ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

ข้อดี - ข้อเสีย ของนวัตกรรม by

ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

Show

1. ด้านการเรียนการสอน

1.1. ข้อดี

1.1.1. มีสื่อการเรียนที่สะดวก

1.1.2. นักเรียนเข้าใจบทเรียนแบบเห็นภาพ

1.1.2.1. มีภาพตัวอย่าง

1.1.3. บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน

1.1.4. บทเรียนน่าสนใจ

1.1.5. ลดเวลาในการสอน

1.1.6. ประหยัดค่าใช้จ่าย

1.1.6.1. ค่าชีท

1.2. ข้อเสีย

1.2.1. อุปกรณ์ไม่เพียงพอ

1.2.2. ขาดการสนับสนุนที่ดี

1.2.3. งบประมาณ

2. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม

2.1. ข้อดี

2.1.1. เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น

2.1.2. ต้นทุนการผลิตลดลง

2.1.3. ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน

2.1.4. ลดแรงงานคนทำงานได้น้อยลง

2.1.5. ผลิตสินค้าและบริการที่มีรูปแบบใหม่

2.2. ข้อเสีย

2.2.1. เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2.2.2. เกิดผลกระทบต่อดุลการค้า

2.2.3. เกิดผลกระทบต่อการบริโภคนิยม

3. การป้องกันประเทศ

3.1. อาวุธยุทโธปกรณ์

3.1.1. สมัยใหม่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

3.1.1.1. ระบบควบคุม

3.1.1.2. ระบบป้องกันภัย

3.1.1.3. ระบบเฝ้าระวัง

4. ข้อดี

4.1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์

4.2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น

4.3. ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

4.5. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

5. ข้อเสีย

5.1. มีโอกาสที่ทำให้เกิดอาชญากรรมมากขึ้น

5.2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ลดลง

5.3. เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ

5.3.1. ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล

5.4. มีการพัฒนาอาวุธที่มีการทำลายสูง

5.5. มีกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

> BUSINESS TIPS > Digital Innovation นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อทุกธุรกิจ

ในโลกยุคปัจจุบันนี้ เราต่างได้ยินคำว่า เทคโนโลยี ดิจิทัล ออนไลน์ และนวัตกรรมอยู่บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเก็บข้อมูล หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่หลายคนก็ยังไม่คุ้นเคยกับการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้กับการทำงานในเชิงอุตสาหกรรม All Around Plastics ฉบับนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมดิจิทัลที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในแง่มุมธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น

คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ Vice President – Olefins Business and Operations หนึ่งในผู้นำของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี อธิบายแนวคิดของ Digital Innovation หรือนวัตกรรมดิจิทัลให้เข้าใจง่าย ๆ ไว้ว่าเป็นการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานโดยอาศัยเทคโนโลยีสองส่วนหลักอย่าง IT และ OT มาทำงานร่วมกัน โดย IT หรือ Information Technology เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลนับแสนนับล้านให้เป็นระบบ นำมาผสมผสานกับ OT หรือ Operation Technology ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ หรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อมาจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นให้สามารถแก้ไขปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ และพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ

ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

นวัตกรรมดิจิทัล จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่การคิดค้นสินค้าขึ้นมาใหม่ หรือสร้างสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลก แต่เป็นการนำเทคโนโลยีมาทำงานร่วมกับข้อมูล พัฒนามาเป็นนวัตกรรมการจัดการรูปแบบใหม่ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้

