เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คอนเทนต์บนโลกออนไลน์มีอัตราการแข่งขันสูงขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเนื้อหาที่ได้รับความนิยมและกลายเป็นเทรนด์ของผู้บริโภคอยู่เสมอ คงหนีไม่พ้นบรรดาคลิปวิดีโอตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Youtube, Facebook หรือ Tiktok ซึ่งมันส่งผลให้หลากหลายแบรนด์ทั่วโลกหันมาทำ Video Marketing กันมากขึ้น ดังนั้นวันนี้ Cotactic จึงอยากจะพาผู้ประกอบการที่สนใจ มาเรียนรู้ 3 เทคนิควิธีตัดต่อคลิปวิดีโอเพื่อทำคอนเทนต์หาลูกค้ากันครับ ว่าจะมีเคล็ดลับอะไรบ้างที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจได้จริง ๆ

“เสียง” คือองค์ประกอบสำคัญไม่แพ้ “ภาพ”

สำหรับแบรนด์ที่พึ่งเริ่มทำ Video Marketing อาจมีความเข้าใจว่า ภาพคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุดของการทำคลิปวิดีโอ แต่แท้จริงแล้ว เสียงก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคอนเทนต์ประเภทวิดีโอเกิดขึ้นมาจากการผสมภาพและเสียงเข้าด้วยกัน ดังนั้นถ้าหากตัวคลิปมีภาพดี มีภาพสวย ถ่ายฟุตเทจออกมาได้ยอดเยี่ยม แต่มีเสียงที่แย่ ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีการบันทึกจัดเก็บอย่างถูกต้อง ตัวคอนเทนต์โดยรวมก็จะออกมาแย่ ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เลย 

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

เพื่อให้เนื้อหาที่ตัวธุรกิจสร้างมีศักยภาพมากพอจะทำงานได้ตามเป้าหมาย การใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการถ่ายทำก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หลายครั้งที่ทีมโปรดักชั่นละเลยการจัดการเรื่องเสียง ก็ส่งผลให้ฟุตเทจที่บันทึกมามีปัญหาตอนตัดต่อ ต้องถ่ายซ่อมหรือถ่ายทำใหม่ ตัวธุรกิจอาจเสียทรัพยากรไปโดยใช่เหตุจากความผิดพลาดตรงนี้

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

ซึ่งนอกจากเสียงที่เก็บบันทึกมาแล้ว เพลงประกอบหรือเพลงพื้นหลังก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะสำหรับการทำคอนเทนต์วิดีโอในเชิงธุรกิจ การเลือกใส่เพลงหรือซาวนด์เอฟเฟคเข้าไปในคลิปต้องผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์, ระดับเสียงดังเบา, ความเข้ากันของเนื้อหา (Mood and Tone) หรือจังหวะการตัดต่อ เป็นต้น หากตัวธุรกิจจัดการองค์ประกอบเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง วัตถุดิบในการทำคอนเทนต์ก็จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังมีประสิทธิภาพจนพร้อมทำงานได้ในทุกรูปแบบ

และเมื่อฟุตเทจทั้งหมดมีแต่องค์ประกอบที่มีคุณภาพ คอนเทนต์ที่ตัดต่อเสร็จก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง เพราะเนื้อหาจะสามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่ ภาพและเสียงที่ดูดีจะทำให้แบรนด์ดูมีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นมืออาชีพ คอนเทนต์จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว แบรนด์จึงสามารถนำเอาคอนเทนต์วิดีโอที่สมบูรณ์แบบ ไปต่อยอดกลยุทธ์ได้อย่างหลากหลาย จะเพิ่มยอดขายหรือหาลูกค้าใหม่ก็ทำได้ง่าย ตอบทุกโจทย์ที่ตัวธุรกิจต้องการ

Video Content บนโลกออนไลน์ควรมี Subtitle

สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้งานสมาร์ตโฟนกันอยู่ตลอดเวลา การเสพวิดีโอคอนเทนต์ต่าง ๆ บนโลกออนไลน์จึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาหรือสถานที่ในการรับชม การใส่ซับไตเติ้ลลงในคลิปจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปิดดูคลิปของเราได้ในทุกที่ แม้ว่าช่วงเวลานั้นจะไม่สามารถเปิดเสียงหรือใส่หูฟังได้ก็ตาม นี่ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้คอนเทนต์ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังทำงานสอดคล้องกับความเคยชินของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

