คะแนนโอเน็ตมีผลต่ออะไรบ้าง

คะแนนโอเน็ตมีผลต่ออะไรบ้าง

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายยกเลิกการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.6 ในปีการศึกษา 2564 ทำให้ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ต้องปรับรูปแบบ TCAS ในปีการศึกษา 2565 ทำให้รอบ Admission2 ที่ใช้คะแนน O-NET ในสัดส่วน 30% ต้องถูกยุติการใช้ใน TCAS65 และจะไม่ใช้คะแนนสอบอื่นมาทดแทน เพื่อลดภาระให้นักเรียน โดยจะเหลือการรับ 4 รูปแบบ 4 รอบการสมัคร ได้แก่ รอบ 1 แฟ้มสะสมผลงาน รอบ 2 โควต้า รอบ 3 แอดมิสชั่นส์ และรอบ 4 รับตรงอิสระ

นายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขานุการ ทปอ.และผู้จัดการระบบทีแคส กล่าวว่า ส่วนที่จะต้องประกาศล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปีนั้น เดิมระบบแอดมิชชัน ได้ปรับสัดส่วนการคัดเลือกโดยใช้เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรการศึกษา หรือ GPAX 20% ดังนั้น ต้องประกาศล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี เพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวทำคะแนน GPAX แต่การเปลี่ยนแปลง และยกเลิกการสอบ O-NET ซึ่งเป็นข้อสอบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ทปอ.นำมาใช้เพื่อมาถ่วงค่าน้ำหนัก GPAX ของนักเรียน เนื่องจากคะแนน GPAX ของแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานแตกต่างกัน จึงต้องใช้คะแนน O-NET เอามาถ่วงน้ำหนัก แต่เมื่อ ศธ. มีนโยบายยกเลิกสอบ O-NET ในปีการศึกษา 2564 ทำให้ ทปอ. ไม่มีคะแนน O-NET มาถ่วงน้ำหนักคะแนน GPAX ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงการใช้คะแนน O-NET จึงไม่ต้องประกาศล่วงหน้าก็ได้

“เมื่อไม่มีการสอบ O-NET แล้ว จะส่งผลต่อ TCAS ปีการศึกษา 2565 ที่ไม่มีคะแนน O-NET มาถ่วงน้ำหนักคะแนน GPAX ทำให้เกณฑ์การคัดเลือกในรูปแบบ Admission2 ต้องยุติการใช้งาน เพราะขณะนี้ระบบ TCAS มีการคัดเลือก 5 รูปแบบ ซึ่งมากพอที่จะคัดเลือกได้อยู่แล้ว ดังนั้น ใน TCAS65 จะเหลือรูปแบบการคัดเลือก Admission1 แค่รูปแบบเดียว ซึ่งการยกเลิกรูปแบบ Admission2 ไม่ส่งผลกระทบต่อการคัดเลือกในระบบ TCAS แต่นักเรียนยังมีข้อกังวลว่าเกณฑ์การคัดเลือกของ Ademission1 ที่มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง และใช้คะแนนสอบเหมือน Admission2 แต่ต่างกันตรงที่ไม่ใช้คะแนน GAPX มาเป็นสัดส่วน หรือบางสาขาใช้คะแนน GPAX แต่กำหนดไว้ในเกณฑ์ที่สูง ซึ่งใน TCAS ปีการศึกษา 2564 พบว่า Admission1 บางสาขากำหนดคะแนน GPAX ไว้สูง ทำให้นักเรียนบางคนไม่สามารถสมัครได้ ต้องรอสมัคร Admission2 ที่ไม่กำหนดคะแนน GPAX ขั้นต่ำ” นายพีระพงศ์ กล่าว

