ปีว่าเป็น "เพื่อนที่ภักดีและกล้าหาญ"

อีดายัต ฮัสซาน (Idayat Hassan) ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนาที่มีสำนักงานในกรุงอาบูจา เมืองหลวงของไนจีเรีย กล่าวว่า ถึงแม้จะมีบางส่วนที่แสดงความยินดีที่ผู้นำอื้อฉาวของพวกเขาออกจากตำแหน่งไป แต่การรัฐประหารก็ไม่ใช่ข่าวดี ฮัสซานบอกว่าการที่ฝ่ายประชาธิปไตยในทวีปแอฟริกาไม่สามารถทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อสาธารณะและให้ความมั่นคงต่อผู้คนได้ ทำให้ประชาชนหันไปฝากความหวังไว้กับการรัฐประหาร ถึงแม้ว่าผู้นำการรัฐประหารจะไม่ได้ทำให้ประชาชนเหล่านั้นสมหวังก็ตาม

ศาสตราจารย์คัมมิงส์เองก็กล่าวว่ามีกลุ่มผู้สนับสนุนคณะรัฐประหารในทวีปแอฟริกาบางส่วนที่หวังว่ากองทัพจะใช้อำนาจที่ตัวเองมีเพื่อวางรากฐานและยกเครื่องประชาธิปไตยในประเทศอำนาจนิยม แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้เกิดอะไรแบบที่พวกเขาหวัง

เรียบเรียงจาก:

  • 2021, the year military coups returned to the stage in Africa, Aljazeera, 28-12-2021

ปัญหาทางด้านการเมืองต่างๆในแอฟริกาต้องเผชิญคือข้อใด

เผด็จการ vs ประชาธิปไตย ไม่เพียงแค่ซิมบับเวเท่านั้น แต่หลายประเทศในแอฟริกาก็ต้องเผชิญกับรัฐประหารบ่อยครั้ง ในหลายประเทศ ทหารมีบทบาทสูงมากในการกำกับ ควบคุม ดูแลทั้งการเมืองและชีวิตของประชาชน

ปัญหาสําคัญของทวีปแอฟริกาในปัจจุบันคือปัญหาใด

ในแต่ละปี แอฟริกาประสบปัญหาภัย แล้งจากภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์ เรือนกระจก ทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อ การเกษตร จึงส่งผลต่อการขาดแคลน อาหารสำหรับประชากรด้วย พ.ศ. 2558 ปรากฏการณ์ เอลนีลโญ่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะ แห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดของภูมิภาคนี้ใน รอบ 35 ปีภัยแล้งได้กระทบต่อคนราว 41 ล้านคนในประเทศต่างๆ รวมทั้ง โมซัมบิก มา ดา ...

ปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกามีปัญหาอะไรบ้าง

ผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อนและการตัดไม้ทำลายป่าในทวีปแอฟริกา.
ภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ.
การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย.
ภาวะน้ำท่วมฉับพลัน.
หิมะละลาย.
ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ.

สาเหตุของความไม่มั่นคงทางการเมืองการปกครองของทวีปแอฟริกาภายหลังจากการได้รับเอกราชเกิดจากอะไร

1.การขาดความชำนาญทางด้านการปกครอง เพราะเคยถูกชาวยุโรปปกครองมาโดยตลอด เมื่อได้รับเอกราชจึงขาดบุคลากรที่มีความชำนาญทางด้านนี้ 2.ด้านความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ สังคม และวัฒนธรรม เพราะแอฟริกาประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ มากมายทำให้ยากแก่การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน