การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีกี่ระดับ

สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์และความสมดุลของบุคคลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาวะที่ปราศจากโรคและความพิการ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างปกติสุข

การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) 

  ตามความหมายขององค์กรอนามัยโลกหมายถึงกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพที่ดี

การป้องกันโรค (Disease prevention)

  หมายถึงการกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้ว

การควบคุมและป้องกันโรค ได้มีการพัฒนามาโดยต่อเนื่องการค้นคว้า ศึกษา และวิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และภาวะสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาการควบคุมและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถกำจัดและกวาดล้างโรคติดต่อที่ร้ายแรงบางโรคให้หมดไปได้

สามารถแบ่งการควบคุมและป้องกันโรคออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 การป้องกันโรคล่วงหน้า

การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิด เป็นวิธีการที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การปรับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือการปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองร่วมกัน เพื่อให้โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ เพื่อป้องกัน ไม่ให้มีพาหะและสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น สาเหตุทำให้เกิดโรค
ระดับที่ 2 การป้องกันในระยะมีโรคเกิดขึ้นแล้ว

คือการป้องกันโรคล่วงหน้าระดับที่ 2 ในกรณีที่การดำเนินงานระดับที่ 1 ยังไม่ได้ผล ทำให้มีโรคเกิดขึ้น ดังนั้น การป้องกันโรคในระยะมีโรคเกิด คือการระงับกระบวนการดำเนินของโรค การป้องกันการแพร่เชื้อและระบาดของโรคไปยังบุคคลอื่นในชุมชน และการลดการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนให้น้อยลงและหายไปให้เร็วที่สุด
ระดับที่ 3 การป้องกันภายหลังจากการเกิดโรค

คือ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการให้หายโดยเร็ว เพื่อลดผลเสียและโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการเกิดโรค รวมทั้งการติดตามสังเกตและให้การป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ การป้องกันในระดับนี้จะรวมถึงการบำบัดความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายด้วย

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีกี่ระดับ

แนวร่วมของคนในชุมชนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

การทำงานร่วมกันหรือความร่วมมือของกลุ่มคนสามารถทำให้เกิดสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นและง่ายขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่า “การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินให้เกิดเป็นชุมชนที่สุขภาพดี”

กลวิธีในการสร้างแนวร่วมให้เกิดในชุมชนนั้น ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนของชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุดของกระบวนการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ดังนี้

1.การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน เช่น ร่วมกันค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ร่วมกันเสนอและความต้องการทางด้านสุขภาพของชุมชน

2.การมีส่วนร่วมในการวางแผน สมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ วางแผนการแก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกโดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ช่วยกัน

3.การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกในชุมชนต้องร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนของโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้

4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น ร่วมกันตรวจสอบผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพของชุมชน ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน

5.การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาชิกในชุมชนนำผลการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่เสมอ

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีกี่ระดับ
                การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
                การส่งเสริมสุขภาพหรือการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการที่มีลักษณะดังนี้
1. เน้นกิจกรรมพลายลักษณะที่มุงสร้างสมรรถนะของการสร้างสุขภาพดีควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเป็นกระบวนการที่มุ่งดำเนินการกันทั้งบุคคลและสังคม
2. เน้นกระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง หลักการส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่ายึดติดกับความสะดวกสบายมากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอและฝึกการปฏิบัติทางจิตเพื่อลดความตึงเครียด เป็นต้น
     วิธีการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองสามรถปฏิบัติได้ดังนี้
1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทาสงโภชนาการหลากหลายไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะผักผลไม้ควรมีทุกมื้อ
2. ออกกำลังสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้เบิกบาน จะช่วยคลายความเครียดและป้องกันภาวะเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับข้อต่อ กระดูก และโรคหัวใจ รวมทั้งระบบการไหลเวียนของโลหิต
3. ทำสมาธิ เล่นโยคะ หรือการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด
4. ละเว้นสารเสพติดทุกชนิดที่จะบั่นทอนสุขภาพ
5. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
6. ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีมาก
     วิธีการลดความเสี่ยงทางสุขภาพ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติโรคควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค
2. รักษาความสะอาดของใช้ต่างๆ
3. ไม่คุลกคลีกับผู้ป่วย
4. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบ
5. ออกกำลังสม่ำเสมอ
6. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลังจากถ่ายอุจจาระ
7. ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสุขภาพ
8. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
9. ทำลายเชื้อโรคให้ถูกวิธี กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
10. การควบคุมสุขาภิบาล อาหาร น้ำดื่ม และน้ำนม
11. จัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
12. ให้ความรู้อุบัติเหตุและการป้องกัน
13. การจัดความปลอดภัยในทุกรูปแบบ
14. ออกกฎหมายบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีกี่ระดับ

http://www.kr.ac.th/ebook2/peera/05.html