มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีลักษณะสําคัญอย่างไร

มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 8 – 14)

มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ (6 ตัวบ่งชี้)
มีวินัย มีความรับผิดชอบ
1) การมาโรงเรียนทันเวลาของนักเรียน
2) การปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสถานศึกษาโดยเฉพาะการเข้าแถวเคารพธงชาติ และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
3) การสนใจกิจกรรมการเรียนและรับผิดชอบงานที่ครูมอบหมาย
4) แต่งกายเรียบร้อยในสถานการณ์ต่างๆ
5) การเดินผ่านครูและผู้ใหญ่อย่างสุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ
6) มารยาทในการรับประทานอาหาร
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1) ปฏิบัติตามระเบียบการสอบ และไม่ลอกการบ้าน
2) นักเรียนที่ทรัพย์สินไม่สูญหาย
3) นักเรียนพูดแต่ความจริง (ไม่โกหก)
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1) ผู้เรียนรัก เคารพ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และแสดงออกซึ่งการตอบแทน พระคุณอย่างเหมาะสม
2) ระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ และแสดงออกซึ่งการตอบแทนพระคุณอย่างเหมาะสม
3) นักเรียนที่เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ เพื่อส่วนรวม
1) นักเรียนรู้จักการให้เพื่อส่วนรวม และผู้อื่น
2) แสดงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีน้ำใจ หรือให้การช่วยเหลือผู้อื่น
3) นักเรียนรู้จักแบ่งปันทรัพย์สิน หรือสิ่งของเพื่อผู้อื่น
4) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญตนเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตนและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1) นักเรียนใช้ทรัพย์สิน และสิ่งของโรงเรียนอย่างประหยัด
2) นักเรียนใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3) นักเรียนร่วมกิจกรรมการประหยัดต่างๆ
4) นักเรียนประหยัดน้ำ ไฟ และสาธารณูปโภคอื่นๆ ทั้งของตนและส่วนรวม
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
1) นักเรียนสนใจกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและของไทย
2) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประจำอย่างน้อย 1 ประเภท
3) นักเรียนมีผลงานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและประเทศ
4) นักเรียนสามารถนำศิลปวัฒนธรรมและประเพณีมาพัฒนาเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้

มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม (2 ตัวบ่งชี้)
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
1) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญตนเพื่อส่วนรวม
2) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสถานศึกษาและท้องถิ่น
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
1) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญตนเพื่อส่วนรวม
2) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาสถานศึกษาและท้องถิ่น
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต (5 ตัวบ่งชี้)
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
1) ผู้เรียนมีการทำงานครบตามลำดับขั้นตอน การปรับปรุงงาน และบรรลุเป้าหมาย
2) นักเรียนอธิบายขั้นตอนการทำงาน และผลงาน ที่เกิดขึ้นทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่บกพร่อง
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบ ในการทำงาน
1) ผู้เรียนมีการทำงานครบตามลำดับขั้นตอน การปรับปรุงงาน และบรรลุเป้าหมาย
2) นักเรียนอธิบายขั้นตอนการทำงาน และผลงาน ที่เกิดขึ้นทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่บกพร่อง
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
1) ผู้เรียนรักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน
2) ผู้เรียนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มและร่วมกันทำงานเป็นทีม
3) ผู้เรียนรับผิดชอบงานที่กลุ่มมอบหมายและขจัดความขัดแย้งในการทำงานได้
4) ผู้เรียนสามารถแสดงความชื่นชม หรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำงานในกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
1) ผู้เรียนรักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน
2) ผู้เรียนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มและร่วมกันทำงานเป็นทีม
3) ผู้เรียนรับผิดชอบงานที่กลุ่มมอบหมายและขจัดความขัดแย้งในการทำงานได้
4) ผู้เรียนสามารถแสดงความชื่นชม หรือตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทำงานในกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหา ความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
1) ผู้เรียนจำแนกอาชีพสุจริตได้
2) ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริต
3) ผู้เรียนที่สามารถบอกอาชีพที่ตนสนใจพร้อมให้เหตุผลประกอบ

มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์
คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ (4 ตัวบ่งชี้)
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและ ความคิดแบบองค์รวม
1) ผู้เรียนจำแนกแจกแจงองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถูกต้อง
2) จัดลำดับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3) เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างหมวดหมู่ได้อย่างถูกต้อง
4) จัดกลุ่มความคิดตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้ถูกต้อง เช่น การพูดหน้าชั้นตามที่กำหนด
5) ตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ได้อย่างตรงประเด็น
6) สามารถสรุปสาระและเชื่อมโยงเพื่อนำมาวางแผนงานโครงการได้ เช่น เขียนโครงการ,รายงาน
7) สามารถสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ และสร้างสิ่งใหม่ได้ เช่น การเขียนเรียงความเขียนเรื่องสั้นได้
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมายและแนวทางการตัดสินใจได้
1) สามารถวิจารณ์สิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยผ่านการไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล
2) สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลความคิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมีเหตุผล
3) สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลและเลือกความคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
1) สามารถวิจารณ์สิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยผ่านการไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล
2) สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลความคิดต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมีเหตุผล
3) สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลและเลือกความคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
1) สามารถรวบรวมความรู้ ความคิดเดิมแล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่ตามความคิดใหม่ของตนเองได้อย่างมี
หลักเกณฑ์
2) สามารถคิดนอกกรอบได้
3) มีผลงานเขียน/งานศิลปะ/งานสร้างสรรค์
4) สามารถพัฒนาและริเริ่มสิ่งใหม่
5) สามารถคาดการณ์และกำหนดเป้าหมายในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล

มาตรฐานที่ 5 มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร (5 ตัวบ่งชี้)
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ (สมศ.5)
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษาหรือเขตพื้นที่
การศึกษากำหนด (ระดับผลการเรียน 3 – 4)
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์(สมศ.5)
ผู้เรียนมีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ในระดับดี ในระดับ ม.3 และ
ม.6 (เกณฑ์ในที่นี้อาจหมายถึง ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่ หรือ ระดับสถานศึกษา แล้วแต่กรณี)
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ (สมศ.5)
ผู้เรียนสามารถนำเสนอความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจโดยผ่านการพูด เขียน หรือวิธีการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
น่าสนใจ และเนื้อหาสาระถูกต้อง
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
ผู้เรียนสามารถฟัง พูด อ่าน เขียนได้อย่างคล่องแคล่ว ถูกหลักไวยากรณ์ และสามารถสื่อสาด้วยภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อยหนึ่งภาษา
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้
ผู้เรียนรู้ เข้าใจ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารสืบค้นข้อมูล และ/หรือสร้างชิ้นงาน เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(3 ตัวบ่งชี้)
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล (สมศ.6.1)
1) อ่านหนังสือนอกหลักสูตร อย่างน้อยเดือนละ 1 เล่ม
2) อ่านวารสารและหนังสือพิมพ์เป็นประจำ
3) สามารถสรุปประเด็นและจดบันทึกข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการอ่านอยู่เสมอ
4) สามารถตั้งคำถามเพื่อค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านได้
5) แสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกโรงเรียน
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ รอบตัว ใช้ แหล่งความรู้ และสื่อต่างๆ ได้ทั้งในและนอก
สถานศึกษา (สมศ.6.2)
1) สามารถสังเคราะห์/วิเคราะห์และสรุปความรู้/ประสบการณ์ได้อย่างมีเหตุผล
2) สามารถในการจดบันทึกความรู้ และประสบการณ์ได้อย่างเป็นระบบ
3) รู้จักตนเองและสามารถบอกจุดเด่น จุดด้อยของตนเองได้
4) มีวิธีการพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ และเป็นรูปธรรม
5) สามารถใช้ผลการประเมินมาพัฒนาตนเอง และสามารถบอกผลงานการพัฒนาตนเองได้
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเองเรียนร่วมกับผู้อื่นได้สนุกการเรียนรู้ และชอบมาโรงเรียน (สมศ.6.3)
1) รู้จักค้นคว้าหาหนังสือในห้องสมุดและใช้ห้องสมุดไม่ต่ำกว่า สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
2) มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน
3) สามารถค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต (Internet) หรือสื่อเทคโนโลยีต่างๆ

มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี (5 ตัวบ่งชี้)
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ (สมศ.2.1)
1) ผู้เรียนเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า
2) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3) มีสุขนิสัยที่ดีและปฏิบัติกิจวัตรประวันได้เองอย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัยได้
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกาย ตามเกณฑ์ (สมศ.2.2)
1) มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณาสุข
2) มีส่วนสูงตามมาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
3) ได้รับการตรวจร่างกาย การทดสอบเกี่ยวกับการเห็น การได้ยินและมีรายงานผลการตรวจร่างกาย
4) มีสมรรถภาพ/ร่างกายแข็งแรงตามเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (2543)
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ
และปัญหาทางเพศ (สมศ.2.3)
1) มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา
2) มีทักษะการปฏิเสธ และชักชวนไม่ให้เพื่อนเสพยาเสพติด
3) ไม่เสพสิ่งเสพติด และปลอดจากสิ่งมอมเมา
4) รู้จักประโยชน์และโทษของการใช้อินเตอร์เน็ต (Internet) และเกมคอมพิวเตอร์
5) มีจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย และการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องการระมัดระวังตนในการใช้ชีวิตประจำวัน การ
รู้จักรักนวลสงวนตัว และการป้องกันทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม
6) รู้จักหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นอบายมุข และการพนัน
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและให้เกียรติผู้อื่น (สมศ.2.4)
1) มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและให้เกียรติผู้เกียรติผู้อื่น
2) ผู้เรียนที่รู้จักให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และชอบมาโรงเรียน(สมศ.2.5)
1) หน้าตาท่าทางร่าเริง แจ่มใส
2) มีกิจกรรมนันทนาการกับเพื่อนตามวัย
3) ยิ้มแย้ม พูดคุย ทักทายเพื่อน ครู และผู้อื่น
4) เข้ากับเพื่อนได้ดี และเป็นที่รักของเพื่อนๆ

มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา (จำนวน 3 ตัวบ่งชี้)
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ(สมศ.3.1)
1) มีความรัก และสนใจงานศิลปะ และการวาดภาพ
2) เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเป็นประจำอย่างน้อย 1 อย่าง
3) มีผลงานด้านศิลปะและการวาดภาพที่ตนเองภาคภูมิใจ
4) สามารถวิพากษ์วิจารณ์งานด้านศิลป์ได้
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์ (สมศ.3.2)
1) ผู้เรียนที่สนใจกิจกรรมด้านดนตรี/นาฏศิลป์ หรือการร้องเพลง
2) เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีเป็นประจำอย่างน้อย 1 อย่าง
3) มีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์ หรือการร้องเพลง
4) สามารถวิพากษ์วิจารณ์งานด้านดนตรี/ นาฏศิลป์ ได้
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ (สมศ.3.3)
1) ผู้เรียนที่ชอบดูกีฬาและเล่นกีฬาเป็น
2) เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา/นันทนาการเป็นประจำอย่างน้อย 1 ประเภท
3) มีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ

