ข้อใดคือลักษณะอาหารกระป๋องที่เสีย

ช็อปปิ้งวันหยุดฉบับมนุษย์เงินเดือน นอกจากข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวและเสื้อผ้าแล้ว อาหารก็เป็นปัจจัยหลักที่เราต้องบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่ง "อาหารกระป๋อง" เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภค เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย สะดวกต่อการบริโภคและพกพา

ช็อปปิ้งวันหยุดฉบับมนุษย์เงินเดือน นอกจากข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวและเสื้อผ้าแล้ว อาหารก็เป็นปัจจัยหลักที่เราต้องบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่ง "อาหารกระป๋อง" เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภค เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย สะดวกต่อการบริโภคและพกพา

การนำอาหารมาบรรจุในกระป๋อง ใช้เทคโนโลยีการให้ความร้อนเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้อาหารที่อยู่ในกระป๋องปลอดเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเน่าเสีย ช่วยให้มีอายุการเก็บนานเป็นปีที่อุณหภูมิห้อง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.กลุ่มอาหารที่เป็นกรด (acid foods) คืออาหารที่มีค่าพีเอชต่ำกว่า 4.5 ส่วนมากเป็นผลไม้กระป๋อง เช่น สับปะรด ส้ม หรือผักที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น

2.กลุ่มอาหารที่เป็นกรดต่ำ (Low acid foods) คืออาหารที่มีค่าพีเอชสูงกว่า 4.5 โดยส่วนมากจะเป็นอาหารกระป๋องจำพวกเนื้อสัตว์ และผักต่างๆ เช่น เนื้อ หมู ปลา ข้าวโพดฝักอ่อน และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

ข้อใดคือลักษณะอาหารกระป๋องที่เสีย

การเลือกซื้อเลือกบริโภคอาหารกระป๋องให้ปลอดภัย

  1. ดูลักษณะกระป๋อง ไม่บุบบี้ หรือ โป่งพอง ตะเข็บหรือรอยต่อต้องเรียบร้อยและแน่นหนา กระป๋องต้องไม่เป็นสนิม
  2. เมื่อกดนิ้วลงไปบนฝากระป๋องแล้วยุบลงไป หรือส่วนอื่นของฝากระป๋องหรือพองออก ไม่ควรเลือกอาหารกระป๋องนั้น
  3. เมื่อเขย่ากระป๋อง ถ้ามีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ ไม่ควรซื้อหรือบริโภคอาหารในกระป๋องนั้น
  4. เมื่อเปิดกระป๋อง ถ้ามีอากาศ (ลม) พุ่งออกมาจากภายในกระป๋อง ห้ามบริโภคอาหารซึ่งบรรจุในกระป๋อง
  5. เมื่อเปิดกระป๋องแล้วได้กลิ่นบูดเน่าหรือกลิ่นผิดปกติ ห้ามบริโภคอาหารในกระป๋องนั้นเด็ดขาด
  6. เมื่อเทอาหารออกจากกระป๋องแล้ว ถ้าภายในกระป๋องมีสนิมรอยถลอก หรือรอยด่างของโลหะ ไม่ควรบริโภคอาหารในกระป๋องนั้นเช่นเดียวกัน
  7. ควรดูฉลากและสังเกตวันเดือนปีที่ผลิตอาหารกระป๋องนั้น ไม่ควรซื้อหรือบริโภคอาหารกระป๋องที่เก็บไว้นาน เพราะทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง

การเก็บรักษาอาหารกระป๋องที่ถูกต้อง

  1. เปิดแล้วและเหลือ ควรถ่ายใส่ภาชนะอื่นๆ เช่น ภาชนะแก้วมีฝาปิดแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น
  2. ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นาน ควรเลือกบริโภคอาหารกระป๋องที่ยังอยู่ในสภาพดี สังเกต วัน เดือน ปี ที่หมดอายุด้วย
  3. ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้ในที่แห้งและเย็น แต่ไม่อับชื้นและไม่ถูกแสงแดด ป้องกันการเสียและเป็นสนิมเร็วกว่าปกติ
  4. เก็บอาหารกระป๋องไว้ในที่สูง มากกว่า 60 เซนติเมตร เพื่อป้องกันความสกปรกจากพื้นและสัตว์นำโรค

ข้อใดคือลักษณะอาหารกระป๋องที่เสีย

ทั้งนี้ มีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แนะนำหลัก “3 ฉ.” เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารกระป๋อง ดังนี้

ฉ…ฉลาก ต้องอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง โดยฉลากต้องแสดงประเภทอาหารเลขสารบบอาหารอยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่ตั้งสถานที่ผลิต ปริมาตรหรือน้ำหนักสุทธิ และที่สำคัญควรสังเกตวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ

ฉ…ฉลาด ในการซื้อ เช่น สังเกตที่ฉลากโภชนาการ หรือสูตรส่วนประกอบ ซึ่งไม่ควรมีน้ำตาล ไขมัน หรือเกลือสูงเกินไป

ฉ…เฉลียว โดยต้องตรวจสอบสภาพของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งความสะอาดทุกครั้ง โดยภาชนะจะต้องไม่ยุบ ไม่เป็นสนิม และไม่มีรอยรั่ว

อาหารกระป๋อง เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เพราะสามารถเก็บได้นานและพกพาสะดวก อีกทั้งอาจมีสารอาหารครบถ้วนไม่แพ้อาหารสด อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารกระป๋องที่สะอาดและได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตรายจากการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษ

ข้อใดคือลักษณะอาหารกระป๋องที่เสีย

อาหารกระป๋อง เป็นอย่างไร ?

