ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน มีอะไรบ้าง

ในปี 2561 ประเทศไทยถือได้ว่า “เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” และปัญหาที่ตามาคือ “แก่ก่อนรวย” ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่แก้ไม่หาย เพราะมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ใช่เงินแบบเดือนชนเดือนและยังไม่รู้จักการบริหารเงินเท่าที่ควร บทความจึงจะมาแนะนำ 4 ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ แก่ก่อนรวย

1. เก็บออมและลงทุน

1.1 เตรียมพร้อมก่อนวัยเกษียณ

  • บริการที่ปรึกษาการวางแผนการเงิน การเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะก่อนที่จะเริ่มออกสตาร์ทเราควรจะมีแผนที่นำทางกันก่อน
  • บริการให้คำแนะนำจัดพอร์ตลงทุน เมื่อได้แผนที่นำทาง หรือเป้าหมายระยะยาวแล้ว ก็มาถึงการจัดพอร์ตลงทุน ซึ่งมีทั้งหุ้น ตราสารหนี้เอกชน พันธบัตรรัฐบาล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งทองคำ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ไปลงทุนสะเปะสะปะ ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ส่วนหนึ่งของการลงทุน ควรเป็นการลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเกษียณ (RMF) อาจจะรวมกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เข้าไปด้วยก็ได้ เพราะนอกจากจะเป็นการลงทุนระยะยาวและได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นของแถมอีกด้วย
  • นอกจากนี้ มีกองทุนประเภท Life Style Fund/Target Date Fund ที่กำหนดนโยบายการลงทุนให้เหมาะกับช่วงอายุ เพิ่มความสะดวก เพราะไม่ต้องมาคอยปรับสัดส่วนการลงทุน หรือ ปรับพอร์ตไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น (อายุมากขึ้นรับเสี่ยงได้ลดลง) เช่น

► กลุ่มกองทุน K LIFESTYLE บลจ.กสิกรไทย
► กลุ่มกองทุน SCB RETIREMENT บลจ.ไทยพาณิชย์
► กลุ่มกองทุน กรุงศรีไลฟ์สเตจ บลจ.กรุงศรี
► กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสมดุลตามอายุ (Target Date Fund) บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล

  • ถ้าใครโชคดีเป็นพนักงานบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) มีนายจ้างช่วยออม หรือ ข้าราชการก็มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แม้แต่อาชีพอิสระที่ออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) รัฐบาลก็ช่วยออมให้อีกแรงหนึ่ง
  • ประกันบำนาญ ก็เป็นอีกรูปแบบการออมเพื่อวัยเกษียณที่ช่วยให้มั่นใจว่ามีเงินใช้ในวัยเกษียณแน่นอน เช่น

► เกษียณสุข 225 บมจ.พรูเดนเชียล ประกันชีวิต
► บำนาญ 555 (แบบลดหย่อนภาษี) บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต
► บำนาญ มั่นคง (บำนาญแบบลดหย่อนภาษีได้) บมจ.เอไอเอ (ประเทศไทย)

1.2 ออมอย่างไรในวัยเกษียณ

เมื่อถึงวันเกษียณมีเงินก้อนใหญ่ แต่จะจัดการอย่างไรให้เงินจำนวนนี้คงอยู่ยืนยาวเป็นรายได้ประจำไปจนถึงวันสุดท้าย แนะนำให้ใช้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เหล่านี้

  • บริการที่ปรึกษาการลงทุน และบริการให้คำแนะนำจัดพอร์ตที่เหมาะกับวัยเกษียณ เพื่อสร้างรายได้ประจำ
  • กองทุนรวมส่วนบุคคล
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อเป็นรายได้ประจำ เช่น

► กองทุนประเภท Income Fund ทั้งแบบที่จ่ายในรูปเงินปันผล และการขายหน่วยลงทุนอัตโนมัติ
► กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)

  • กองทุนประเภท Senior Fund/Lifestyle Fund เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนสำหรับวัยเกษียณ และจ่ายผลตอบแทนสม่ำเสมอ เพื่อเป็นรายได้ประจำ เช่น

► กองทุน B-Senior บลจ.บัวหลวง
► กองทุน TISCO Smart Retirement บลจ.ทิสโก้

หรือถ้าอยากจะฝากไว้กับธนาคารอย่างน้อยให้ได้ดอกเบี้ยออกมาเป็นค่าขนมหลาน ๆ อาจจะเลือก

