จริยธรรมในการใช้งาน เทคโนโลยี ดิจิทัล มี อะไร บ้าง ยก ตัวอย่าง

จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และสังคม เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประเด็นด้านจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : มองในส่วนของสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้หรืออ่านข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้
  • ความถูกต้อง (Accuracy) : มองในส่วนการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องแล้วนั้น จะทำให้เมื่อนำไปประมวลผลมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย
  • ความเป็นเจ้าของ (Property) : มองในส่วนสิทธิความเป็นเจ้าของในซอฟต์แวร์ (ลิขสิทธิ์)
  • การเข้าใช้ข้อมูล (Access) : มองในส่วนสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ใครบ้างที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และใครบ้างที่สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law)

  • เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
  • เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง
  • พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
  • ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสนเทศ
  • ปัญหาเด็กติดเกมส์
  • ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์
  • ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล
  • ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การนำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการเข้าใจผิด ฯลฯ

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม
    • ระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น
    • ตั้งใจทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ
    • ทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
  2. สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
    • พึงรำลึกอยู่เสมอว่า ในสังคมของเราทุกวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควร
    • หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ดี ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้
    • ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป
  3. ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
    • วัฒนธรรมที่ดีสามารถควบคุมและแก้ปัญหาสังคมได้ เช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น
    • ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
  4. การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน พึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น เช่น
    • การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
    • การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม
    • การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • การค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  5. ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้เช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ
    • บุคลากร
    • ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพ
    • สิ่งแวดล้อมขององค์กร
    • การควบคุมการเข้าถึง
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย ฯลฯ
  6. ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย
    • การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ (Copyright) ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา
    • การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น

บัญญัติ 10 ประการเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ

  1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
  2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
  4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
  7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน
  10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท


by supersacconf2019 · 13/12/2018

บทความในหัวข้อนี้ ควรชี้ให้เห็นปัญหาทางด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเช่น การเคารพสิทธิของบุคคล ความรับผิดชอบต่อสังคม ความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ หรือ อธิบายให้เห็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าและความหมายของจริยธรรมที่เกิดขึ้นในการใช้สื่อดิจิทัล หรือ อธิบายให้เห็นรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในโลกดิจิทัลที่มีผลต่อการสร้างจริยธรรม

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีมีกี่ข้อ

จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ในลักษณะตัวย่อว่า PAPA. •1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) •2.ความถูกต้อง (Accuracy) •3.ความเป็นเจ้าของ (Property) •4.การเข้าถึงข้อมูล (Data accessibility)

จริยธรรมที่ผู้ทําธุรกิจดิจิทัลต้องมี คืออะไรบ้าง ตอบ 5 ข้อ

จริยธรรมในการทา ธุรกิจดิจิทัล 1. ขายสินค้าและบริการในราคายุตธรรมและตรงตามคุณภาพที่ระบุไว้ 2. ละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 3. ควรตรงไปตรงมาชัดเจนแน่วแน่น 4. ไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น 5. ไม่ส่งสแปมเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะ เพื่อสร้างความราคาญ ให้แก่ผู้รับ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมคืออะไร

ดังนั้น จริยธรรมของนักสารสนเทศ จึงสรุปความหมายได้ว่า การที่ บุคคลนั้นมีการประพฤติปฏิบัติที่ดี คิดดี ท าดีต่อการน าสารสนเทศไปใช้ รวมถึง การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลได้

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีกี่ประเด็น

โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย 1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) 2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)