ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร

เพลงพื้นบ้านประจำภาคใต้

          ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่าจะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ


          จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่าง ๆ เช่น รำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ตลอดจนเครื่องเป่า เช่น ปี่นอกและเครื่องสี เช่น ซอด้วง ซออู้ รวมทั้งความเจริญทางศิลปะ การแสดง และดนตรีของเมืองนครศรีธรรมราช จนได้ชื่อว่าละคอน


          นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบการละเล่นแสดงต่าง ๆ เช่น ดนตรีโนรา ดนตรีหนังตะลุง ที่มีเครื่องดนตรีหลักคือ กลอง โหม่ง ฉิ่ง และเครื่องดนตรีประกอบผสมอื่น ๆ ดนตรีลิเกป่าที่ใช้เครื่องดนตรีรำมะนา โหม่ง ฉิ่ง กรับ ปี่ และดนตรีรองเง็ง ที่ได้รับแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวสเปนหรือโปรตุเกสมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการบรรเลงดนตรีที่ประกอบด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง หรือบางคณะก็เพิ่มกีตาร์เข้าไปด้วย ซึ่งดนตรีรองเง็งนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมุสลิมตามจังหวัดชายแดนไทย-มาเลเซีย


          ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลงเป็นคำร้องง่าย ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านของไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไป


       เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มีทั้งการร้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ


          1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น



          2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่ เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนา เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอน โต้ตอบ



เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้


          1. ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะ


ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
ทับ



          2. กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนรา หรือหนังตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
กลองโนรา




          3. โหม่ง เป็นเครื่องดนตรี ที่มีส่วนสำคัญในการขับบท ทั้งในด้านการให้เสียง

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
โหม่ง



          4. ปี่ เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญในการเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
ปี่



          5. แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็ง

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
กรับพวง



          6. กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
กลองหนัง




          7. โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้าน ไม่ทราบประวัติที่แน่นอน นิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า "จันโพน"
8. กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักษณะคล้ายปืด แต่เล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านของหนัง

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
โพน




          9. ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง และปี่


ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะ ทำนอง เป็น อย่างไร
ฆ้องคู่

ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้มีลักษณะทำนองอย่างไร

โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ คือ มีทำนองเพลงกระชับ รวดเร็ว ให้จังหวะที่ หนักแน่น เช่น วงดนตรีโนรา หนังตะลุง วงโต๊ะครึม ส่วนวงรองเง็งเน้นที่ทำนองเพลงและจังหวะที่มี วัตถุประสงค์เพื่อให้ง่ายต่อการเต้น

เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเด่นในด้านใด

เพลงพื้นบ้านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเก่าแก่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จากปากต่อปากโดยอาศัยการจดจำา ไม่มีต้นกำาเนิดแน่ชัด “ลักษณะเด่นของเพลงพื้นบ้านคือ ความเรียบง่ายและมีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น ความเรียบง่ายนั้นปรากฏในรูปแบบของภาษา คำาร้อง ท่วงทำานอง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูดธรรมดาเป็นคำากลอนง่าย ๆ แต่แฝงแง่คิด หรือเป็น ...

วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้มีอะไรบ้าง

๔.วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประกอบไปด้วยวงกาหลอ วงปี่พาทย์ชาตรี วงรองเง็ง วงโต๊ะครึม วงดนตรีโนห์รา วงดนตรีหนังตะลุง วงดนตรีซีละ วงดนตรีมะโย่ง วงดนตรีลิเกป่า โอกาสที่ใช้บรรเลงนิยมบรรเลงในงานแตกต่างกันไป เช่น วงกาหลอ ใช้บรรเลงในงานศพ วงดนตรีหนังตะลุง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงโนห์รา เป็นต้น

ดนตรีภาคใต้แตกต่างจากภาคอื่นอย่างไร

เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น