นายพีระพงศ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ระบบ TCAS65 หลายคนกังวลว่าจะไม่สามารถสมัครได้ ซึ่ง ทปอ. รับทราบความกังวล ดังนั้น รอบ Admission ใน TCAS65 จึงต้องปรับ และทบทวนคุณสมบัติของผู้สมัคร เพื่อให้นักเรียนสมัครคัดเลือกได้ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะไปทบทวน และปรับคุณสมบัติของผู้สมัครใหม่ ซึ่งอาจจะปรับคุณสมบัติการคัดเลือก เพราะรูปแบบการคัดเลือก Admission1 ทปอ. ให้อิสระมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนเกณฑ์การคัดเลือกอยู่แล้ว และข้อสอบยังใช้ข้อสอบเดิม คือ วิชาสามัญ การทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) อย่างไรก็ตาม ปีการศึกษา 2564 ถือเป็นปีแรกที่ได้เรียกตัวสำรองขึ้นมาด้วย ส่วน TCAS65 รอบ Admission จะเรียกตัวสำรองด้วย โดยจะทำการเคลียร์ริ่ง 2 รอบ

ข่าวจาก : ​MATICHON ONLINE

คะแนนสอบโอเน็ตต่ำ  โรงเรียนจึงมีคุณภาพต่ำด้วย ??

สายพิน  แก้วงามประเสริฐ

                ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (ผอ.สทศ.)   ตกใจผลคะแนนสอบโอเน็ตของ   นักเรียนต่ำลง   จึงเตรียมจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา   ที่มีผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หรือ โอเน็ตต่ำ   โดยมีแผนนำร่องพัฒนา  ๑๐๐  โรงเรียนทั่วประเทศ   ซึ่งจะใช้งบประมาณราว ๆ ๑๐๐  ล้านบาท   แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์  และจัดอบรมครู  จำนวน  ๘๐  ล้านบาท  ส่วนอีก  ๒๐  ล้านบาท  เป็นค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผลโรงเรียนในรูปแบบเชิงวิจัย

                หากมองผิวเผินแล้ว   ทำให้เห็นว่ามีหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา   เป็นเรื่องที่น่าดีใจ  แต่หากมองอีกทีจะพบว่า  สังคมยังให้ความสำคัญกับคะแนนการสอบค่อนข้างมาก   ถึงขั้นเห็นว่าโรงเรียนที่  นักเรียนสอบได้คะแนนโอเน็ตต่ำ   เป็นโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพ  จึงต้องมีโครงการพัฒนา  หรือสำนวนของ ผอ.สทศ. บอกว่า  สทศ. อยากกระโดดลงไปให้ความช่วยเหลือโรงเรียนที่มีคุณภาพต่ำ

                อาการอยากกระโดดลงมาช่วยเหลือ   เป็นอาการทนเห็นโรงเรียนเหล่านี้มีคุณภาพต่ำต่อไปไม่ได้   และเชื่อว่าการกระโดดลงไปช่วยเหลือครั้งนี้จะทำให้โรงเรียนมีคุณภาพสูงขึ้นจริง   โดย สทศ. มีความเชื่อว่า  การที่เด็กสอบได้คะแนนโอเน็ตต่ำ  น่าจะเป็นเพราะ  ประการแรกครูมีคุณภาพไม่ดี  จึงต้องฝึกอบรมครู  ประการที่สองโรงเรียนเหล่านี้น่าจะขาดซอฟต์แวร์   ประการที่สามต้องปรับปรุงแผนการสอนในรายวิชาที่นักเรียนสอบได้คะแนนน้อย

                โดยภาพรวม สทศ. มองเห็นว่าโรงเรียนใดได้คะแนนโอเน็ตน้อย   เป็นผลมาจากคุณภาพการสอนของครูไม่ดีเป็นประการหลัก   รองลงมาคือการขาดแคลนสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย   และยังเห็นว่าการที่เด็กได้คะแนนน้อยสะท้อนความด้อยคุณภาพของโรงเรียน

                ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า  คะแนนสอบโอเน็ตคือตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน  คุณภาพของครูจริง ?   ถ้าปัจจัยอยู่ที่ครูเพียงประการเดียว   แสดงว่าถ้าให้ครูในโรงเรียนที่มีคะแนนโอเน็ตสูง ๆ มาสอนเด็กในโรงเรียนที่มีคะแนนโอเน็ตต่ำ  ย่อมทำให้เด็กมีคะแนนเพิ่มขึ้นจริง ?