เป้าหมายแรกในการนำเอาเรื่องดิจิทัลมาใช้ในการจัดการโรงงานของเอสซีจี คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัท จากเมื่อก่อนที่อุตสาหกรรมจะเน้นแข่งขันกันแต่พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วนวัตกรรมไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพียงเรื่องของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังปรับใช้กับเรื่องการคิดค้นระบบการจัดการข้อมูล หรือระบบการทำงานที่นำเทคโนโลยีมาช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีที่จำลองภาพเสมือน 3 มิติเข้ามาทับซ้อนกับภาพจริงซึ่งใช้กันแพร่หลายในวงการเกมเพื่อทำให้ผู้เล่นรู้สึกสมจริงยิ่งขึ้น ก็สามารถนำมาใช้กับการวิเคราะห์เครื่องจักรในโรงงานได้โดยนำมาปรับให้สามารถเชื่อมต่อภาพเครื่องจักรและแสดงข้อมูลให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรผ่านเครื่องมือสื่อสารหรือคอมพิวเตอร์ได้แม้ไม่ได้อยู่หน้าเครื่องจักร เป็นต้น หรืออุปกรณ์อย่างโดรนที่คนทั่วไปใช้ในการถ่ายภาพวีดีโอ เมื่อนำมาผสมผสานกับเทคโนโลยี RFID ก็สามารถประยุกต์ใช้กับการติดตามความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ได้รวดเร็ว สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เป็นต้น จะเห็นได้ว่านวัตกรรมดิจิทัลนั้นถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานนั่นเอง

ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

แนวคิดในการทำงานเรื่องดิจิทัลของเอสซีจีคือ เราต้องอยู่ใกล้เทคโนโลยี เข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอก และมีความพร้อมในการผสมผสานข้อมูลกับเทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว

“ด้วยความที่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีประสบการณ์ในเรื่องการบริหารจัดการโรงงานปิโตรเคมีมามากกว่า 30 ปี ทำให้เราเห็นความต้องการที่ชัดเจนว่าอะไรจะช่วยให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ความปลอดภัย ตลอดจนการบำรุงรักษา เราก็นำความต้องการนั้นมาเป็นตัวตั้งต้น เพื่อหาโซลูชันใหม่ ๆ มาพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้รวดเร็วขึ้น”

หากเปรียบเทียบเป็นสมการ กำหนดให้ Y คือผลลัพธ์ที่เราต้องการ Y ย่อมประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น X1 + X2 + X3 + X4 ซึ่งก็คือข้อมูลแต่ละตัว เราอาจยังไม่รู้ว่า X แต่ละตัวส่งผลต่อ Y อย่างไร แต่เมื่อนำเอาข้อมูลทั้งหมดมาจัดกระบวนการทางสถิติโดยใช้ AI คัดเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาหาความเชื่อมโยง คำนวนดูว่าเมื่อเพิ่ม-ลดค่า X ตัวใดแล้วจะเกิดผลกระทบกับ Y อย่างไรบ้าง AI ก็จะสามารถสร้างระบบวิธีการคิด เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้เราได้

“เราต้องเริ่มจากแนวคิดว่าทำอย่างไรให้การทำงานเป็น Automation มากขึ้น แล้วนำ Automation กับ Information ไปสู่การสร้าง Algorithm (ระเบียบวิธีคิด) จากเมื่อก่อนที่เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลแล้วนำไปให้ ’คน’ เป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้นหากเปลี่ยนคน ผลการตัดสินใจก็จะเปลี่ยนไปตามความรู้หรือประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งต่างจาก AI ที่จะตัดสินด้วยตรรกะและข้อมูลสนับสนุนมหาศาล เสมือนเป็นการรวบรวมประสบการณ์ทั้งหมดมารวมกันไว้ในระบบนั่นเอง”

ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขัน เมื่อวิเคราะห์เห็นจุดที่ยังขาดประสิทธิภาพก็ต้องเร่งเข้าไปจัดการ

ในช่วงระยะเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมานี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนา AI ขึ้นมาแล้วกว่า 60 ตัวสำหรับจัดการงานในโรงงานเป็นหลัก ซึ่งเป้าหมายถัดไปคือการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในธุรกิจเคมิคอลส์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณมงคลให้ความเห็นเพิ่มเติมถึงการใช้นวัตกรรมดิจิทัลว่า “ที่ผ่านมาเอสซีจีให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอยู่แล้ว แต่เราต้องการจะทำให้เหนือความคาดหมายขึ้นไปอีก ต้องการสร้างความน่าตื่นเต้นให้ธุรกิจ สร้างนวัตกรรมดิจิทัลที่ตอบความต้องการลูกค้าแบบล้ำหน้าไปอีกขั้น”