  • เงินฝากดอกเบี้ยพิเศษสลากออมสิน/สลาก ธ.ก.ส.
  • เงินฝากสำหรับผู้สูงอายุ ที่ให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ (ปลอดภาษี + ประกัน) เช่น

► บัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเกษียณ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
► บัญชีเงินฝากประจำซูเปอร์ ซีเนียร์ ธนาคารกสิกรไทย
► เงินฝากประจำซีเนียร์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
► การวางแผนมรดก

2. ธนาคารผู้สูงวัย

ธนาคารผู้สูงวัย โดยธนาคารออมสิน ที่มีบริการทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เช่น เงินฝากเผื่อเรียกประชารัฐผู้สูงวัยเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษผู้สูงวัย สินเชื่อประชารัฐเพื่อผู้สูงวัย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage)

3. สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage)

ในกรณีที่เงินที่เก็บออมไว้มีไม่มากพอ แต่มีบ้านเป็นของตัวเอง สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นรายได้ประจำ โดยใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ

4.ประกันชีวิตและประกันภัย

สำหรับผู้สูงอายุมีประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพที่ออกมาเอาใจผู้สูงาอยุโดยเฉพาะ

  • ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ (ไม่ตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ) เช่น

► สูงวัยตลอดชีพ เพิ่มทุน (ไม่มีเงินปันผล) (เพื่อผู้สูงอายุ) บริษัท เอไอเอ (ประเทศไทย)
► มรดกเพิ่มพูน (เพื่อผู้สูงอายุ) บริษัท ไทยประกันชีวิต
► ประกันชีวิตสูงวัย สุขใจ (เพื่อผู้สูงอายุ) บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต
► เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต

  • ประกันสุขภาพเช่น

► ไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ 80 ปีคุ้มครองผู้สูงอายุที่มีอายุถึง 80 ปีรับประกันภัยสำหรับผู้มีอายุ 1 เดือน ถึง 70 ปี
► เมืองไทยประกันชีวิต เอ็กซ์ตร้า แคร์ ให้ความคุ้มครองถึงอายุ 71 ปี เหมาะกับคนที่มีสวัสดิการค่ารักษาจากภาครัฐ หรือสวัสดิการอื่น ๆ
► อลิอันซ์ อยุธยา ประกันสุขภาพปลดล็อก ให้ความคุ้มครองอายุถึง 85 ปี

  • ประกันอุบัติเหตุ เช่น
    •  

► ประกันอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ ธนาคารกสิกรไทย
► ประกันอุบัติเหตุเพื่อวัยอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์
► สมาร์ทพีเอ อาวุโส บริษัท แอกซ่าประกันภัย

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุคาดว่าประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ หรือประชาการอายุ 60 ปี ขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2561 ซึ่งถือว่าเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” แล้วตามนิยามขององค์การสหประชาชาติในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดไว้ว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2564 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด และจากการจัดอันดับของประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากสิงคโปร์เท่านั้น

ดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สศช.ประมาณว่า ปี 2561 จะเป็นปีแรกที่ประชากรผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากกว่าวัยเด็กหลายแสนคน จากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2564 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 20% และในปี 2579 ประชากรจะมีจำนวนน้อยกว่าในปัจจุบัน ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 30%

“ปัจจุบัน จำนวนเด็กแรกเกิดลดลงขณะที่ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนายังไม่ถึงจุดที่มีรายได้สูง อยู่ในโครงการสร้างประชากรและเศรษฐกิจที่ แก่ก่อนรวย” ดร.ปรเมธี กล่าว

และแน่นอนว่า ถ้าคนไทยแก่ก่อนรวยคนที่ต้องลงมาช่วย คือ รัฐบาล ซึ่งก็คือเงินภาษีจากประชาชนวัยทำงานที่มีอยู่น้อยนิด จะต้องมีภาระการพึ่งพิงจากทั้งวัยเด็กและผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่อยากเป็นคนสูงวัยที่เป็นภาระให้สังคม ต้องเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณตั้งแต่วันนี้ หรือ อย่างน้อยที่สุดก็อย่าให้เกินอายุ 40 ปี เพราะถ้ามาเริ่มหลังจากนี้แผนชีวิตสุขสบายวัยเกษียณอาจจะไม่ค่อยมีคุณภาพสักเท่าไร