มาตรฐานที่ 9 ครูมีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดี
และมีครูพอเพียง (จำนวน 7 ตัวบ่งชี้)
9.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ (สมศ.8.1)
ครูมีคุณธรรมจริยธรรมและปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
9.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนเพื่อนร่วมงาน และบุคลากรทางการศึกษา (สมศ.8.1)
ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
9.3 มีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสอนและพัฒนาผู้เรียน
ครูมีความมุ่งมั่นและอุทิศตนในการสอนและพัฒนาผู้เรียน (สมศ.8.1)
9.4 มีการแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ รับฟัง ความคิดเห็น ใจกว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ครูมีการแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ๆ เป็นประจำ (สมศ.8.1)
9.5 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
ครูที่จบปริญญาตรีขึ้นไป
9.6 สอนตรงตามวิชาเอก–โท หรือ ตรงตามความถนัด
1) ครูสอนตรงตามวิชาเอก/วิชาโท หรือความถนัด (สมศ.8.3)
9.7 มีจำนวนพอเพียง (หมายรวมทั้งครูและบุคลากรสนับสนุน) (สมศ.8.5)
1) มีครูครบชั้นและห้อง = จำนวนครูขาด …….. คน จำนวนครูเกิน ……. คน
2) มีสัดส่วนครูต่อนักเรียนตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด คือ 1 : 20
3) มีนักเรียนต่อห้องตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด คือ 40 : 1
4) มีจำนวนคาบสอนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด คือ 18 ช.ม./สัปดาห์

มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(จำนวน 7 ตัวบ่งชี้) (สมศ.9)
10.1 มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา
10.2 มีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล
10.3 มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
10.4 มีความสามารถใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
และผู้เรียน
10.5 มีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการ
ของผู้เรียน
10.6 มีการนำผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
10.7 มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้ พัฒนาผู้เรียน

มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ และมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา (จำนวน 4 ตัวบ่งชี้)
11.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ (สมศ.10.1)
1) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (10.1)
2) ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร (สุจริต ยุติธรรม การใช้ระบบคุณธรรมการรับฟังปัญหา
การระดมการมีส่วนร่วมในการบริหาร และการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ)
3) มีความมุ่งมั่นในการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
4) อุทิศเวลาให้กับการทำงาน
11.2 มีความคิดริเริ่ม มีวิสัยทัศน์ และเป็นผู้นำทางวิชาการ (สมศ.10.2)
1) สามารถแสดงทิศทางของการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่ควรจะเป็นในอนาคต 3 – 5 ปี ข้างหน้าอย่าง
ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น
2) เริ่มแนวทางในการบริหารที่ท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงและความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา
3) ริเริ่มการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
4) กระตุ้นให้ทุกคนร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา
11.3 มีความสามารถในการบริหารงานวิชาการและการจัดการ(สมศ.10.3)
1) มีความรอบรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผลการเรียน (ตามหมวด 4
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2) ให้ความสำคัญกับบทบาทประธาน การแต่งตั้งกรรมการ และการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของ
สถานศึกษา
3) มีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษา
4) มีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
5) มีการส่งเสริมและพัฒนาครูในการผลิต/ใช้สื่ออย่างหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน
6) มีความเป็นผู้นำในการพัฒนาวิชาการของโรงเรียน/กลุ่มโรงเรียน/ชุมชน
7) มีการสนับสนุนการพัฒนา และประเมินครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
8) มีการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ
9) มีการวางระบบและกลไกที่ดีในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยร่วมมือกับชุมชน และได้รับการ
สนับสนุนจากต้นสังกัด
11.4 การบริหารมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจ (สมศ.10.4)
1) การปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นไปตามเป้าหมาย/มาตรฐานที่กำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ
75 ของแผน
2) สร้างความตระหนัก (Awareness) และมีความพยายามในการปฏิบัติ (Attempt) ในการพัฒนา
ผู้เรียน ครู และการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการบริหารอย่างต่อเนื่อง
4) ผู้เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 พึงพอใจผลงานของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กร
อย่างเป็นระบบครบวงจร (จำนวน 5 ตัวบ่งชี้)
12.1 มีการจัดองค์กร โครงสร้างและระบบการบริหารงานที่มีความคล่องตัวสูงและปรับเปลี่ยนได้เหมาะสม
ตามสถานการณ์ (สมศ.11.1)
1) มีแผนภูมิการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง มีคำสั่ง
มอบหมายงานและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
2) มีการวางระบบระเบียบรองรับการบริหารที่มีความคล่องตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความ
เหมาะสม
3) มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4) มีระบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ
5) มีระบบการบริหารงบประมาณ ทรัพย์สินและรายได้ที่มีคุณภาพ
6) สถานศึกษามีระบบการบริหารงานทั่วไปที่มีคุณภาพ
12.2 มีการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างครอบคลุมและทันต่อการใช้งาน (สมศ.11.1)
1) มีแผนภูมิการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง มีคำสั่ง
มอบหมายงานและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
2) มีการวางระบบระเบียบรองรับการบริหารที่มีความคล่องตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความ
เหมาะสม
3) มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและดำเนินการอย่างเป็นระบบ
4) มีระบบการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ
5) มีระบบการบริหารงบประมาณ ทรัพย์สินและรายได้ที่มีคุณภาพ
6) สถานศึกษามีระบบการบริหารงานทั่วไปที่มีคุณภาพ
12.3 มีระบบประกันคุณภาพภายในที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (สมศ.11.4)
1) มีระบบ กลไก และมีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามกฎกระทรวง
2) มีระบบ กลไก และมีการตรวจติดตามคุณภาพสถานศึกษาตามกฎกระทรวง
3) ได้รับการประเมินทั้งภายในและภายนอก ตามกฎกระทรวง และเผยแพร่ผลการประเมิน
อย่างกว้างขวาง
4) สถานศึกษานำผลการตรวจติดตามและการประเมินภายในและภายนอกไปปรับปรุงการพัฒนา
สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
12.4 มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ครูได้รับการพัฒนาในวิชาที่สอนตามที่คุรุสภากำหนด (สมศ.11.1)
12.5 ผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจผลการบริหารงาน และการพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษามีการสรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน (จำนวน 5 ตัวบ่งชี้)
13.1 มีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา (สมศ.11.1)
1) มีแผนภูมิการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง มีคำสั่ง
มอบหมายงานและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
2) มีการวางระบบระเบียบรองรับการบริหารที่มีความคล่องตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความ
เหมาะสม
13.2 มีการบริหารเชิงกลยุทธ์ และใช้หลักการมีส่วนร่วม (สมศ.11.2)
1) มีแผนกลยุทธ์ มีตัวบ่งชี้ความสำเร็จ มีแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการการจัด
การศึกษาของชาติ
2) มีการปฏิบัติตามแผน
3) มีระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหารงาน เพื่อการบริหารที่ถูกต้อง และครบถ้วนทันต่อการใช้งาน
4) มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนอย่างต่อเนื่อง
5) มีการนำข้อมูล และผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงงาน
13.3 มีคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมพัฒนาสถานศึกษา (สมศ.11.3)
1) ผู้บริหาร ครู ชุมชน นักเรียน และกรรมการสถานศึกษาร่วมกันทำงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2) มีคณะกรรมการสถานศึกษา
3) คณะกรรมการสถานศึกษามีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสองเดือนต่อครั้ง และนำผล
การประชุมไปปฏิบัติ
4) มีบทบาทในการกำหนดทิศทางและการบริหารโรงเรียน
5) มีระบบและกลไกตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน และการใช้ทรัพยากรของโรงเรียน
6) มีระบบการตรวจสอบภายในที่ชัดเจนและโปร่งใส
7) สถานศึกษามีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินตนเองที่สอดคล้องกับแผนพัฒนา
สถานศึกษาและมีรายงานต่อต้นสังกัดและเผยแพร่ต่อสาธารณะ
13.4 มีรูปแบบการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (สมศ.11.1)
1) มีแผนภูมิการจัดองค์กรและโครงสร้างการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง มีคำสั่งมอบหมายงานและ
ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
2) มีการวางระบบระเบียบรองรับการบริหารที่มีความคล่องตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้
13.5 มีการตรวจสอบและถ่วงดุล (สมศ.11.3)
1) มีแผนกลยุทธ์ มีตัวบ่งชี้ความสำเร็จ มีแผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับอุดมการณ์ และหลักการการจัด
การศึกษาของชาติ
2) มีการปฏิบัติตามแผน
3) มีระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหารงาน เพื่อการบริหารที่ถูกต้อง และครบถ้วนทันต่อการใช้งาน
4) มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนอย่างต่อเนื่อง
5) มีการนำข้อมูล และผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจและปรับปรุงงาน

มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
14.1 มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น (สมศ.13.1)
1) มีสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการ การเรียนรู้ระดับสากล ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นอย่าง เหมาะสม
2) มีสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางครอบคลุมกับ
ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม
3) มีการนำสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นไปใช้อย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้อง
4) มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มีการปรับปรุงสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นให้ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
อย่างต่อเนื่อง
14.2 มีรายวิชา/กิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ
1) มีสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการ การเรียนรู้ระดับสากล ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นอย่าง เหมาะสม
2) มีสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางครอบคลุมกับ
ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม
3) มีการนำสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นไปใช้อย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้อง
4) มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มีการปรับปรุงสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นให้ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
อย่างต่อเนื่อง
14.3 มีการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัดและความสามารถของผู้เรียน(สมศ.12.2)
1) มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
2) มีรายวิชา/กิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ
3) มีการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมจัดการเรียนรู้ และสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4) มีการจัดระบบการบันทึก การรายงานผล และการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน
5) มีระบบการนิเทศการเรียนการสอนและนำผลไปปรับปรุงการสอนอยู่เสมอ
6) มีการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน

14.4 มีการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และสื่ออุปกรณ์การเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
(สมศ.13.2)
1) มีสื่อธรรมชาติ ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้
2) มีสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้
3) มีการแลกเปลี่ยนหรือเชื่อมโยงสื่อการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น
4) สถานศึกษามีสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้
14.5 มีการจัดระบบการบันทึก การรายงานผล และการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน (สมศ.12.2)
มีการจัดระบบการบันทึก การรายงานผล และการส่งต่อข้อมูลของผู้เรียน
14.6 มีระบบการนิเทศการเรียนการสอนและนำผลไปปรับปรุง การสอนอยู่เสมอ (สมศ.12.2)
มีระบบการนิเทศการเรียนการสอนและนำผลไปปรับปรุงการสอนอยู่เสมอ
14.7 มีการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน (สมศ.14.1)
1) มีผู้รับผิดชอบหรือจัดหน่วยงานรับผิดชอบในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการ
พัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน
2) มีการจัดแผนงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
3) มีระเบียบรองรับการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
4) มีการประเมินระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนา
การศึกษา
5) มีการนำผลการประเมินมาใช้ตัดสินใจและปรับปรุงระบบและกลไกในการสร้างความสัมพันธ์และความ
ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
14.8 มีการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร (สมศ.13.1)
มีการติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร

มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย (สมศ.12.3)
15.1 มีการจัดและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็งและทั่วถึง
มีการจัดและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็งและทั่วถึง
15.2 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและตอบสนองความสามารถทางวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและตอบสนองความสามารถทางวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
15.3 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและตอบสนองความสามารถพิเศษและความถนัดของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและตอบสนองความสามารถพิเศษ และความถนัดของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
15.4 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม

15.5 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ และกีฬา/นันทนาการ
1) นักเรียนสนใจกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและ ของไทย
2) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประจำอย่างน้อย 1 ประเภท
3) นักเรียนมีผลงานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและประเทศ
4) นักเรียนสามารถนำศิลปวัฒนธรรมและประเพณีมาพัฒนาเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้
15.6 มีการจัดกิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย
1) นักเรียนสนใจกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและ ของไทย
2) นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและประเพณีเป็นประจำอย่างน้อย 1 ประเภท
3) นักเรียนมีผลงานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและประเทศ
4) นักเรียนสามารถนำศิลปวัฒนธรรมและประเพณีมาพัฒนาเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้
15.7 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
กิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย

มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตาธรรมชาติเต็มศักยภาพ (สมศ.12.1)
16.1 มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่เหมาะสม
สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารที่เหมาะสม
16.2 มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน
สถานศึกษามีการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน
16.3 มีการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้แบบมี
ส่วนร่วม มีการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้
แบบมีส่วนร่วม
16.4 มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียงและอยู่ในสภาพใช้
การได้ดีสถานศึกษามีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวก เพียงพอ
และอยู่ในสภาพใช้การได้ดี16.5 มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น1
17.1 มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น (สมศ.14.1)
1. มีผู้รับผิดชอบหรือจัดหน่วยงานรับผิดชอบในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการ
พัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน
2. มีการจัดแผนงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
3. มีระเบียบรองรับการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
4. มีการประเมินระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
5. มีการนำผลการประเมินมาใช้ตัดสินใจและปรับปรุงระบบและกลไกในการสร้างความสัมพันธ์และความ
ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
17.2 สนับสนุนให้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรระดับสถานศึกษา
และการจัดการเรียนการสอน (สมศ.14.2)
1) มีกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเห็นความสำคัญใน
การจัดการศึกษาร่วมกัน
2) มีกิจกรรมการให้บริการชุมชนอย่างเหมาะสม
3) มีการร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
4) ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
5) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชน
6 ) มีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับชุมชน

มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการ และองค์กรภาครัฐ
และเอกชน เพื่อพัฒนาวิถีการเรียนรู้ในชุมชน
18.1 เป็นแหล่งวิทยาการในการแสวงหาความรู้และบริการชุมชน (สมศ.14.1)
1. มีผู้รับผิดชอบหรือจัดหน่วยงานรับผิดชอบในการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการ
พัฒนาการศึกษาที่ชัดเจน
2. มีการจัดแผนงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
3. มีระเบียบรองรับการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
4. มีการประเมินระบบและกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
5. มีการนำผลการประเมินมาใช้ตัดสินใจและปรับปรุงระบบและกลไกในการสร้างความสัมพันธ์ และความ
ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา

18.2 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (สมศ.14.2)
1) มีกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้บุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเห็นความสำคัญในการ
จัดการศึกษาร่วมกัน
2) มีกิจกรรมการให้บริการชุมชนอย่างเหมาะสม
3) มีการร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
4) ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
5) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชน
6 ) มีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับชุมชน

จากการศึกษามาตรฐานทั้ง 18 มาตรฐาน ทำให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน ตัวบ่งชี้ ในแต่ละด้านทำให้เข้าใจว่าการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย

การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
2. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
3. กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุม การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
4. กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง และองค์กรชุมชน
7. กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
8. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

สำหรับหมวด 3 การประกันคุณภาพภายนอก จะครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่อง ดังต่อไปนี้
1. มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
2. มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
3. มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4. มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีลักษณะอย่างไร

มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

มาตรฐานการศึกษามีลักษณะสำคัญอย่างไร

มาตรฐานการศึกษามีความสำคัญในแง่ของการเป็นฐานข้อมูลสนับสนุน การพยากรณ์คุณภาพที่คาดหวังตามที่ต้องการ ก่อให้เกิดการวางแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวล่วงหน้าได้ อุดมการณ์ของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิต และการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาที่สร้างคุณภาพ

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีความสำคัญอย่างไร

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคนในสถานศึกษาต้องรับรู้ และปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้บรรลุถึง เป้าหมาย คือ มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดและร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น (accountability)

มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีอะไรบ้าง

มาตรฐานคุณภาพของแต่ละสถานศึกษา มี 3 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน(ผลการเรียนรู้) มาตรฐานที่ 1 - 12 ด้านกระบานการ(การบริหารจัดการและการจัดหารเรียนการสอน) มาตรฐานที่ 13 - 18. ด้านปัจจัย(สิ่งที่สนับสนุนการดำเนินกระบวนการ) มาตรฐานที่ 19 - 27.