คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย 4 ด้านมีอะไรบ้าง

คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย 4 ด้านมีอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ เราทุกคนต่างต้องการมี “คุณภาพชีวิต” ที่ดีขึ้น

ทั้งๆ ที่เราอาจจะไม่รู้ (อย่างชัดเจน) ว่า “คุณภาพชีวิตที่ดี” คืออะไร แต่เรามักจะยึดเอาคำว่า “คุณภาพ” เป็นหลัก จึงเข้าใจกันเองว่า อะไรที่มี “คุณภาพ” สิ่งนั้นมักจะเป็นของดีและมีราคาเสมอ

แม้ว่า “คุณภาพชีวิต” (Quality of Life) จะมีความหมายแตกต่างกันไปตามการรับรู้และความเข้าใจของแต่ละคน

แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า “คุณภาพชีวิต” มักจะหมายถึง “การกินดีอยู่ดี” ซึ่งครอบคลุมถึงการมีรายได้ที่มั่นคง มีการงานที่ดี มีการศึกษาดี มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น มีสุขภาพแข็งแรง มีเสรีภาพ และมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต เป็นต้น

แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยมักจะเอา “คุณภาพชีวิต” ไปผูกติดกับเรื่องของ “การ (มี) เงิน” หลายคนเชื่อว่าเมื่อมีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น เพราะสามารถจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น มีบ้าน มีเสื้อผ้า มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีการศึกษาสูง ไปทานอาหารดีๆ ได้ ไปท่องเที่ยวได้ หาหมอดีๆ ได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น มีความสุขมากขึ้น และได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนมองว่า การมีรายได้ดีต้องแลกกับงานที่หนักขึ้น เครียดขึ้น ทำให้เวลาที่อยู่กับครอบครัวน้อยลง อันเป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตลดลง

เรื่องของคุณภาพชีวิตที่ว่านี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความหมายของ “คุณภาพชีวิต” เมื่อ พ.ศ.2540 ว่า “คุณภาพชีวิต คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์ในระดับที่เหมาะสมตามความจำเป็นพื้นฐานในสังคมหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่งๆ องค์ประกอบของความเป็นพื้นฐานที่เหมาะสม อย่างน้อยก็น่าจะมีอาหารที่เพียงพอ มีเครื่องนุ่งห่ม มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม มีสุขภาพกายและจิตใจดี ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งได้รับการบริการพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประกอบการดำรงชีพอย่างยุติธรรม”

ส่วน UNESCO ได้ให้ความหมายของ “คุณภาพชีวิต” เมื่อ ค.ศ.1981 ว่า “คุณภาพชีวิตเป็นความรู้สึกของการอยู่อย่างพอใจต่อองค์ประกอบต่างๆ ของชีวิตที่มีส่วนสำคัญมากที่สุดของบุคคล”

โดยสรุปแล้ว “คุณภาพชีวิต” หมายถึง การดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีความสุข มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมที่ตนอยู่ได้อย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถเผชิญปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้ศักยภาพส่วนบุคคลสร้างสรรค์พัฒนาตนเองและสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ผมเห็นว่า “คุณภาพชีวิต” สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ คุณภาพชีวิต (ภายใน) อันเกี่ยวกับการดำรงชีวิตส่วนบุคคลและครอบครัว ส่วนลักษณะที่สอง คือ คุณภาพชีวิต (ภายนอก) อันเกี่ยวกับการทำงาน (Quality of Work Life) และการดำรงชีวิตในสังคม

คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล เกิดจาก “การเลือกและการตัดสินใจ” ของตัวเราเองที่เป็นเจ้าของชีวิต ส่วนคุณภาพชีวิตในการทำงานและสังคม มักจะเกิดจาก “การจัดสรรให้” หรือการบริหารจัดการให้เกิดขึ้นโดยเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารจัดการโรงงาน (สำนักงาน)

ทุกวันนี้ แม้เราจะสามารถกำหนดคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลได้ แต่เรื่องของคุณภาพชีวิตในการทำงานและสังคม (ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล) นั้น เราคงจะกำหนดเองไม่ได้ (ง่ายๆ) ครับผม !

วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย 4 ด้านมีอะไรบ้าง

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย 4 ด้านมีอะไรบ้าง

สุขภาพกับคุณภาพชีวิต


โดย อาจารย์อรวรรณ  น้อยวัฒน์

        ประเทศไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี   การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต  เนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health)  สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health)  และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health)  โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ  “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม  ซึ่งจะสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า  “คุณภาพชีวิต” เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม โดยจะสัมพันธ์กับเป้าหมายและความคาดหวังของตนเอง ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม ค่านิยม มาตรฐานของสังคม และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (The WHOQOL group, 1994 อ้างถึงใน วรรณา กุมารจันทร, 2543: 4)

        โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย สังเกตได้จากการที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบและอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ  ร่างกายมีสมรรถภาพสูง สามารถทำงานได้นาน ๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย  การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น  2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์”  3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน  สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป ส่วนคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 ด้าน คือ  1) ด้านร่างกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกายและสุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกภาพด้วย 2) ด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิต รวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย  3) ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับนับถือ รวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 4) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจการเงินและรายได้ที่มั่นคง  จากองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะกฎของธรรมชาติ คือ มีการเกิด มีแก่ มีเจ็บ และมีการตายจากไป จึงทำให้มนุษย์เกิดความต้องการด้านต่างๆ ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อมุ่งความสำเร็จให้แก่ตนเองสืบต่อไป เมื่อนำเรื่องสุขภาพมาพิจาราณาประกอบกับเรื่ององค์ประกอบของคุณภาพชีวิตแล้วจะพบว่า องค์ประกอบของการมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ  และสังคม  เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

        ดังนั้น การพัฒนาตนเองเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงควรพัฒนาสุขภาพในด้านร่างกาย ได้แก่  การให้ความสำคัญกับสุขภาพ  การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ  การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์  การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์  การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ  การพัฒนาทางด้านสังคม อันได้แก่ การเข้า ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน  การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม  จริยธรรม  และการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ได้แก่  การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง  การเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่างๆ การศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

.......................................................

เอกสารอ้างอิง
วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีเมือง พลังฤทธิ์. (กันยายน 2550). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยบุคคล ครอบครัว และชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารประชากรศาสตร์. 23 (2) : 67-84.
WHOQOL Group.(1994). The development of the World Health Organization Quality of Life assessment instrument (theWHOQOL). In: Orley J, Kunyken W (eds.). Quality of life assessment: international perspectives. Berlin. Springer-Verlag: pp. 41-60. 

ภาพประกอบ Banner จาก wwwnno.moph.go.th comhealth.png 

คุณภาพชีวิตที่ดีประกอบด้วย 4 ด้านอะไรบ้าง

ของมนุษย์ออกเป็น 5 ด้าน คือ 1. ด้านกาย ได้แก่ โครงสร้างทางร่างกาย และ สุขภาพร่างกาย รวมถึงด้านบุคลิกด้วย 2. ด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจและสุขภาพจิต รวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย 3. ด้านสังคม ได้แก่ สถานะทางสังคม ยศ ตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับ นับถือรวมถึงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย 4. ด้านสิ่งแวดล้อม ...

คุณภาพชีวิตที่ดีมีอะไรบ้าง

คุณภาพชีวิตที่ดี” หมายถึงอะไร? สำหรับเราแล้วคุณภาพชีวิตที่ดี จะหมายถึงการที่คนๆ นึงมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ไม่วิตกกังวลกับความเสี่ยงในอนาคต รวมถึงพอใจในวิถีชีวิตของตนเองในปัจจุบัน

คุณภาพชีวิตมีกี่มิติ

วิชัย รูปข าดี (2542) นิยามคุณภาพชีวิตไว้ว่า เป็นระดับของการมีชีวิตที่เป็นผลรวมจาก องค์ประกอบคุณภาพชีวิต 7 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านชีวิตการท างาน ด้าน สุขภาพ ด้านชีวิตการใช้สติปัญญา ด้านชีวิตครอบครัว ด้านชีวิตชุมชนและด้านสภาพแวดล้อม

คุณภาพชีวิตมีความสําคัญอย่างไร

ชีวิตที่มีคุณภาพย่อมเป็นชีวิตที่ประสบความสมหวัง รู้จักยับยั้งความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางอารมณ์ ของตนเองให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี สามารถใช้ความรู้ สติปัญญาความรู้สึกนึกคิดของตนไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเบียดเบียนหรือให้โทษแก่บุคคลอื่นในขณะเดียวกันบุคคลจะต้องมีการศึกษาสูงมีความขยันอดทนประกอบอาชีพที่สุจริต เป็น ...