ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลมีอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น บางครั้งเรามักเกิดความขัดแย้งหรือความก้าวร้าวต่อกันและกัน

เราลองมาดู “สาเหตุที่เป็นไปได้บางประการของความขัดแย้งหรือความก้าวร้าว” ที่เกิดขึ้นกันค่ะ

ประการแรก #บุคลิกภาพทั้งของตัวเราเองและผู้อื่น

บางครั้งเราอาจไม่ได้มองตัวเราเอง หรือเรามองเห็นตัวเราไม่ชัดเจน แต่เรามักจะมองเห็นผู้อื่นอย่างชัดเจน เรามักมีเหตุผลให้กับการกระทำของตนเองเสมอ เราทุกคนมักมีอีโก้ (ego) ไม่มากก็น้อย บางคนมีอีโก้มากเข้าขั้นบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง (narcissistic) กล่าวคือ ชอบคำชื่นชมอย่างมาก ไม่ชอบคำวิพากษ์วิจารณ์ มักแสดงความก้าวร้าวอย่างรุนแรงเมื่อไม่ได้อย่างใจ แต่ตนเองสามารถวิจารณ์คนอื่นได้ ไม่ให้เกียรติผู้อื่น และอาจถึงขั้นใช้ประโยชน์ผู้อื่นเพื่อผลประโยชน์ตนเอง

บุคคลประเภทนี้คงไม่มีใครอยากอยู่ใกล้มากนัก นอกจากคนที่ได้รับผลประโยชน์จากคนแบบนี้ บุคลิกภาพแบบนี้มักก่อให้เกิดความขัดแย้งและความก้าวร้าวรุนแรงได้

นอกจากนี้ บางคนก็อาจต้องการอำนาจและการควบคุมมากกว่าความรัก ความผูกพัน ทำให้คนที่อยู่ใกล้รู้สึกอึดอัดได้ เพราะเราทุกคนคงต้องการการให้เกียรติกันและกัน

ประการที่สอง #การมีความนับถือตนเองต่ำ (low self-esteem)

ผู้เชี่ยวชาญบางท่านระบุว่า ผู้ที่นับถือตนเองต่ำจะต้องการความรักและการยอมรับจากผู้อื่น แต่ไม่สามารถให้ผู้อื่นได้เพราะตนเองยังรู้สึกไม่ปลอดภัย ในบางครั้งคำพูดหรือการกระทำของผู้อื่นจึงมีผลต่อบุคคลประเภทนี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงควรสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง การเลี้ยงดูลูกหลานของเราสามารถมีผลเป็นอย่างมากที่จะทำให้ลูกหลานของเราสามารถรักตนเองและแบ่งปันความรักความอบอุ่นให้กับคนรอบข้าง

ประการที่สาม #การติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน
บางครั้งเราจะได้ยินคำพูดที่ว่า “พูดไม่เข้าหู” นั่นหมายถึง คำพูดมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดีระหว่างกัน นอกจากคำพูดแล้ว ท่าทางของเราก็มีผลต่อผู้อื่นไม่แพ้กัน

ในที่นี้ เรามาพิจารณา “แนวทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ” กันค่ะ

– แนวทางการสื่อสารเพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี 3 ประการ –

ประการแรก #ตั้งใจฟังคู่สนทนาของเรา
ฟังอย่างมีทักษะ เพื่อเข้าใจว่าผู้พูดต้องการบอกอะไรเรา นอกเหนือจากคำพูดที่ผู้พูดกล่าวออกมา
วิธีนี้จะทำให้เราเข้าใจความต้องการ ความรู้สึกของผู้พูดอย่างแท้จริง ถ้าไม่เข้าใจก็ให้ถามผู้พูดซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราสนใจฟังที่เขาพูด จากนั้นเราจึงสามารถตอบสนองความต้องการของผู้พูดได้อย่างเข้าใจซึ่งจะทำให้การสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น

ประการที่สอง #การร่วมรู้สึก (empathy)
เมื่อเราเข้าใจผู้ร่วมสนทนาอย่างแท้จริง เราจะสามารถแสดงความเข้าใจ ร่วมรู้สึก เห็นอกเห็นใจคู่สนทนาได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้คู่สนทนาเปิดใจรับเรามากขึ้น สัมพันธภาพระหว่างกันก็จะงอกงามมากขึ้น
นอกจากนี้ บางครั้งเราก็ต้องแสดงความรู้สึกของเราโดยใช้คำพูดที่เหมาะสม เช่น “ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลยที่คุณมาสาย” ดีกว่าที่จะพูดตำหนิคนอื่นว่า “คุณแย่มากที่มาสาย” การที่เราเข้าใจความรู้สึกของเขา ไม่ตำหนิเขา เขาก็จะเปิดใจยอมรับเรามากขึ้น

