จตุสดมภ์มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

จตุสดมภ์ (๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓)

     จตุสดมภ์

          สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒ อธิบายว่า จตุสดมภ์ แปลว่า เสาหลักทั้ง ๔ เป็นลักษณะการปกครองส่วนกลางระดับสูงของไทย แบ่งออกเป็น ๔ กรม คือ เมือง (เวียง) วัง คลัง นา เป็นรูปแบบที่ใช้ในสมัยอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง) ทั้ง ๔ กรมนี้มีหัวหน้า เรียกว่า ขุน ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับเสนาบดี มีหน้าที่ดังนี้ ขุนเมือง (ขุนเวียง) เป็นผู้ปกครองท้องที่ รักษาความสงบสุข ดูแลราษฎร ขุนวัง เป็นผู้ดูแลราชสำนัก ดูแลคดีความ แต่งตั้งยกกระบัตรไปประจำตามหัวเมือง เพื่อรายงานความเป็นไปมายังส่วนกลาง ขุนคลัง เป็นผู้เก็บรักษาและจ่ายพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรเพื่อใช้ในงานราชการ ขุนนา เป็นผู้ตรวจตราการทำไร่นา ออกสิทธิในที่นาให้แก่ราษฎร และเก็บหางข้าว คือ ส่วนแบ่งข้าวจากการทำนาสำหรับใช้ในราชการไว้ในฉางหลวง

          ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ตั้งกรมใหญ่ขึ้น ๒ กรมซึ่งมีอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้ดูแลคือ กรมกลาโหม มีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลกิจการฝ่ายทหาร และกรมมหาดไทย มีสมุหนายกเป็นผู้ดูแลกิจการฝ่ายพลเรือน โดยให้จตุสดมภ์มาขึ้นกับกรมหมาดไทย แล้วเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่ดังนี้ ขุนเมืองเป็นพระนครบาล มีหน้าที่ปกครองท้องที่ ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบภายใน ดูแลการดับเพลิงในราชธานีและเมืองใกล้เคียง ตัดสินคดีความที่เป็นมหันตโทษ (โทษร้ายแรง) ขุนวังเป็นพระธรรมาธิกรณ์ รับผิดชอบงานพระราชพิธีต่าง ๆ ในราชสำนัก งานธุรการ การตัดสินคดีความ การแต่งตั้งยกกระบัตรไปปฏิบัติหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณ ขุนคลังเป็นพระโกษาธิบดี มีหน้าที่ดูแลการรับ-จ่ายและเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากร การค้าต่างประเทศ บัญชีวัสดุอุปกรณ์ทั้งอาวุธและเครื่องใช้ในราชการต่าง ๆ พระคลังหลวง การรับรองคณะทูตจากต่างประเทศ และการตัดสินคดีความของชาวต่างชาติ ขุนนาเป็นพระเกษตราธิบดี มีหน้าที่ตรวจตราและส่งเสริมการทำไร่นาของราษฎร เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงเพื่อใช้เป็นเสบียงยามสงคราม ตัดสินคดีความของราษฎรเกี่ยวกับที่นา ออกกรรมสิทธิ์ที่นาให้แก่ราษฎร ทั้งนี้ยังมีการเพิ่มกรมต่าง ๆ ให้อยู่ในความดูแลของกรมทั้ง ๔ อีกด้วย จตุสดมภ์ยกเลิกไปเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์.

ปิยรัตน์  อินทร์อ่อน

จตุสดมภ์มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

ย้อนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย การปกครองแบบจตุสดมภ์ เป็นการปกครองที่เริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่ ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่าย คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา

เวียง วัง คลัง นา จตุสดมภ์

รูปแบบการปกครองนี้ ถูกใช้ตั้งแต่ต้นราชอาณาจักรอยุธยา ไปสิ้นสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยยกเลิกจตุสดมภ์และสถาปนากระทรวง 12 กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน 2435

การเมืองการปกครอง ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991)

การปกครองส่วนกลาง : พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ จตุสดมภ์

องค์ประกอบของ “จตุสดมภ์”

จตุสดมภ์ หมายถึง “หลักทั้งสี่” มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

กรมเวียง – มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร

กรมวัง – มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี

กรมคลัง – มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร

กรมนา – มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร

กรมเวียง

1. กรมเวียง มีหน้าที่ดูแลเมืองหลวงในทุกกิจการ ดูแลสถานที่สำคัญ รักษาความสงบในราชธานี มีกองตระเวนและศาลขึ้นอยู่ใต้การบังคับบัญชา มีศาลนครบาลสำหรับการพิพากษาคดีในพระนคร และดูแลเสภาพระนคร (เรือนจำ เสภาแปลว่าคุก) โดยมีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมเวียงเช่น กรมกองตระเวนขวา กรมกองตระเวนซ้าย

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมเวียงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมนครบาล มีพระยายมราชอินทราธิบดีศรีวิชัยบริรักษ์โลกากร เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

กรมวัง

2. กรมวัง มีหน้าที่บังคับกิจการในพระราชวัง ดูแลพระราชฐาน ควบคุมการรับจ่ายในวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธี บังคับบัญชาคนในวังยกเว้นคนของกรมมหาดเล็ก

กรมวังยังมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการยุติธรรม เพราะคติที่ถือว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นของความยุติธรรมในสังคม กรมวังมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง

