ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง
ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

การบริหารความเสี่ยงองค์กร

เกี่ยวกับความเสี่ยงองค์กร

การบริหารความเสี่ยง

เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่จำเป็นและมีความสำคัญในการนำพาให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ท่ามกลางปัจจัยแวดลอมทางธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์และการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้ การมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลจะสะท้อนถึงการบริหารจัดการที่ดี มีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ และมีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้อันเป็นรากฐานที่สำคัญซึ่งจะทำให้ธนาคารเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

บมจ.ธนาคารกรุงไทย

ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management: ERM) นอกจากการบริหารความเสี่ยงตามกรอบของข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ในปี 2550 ธนาคารยังได้เริ่มนำกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management Framework) ตามมาตรฐานของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission: COSO มาใช้ในการบริหารและจัดการความเสี่ยงโดยบุคลากรทุกระดับ ได้แก่ คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการ หรือควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยอมรับได้ และสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ พันธกิจ และวิสัยทัศน์ตามที่ธนาคารกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความเสี่ยงหลักที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญ 5 ด้าน

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

(Strategic Risk)

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านเครดิต

(Credit Risk)

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านตลาด

(Market Risk)

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง

(Liquidity Risk)

ความเสี่ยงของธนาคาร มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ

(Operational Risk)

1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)

หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก อันส่งผลกระทบต่อรายได้เงินกองทุน หรือความดำรงอยู่ของกิจการ

2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)

หมายถึง โอกาสหรือความน่าจะเป็นที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามภาระที่ตกลงไว้ รวมถึงโอกาสที่คู่ค้า จะถูกปรับลดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของสถาบันการเงิน

3. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)

หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และราคาตราสารในตลาดเงินตลาดทุน ที่มีผลกระทบในทางลบต่อรายได้และเงินกองทุนของสถาบันการเงิน

4. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่สถาบันการเงินไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนดเนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ เป็นเงินสดได้ สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถหาเงินมาชำระได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ รายได้และเงินกองทุนของสถาบันการเงิน

5. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)

หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กรและการขาดการควบคุมที่ดี โดยอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ปฏิบัติงานภายใน คน ระบบงาน หรือเหตุการณ์ภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของสถาบันการเงิน

ข้อมูลเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ

ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์อยู่ตลอดเวลา ทั้งด้านเทคโนโลยี สภาวะการแข่งขัน กฎระเบียบเช่นในปัจจุบัน การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่จำเป็น และมีความสำคัญในการนำพาให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นการมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะสะท้อนถึงการบริหารจัดการที่ดี มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ อันเป็นรากฐานที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้ธนาคารเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management) โดยได้นำแนวทางการปฏิบัติที่ดีตามหลักสากลของ Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission (COSO-ERM)

รวมถึงแนวทางปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารและจัดการความเสี่ยง เพื่อให้การปฏิบัติงานของธนาคารสอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากลและหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่ดี ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญทั้ง 5 ด้านของธนาคาร ได้แก่

  1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ซึ่งได้รวมถึงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance Risk) และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputation Risk)
  2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)
  3. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)
  4. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
  5. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและระบบ (Operational Risk) โดยฝ่ายบริหารความเสี่ยงจะทำหน้าที่สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ตลอดจนเสริมสร้างการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร

ธนาคารได้จัดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กรเพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ โดยกำหนดให้หน่วยงานการบริหารความเสี่ยงมีความเป็นอิสระ แยกออกจากหน่วยงานที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโดยตรง และกำหนดให้หน่วยงานทั้งหมดของธนาคารเป็นผู้มีบทบาทหลักในการระบุ วัด ประเมิน ควบคุม และติดตามดูแลความเสี่ยงด้านการดำเนินงานที่ตนรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) ธนาคารได้นำแนวทาง “กลไกการป้องกันความเสี่ยง 3 ระดับ (3 Lines of Defense)” มาใช้ในการกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลความเสี่ยง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารความเสี่ยงได้พัฒนาครอบคลุมทั่วถึงทั้งองค์กรและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของธนาคารได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

แนวป้องกันระดับที่ 1 (First Line of Defense) ได้แก่ หน่วยธุรกิจ (Business Unit) และหน่วยงานสนับสนุนตามสายงานธุรกิจ คือ ฝ่ายงานและสาขาต่าง ๆ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการและควบคุมความเสี่ยงที่เป็นกิจกรรมประจำวัน (Day to Day Process)โดยแต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่าย / สำนักเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและระบบประจำฝ่าย / สำนัก (Operational Risk Officer) เพื่อทำหน้าที่ติดตามดูแลและรายงานความเสี่ยง รวมถึงรายงานเหตุการณ์ความเสียหายผ่านระบบ Risk Integrator (RI) มายังฝ่ายบริหารความเสี่ยงเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวม

