สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในด้านใดบ้าง

“หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา และได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ซึ่งบนปกสมุดไทยใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398

สยามเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อระเบียบใหม่เข้ามา ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงลงนามในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษ เดิมถูกกำหนดไว้โดยสนธิสัญญา เบอร์นี ในปี 2369 และซึ่งเบาว์ริงใช้สนธิสัญญานี้เป็นจุดเริ่มต้นเจรจา 

สนธิสัญญาเบาว์ริงเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศโดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ฯลฯ ทำให้เกิดการค้าเสรี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษารูปแบบบางประการของการให้สัมปทานหรือการผูกขาด ของเจ้าภาษีอากรแบบเดิมอยู่ (ฝิ่นและบ่อนเบี้ยการพนัน) นอกจากนี้ สนธิสัญญายังอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยาม ทั้งให้สหราชอาณาจักรจัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ด้วย

สิทธิสภาพนอกอาณาเขตคืออะไร ?

สนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลทำให้สยามเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล มีการรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้พลเมือง เป็นสิทธิทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ที่สามารถใช้กฎหมายของประเทศตัวเอง ในดินแดนประเทศอื่นได้ กล่าวคือสยามยินยอมให้ชาวต่างชาติ และคนในบังคับของชาวต่างชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ขึ้นศาลกงสุลแทน ซึ่งต่อมาไทยได้ใช้สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นแม่แบบของสนธิสัญญากับประเทศชาติตะวันตกอื่น ๆ ด้วย เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เดนมาร์ก รวมถึงประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  

ผลของสนธิสัญญาทำให้คนจีนที่เข้ามาค้าขายในไทย ขอเข้าเป็นคนในบังคับชาติตะวันตก เพื่อต้องการได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้คนไทยเกิดข้อเสียเปรียบอย่างยิ่ง นำมาสู่การพยายามเจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งบางประเทศได้คืนเอกราชทางการศาลใหไทย บางประเทศต่อรองว่าไทย ต้องประกาศใช้ประมวลกฎหมายครบถ้วนแล้วเป็นเวลา 5 ปี จึงจะยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างเด็ดขาดให้

สู่หนทางพัฒนากฎหมายไทย

หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามในเวลานั้นก็เร่งปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายให้เป็นสากล หวังการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ โดยมีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็เพื่อนำไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทวงคืนอธิปไตยทางการศาล โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการชำระกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายของไทย

ในปี พ.ศ. 2477 ไทยได้จัดทำประมวลกฎหมายสำเร็จ และประกาศใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2478 นับต่อไปอีก 5 ปี คือราวปี 2480 รัฐบาลไทยได้เจรจาขอความร่วมมือในการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ทำให้ไทยได้รับเอกราชทางการศาลกลับคืนมา นับรวมอายุของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่มีอิทธิพลต่อไทยนับเป็นเวลากว่า 80 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 - 2480 

Sources : www.m-culture.go.th, pridi.or.th, วารสารนิติสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1/2549: ความตกลง FTA กับความชอบด้วยกฎหมาย

เรียบเรียง : อ.อโณทัย

สนธิสัญญาเบาว์ริง  

หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยามเป็นสนธิสัญญา

ที่ทางโลกตะวันตกบีบคั้นทางสยามมาตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนที่อังกฤษเข้า

ยึดพม่าและต่อมาจนถึงตอนต้นของรัชกาลที่ 4เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักรสยาม

ทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398

โดย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

วิกตอเรียเข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งมีสาระสำคัญในการเปิดการค้าเสรีกับต่าง

ประเทศในสยามมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศโดยเป็นทางสยาม