ซึ่งแม้ว่าการทำซับไตเติ้ลจะฟังดูเหมือนง่าย แต่แท้จริงแล้วกลับมีกระบวนการที่ยุ่งยากมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการนั่งถอดเทปที่บันทึกไว้, การเลือกฟอนต์ที่เหมาะสมกับภาพรวมของคลิปวิดีโอ, การจัดเรียงตัวอักษรให้พอดีกับจังหวะของผู้พูด หรือแม้กระทั่งการตรวจสอบความถูกต้องของซับที่ปรากฏในเนื้อหา ด้วยความยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าขั้นตอนอื่น ก็ทำให้หลายแบรนด์ที่ทำวิดีโอคอนเทนต์เลือกที่จะไม่ใส่ซับเพราะจะได้ประหยัดเวลาทำงาน

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

แต่หากต้องมาเปรียบเทียบกันจริง ๆ วิดีโอคอนเทนต์ที่มีซับไตเติ้ลมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าวิดีโอที่ไม่มีซับหลายเท่า เพราะพฤติกรรมและความเคยชินของผู้บริโภค มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกเสพคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ ดังนั้นถ้าเนื้อหาที่แบรนด์สร้างตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุด มันก็มีโอกาสที่คอนเทนต์จะบรรลุเป้าหมายการทำงานได้มากกว่านั่นเอง นี่จึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่วิดีโอคอนเทนต์ขาดซับไตเติ้ลไม่ได้ โดยซับไตเติ้ลที่ดีนั้นต้องประกอบด้วย

  • ความเที่ยงตรง ตัวอักษรที่ถูกเขียนเป็นซับไตเติ้ลไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม ต้องตรงกับเนื้อหาที่พูดหรือสื่อสารออกมา อาจมีการเซ็นเซอร์คำที่ไม่เหมาะสมหรือเลี่ยงคำบางคำในบางสถานการณ์ได้ แต่หน้าที่ของซับไตเติ้ลคือการถ่ายทอดเนื้อหาให้ออกมาเป็นตัวอักษร ดังนั้นความเที่ยงตรงของซับทั้งหมดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
  • ความถูกต้อง การใช้ภาษาอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เป็นหัวใจสำคัญของการทำซับไตเติ้ลที่ตัวธุรกิจห้ามพลาดเป็นอันขาด เพราะมันส่งผลถึงความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพของแบรนด์ได้โดยตรง ดังนั้นการตรวจสอบความถูกต้องของซับไตเติ้ลหลังตัดต่อเสร็จ จึงเป็นขั้นตอนที่ต้องทำอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากมารู้ทีหลังว่าเกิดความผิดพลาดก็ต้องรีบจัดการแก้ไข แม้ว่าจะเผยแพร่เนื้อหาไปแล้วก็ตามที

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

ขอบคุณภาพประกอบจากเพจ เทพลีลา คลิกที่ภาพเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

นอกจากจะทำหน้าที่บอกเล่าเนื้อหาให้ออกมาเป็นตัวอักษรแล้ว ตัวซับไตเติ้ลเองยังทำให้สารที่ตัวธุรกิจพูดผ่านคอนเทนต์ ดูชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ผู้รับสารจะเข้าใจสิ่งที่แบรนด์สื่ออย่างถูกต้อง ส่งผลให้กลยุทธ์การตลาดที่ตัวธุรกิจใช้หาลูกค้าใหม่ มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

ปรับแต่งขนาดของวิดีโอให้เหมาะสมกับช่องทางการรับชม

หลายแบรนด์อาจคิดว่าการทำวิดีโอคอนเทนต์ ขนาดของคลิปจะต้องเป็นแนวนอนที่มีสัดส่วน 16:9 (1920 x 1080) ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านี้ แต่ในความเป็นจริงวิดีโอคอนเทนต์นั้นไม่ได้มีขนาดตายตัวที่กำหนดเอาไว้ชัดเจน เพราะในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีขนาดที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ผู้สร้างคอนเทนต์จึงนิยมตัดต่อวิดีโอไว้ที่ขนาดมาตรฐาน (16:9) เพื่อที่จะทำให้แบรนด์สามารถนำเนื้อหาไปลงได้ในทุกแพลตฟอร์ม