แนวป้องกันระดับที่ 2 (Second Line of Defense) ได้แก่ คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง และฝ่ายบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ในการกำกับดูแลและประเมินความมีประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยงโดยรวม (Risk Oversight)

แนวป้องกันระดับที่ 3 (Third Line of Defense) ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ และกลุ่มงานตรวจสอบและกำกับ มีหน้าที่ให้ความเชื่อมั่นและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง โดยตรวจสอบและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายใน (Risk Assurance) เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการธนาคารมีความมั่นใจในกระบวนการตรวจสอบและประสิทธิภาพกระบวนงานของธนาคาร

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงขึ้นมาอีกหลายชุด เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ของธนาคาร อาทิ คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (ALCO) คณะกรรมการสินเชื่อ คณะกรรมการตลาด คณะกรรมการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นต้น

การพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยง ปี 2556

ในภาพรวมของปี 2556 ธนาคารได้พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารมีกลไกที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี และมีกระบวนการจัดการที่ดีที่จะสนับสนุนให้ธนาคารบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีการเชื่อมโยงกระบวนการบริหารความเสี่ยงเข้ากับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ในเชิงบูรณาการให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ดังนี้

  1. การจัดทำแผนที่ความเสี่ยง (Risk Map) ประจำปี เพื่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่บูรณาการความเสี่ยงทุกด้านไว้ด้วยกันอย่างมีระบบ และเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) ที่มีผลกระทบต่อธนาคารทั้งปัจจัยเชิงบวกและปัจจัยเชิงลบ รวมถึงการพิจารณากำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และช่วยเบี่ยงเบนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance) ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owners) เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในแต่ละปี โดยในปี 2556 ธนาคารได้มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยงองค์กร จำนวน 22 ปัจจัยเสี่ยง เพื่อใช้ในการติดตามการดำเนินงานของธนาคารครอบคลุมทั้งด้านการเงิน (Financial) และด้านที่มิใช่การเงิน (Non-Financial) และธนาคารได้ปรับปรุงระบบ “Risk Map on Web” สำหรับเป็นฐานข้อมูลกลาง (Data Base) เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตามความเสี่ยงและใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงบูรณาการ และการเตือนภัยล่วงหน้าผ่านระบบสารสนเทศได้ทันท่วงที ทุกที่ และทุกเวลา (Anytime & anywhere)
  2. การทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (GH Bank Risk Management Policy) เพื่อให้การดำเนินการด้านการบริหารความเสี่ยงของธนาคารสอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงของกระทรวงการคลังแนวทางปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย และมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการธนาคารเป็นประจำทุกปี
  3. การปรับปรุงคู่มือการบริหารความเสี่ยงในแต่ละด้าน เพื่อใช้สำหรับการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร
  4. การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงประจำปี 2557 เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนธุรกิจธนาคารหลักเกณฑ์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เช่น ข้อเสนอแนะของธนาคารแห่งประเทศไทย หลักเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินสถาบันการเงินเฉพาะกิจของกระทรวงการคลัง เป็นต้น โดยหารือร่วมกับหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง เพื่อกำหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยง (Risk Treatment Plan) และแผนพัฒนาการบริหารความเสี่ยง (Risk Development Plan)
  5. การทบทวน / จัดทำคู่มือปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารความเสี่ยงให้เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของธนาคารแห่งประเทศไทย และข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. การบูรณาการ Corporate Governance-Risk Management Compliance โดยการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร

การบริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ

ธนาคารให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ทุกด้านตามแนวทางการบริหารความเสี่ยง COSO-ERM โดยในปี 2556 ธนาคารมีการบริหารจัดการความเสี่ยงแต่ละด้าน ดังนี้

1. การบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำนินงานและการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก อันส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุน หรือการดำรงอยู่ของกิจการ ธนาคารได้ทบทวน ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  1. การนำแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ดีตามแนวทาง COSO-ERM ไปสนับสนุนการจัดทำแผนธุรกิจตามหลักเกณฑ์ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal) โดยมีการวิเคราะห์ / ประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก และการนำ Portfolio View of Risk เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนธุรกิจ ซึ่งผลลัพธ์จากแบบจำลองที่ได้จะนำไปเป็นระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) ในปัจจัยเสี่ยงด้านกลยุทธ์
  2. การติดตามดูแลโครงการที่สำคัญที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ของธนาคารให้เป็นไปตามเป้าหมาย เช่น แผนงานการเปิดสาขาประจำปี 2556
  3. การทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ในกรณีที่มีเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อธนาคาร โดยการจัดทำประมาณการความเพียงพอของเงินกองทุนของธนาคาร ตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยนำ Impaired Loans มาเป็นข้อมูลในการดำเนินการทดสอบภาวะวิกฤต
  4. การสนับสนุนการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของธนาคาร โดยทบทวนกระบวนการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการขึ้นใหม่ รวมถึงฝ่ายบริหารความเสี่ยงได้ทบทวนเครื่องมือการประเมินความเสี่ยง (Check list) มาเป็นส่วนหนึ่งในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการออกผลิตภัณฑ์และบริการนำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์และแนวทางประกอบการพิจารณาการออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

2. การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต หมายถึง โอกาสหรือความน่าจะเป็นที่คู่สัญญา (Counter party) ของธนาคารไม่สามารถปฏิบัติตามภาระที่ตกลงไว้กับธนาคาร รวมถึงโอกาสที่คู่ค้าจะถูกปรับลดอันดับความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของธนาคาร ธนาคารดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตผ่านเครื่องมือที่สำคัญ ดังนี้

  1. การทบทวนนโยบายสินเชื่อ (Credit Policy) และนโยบายการจัดชั้น การกันสำรอง และการปรับโครงสร้างหนี้
  2. การพัฒนา / ปรับปรุง / ทดสอบ Credit Scoring Model เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร มีมาตรฐานการอนุมัติที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีและตรงตามวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อ
  3. การติดตามโครงสร้างและการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร รวมถึงการกระจุกตัวของพอร์ตสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อรายอุตสาหกรรม
  4. การวิเคราะห์สาเหตุการเกิด NPL และการติดตามอัตราส่วน NPL รวมถึงการติดตามแผนบริหารจัดการ NPL และหนี้ส่วนขาด เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขาย NPLและการตัดจำหน่ายหนี้สูญออกจากระบบบัญชี
  5. การทดลองคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต และเงินกองทุนเพื่อรองรับสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ตามวิธี Standardized Approach (SA) ตามเกณฑ์ Basel II ของธปท. เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีเงินกองทุนเพียงพอรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตในอนาคตได้
  6. การศึกษาแนวทางการคำนวณการด้อยค่าเงินให้สินเชื่อแบบกลุ่ม เพื่อรองรับมาตรฐานทางบัญชี IFRS
  7. การศึกษาและทบทวนขีดจำกัดความเสี่ยงด้านเครดิต
  8. การออกแบบ Risk Data Mart เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต นอกจากนี้ สำหรับการป้องกันแนวโน้มการเกิด NPL จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปี 2556 เช่น ผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจภัยธรรมชาติ เป็นต้น ธนาคารในฐานะองค์กรรัฐได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนหลายแนวทาง ทั้งในด้านความเสียหายต่อหลักประกันและด้านความเสียหายต่อแหล่งรายได้ของผู้กู้ อาทิ การออกมาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน การให้กู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 2 หรือร้อยละ 4 ต่อปีนาน 5 ปี สำหรับปลูกสร้าง / ซ่อมแซมทดแทนสิ่งปลูกสร้างเดิมกรณีมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน มาตรการประนอมหนี้พิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ธอส. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สวัสดิการไม่มีเงินฝากหักเงินเดือนผ่อนชำระที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธนาคารได้มีการจัดตั้งคณะทำงานบริหารจัดการ NPL เพื่อบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด รวมถึงการกำหนดมาตรการป้องกันการเกิด NPL และมาตรการแก้ไข NPL ที่เกิดขึ้นรวมทั้งการนำระบบเร่งรัดติดตามหนี้ I-Collection และระบบกฎหมายและหนี้ส่วนขาด I-Legal มาใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้ NPL และหนี้ส่วนขาด

3. การบริหารความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด หมายถึง ความเสี่ยงที่สถาบันการเงินอาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของฐานะทั้งที่อยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงิน และนอกงบแสดงฐานะทางการเงินที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย ราคาตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย และราคาตราสารทุนอาจเกิดจากปัจจัยตลาดทั่วไป (General Market Risk) และ / หรือปัจจัยเฉพาะของผู้ออกตราสารนั้น (Specific Risk) ธนาคารกำหนดให้หน่วยงานที่ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านตลาดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติ รวมทั้งมีการวัดและประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม (Net Interest Income Sensitivity) และการทดสอบวิเคราะห์ ความแตกต่างผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Repricing Gap Scenarios Analysis) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในบัญชีเพื่อการธนาคารให้เป็นไปตามกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดี นอกจากนี้เพื่อให้ระบบการบริหารความเสี่ยงมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารจึงมีการทบทวนเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด ได้แก่ นโยบายเพดานความเสี่ยงและดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk Limit) อาทิ Duration-Based Gap (EVE Approach), Static Repricing Gap โดยกำหนดเป้าหมายการปรับโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในอีก 1 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ธนาคารได้มีการทบทวนนโยบายและแผนการทำธุรกรรมอนุพันธ์ของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการควบคุม ดูแล และประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจากแนวโน้มปัจจัยเสี่ยง การกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง และการติดตามและรายงานความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคาร เสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมอ

4. การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้เงินของธนาคารได้ทันเวลา หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้ แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุน ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างสินทรัพย์ และหนี้สินของธนาคาร ธนาคารบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยคณะกรรมการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความเพียงพอของสภาพคล่อง การจัดหาแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้เงินทุนระยะสั้นและระยะยาว (Asset & Liability Management) เพื่อให้ภาพรวมของความเสี่ยงด้านสภาพคล่องอยู่ในเพดานความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สำหรับมาตรการ และเครื่องมือที่ใช้บริหารจัดการสภาพคล่องให้เหมาะสม สอดคล้องกับกลยุทธ์และสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การทบทวนนโยบาย และกำหนดดัชนีวัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk Limit) อาทิ Liquidity Ratio, Cumulative Maturity Gap อีกทั้งยังมีการติดตามฐานะสภาพคล่องสุทธิ (Liquidity Gap Report) และการประมาณการสภาพคล่องล่วงหน้า 30 วัน นอกจากนี้ ธนาคารได้ศึกษาดัชนีชี้วัดด้านสภาพคล่อง : อัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่ไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio ตามเกณฑ์ Basel III) และมีการประเมินและติดตามรายงานความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจากระดับสินทรัพย์สภาพคล่อง การกระจุกตัวของเงินฝาก ตลอดจนการประมาณการแนวโน้มสภาพคล่องล่วงหน้าจากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ในกรณีต่าง ๆ การทบทวนแผนฉุกเฉินทางการเงินประจำปี (Contingency Plan) เพื่อให้ธนาคารมีความพร้อมในการรองรับภาวะวิกฤต สภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้นและมีความมั่นใจว่าสภาพคล่องของธนาคารเพียงพอรองรับในสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการติดตามและรายงานความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธนาคาร เสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมอ

5. การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและระบบ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและระบบหมายถึง ความเสี่ยงจากการขาดการกำกับดูแลที่ดี หรือขาดธรรมมาภิบาลในองค์กร โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการปฏิบัติงานภายในบุคลากร ระบบงาน หรือเหตุการณ์จากปัจจัยภายนอก และส่งผลกระทบต่อรายได้จากการดำเนินงานและเงินกองทุนของธนาคาร รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมาย เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย ถูกทางการเปรียบเทียบปรับและความเสียหายที่ได้รับจากการตกลงนอกชั้นศาล เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และด้านชื่อเสียง (Reputation Risk) ธนาคารบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและระบบ ภายใต้แนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดผ่าน 4 เครื่องมือสำคัญที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี ได้แก่