ที่เสียเปรียบต่ออังกฤษเป็นอย่างมาก และเสียเปรียบกว่าชาติอื่นๆในเอเชียด้วยกัน

อีกด้วยในเรื่องการเก็บภาษีจากการค้าขายกับสำเภาตะวันตก ด้วยสนธีสัญญานี้เป็น

การเปิดเสรีในการค้าขายกับชาวต่างชาติเพราะก่อนหน้านี้การค้าขายกับชาติตะวันตก

นั้นเราได้เก็บภาษีจากการค้าขายได้เป็นอย่างมากแต่เมื่อมีการบีบบังคับให้เซ็นสนธิ-

สัญญาเบาว์ริงฉบับนี้ทำให้ทางสยามเสียเปรียบด้านการค้าและสิทธิสภาพของคนใน

ปกครองของอังกฤษที่ไม่ต้องถูกดำเนินคดีโดยศาลไทยและการตั้งกงสุลอังกฤษใน

กรุงเทพรวมถึงคนอังกฤษมีสิทครอบครองที่ดินในสยามได้หากแต่ถ้าสยามไม่ยอม

ตกลงตามนี้ทางอังกฤษก็เตรียมจะเอาเรือปืนเข้ามาบุกขยี้สยามเป็นแน่แท้อย่างที่เกิด

ในพม่า สยามเห็นว่าไม่มีทางเลือกจึงต้องยอมอ่อนผ่อนตามไป เราถูกบังคับทางอ้อม

จึงจำยอมต้องทำ

สนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสนธิสัญญาที่ไทยเสียเปรียบในด้านใดบ้าง

สาระสำคัญของสัญญา  (เอาแบบไม่ยิดยาวเข้าประเด็นนะครับ)

1.คนในบังคับอังกฤษที่อยู่ ณ กรุงเทพฯหรือในสยามจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของ

กงสุลอังกฤษโดยทางสยามจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวทำได้เพียงช่วยเหลือจับกุมให้อังกฤษ

นับเป็นครั้งแรกที่สยามมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประชากรต่างด้าว

2.คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่าทุกแห่งของสยาม

และสามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้ โดยสยามไม่ห้ามปราม

และสามารถจ้างลูกจ้างมาช่วนสร้างบ้านเรือนได้โดยไทยไม่ห้ามปราม คนในบังคับ

อังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณดังกล่าวได้ (อาณาเขตสี่ไมล์ 

สองร้อยเส้นไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมงจากกำแพงพระนคร) คนใน

บังคับอังกฤษยังได้รับอนุญาตให้เดินทางได้อย่างเสรีในสยามโดยมีหนังสือที่ได้รับการ

รับรองจากกงสุล

3.ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน

  - อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3 ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี

แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษี

เช่นกัน

  - สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน (จังกอบ 

ภาษีป่า ภาษีปากเรือ) หรือภาษีส่งออก

4.พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยามโดยไม่มีผู้ใด

ผู้หนึ่งขัดขวางหรือเบียดเบียน

5.รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีที

ท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

6.คนในบังคับของอังกฤษจะมาค้าขายตามหัวเมืองชายฝั่งทะเลของสยามได้แต่จะต้อง

อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯแลจังหวัดที่ระบุไว้ในสัญญา

7.ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมให้

อังกฤษแลคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน

ไทยเสียบเปรียบอย่างไร 

 1.ไทยหรือสยามในขณะนั้นไม่สามารถดำเนินคดีแก่คนในบังคับของอังกฤษได้โดย

ตรงต้องส่งไปให้อังกฤษพิจารณาเองไทยไม่มีสิทธิในการตัดสินคดีความเลย ไทยจึง

ต้องประสบปัญหายุ่งยากที่ไม่สามารถจะตัดสิน กรณีพิพาทระหว่าง คนไทยกับคนต่าง

ชาติโดยใช้กฎหมายไทยได้

 2.รายได้ของไทยลดลงเนื่องจากากรเก็บภาษีได้น้อยลงเพราะโดนบีบให้ทำการค้า

เสรีกับอังกฤษ

 3. อังกฤษสามารถนำฝิ่นเข้ามาขายในเมืองไทยได้

 4.เป็นการริดรอนอำนาจของสยามในดินแดนหัวเมืองมลายูที่อังกฤษใช้เป็นแหล่ง

การค้าและการเดินเรือ  (จนในที่สุดก็ต้องยกให้อังกฤษแทบทั้งหมด)