                ประการต่อมา หากเชื่อว่าคะแนนโอเน็ตสามารถแสดงความมีคุณภาพ  หรือด้อยคุณภาพของ        โรงเรียนได้  จะมีผลทำให้โอกาสทางการศึกษาของเด็กยิ่งน้อยลงไป   เพราะโรงเรียนมีชื่อเสียง หรือโรงเรียนที่มีคะแนนโอเน็ตอยู่ในระดับสูงและระดับ กลาง ๆ  ยิ่งปฏิเสธนักเรียนที่มีผลการเรียนที่ไม่ดี  ทำให้ระบบการสอบแข่งขันเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาเข้มข้นขึ้น   แต่ละโรงเรียนจะใช้ระบบการสอบเข้า  เพื่อให้ได้เด็ก เก่ง ๆ เข้าเรียน  โดยอาจจะไม่พิจารณาเด็กบ้านใกล้  หรือพื้นที่บริการ   เพราะการแข่งขันโดยการสอบทำให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้เด็กเก่ง ๆ  เป็นหน้าเป็นตาของโรงเรียน  และของครู  ส่วนเด็กที่คะแนนไม่ดีก็ต้องเรียนในโรงเรียนที่ถูกตราหน้าว่าด้อยคุณภาพ

                นอกจากนี้การพิจารณาว่าคะแนนโอเน็ต   เป็นตัวชี้วัดความมีคุณภาพของโรงเรียน  ย่อมทำให้เด็กที่ทำให้โรงเรียนมีคะแนนต่ำ  รู้สึกด้อยค่ามากขึ้นไปอีก  หากเด็กไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง  จะมีผลดีอะไรต่อสังคม ?

                อีกทั้งการใช้คะแนนเป็นตัวชี้วัดความมีคุณภาพของโรงเรียนหรือของครู   ย่อมก่อให้เกิดความไม่     ยุติธรรมต่อครูผู้สอน   นอกจากถูกประนามกลาย ๆ ว่าสอนอย่างไรเด็กถึงได้คะแนนน้อย   แล้วยังมีความคิดจากผู้ที่ควรจะร่วมรับผิดชอบกับครู  หากแม้การศึกษาจะไม่มีคุณภาพ   แต่กลับเห็นว่าหากคะแนนสอบของเด็กต่ำ  ไม่ว่าจะเป็นคะแนนโอเน็ต  เอเน็ต  หรือ เอ็นที  ควรให้มีผลต่อการต่อใบประกอบวิชาชีพครูบ้าง   หรือการประเมินวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่  ก็จะใช้คะแนนสอบเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินการผ่าน หรือไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะ   เสมือนว่าการที่เด็กได้คะแนนน้อย  ควรที่จะจัดการกับความด้อยคุณภาพของครูเป็นสำคัญหรืออย่างไร

ทั้งที่การมองว่าโรงเรียนที่มีคะแนนสอบโอเน็ตต่ำ   เพราะครูมีคุณภาพไม่ดี   น่าจะไม่ถูกต้อง  เพราะโรงเรียนเล็ก ๆ ไม่มีชื่อเสียง  อยู่ในชนบท ไม่มีโอกาสเลือกเด็ก  ซึ่งมักจะได้เด็กที่เรียนอ่อนเป็นส่วนใหญ่  อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ  แต่หากพิจารณาความยากง่ายในการสอนแล้ว  เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่าเด็กที่มีคะแนนดี ๆ  ครูสอนได้ง่าย พัฒนาได้ง่าย และบางทีเรียนกวดวิชาจนล้ำหน้ากว่าที่ครูจะสอนด้วยซ้ำ จึงมีความพร้อมในการเรียนมากกว่าเด็กที่มีพื้นฐานการเรียนด้อย หรือสติปัญญาไม่ค่อยดี   และครอบครัวไม่มีความพร้อมที่จะสนับสนุนเท่าใดนัก  แต่เรากลับชื่นชมโรงเรียนดัง ๆ  เด็กเก่ง ๆ  ว่าครูมีคุณภาพดี   ทั้งที่ถ้าพิจารณาอย่างรอบครอบ  ครูโรงเรียนประเภทไหนที่ต้องใช้ความสามารถในการสอนมากกว่ากัน