มีกรมย่อยที่ขึ้นกับกรมวังคือ

1.กรมตำรวจวังซ้าย-ขวา
2.กรมพระราชยาน
3.กรมพิมานอากาศ (เครื่องสูง)
4.กรมช่างทอง ช่างเงิน
5.กรมพระสุคนธ์
6.กรมพระแสงใน
7.คลังข้าวสาร
8.กรมศุภรัตน์

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ .. กรมวังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชชัยมไหสุริยาธิบดีศรีรันมณเทียรบาล เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

กรมคลัง

3. กรมคลัง มีหน้าที่หน้าที่ควบคุมรายรับ รายจ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการค้าสำเภา ติดต่อการค้ากับต่างประเทศและดูแลรับรองคณะทูตจากต่างประเทศและควบคุมดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยา

กรมคลังมีกรมในสังกัดคือ กรมพระคลังสินค้า กรมท่าซ้ายและท่าขวา

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรมโกษาธิบดี มีพระยาศรีธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิตพิพิธรัตนราชโกษาธิบดี เป็นเสนาบดี ศักดินา 10,000 ไร่

กรมนา

4. กรมนา มีหน้าที่ ดูแลที่ดิน รังวัด ถือทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด คอยควบคุมการทำนา รวมสถิติน้ำฝน ต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลเวลาเสด็จออกว่าราชการ หาพันธ์ข้าวและควายให้ราษฎร รวมทั้งมีหน้าที่ในการจัดพระราชพิธีแรกนา ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่รับมาจากอินเดีย โดยพระยาพลเทพเป็นผู้ทำการแทนพระเจ้าแผ่นดิน

กรมนามีศาลสำหรับตัดสอนคดีเกี่ยวกับที่นา สัตว์พาหนะ

ในการเก็บภาษีที่นา กรมนาจะตั้งข้าหลวงเสนาทำหน้าที่ประเมินภาษี เก็บภาษีในที่นาโดยนาที่ถูกเก็บภาษี จะแบ่งเป็น นาฟางลอย คือนาที่อาศัยน้ำท่วม ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำ เก็บภาษีได้เฉพาะเวลาที่ทำนาได้ และนาคู่โค เป็นนาดีที่ควรจะทำนาได้ผลทุกปี อยู่ในที่ดี เป็นนาดำมีการชลประทานดี เก็บภาษีตามเนื้อที่ดิน

กรมนายังมีหน้าที่ควบคุมกรมฉางหลวง คอยซื้อข้าวตลอดจนอาหาร สัตว์พาหนะ ของป่า งาช้าง หนังสัตว์ และมีหน้าที่เกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในเวลามีศึกสงคราม

เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรมนาเปลี่ยนชื่อเป็น กรมเกษตราธิการ มีพระยาพลเทพราชเสนาบดี ศรีไชยนพรัตน์เกษตราธิบดี ถือศักดินา 10,000 ไร่

ที่มา thailandhistory , อาณาจักรอยุธยา , wiki.kpi.ac.th

บทความแนะนำ

  • เกี่ยวกับ น้ำพระบุพโพ (น้ำเหลืองจากพระศพ) | การเผาพระศพในพระโกศ
  • ตำแหน่งเตาเผาไฟฟ้า เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ อยู่ภายในฐานพระจิตกาธาน
  • 4 สิ่งที่หายไป จากงานพระบรมศพยุคใหม่ ที่คุณจะไม่มีโอกาสได้เห็น
  • เปิดตำนาน ลักพระศพ ธรรมเนียมที่กระทำในยามวิกาล ก่อนงานพระราชพิธี
  • ย้อนประวัติศาสตร์ การเก็บรักษาพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ในพระราชวงศ์จักรี
  • การสรงน้ำพระบรมศพ การถวายหน้ากากทองคำ หักพระสาง(หวี) | พระที่นั่งพิมานรัตยา

จตุสดมภ์มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร

จตุสดมภ์มีหน้าที่เเละความสำคัญอย่างไร

จตุสดมภ์แบ่งออกเป็น 4 กรม มีหัวหน้าเรียกว่า ขุน ฐานะเทียบเท่าเสนาบดี แบ่งออกเป็น กรมเวียง ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักรและความทุกข์สุขของราษฎร ปราบปรามโจรผู้ร้าย ตัดสินคดีร้ายแรง กรมวัง ทำหน้าที่ดูแลพระมหากษัตริย์และกิจการในพระราชสำนักและพิพากษาคดีให้ราษฎร

ขุนเวียงมีหน้าที่อะไร

1. กรมเมือง (หรือกรมเวียง) มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรภายในราชธานี โดยจับผู้กระท าผิดมาสอบสวนลงโทษ เสนาบดีผู้รับผิดชอบกรมนี้เรียกว่า “ขุนเวียง” หรือ “ขุนเมือง” 2. กรมวัง มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งในเรื่องเกี่ยวกับราชสานัก และการพิจารณา พิพากษาคดีความต่าง ๆ เสนาบดีที่ดูแลกรมวังมีตาแหน่งเป็น ขุนวัง

ขุนวังมีหน้าที่อะไร

1.2 วัง มีขุนวังเป็นหัวหน้า ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก้บพระราชสำนักและพิจารณพิพากษาคดี 1.3 คลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า ดูแลการทำไรทำนาของราษฎร ตลอดจนการสะสมเสบียงอาหารของพระนคร 1.4 นา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ดูแลการทำไรทำนาของราษฎร ตลอดจนการสะสมเสบียงอาหารของพระนคร

ขุนเมืองมีหน้าที่อะไร

ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น