กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์คืออะไร

กิจกรรมหลักของคลังสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม คือ การรับสินค้า, เก็บสินค้า, การจ่ายสินค้า, ถ่ายโอนข้อมูล

รับสินค้าค้าเข้าคลังสินค้า

การรับสินค้าเป็นการนำสินค้าเข้า เพื่อที่จะทำการจัดเก็บ โดยระบบของการรับสินค้าจะมีการตรวจสอบสินค้าได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น จำนวน ขนาด น้ำหนัก ราคา ตลอดจนไปถึงช่วยคำนวณ ยอดสินค้าที่ยังคงค้างอยู่ในสต๊อกเพื่อที่จะสามารถจัดสรร พื้นที่ที่จะนำสินค้าในล็อตใหม่เข้าไปเก็บ

จัดเก็บสินค้า

การขนย้ายสินค้าจากพื้นที่รับสินค้าเข้าไปยังตำแหน่งเก็บที่ได้ไว้กำหนดไว้ล่วงหน้า และจัดวางสินค้านั้นไว้อย่างเป็นระเบียบ

การถ่ายโอนข้อมูล

บันทึกข้อมูล การจัดวางสินค้าอยู่ที่จุดรับแล้ว สินค้าอยู่ถูกตำแหน่ง ทั้งจำนวน และชนิดของสินค้าที่จะได้รับเข้ามานั้นว่าถูกต้องตรงตามเอกสารการส่งหรือไม่




เก็บรักษาสินค้า

การเก็บรักษาสินค้า จะต้องเอามาตรการต่างๆของการดูแลรักษามาใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าที่เก็บรักษาอยู่ในคลังสินค้าเกิดความเสียหายสูญหายหรือเสื่อมคุณภาพ อันเป็นภาระรับผิดชอบที่สำคัญของผู้เก็บรักษา สินค้านี้ต้องได้รับการป้องกันจากการถูกขโมย ป้องกันจากสภาพอากาศ




หยิบสินค้า

หยิบสินค้าที่กำหนดไว้ตามคำสั่งซื้อ สินค้าอาจอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ หลังจากหยิบแล้วจะนำกลับมาที่จุดรับของหรือจุดส่งของ ตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนด

ส่งสินค้า

ตรวจสอบคำสั่งซื้อที่จะส่งไป การปรับปรุงรายงานสินค้าคงคลัง การแยกประเภทสินค้า และการจัดบรรจุภัณฑ์ตามคำสั่งซื้อ ซึ่งสินค้าจะถูกจัดเก็บในกล่อง หีบห่อ พาเลทหรือตู้คอนเทนเนอร์ และมีการติดสลาก ระบบบาร์โค้ด การบันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมส่งสินค้าออกจากคลัง



ทำทุกครั้งเมื่อสินค้ามีการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและผู้รับผิดชอบ ทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้า แสดงข้อมูลยอดสินค้าคงเหลือ

                    วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์และหีบห่อตามหลักการตลาดมีไว้เพื่อเป็นการบ่งบอกรายละเอียดของสินค้าและสร้างการรับรู้ในตัวสินค้า แต่ในด้านโลจิสติกส์ บรรจุภณั ฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อปอ้ งกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อนั้นต้องมีความเหมาะสมกับอุปกรณ์การขนย้ายและคลังสินค้า เพื่อช่วยในการลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ

กิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ (Logistic Activities) ประกอบด้วย 13 กิจกรรมได้แก่ 1. การบริการลูกค้า ( Customer Service )...