อาหารกระป๋องเป็นกระบวนการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยนำอาหารบรรจุลงในกระป๋องแล้วใช้เทคโนโลยีให้ความร้อน เพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์อันเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนี้จึงอาจสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิห้องนานหลายปี

โดยทั่วไป อาหารกระป๋องแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ กลุ่มอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำจำพวกเนื้อสัตว์และผักต่าง ๆ และกลุ่มอาหารที่เป็นกรดอย่างผลไม้ต่าง ๆ

อาหารกระป๋องมีสารอาหารน้อยกว่าอาหารสดหรือไม่ ?

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าอาหารกระป๋องนั้นมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการน้อยกว่าอาหารสดหรืออาหารแช่แข็ง แต่จริง ๆ แล้วมีงานวิจัยพบว่าอาหารที่บรรจุในกระป๋องยังคงมีปริมาณสารอาหารจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ และวิตามินที่ละลายในไขมันอย่างวิตามินเอ ดี อี และวิตามินเค เทียบเท่ากับอาหารสด นอกจากนั้น การให้ความร้อนในกระบวนการสำคัญของการผลิตอาหารกระป๋องก็อาจช่วยให้สารต้านอนุมูลอิสระในผักหรือผลไม้บางชนิดมีปริมาณสูงขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมส่วนประกอบของอาหาร การบรรจุอาหารลงในบรรจุภัณฑ์ หรือการใช้เทคโนโลยีให้ความร้อน อาจส่งผลให้วิตามินที่ละลายในน้ำอย่างวิตามินซีและวิตามินบีสูญสลายไปได้

ความเสี่ยงจากอาหารกระป๋อง

โดยทั่วไป อาหารกระป๋องเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ค่อนข้างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม อาหารภายในบรรจุภัณฑ์อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษบางชนิด เช่น

  • สารบิสฟีนอลเอ (Bisphenol A: BPA) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระป๋อง โดยมีงานวิจัยพบว่าสารดังกล่าวมีโอกาสปนเปื้อนลงสู่อาหารในกระป๋องได้ และหากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสาร BPA อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ภาวะบกพร่องทางเพศในผู้ชาย โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
  • แบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) กระบวนการผลิตอาหารกระป๋องที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่สะอาด รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เกิดความเสียหาย อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาหารภายในกระป๋องปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้เมื่ออยู่ในสภาวะไร้ออกซิเจนเท่านั้น เมื่อเชื้อนี้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมอย่างภายในกระป๋อง จะผลิตสารพิษโบทูลินัมขึ้นมา โดยผู้บริโภคไม่สามารถได้กลิ่นหรือสังเกตเห็นสีของสารพิษชนิดนี้ได้ แต่หากรับประทานเข้าไปแม้ในปริมาณเล็กน้อย อาจส่งผลให้ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ตามัว จุกแน่นหน้าอก หายใจลำบาก แขนขาอ่อนแรง และเป็นอัมพาตได้ หากไม่รีบไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ ก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

หลักการเลือกบริโภคอาหารกระป๋อง

เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารกระป๋อง ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเลือกซื้อ และเลือกรับประทานอาหารกระป๋อง ดังต่อไปนี้

ลักษณะอาหารกระป๋องที่ดีเป็นอย่างไร

ดูลักษณะกระป๋อง ไม่บุบบี้ หรือ โป่งพอง ตะเข็บหรือรอยต่อต้องเรียบร้อยและแน่นหนา กระป๋องต้องไม่เป็นสนิม เมื่อกดนิ้วลงไปบนฝากระป๋องแล้วยุบลงไป หรือส่วนอื่นของฝากระป๋องหรือพองออก ไม่ควรเลือกอาหารกระป๋องนั้น เมื่อเขย่ากระป๋อง ถ้ามีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ ไม่ควรซื้อหรือบริโภคอาหารในกระป๋องนั้น

ข้อใดจัดเป็นสาเหตุของการเสียของอาหารกระป๋อง

การเสื่อมเสียของอาหารกระป๋อง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกระทำของจุลินทรีย์ที่สร้างสปอร์ทนความร้อนเกือบทั้งหมด แบคทีเรียที่สร้างสปอร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมี 2 สกุล ได้แก่ Clostridium และ Bacillus สำหรับ Clostridium มีทั้งชนิดที่ไม่ต้องการอากาศในระหว่างการเจริญ (strict anaerobes) และชนิดที่เจริญได้ทั้งสภาพที่มีและไม่มีอากาศ ...

ข้อใดคือลักษณะของอาหารกระป๋องที่ไม่ควรกิน

ลักษณะ 8 ประการอาหารกระป๋องที่ไม่ควรบริโภค.
กระป๋องบุบบี้หรือโป่งพองและเป็นสนิม.
ฝากระป๋องไม่ควรยุบหรือพองออก.
เมื่อเขย่าจะมีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ.
เปิดกระป๋องแล้วมีอากาศ(ลม)พุ่งออกมาจากภายใน.
เปิดแล้วได้กลิ่นบูดเน่าหรือกลิ่นผิดแปลกไปจากเดิม.
เมื่อเทอาหารออกเห็นสนิมหรือรอบถลอกในกระป๋อง.

การเสียของอาหารกระป๋องแบบ Springer มีลักษณะอย่างไร

Springer: เป็นการบวมของกระป๋อง ถ้ากดที่ฝาด้านบนหรือล่าง ฝากระป๋องด้านตรงข้ามจะโป่งออก Soft Swell: กระป๋องจะบวมเล็กน้อย เมื่อกดฝาด้านใดด้านหนึ่งจะยุบตัวลง และเมื่อปล่อยจะคืนสู่สภาพเดิม Hard Swell: กระป๋องจะบวมมาก อาจมีของเหลวไหลออกมา ตะเข็บกระป๋องแตก Breather : จะมีอากาศผ่านเข้าออกจากกระป๋อง วัดสุญญากาศไม่ได้