  1. การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมด้วยตนเอง (Risk Control Self Assessment)
  2. ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่สำคัญ (Key Risk Indicator)
  3. การรายงานเหตุการณ์ความเสียหาย (Loss Event)
  4. การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ สำหรับ 3 เครื่องมือแรก ธนาคารได้นำระบบ Risk Integrator มาสนับสนุน และเพิ่มช่องทางการรายงานความเสี่ยงให้แก่ทุกฝ่าย / สำนัก / สาขา และนำข้อมูลจากเครื่องมือข้างต้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนด Risk Appetite และ Risk Tolerance เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงธนาคารได้สร้างความตระหนักในการบริหารความเสี่ยงให้แก่พนักงานทุกระดับทั่วทั้งองค์กรผ่านเครื่องมือ / กิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การจัดอบรมหลักสูตร การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงโดยวิทยากรจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้ความรู้แก่พนักงานทุกฝ่าย / สำนัก การแจ้งเตือน / เฝ้าระวังเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญและอาจกระทบต่อการปฏิบัติงาน การทบทวนข้อบังคับ / ระเบียบ / คำสั่ง ปรับปรุงกระบวนงาน และคู่มือกาปฏิบัติงานของธนาคารให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และลดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้เป็นต้น รวมถึงการทดลองคำนวณเงินกองทุนรองรับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ตามวิธี Standardised Approach (SA-OR) ตามเกณฑ์แนวทาง Basel II เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีเงินทุนเพียงพอรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกจากนี้เครื่องมือที่ 4 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจธนาคาร ได้ทบทวนนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดทำ / ทบทวนแผนฉุกเฉินด้านต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2556 สนับสนุนให้มีการจัดทำ / ทบทวนแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) ครบทุกฝ่าย / สำนัก รวมถึงมีการทดสอบแผนฉุกเฉินทางธุรกิจ (ERP) แผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) และแผนฉุกเฉินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DRP) แบบบูรณาการร่วมกัน พร้อมกับทบทวนแผนฉุกเฉินทางการเงิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธนาคารจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ และได้มีการเผยแพร่แผนฉุกเฉินผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ Website ของฝ่ายบริหารความเสี่ยง GHB Intranet และทาง E-mail เพื่อให้พนักงานทั่วทั้งธนาคารรับทราบและถือปฏิบัติ รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจบน Website ของธนาคารเพื่อให้ลูกค้า และผู้สนใจเข้าศึกษาได้อีกด้วย อนึ่ง ในช่วงปลายปี 2556 มีปัจจัยภายนอกที่สำคัญ คือสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ซึ่งคณะกรรมการธนาคารกรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารของธนาคารได้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) โดยมีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาแนวทางเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ การจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้ การจำลองสถานการณ์ดังกล่าวครอบคลุมทั้งสำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศ อีกทั้งได้จัดให้มีการทดสอบ และซักซ้อมการดำเนินการตามแผนฉุกเฉินต่าง ๆ รวมทั้งการทดสอบการปฏิบัติงานจริง ณ สถานที่ทำงานสำรอง และนำผลการทดสอบไปปรับปรุงแผนฉุกเฉินต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM) ที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด

ความเสี่ยงในการธนาคารคืออะไร

คือความเสี่ยงในช่วงเวลาระหว่างที่รอผลการชำระเงินให้เสร็จสิ้น หลังจากธนาคารผู้จ่ายได้ส่งคำสั่งโอนเงินไปแล้ว ซึ่งมีมากในระบบชำระดุลสุทธิสิ้นวัน ความเสียหายจะเกิดเมื่อธนาคารไม่สามารถชำระหนี้ตามภาระผูกพันได้ ซึ่งสาเหตุอาจเพราะฐานะการเงินขัดข้องชั่วคราว (Liquidity Risk) หรือฐานะการเงินมีปัญหา (Credit Risk)

ความเสี่ยงระดับใดที่ธนาคารยอมรับได้

ทั้งนี้ในปีบัญชี2563 ธนาคารมีการกาหนดเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) ของความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ(NII) ที่มีผลกระทบต่อ กาไรสุทธิลดลงไม่เกินร้อยละ 1 เป็นระดับที่ธนาคารยอมรับได้

ความเสี่ยงของสถาบันการเงิน มีอะไรบ้าง

การด าเนินกิจกรรมต่างๆ กับลูกค้าและคู่ค้า ความเสี่ยงที่ส าคัญของธนาคารจ าแนกออกได้ 7 ประเภทคือ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์(Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยงด้านการด าเนินงาน (Operational Risk) ความ เสี่ยงจากความผันผวนของ ...

ประเภทของความเสี่ยงธุรกรรมทางการค้ามีกี่ประเภท

ดาเนินกิจกรรมต่างๆ กับลูกค้าและคู่ค้า ความเสี่ยงที่สาคัญของธนาคารจาแนกออกได้6 ประเภทคือ ความเสี่ยง ด้านกลยุทธ์(Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) ความ เสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยงด้านการดาเนินงาน (Operational Risk) และความเสี่ยงด้าน ชื่อเสียง ( ...