 5.ควบคุมคนในบังคับในอังกฤษไม่ได้มีผลต่อการจัดการระเบียบต่างๆซึ่งทำได้ลำบาก

คนในบังคับอังกฤษที่ไปจดทะเบียนขึ้นกับอังกฤษใช้ข้อนี้ เมินเฉยต่อกฎหมายสยาม

รวมถึงเอาเปรียบคนในบังคับของสยาม

 6.ตามสนธิสัญญาเบาว์ริง ไทยได้รับเงื่อนไขให้เก็บภาษีขาเข้าได้เพียงร้อยละ 3

เท่านั้นเดิมก่อนหน้าสนธิสัญญาเบาว์ริง ไทยเคยเก็บภาษีขาเข้าจากพ่อค้าฝรั่งถึง

ร้อยละ 8

 7.ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี

แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่เจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้อง

เสียอะไร (แหม่ๆๆๆๆ)ลองไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

 การยกเลิกสัญญา

เนื่องจากการที่สนธิสัญญาฉบับนี้ทางสยามเสียเปรียบจึงได้มีความพยายามเจรจาเพื่อ

ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษโดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล

ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้สยามแลกหัวเมืองมลายูที่ซักวันนึงอาจจะ

ต้องเสียไปให้แก่อังกฤษไปโดยฟรีๆและการขอกู้เงิน 4 - 5 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ย

ต่ำเพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 10

มีนาคม พ.ศ. 2451 โดยรัฐบาลสยามยอมยกหัวเมืองมลายู  -ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู

และปะลิส ตลอดจนเกาะ ใกล้เคียงให้แก่อังกฤษ เป็นการแก้ปัญหาหัวเมืองมลายูที่ห่าง

ไกลและชอบมีปัญหาในการจัดการระเบียบบ้านเมือง รวมถึงอังกฤษเองก็ฮึ่มๆเมืองแถว

นั้นอยู่เป็นระยะอาจจะต้องเสียไปซักวันสู้เสนอแลกเปลี่ยนเพื่อยกเลิกสัญญาและเอา

ปัจจัยด้านอื่นมาสร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองจะดีกว่า


สนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้ไทยเสียเปรียบอย่างไร

สนธิสัญญาเบาว์ริ่งก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 4 ประการคือ (1) เปิดประตูให้ชาติอื่นๆ ทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับไทย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เท่ากับไทยถูกเอาเปรียบมากขึ้น (2) ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (3) ระบบเจ้าภาษีนายอากรถูกเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี โครงสร้างการคลังเปลี่ยนไป (4) การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากเกิดการ ...

สาระสําคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ตรงกับข้อใด

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่าง ชาติเข้ามาทำการค้า เสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตก ได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษ ในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

สนธิสัญญาเบาว์ริง มีอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาเบาว์ริง 1. อังกฤษได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต 2. ยกเลิกภาษีปากเรือตามสนธิสัญญาเบอร์นีย์ พ.ศ.2369 และให้เก็บภาษีสินค้าเข้าร้อยละ 3 แทน ถ้าขายไม่หมดจะคืนภาษีสินค้าส่วนที่เหลือให้ 3. ให้มีการค้าเสรี และไทยอนุญาตให้นำเข้า ปลา เกลือ ไปขายต่างประเทศได้ ยกเว้นปีที่เกิดขาดแคลน

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลดีต่อประเทศไทยในด้านใด มากที่สุด *

สนธิสัญญาเบาว์ริง” มีผลสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเปลี่ยนจาก “ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ” ให้เข้าสู่ “ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด” ซึ่งมีกระบวนการผลิตที่เป็นกิจจะลักษณะและมีการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในขณะที่นโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของสยามประเทศก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก “การค้าแบบ ...

สนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้ไทยเสียเปรียบอย่างไร สาระสําคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ตรงกับข้อใด สนธิสัญญาเบาว์ริง มีอะไรบ้าง สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลดีต่อประเทศไทยในด้านใด มากที่สุด * สนธิสัญญาเบาว์ริง ข้อดี ข้อเสีย สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลดีต่อประเทศไทยในด้านใด มากที่สุด เมื่อทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว เกิดผลเสียอย่างไร สนธิสัญญาเบาว์ริง รัชกาลใด ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริง ด้านเศรษฐกิจ สนธิสัญญาเบาว์ริง ผลดี เพราะเหตุใด สนธิสัญญาเบาว์ริงจึงมีความสําคัญกว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ชาติตะวันตกชาติใดที่เข้ามาทำสัญญาเบาว์ริงร่วมกับไทยในสมัยรัชกาลที่4