Posted by สมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย on Thursday, June 18, 2020

กิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ มีทั้งหมด 13 กิจกรรมด้วยกันโดยสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์การและกลุ่มที่เป็นกิจกรรมสนับสนุนการทำงานขององค์การกิจกรรมซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักขององค์การประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 8 กิจกรรม ส่วนที่เหลืออีก 5 กิจกรรม ถือเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์การ มีซึ่งรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • การบริการลูกค้า (Customer Service)
    เป็นกิจกรรมที่องค์การพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำได้ดีเพียงใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกิจกรรมโลจิสติกส์อื่นๆ ที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลาและครบตามจำนวน
  • การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Order Processing)
    เป็นกิจกรรมที่จะต้องพยายามดำเนินการให้รวดเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันองค์การส่วนใหญ่มักนำระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการธุรกิจเชิงอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
  • การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting)
    เป็นการคาดการณ์ความต้องการในตัวสินค้า หรือการบริการลูกค้าในอนาคต ซึ่งนับเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการที่จะสร้างผลกำไร หรือทำให้องค์การขาดทุนในการดำเนินการ การคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้า จะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงานว่าจะผลิตสินค้าจำนวนเท่าไร หรือเตรียมบุคลากรและอุปกรณ์มากน้อยเพียงใด หากการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าผิดพลาด ก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนและผลประกอบการขององค์การ จากการที่ไม่มีสินค้าให้ลูกค้า หรือในทางตรงกันข้ามอาจมีสินค้าในคลังสินค้ามากเกินไป
  • การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
    เป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ย่อมส่งผลต่อองค์การไม่ทางใดก็ทางหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเงินทุน องค์การที่มีระดับปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงย่อมสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี แต่ในขณะเดียวกันปริมาณสินค้าที่มาก ก็ส่งผลให้องค์การเกิดค่าเสียโอกาสด้านการนำเงินทุนไปหมุนเวียน เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า ดังนั้นองค์การจะต้องคำนึงถึงระดับของสินค้าคงคลังที่เหมาะสมที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อที่จะสามารถลดต้นทุนต่างๆ
  • กิจกรรมการขนส่ง (Transportation)
    ครอบคลุมถึงทุกกิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนย้ายตัวสินค้าจากจุดกำเนิดไปยังจุดที่มีการบริโภคให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะต้องจัดส่งสินค้าถูกต้องครบจำนวนในสภาพที่สมบูรณ์และตรงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าการขนส่งถือเป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีบทบาทชัดเจนที่สุด
  • การบริหารคลังสินค้า (Warehousing and Storage)
    เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคลังสินค้า อาทิ การจัดเก็บสินค้า การจัดการพื้นที่ในคลังสินค้า อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจกรรมภายในคลังสินค้า ซึ่งในปัจจุบันกิจกรรมการบริหารคลังสินค้านับเป็นกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย
  • กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์คืออะไร