ข้อดีของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

“เราต้องมองไปข้างหน้า มองเทรนด์ให้ออก และที่สำคัญต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งในการทำงานอาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จทันที แต่จุดสำคัญคือต้องเรียนรู้ข้อผิดพลาด และนำมาปรับปรุงพัฒนาใหม่ให้เร็ว โดยผ่านขบวนการทำงานแบบใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วหรือที่เรียกกันว่า Agile process เพื่อให้สุดท้ายเราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าและสังคมได้อย่างต่อเนื่องและดีขึ้นเรื่อย ๆ”

การเริ่มต้นนำนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาใช้กับธุรกิจจึงไม่ใช่เพียงซื้อโปรแกรมใหม่ ๆ หรือติดตั้งเครื่องมือเก็บข้อมูลให้ทั่วโรงงาน แต่เป็นการเข้าใจความต้องการของธุรกิจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะหาวิธีและเครื่องมือที่เหมาะสม สำหรับสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้วก็นำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นอีก และที่สำคัญก็คือการอยู่ใกล้ชิดกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด รีบทำความเข้าใจ เรียนรู้ให้เร็ว นำมาทดลอง ปรับใช้กับข้อมูลที่มีให้เร็ว แม้เกิดความผิดพลาดไม่ได้ผลตามที่คาดหวังก็ต้องเริ่มต้นใหม่ให้เร็วด้วยเช่นกัน (Fail Fast, Learn Fast) ธุรกิจจึงจะวิ่งไปตามจังหวะของความเป็นดิจิทัลและสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ทัน

นวัตกรรมสําหรับธุรกิจดิจิทัล มีอะไรบ้าง

นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Innovation) หมำยถคึง ผลิตภัณฑ์และบริกำรใหม่ๆ ที่เกิด จำกกำรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ที่ตอบสนองควำมต้องกำรและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปตำม บริบทของเทคโนโลยีที่มีกำรเปลี่ยนแปลงอย่ำงรวดเร็ว ก่อให้เกิดกำรสร้ำงสรรค์ธุรกิจใหม่

ข้อดีของงานธุรกิจดิจิทัลมีอะไรบ้าง

8 ประโยชน์ของดิจิทัลในธุรกิจอุตสาหกรรม.
1. ลดต้นทุน ... .
2. เพิ่มประสิทธิภาพ ... .
3. มีโอกาสที่จะเกิดธุรกิจใหม่ ... .
4. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น ... .
5. ได้เปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจ ... .
6. มีความสามัคคีภายใน ... .
7. ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ ... .
8. เก็บข้อมูลได้มากขึ้น.

นวัตกรรมดิจิทัลหมายถึงอะไร

- นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation) หมายถึง ผลิตภัณฑและบริการใหมๆ ที่ เกิดจากการประยุกตใช เทคโนโลยีดิจิทัลที่ ตอบสนองความตองการและพฤติกรรมของผูบริโภคที่ ปรับเปลี่ ยนไปตามบริบทของเทคโนโลยีที่ มีการเปลี่ ยนแปลงอยางรวดเร็ว กอใหเกิดการสรางสรรคธุรกิจใหมที่ ไมเคยมีมากอนบนพื้นฐานของการหลอมรวม เทคโนโลยีDigital Supply Chain.

จุดประสงค์หลักของการทำธุรกิจดิจิทัลคือข้อใด

ธุรกิจดิจิทัล (Digital Business) คือการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาธุรกิจที่ทำอยู่เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แต่จุดประสงค์หลัก ๆ ก็คือการหาทางเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจนั่นเอง เช่น การนำ Application มาช่วยในการเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ที่ชอบใช้ smart phone,การ ...