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

ซึ่งหลายธุรกิจที่ทำวิดีโอคอนเทนต์ก็เริ่มจับทางได้ว่า กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาชอบดูคลิปแบบไหน จึงทำให้เรามักเห็นวิดีโอขนาดอื่น ๆ บนโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น โดยขนาดที่เปลี่ยนไปนี้ก็มีปัจจัยมาจากพฤติกรรมและความเคยชินของผู้บริโภค ที่นิยมดูวิดีโอคอนเทนต์ผ่านสมาร์ตโฟนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นตัวธุรกิจจึงเจาะจงสร้างคลิปในขนาดที่สะดวกต่อการรับชม ไม่ต้องเอียงโทรศัพท์หรือปรับขนาดวิดีโอให้ยุ่งยาก เหตุผลก็เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคเปิดดูคลิปได้ในทุกที่ทุกเวลานั่นเอง

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

วิดีโอแนวตั้งที่มีสัดส่วน 4:5 (1080 x 1350) จึงเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมันเป็นคลิปวิดีโอที่มีขนาดกำลังพอดี สามารถใช้งานได้เกือบทุกแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ 

จึงพอสรุปได้ว่าขนาดของคลิปวิดีโอที่แบรนด์สร้างนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คิด ธุรกิจไหนที่คิดจะทำวิดีโอคอนเทนต์ ต้องมีการวางแผนและสร้างขั้นตอนการตัดต่อที่ชัดเจน ต้องศึกษาทำความเข้าใจในทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ว่ามีรายละเอียดที่เหมือนและแตกต่างกันตรงไหน เพื่อที่จะให้วิดีโอคอนเทนต์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมตอบโจทย์การหาลูกค้าอย่างที่ตัวธุรกิจได้วางแผนไว้

หากธุรกิจคุณต้องการที่ปรึกษา ต้องการทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการ หาลูกค้า แก้ไขปัญหา หรือวางรากฐานให้แก่ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic 

Line@: https://bit.ly/cotactic

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://shorturl.asia/5Sn6q 

https://shorturl.asia/a8k63 

https://www.thebranding-academy.com/post/2021social-imagesize

เทคนิคการตัดต่อ มีอะไรบ้าง

Cotactic Strategist Team 2021

เทคนิคการ cutมีอะไรบ้าง

- Cross Cut การตัดสลับไปมา เช่น ใช้ในฉากคุยโทรศัพท์ - Jump Cut การตัดต่อในฉากเดียวกัน เพื่อใช้บอกเวลา - Match Cut การวางฉากที่คล้ายๆกันให้อยู่ใกล้กัน เพื่อใช้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง - Smash Cut การตัดฉากอย่างฉับพลัน เช่น ตื่นจากฝันร้าย

การตัดต่อวีดีโอต้องมีอะไรบ้าง

ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟลดนตรี 3.ตัดต่องานวิดีโอ.
เครื่องคอมพิวเตอร์ ... .
กล้องถ่ายวิดีโอ ... .
Capture Card (การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ) ... .
แผ่นสำหรับบันทึกข้อมูล ... .
ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์.

เทคนิคการตัดต่อแบบ Match Cut คืออะไร

- การตัดภาพด้วยการจับคู่ (Match Cut) อาจเรียกได้ว่าเป็นด้านตรงข้ามของการตัดกระโดด เพราะเป็นการเชื่อมช็อตสองช็อตเข้าด้วยกัน โดยคานึงถึงความต่อเนื่องลื่นไหลเป็นหลัก โดยความต่อเนื่อง นั้นอาจเป็นในรูปทรง เช่น การตัดภาพกระดูกที่มนุษย์วานรใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธในยุคโบราณไปยัง ภาพยานอวกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งโลกอนาคตจาก ...

งานตัดต่อเรียกว่าอะไร

' Editor ' อาชีพที่เป็นมากกว่าการนำภาพมาเรียงต่อกัน