ประการที่สาม #แสดงความห่วงหาอาทร
เข้าใจเขา มีเจตคติหรือทัศนคติที่ดี มีน้ำเสียงที่อ่อนโยน แสดงความเข้าใจ บางครั้งเราก็ว่าเราพูดจาดีแล้ว แต่เจตคติหรือทัศนคติของเราอาจไม่สอดคล้องกับคำพูด ทำให้น้ำเสียงหรือท่าทีของเราที่มีต่อผู้อื่นอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดได้

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นสาเหตุบางประการของความขัดแย้งและแนวทางการพูดหรือการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หากท่านผู้อ่านมีแนวทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีอื่นๆ ก็สามารถแบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันนะคะ

รายการอ้างอิง

Burns, D. (2008). Feeling Good Together: The Secret of Making Troubled Relationships Work. New York: Crown Publishing Group

สัมพันธภาพที่ดี ที่อบอุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เพราะหากครอบครัวของคุณมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะส่งผลให้สุขภาพใจของทุกคนในบ้านแข็งแรงอีกด้วย

 

และหากพ่อแม่ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อลูก ๆ ก็จะทำให้พวกเขาอยากที่จะพูดคุย แบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เราฟัง และเมื่อเกิดอะไรขึ้นไม่ว่าจะสุข หรือทุกข์ ทุกคนก็จะนึกถึงบ้านเป็นสถานที่แรกเสมอ

 

กลับกันหากครอบครัวไหนมีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ไม่ค่อยจะดีเท่าที่ควร ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในบ้านเป็นลำดับแรก ๆ ทุกคนในบ้านก็คงจะไม่ค่อยอยากที่จะอยู่บ้าน และพยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้ออกไปอยู่ข้างนอก และหากไม่จำเป็นจริง ๆ บ้านคงเป็นสถานที่สุดท้ายที่จะเลือกกลับมาเยือนใช่มั้ยล่ะคะ

 

ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้ครอบครัวของคุณเองมีสัมพันธภาพที่ดี ที่อบอุ่น วันนี้เราจึงได้นำเอา 5 วิธี ที่จะช่วยทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวดี และอบอุ่นยิ่งขึ้นมาฝากกันค่ะ

 

ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง...

 

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลมีอะไรบ้าง

 

 4 วิธี  การสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว

 

 1. เอาใจใส่กันเสมอ 


หากคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอ ไม่ปล่อยปละละเลยกัน เวลาไม่เข้าใจกันก็คุยกันด้วยเหตุผล ยอมรับข้อเสีย และยอมปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้ความมั่นคงด่านแรกของครอบครัวแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

แต่หากครอบครัวไหน คุณพ่อคุณแม่ไม่ดูแลเอาใจใส่กัน ทะเลาะเบาะแว้ง และไม่มีใครยอมใคร ความสัมพันธ์ด่านแรกก็ถือว่าสั่นคลอนไปมากกว่าครึ่งแล้วใช่ไหมละค่ะ และหากยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในวันนึงชีวิตคู่ของคุณพ่อคุณแม่ครอบครัวนี้ ก็อาจจะมาถึงจุดแตกหักก็เป็นได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นคงไม่ดีแน่

 

ครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกันจะส่งผลให้เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย รู้สึกว่าพวกเขาได้รับความรักความอบอุ่นไม่มากพอ หรือคิดว่าตัวเองไม่ได้รับมัน สิ่งนี้เองจะเป็นรอยร้าวรอยใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในจิตใจของทุกคนในบ้าน ซึ่งมันจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการมีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอย่างแน่นอน

 

 

 2. ความเข้าใจ 


การที่สมาชิกแต่ละคนในบ้านพยายามทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิด นิสัย ตัวตน และความต้องการของกันและกัน และค่อย ๆ ปรับจูนหาตรงกลางที่พอดีสำหรับทุกคนในบ้าน หาจุดที่ทำให้ทุกคนได้ทำ ได้เป็น ในสิ่งที่ต้องการภายใต้ขอบเขตที่ทุกคนในบ้านยอมรับได้