  • Reverse Logistics
  • เป็นกระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่เสียหาย หมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
  • การจัดซื้อ (Purchasing)
    เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบและบริการทั้งในส่วนของการเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดช่วงเวลาและปริมาณในการสั่งซื้อและสร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ
  • การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Part and Service Support)
    นับเป็นความรับผิดชอบต่อสินค้าหลังการขาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการหลังการขายที่องค์การให้กับลูกค้า โดยการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแก่ลูกค้าในกรณีที่สินค้าเกิดความชำรุด ความรับผิดชอบต่อสินค้าหลังการขายเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต เกิดความรู้สึกที่ดีกับยี่ห้อสินค้า ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่ากิจกรรมนี้มีส่วนช่วยให้องค์การสามารถดำรงความสัมพันธภาพระยะยาวกับลูกค้าไว้ได้
  • การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehouse Site Selection)
    การเลือกที่ตั้งโรงงานของโรงงานและคลังสินค้าจะต้องให้ความสำคัญกับความใกล้-ไกลของแหล่งวัตถุดิบและลูกค้า เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและเกี่ยวข้องกับระยะทางการขนส่ง รวมถึงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วย
  • Material Handling
    เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและสินค้าคงคลังในระหว่างการผลิต รวมถึงการขนย้ายตัวสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วภายในโรงงาน หรือคลังสินค้า ซึ่ง วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการเพื่อ
    – ลดระยะทางการเคลื่อนย้ายให้ได้มากที่สุด
    – ลดจำนวน
    – แก้ไขกระบวนการที่เป็นคอขวดให้มีการไหลได้ดีขึ้น
    – ลดการขนถ่ายให้มากที่สุดเพื่อการประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว องค์การต้องการพยายามลดจำนวนการเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆ ให้มากที่สุด เนื่องจากทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆ ดังนั้น หากสามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านนี้ก็จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นลดลงด้วย
  • บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
    ในด้านการตลาดนั้น บรรจุภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงลักษณะภายนอกของสินค้า ซึ่งจะต้องสามารถดึงผู้บริโภคให้สนใจในตัวสินค้า แต่ทางด้านโลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์จะมีบทบาทสำคัญต่างออกไปจากด้านการตลาด โดยประการแรกบรรจุภัณฑ์จะเป็นสิ่งที่ปกป้องตัวผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดความเสียหายในขณะที่มีการเคลื่อนย้าย ประการที่สอง บรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยให้กระบวนการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น
  • การติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
    การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในองค์การ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์การ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการตัดสินใจต่างๆ สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสื่อสารที่ประสิทธิภาพขององค์การควรจะมีลักษณะดังนี้
    – มีการสื่อสารระหว่างองค์การ ผู้ผลิตวัตถุดิบและลูกค้า
    – มีการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์การโดยเฉพาะฝ่ายการบัญชี การตลาด ฝ่ายผลิต
    – มีการสื่อสารระหว่างกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้ง 13 กิจกรรม
    – มีการสื่อสารกันในหน่วยงานย่อย เช่น ฝ่ายขายกับฝ่ายบริการลูกค้าในฝ่ายการตลาด
    – มีการสื่อสารระหว่างสมาชิกในระบบโซ่อุปทานที่ไม่ได้มีการติดต่อกับองค์การโดยตรง เช่น ผู้ผลิตวัตถุดิบรายแรกสุดในโซ่อุปทาน

กิจกรรมหลักทางโลจิสติกส์ทั้ง 13 กิจกรรม อาจนำมาจัดเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต การตลาด และการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆการกระจายสินค้าและการจัดการสินค้าคงคลังและการจัดส่ง ซึ่งครอบคลุมองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์ทั้งหมด การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะนำองค์การไปสู่ความร่วมมือกันในการวางแผน การดำเนินการ การควบคุมสินค้าและการบริการ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์การที่ประสานสอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นทุนกิจกรรมหลักของกระบวนการทางโลจิสติกส์คือข้อใด

ต้นทุนโลจิสติกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ คือ ต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation Costs) ต้นทุนการถือครองสินค้า (Inventory Carrying Costs) ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehousing. Costs) และต้นทุนการบริหารจัดการ (Administration Costs) แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาและจัด

กิจกรรมการจัดการโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน อะไรบ้าง

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) คือ....
กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) ประกอบด้วย 1. การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ ... .
ความสำคัญของ “โลจิสติกส์” (logistics).
1. การผลิต ... .
2. การตลาด ... .
3. ต้นทุนและความพึงพอใจของลูกค้า.

กิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์แบบบูรณาการในปัจจุบันมีกี่กิจกรรม

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์แบบบูรณาการ (Logistics Activity of Integration) ประกอบด้วย13 กิจกรรมด้วยกันโดยสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์การและกลุ่มที่เป็นกิจกรรมสนับสนุนการทำงานขององค์การกิจกรรมซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักขององค์การประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 8 กิจกรรม ส่วนที่เหลืออีก 5 กิจกรรม ถือเป็น ...

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์มีความสำคัญอย่างไร

การจัดการโลจิสติกส์เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทุกองค์กรใช้เป็นแหล่งที่มาของความได้เปรียบใน การแข่งขัน โดยให้ความสำคัญกับต้นทุนการดำเนินการต่างๆ โดยพยายามหาวิธีลดต้นทุนให้ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาด เนื่องจากการเพิ่มราคาสินค้าเพื่อรักษาระดับรายได้ให้ เท่าเดิมนั้นเป็นไปได้อยากในสภาวะทางการแข่งขันทางการตลาดใน ...