เป็นเรื่องที่ไม่เห็นน่าจะตกใจอะไร   หากดูรายชื่อ  ๑๐๐  โรงเรียน  ที่เด็กมีผลคะแนนสอบโอเน็ตต่ำ  สันนิษฐานได้ว่า  ไม่น่าจะมีโรงเรียนดัง ๆ ที่มีชื่อเสียง  แต่น่าจะเป็นโรงเรียนที่ไม่มีโอกาสเลือกเด็กเข้าเรียน   และเป็นเด็กที่มีพื้นฐานครอบครัวหลากหลาย   หากเด็กเหล่านี้มีคะแนนโอเน็ตสูง   ก็ควรทำวิจัยเช่นกันว่าเพราะอะไร   หรือไม่ก็ต้องยกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ   เพราะปัจจัยทางการศึกษาไม่พร้อม  ทั้งสื่อ อุปกรณ์  ระดับสติปัญญา  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่ไม่ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว   หากสอบโอเน็ตได้คะแนนเฉลี่ยสูง   ก็เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดอยู่ไม่น้อย

การมองว่าคะแนนสอบของเด็กต่ำ เพราะโรงเรียนด้อยคุณภาพ  มีส่วนทำให้บุคลากรในโรงเรียนเกิดความท้อถอยในการทำงานไม่น้อย   มีโรงเรียนใดที่อยากให้คะแนนสอบของเด็กต่ำ ?  เพราะคะแนนของเด็กพลอยทำให้ทั้งผู้บริหารโรงเรียน  และครู  รวมทั้งชื่อของโรงเรียนได้รับการกล่าวขวัญชื่นชม  จนน่ายินดีปรีดาอยู่ไม่น้อย   แต่บางครั้งการร่วมแรงร่วมพลังทั้งสอนเสริมให้กับนักเรียนหลังเลิกเรียนในทุกรายวิชาที่สอบ  โดยไม่คิดมูลค่า   แต่ผลการสอบก็ยังออกมาไม่ค่อยเป็นที่น่ายินดีเท่าใดนัก   ย่อมแสดงว่าปัจจัยคงไม่ใช่อยู่ที่กระบวนการเรียนการสอนแต่เพียงประการเดียว

หาก สทศ. จะใช้งบประมาณถึง  ๒๐  ล้านบาท  เพื่อติดตามประเมินผลโรงเรียนในรูปแบบเชิงวิจัยแล้ว   น่าจะใช้เงินส่วนหนึ่งในการทำวิจัยเปรียบเทียบว่าเพราะเหตุใด   คะแนนสอบโอเน็ตของโรงเรียนถึงต่ำ   โดยฝากให้เปรียบเทียบปัจจัยต่อไปนี้  ของโรงเรียนที่มีคะแนนสอบโอเน็ตสูง  กับโรงเรียนที่มีคะแนนสอบโอเน็ตต่ำ  คือ

ปัจจัยแรก  กลุ่มโรงเรียนที่มีคะแนนสูงกับกลุ่มที่มีคะแนนต่ำ  โรงเรียนมีชื่อเสียงต่างกันหรือไม่   แต่ละปีมีเด็กแข่งขันสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนเหล่านี้มากน้อยเพียงใด   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนสองกลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญอย่างไร

ปัจจัยที่สอง  โรงเรียนสองกลุ่มนี้มีปริมาณครูตามสาขาวิชาเพียงพอมากน้อยเพียงใด   การสนับสนุนให้ครูได้พัฒนาตนเองมีความแตกต่างกันหรือไม่

ปัจจัยที่สาม   วิธีการสอนของครู  ครูโรงเรียนที่เด็กมีคะแนนโอเน็ตสูงสอนเก่งกว่าโรงเรียนที่มีเด็กได้คะแนนโอเน็ตต่ำกว่า  จริงหรือไม่   รวมทั้งแนวคิดจะปรับปรุงแผนการสอนในรายวิชาที่นักเรียนสอบได้คะแนนน้อยนั้น   ทำให้สงสัยว่าหลักการสอนที่ดี  ควรคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กเป็นสำคัญมิใช่ ?   ถ้าอย่างนั้น สทศ. จะปรับแผนการสอนอย่างไร  แล้วรู้หรือว่าเด็กแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไร   

