การใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีมีอะไรบ้าง

1. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

- ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคนที่จะกิน

- ควรดึงเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว (ยกเว้นหม้อหุงข้าวไฟฟ้ารุ่นอุ่นได้)

- อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า

- หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติดจะทำให้ข้าวสุกช้าและเปลืองไฟ

2. ตู้เย็น

- เลือกใช้ตู้เย็นให้มีขนาดที่พอเหมาะกับความต้องการของครอบครัว

- ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

- ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับจำนวนของที่ใส่

- หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก

3. เตารีดไฟฟ้า

- ตรวจสอบเตารีดอยู่เสมอว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สายไฟฟ้า ตัวเครื่อง เป็นต้น

- ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า

- ไม่ควรพรมน้ำที่เสื้อผ้าจนเปียกแฉะเกินไป

- ควรรีดผ้าต่อเนื่องและให้เสร็จในคราวเดียว

- ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสื้อผ้าเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ

4. เครื่องซักผ้าไฟฟ้า

- ควรใส่เสื้อผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง

- หากมีเสื้อผ้าที่ต้องซักเพียง 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ

- หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด

5. เครื่องปรับอากาศ

- ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง

- ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก

- ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อร่างกาย (ประมาณ 25 ํ C)

- หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอยู่เสมอ

6. ไมโครเวฟ

- วางไมโครเวฟให้ห่างจากฝาผนังหรือกำแพงอย่างน้อย 7.5 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อน

- ไม่ควรวางไมโครเวฟใกล้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น โทรทัศน์ หรือวิทยุ เพราะจะรบกวนระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น

- ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุกครั้งหลังใช้เสร็จ เพราะเศษอาหารที่ติดผนังจะลดประสิทธิภาพของเตา และอาจทำให้เกิดประกายไฟได้

- เมื่ออุ่นหรือหุงต้มอาหารที่บรรจุในภาชนะพลาสติกหรือ ถุงกระดาษ จะต้องคอยดูตลอดเวลา เพราะอาจเกิดไฟไหม้ภายในเตาได้

7. เครื่องดูดฝุ่น

- ก่อนใช้งานควรตรวจสอบข้อต่อของท่อดูดหรือชิ้นส่วนต่างๆ ให้แน่น ไม่ให้เกิดรอยรั่วของอากาศเพราะมอเตอร์อาจทำงานหนักหรือไหม้ได้

- ห้ามดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้ว เศษใบมีด หรือบุหรี่ที่กำลังติดไฟจะก่ออันตรายต่อตัวเครื่อง

- ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับพื้นบ้านที่ทำความสะอาดง่าย ควรใช้ไม้กวาดและผ้าชุบน้ำถูพื้นแทน

- หมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุ่นออกมาทำความสะอาด เพราะถ้าอุดตันจะดูดฝุ่นได้ไม่เต็มที่และสิ้นเปลืองไฟ

credit : aksorn.com

ไฟฟ้าแสงสว่าง
- ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
- เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
- สำหรับบริเวณที่ต้องการความสว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
- ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
- พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว
- ควรถอดปลั๊กอุปกรณ์ให้แสงสว่างเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
- ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด 
- ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
- หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
- หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก
- หลอด LED ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และให้แสงสว่างเท่าหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ และหลอดใส้ 


เตารีด
- เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
- ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
- ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
- อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
- ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
- ควรพรมน้ำพอสมควร
- ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
- ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
- ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
- ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
- ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น


พัดลม
- เปิดความเร็วลมพอควร
- เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
- ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้


เครื่องเป่าผม
- เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
- ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า


เครื่องดูดฝุ่น
- ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ 


ตู้เย็น ตู้แช่
- ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
- นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
- ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
- ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
- หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
- เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
- ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
- ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
- ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
- ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น
- ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
- หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก


หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
- หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
- ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
- ควรถอดเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
- อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
- หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
- ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
- ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว 
- ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
- ควรปิดฝาให้สนิทขณะหุงข้าว

เครื่องสูบน้ำ
เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้

- ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
- ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
- ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
- ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
- ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
- หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
- เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป


เครื่องซักผ้า
- ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
- ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก
- ควรใส่ผ้าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
- หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
- หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด


มอเตอร์ไฟฟ้า
- ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
- ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
- พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์

เตาอบ เตาไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่างประหยัดคือ

- ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
- ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
- ในการหุ่งต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
- ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
- ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
- ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
- ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
- ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา


เครื่องทำน้ำอุ่น
- ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
- ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
- หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
- ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
- ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
- ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
- ปรับความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
- ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
- ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
- ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์  

เครื่องปรับอากาศ
การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

- ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
- ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก
- ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
- ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง
- ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
- ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก
- ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน
- ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา
- ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน
- ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
- ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล
- พิจารณาติดตั้งบังแสงหรือกันแดด เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง 
- ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก
- ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ

ที่มา : https://www.pea.co.th/