 

รับฟังความคิดเห็นของกัน และกัน เข้าใจ และคอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ สิ่งนี้จะช่วยสร้าง และเชื่อมโยงสายใยแห่งความผูกพัน เชื่อใจ และความรักของคนในครอบครัวให้เข้ามาผูกกันอย่างแน่นแฟ้น และมั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

 

 3. การพูด 


การพูดที่จะช่วยทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวดี และอบอุ่นมากยิ่งขึ้นคือการพูดคุยด้วยความให้เกียรติซึ่งกัน และกัน คอยถามสารทุกข์สุบดิบกันอยู่เสมอ เมื่อใครทำสิ่งไหนได้ดี หรือประสบความสำเร็จในการทำอะไรก็คอยพูดชื่นชม หรือหากใครทำบางสิ่งที่ผิดพลาดล้มเหลวก็ค่อยปลอบโยน คอยสอนสิ่งที่ถูกต้อง และคอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ

 

 

 4. ใช้เวลาร่วมกัน 


พยายามหาเวลาในแต่ละวันให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างน้อยในหนึ่งวันก็ควรจะมีเวลาสักหนึ่งช่วงที่ถือเป็นเวลาครอบครัว ที่คนในบ้านจะได้มารวมตัวกัน เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือสิ่งที่ได้พบเจอมาในแต่ละวันให้กันฟัง

 

การทำแบบนี้ทุกคนในบ้านก็จะได้รู้ความเป็นไปของกัน และกัน เป็นการสร้างความสนิทสนม ความไว้เนื้อเชื่อระหว่างกัน ให้มีมากยิ่งขึ้น และแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เมื่อทุกคนในบ้านสนิทใจกัน เชื่อใจกัน พูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ก็จะทำให้เวลาเด็ก ๆ หรือคนในบ้านมีปัญหา หรือเรื่องที่ไม่สบายใจ ก็จะเลือกมาปรึกษากับคนในครอบครัวมากกว่าจะไปปรึกษาเพื่อน หรือไปลองผิดลองถูกเองคนเดียว

 

 

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลมีอะไรบ้าง

 

และนี่ก็คือสิ่งสำคัญ 4 อย่างที่ทุกคนในครอบครัวควรทำ เพื่อที่จะทำให้ทุกคนในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นที่เราได้นำมาฝากกันในวันนื้ ทางสถาบันก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณไม่มากก็น้อยนะคะ

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลมีอะไรบ้าง

การสร้างสัมพันธภาพ (Rapport).
1. การแสดงความพร้อม และความยินดีในการได้การช่วยเหลือ (Readiness).
2. การต้อนรับอย่างจริงใจ และอบอุ่น (Genuine and warm welcome).
3. การแสดงท่าทีเป็นมิตร (Being friendly).
4. สื่อความตั้งใจและใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลือ (Attentiveness).
5. แสดงความสนใจอย่างจริงใจ (Genuine interest).

ปัจจัยใดบ้างที่สามารถช่วยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีคืออะไร

การสร้างสัมพันธภาพ หมายถึง การมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ซึ่ง ลักษณะประจ าตัวของบุคคลจะมีผลกระทบต่อ ความคิด และการกระทาของอีกฝ่ายทันทีได้แก่ 1. การรับรู้ผลกระทบที่ส่งมา 2. การแสดงออกที่ผ่านกระบวนการคิด และรูปแบบที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด 3. ความต้องการมีสัมพันธภาพระหว่างกัน จากหลายสาเหตุเริ่มจากฝ่ายใดฝ่าย ...

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวทักษะใดสำคัญที่สุด

การพูดที่จะช่วยทำให้สัมพันธภาพของคนในครอบครัวดี และอบอุ่นมากยิ่งขึ้นคือการพูดคุยด้วยความให้เกียรติซึ่งกัน และกัน คอยถามสารทุกข์สุบดิบกันอยู่เสมอ เมื่อใครทำสิ่งไหนได้ดี หรือประสบความสำเร็จในการทำอะไรก็คอยพูดชื่นชม หรือหากใครทำบางสิ่งที่ผิดพลาดล้มเหลวก็ค่อยปลอบโยน คอยสอนสิ่งที่ถูกต้อง และคอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