ปัจจัยที่สี่   สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นในการจัดการศึกษา   ตลอดจนหนังสืออ่านเพิ่มเติม  ที่ให้นักเรียนใช้ศึกษาค้นคว้า  และงบประมาณสำหรับการจัดหาสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่จะเอื้อต่อการเรียน        การสอนของโรงเรียนสองกลุ่มนี้   ไม่นับเฉพาะงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้เท่านั้น   มีความแตกต่างกันหรือไม่   งบประมาณในการจัดการศึกษามีผลต่อคะแนนการสอบของเด็กอย่างไร

ปัจจัยที่ห้า   ความแตกต่างของเด็กสองกลุ่มนี้  ต้องวิจัยด้วยว่า  เด็กมีสภาพพื้นฐาน  ปัจจัยสนับสนุนจากครอบครัวแตกต่างกันหรือไม่   เด็กได้เรียนกวดวิชามากน้อยเพียงใด   เพราะการกวดวิชากลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการสอบไม่ว่าระดับใด ๆ ไปโดยปริยายไปแล้ว   นอกจากนี้เด็กมีเป้าหมายในการเรียนต่างกันอย่างไร   และโอกาสทางการศึกษาของเด็ก   ระหว่างเด็กที่มีความพร้อมในทุกด้าน   กับเด็กที่ไม่มีความพร้อมไปเสียทุกด้าน  ทั้งผลการเรียน  และเงินทุนการศึกษา  ระดับสติปัญญาเด็กสองกลุ่มนี้จะมีผลคะแนนแตกต่างกันหรือไม่

ปัจจัยที่หก  แม้การสอบโอเน็ต  คือการสอบวัดความรู้ขั้นพื้นฐานของเด็ก   ดังนั้นข้อสอบต้องไม่ยากเกินไป  ตราบใดที่โรงเรียนในประเทศไทยยังมีความแตกต่าง  และมีความสามารถที่จะพัฒนาการศึกษาได้แตกต่างกัน   หากวัดที่ปัจจัยสนับสนุนการศึกษา  และความสามารถที่จะดึงเด็กเก่งได้ต่างกัน

การที่เด็กที่เรียนชั้น ม. ๖ ทุกคนต้องสอบโอเน็ต   ข้อสอบจึงต้องมีการหาค่าความยากง่าย  และความเหมาะสมของข้อสอบ   สทศ. คงได้ทำอยู่แล้ว  แต่จากแนวคิดประการหนึ่งของ สทศ. ที่จะพัฒนาโรงเรียน ๑๐๐  โรงเรียนด้อยคุณภาพ โดย สทศ. จะวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต ให้โรงเรียนทราบว่า  นักเรียนแต่ละ          โรงเรียนทำข้อสอบถูกและผิดข้อใดเป็นส่วนใหญ่   และที่ตอบผิดเป็นเพราะสาเหตุใดจึงตอบผิด

จะหาเหตุผลอย่างไร  จะให้ตามไปถามเด็กว่าทำไมจึงตอบผิด ?   ถ้าข้อใดเด็กตอบผิดเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งใน ๑๐๐  โรงเรียนนี้  ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเด็กอ่อน  ดังนั้นข้อสอบที่แม้แต่เด็กอ่อนยังตอบผิดเป็นส่วนใหญ่   แสดงว่าข้อสอบข้อนี้มีค่าความยากง่ายเหมาะสมแล้ว ?

บางทีถ้า สทศ. ลองนำข้อสอบปีที่ผ่านมา และปีก่อน ๆ มาวิเคราะห์ค่าความยากง่าย ความเหมาะสมกับพื้นฐานของเด็กก็ดีเหมือนกัน   เพราะการสอบโอเน็ตเป็นการสอบวัดความรู้พื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องสอบ   ไม่ว่านักเรียนที่มีความประสงค์จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือไม่  หรือเด็กที่เรียนชั้นมัธยมเพื่อให้มีความรู้       พื้นฐานไปใช้ประกอบอาชีพก็ต้องสอบ   ดังนั้นถ้าข้อสอบยากเกินไป  ก็ไม่มีประโยชน์  เพราะถึงอย่างไร  โรงเรียนที่มีเด็กเก่ง   ก็ต้องได้คะแนนสูงเป็นธรรมดา   ส่วนโรงเรียนที่มีเด็กอ่อนก็ต้องได้คะแนนต่ำ   เป็นเรื่องธรรมดาไม่น่าตกใจ   เว้นแต่ สทศ. เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ๔   ชุด ที่ผ่านมา   แล้วพบว่าข้อสอบมีความง่ายมาก   จนไม่น่าเชื่อว่าเด็กจะทำคะแนนไม่ได้  แล้วค่อยตกใจ   แล้วจึงหาวิธีแก้ไขร่วมกับ      โรงเรียน

การนำคะแนนโอเน็ต  มาตีค่าความด้อยคุณภาพของโรงเรียน   โดยไม่พิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบกัน  หรือที่ชอบเปรียบเทียบว่าใครด้อยกว่าใคร  เป็นวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดการชิงดีชิงเด่นกันใช่หรือไม่

หากผลการวิจัยออกมาอย่างไร  แล้วค่อยมาตอกย้ำว่าโรงเรียนที่มีคะแนนโอเน็ตต่ำ  คือโรงเรียนด้อยคุณภาพก็ยังไม่ช้าเกินไป

อย่างไรก็ตาม  เราไม่ควรมองเพียงผิวเผินที่คะแนนสอบเท่านั้น   แล้วเที่ยวแขวนป้ายว่าโรงเรียนใดด้อยคุณภาพ   เพราะคุณภาพของโรงเรียนน่าจะพิจารณาที่ความสามารถในการพัฒนาคนให้มีทั้งความรู้  และความดี  แม้ว่าคะแนนสอบจะเป็นตัวบ่งบอกความรู้ของเด็กก็ตาม   แต่ก็เป็นความรู้ส่วนหนึ่งในอีกหลากหลายความรู้ที่มีอยู่ในโลกนี้   อีกทั้งความรู้ที่โรงเรียนควรพัฒนาให้เด็ก   ควรเป็นความรู้ที่อิงอยู่กับความสามารถ  และศักยภาพของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ   คงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เด็กมีความรู้ด้วยการทำ           ข้อสอบได้คะแนนสูง ๆ เช่นเดียวกัน

อีกทั้งงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา   มิใช่เพียงแค่ทำให้เด็กสอบได้คะแนนสูง ๆ   แล้วพากันดีใจได้ปลื้มว่าประสบความสำเร็จ   แต่ควรทำให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ถึงจะได้ชื่อว่ามีส่วนทำให้การศึกษาพัฒนา  โรงเรียนมีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม

คะแนน Onet ใช้ทำอะไร

O-NET (Ordinary National Educational Test) : การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อทดสอบ ความรู้และความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามมาตรฐาน การเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

คะแนนโอเน็ต ม.6 มีผลอะไรบ้าง

รู้หรือไม่ O-NET ม.6 นั้นสำคัญไฉน คะแนน o-net นี้ติดตัวไปตลอดชีวิต ถ้าขาดสอบ หรือไม่เข้าสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็หมดสิทธิ์แอดมิชชั่น ในบางมหาวิทยาลัยใช้คะแนน o-net ภาษาอังกฤษ เป็นตัวแบ่งเกณฑ์ในการจัดห้องเรียนภาษาอังกฤษ ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน

คะแนนโอเน็ต มีผลอะไรบ้าง

ข้อสอบ O-NET เป็นข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศ จึงเป็นภาพสะท้อนคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน หากนักเรียนสอบได้คะแนนสูงโรงเรียนก็ได้รับผลการประเมินดีเช่นกัน เป็นการตอบแทนพระคุณของโรงเรียนและคุณครูที่มอบความรู้ให้กับเรา

สอบโอเน็ตดียังไง

นอกจากคะแนน O-NET จะใช้ในสมัครเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยของน้อง ๆ ม.6 แล้ว ยังนำมาใช้ประเมินคุณภาพของโรงเรียน อีกด้วย สำหรับโรงเรียนที่มีผลคะแนนสอบดีจะได้รับโควตาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ให้กับนักเรียนที่มีผลคะแนนสอบดีใน 100 อันดับแรก (ไม่ได้เป็นทุกมหาวิทยาลัยนะจ๊ะที่จะมีโควตามอบให้กับนักเรียนเข้าเรียนต่อที่สถาบันของ ...