จากเรื่องโคลงนิราศนรินทร์มีการเปรียบเทียบเกินจริง บทใดบ้าง จงยกตัวอย่าง

๏ ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์ จรรโลงโลกกว่ากว้าง แผนแผ่นผ้าง[๑]เมืองเมรุ ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยน[๒]ล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว ทุกไทน้าวมาลย์น้อม ขอออกอ้อมมาอ่อน ผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ

ในสมุดไทยหมายเลข ๔๕ จ. ๔๕ ญ. เรื่องนิราศนรินทร์ มีโคลงต่อจากนี้อีก ๒ โคลง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นของอาลักษณ์แต่งเติม ดังนี้

                                   

จากเรื่องโคลงนิราศนรินทร์มีการเปรียบเทียบเกินจริง บทใดบ้าง จงยกตัวอย่าง

อติพจน์

        เป็นการบรรยายหรือพรรณนาที่เกินจริง  จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงไปจับ  เพราะกวีมุ่งกล่าว  เพื่อเน้นข้อความที่กล่าว  ให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้นและแสดงอารมณ์ที่ลึกซึ้งกว่าปกติ  เพื่อสร้างอารมณ์   สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน  ผู้ดู  ผู้ฟัง  ดังปรากฏ  ในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้

ตัวอย่าง

        อติพจน์  หรือกล่าวเกินจริงใน  โคลงนิราศนรินทร์  มีความว่า  ความรักของกวีไม่มีวันจืด    จาง  แม้ทุกสิ่งรวมทั้ง  โลกนี้ทุกอย่างจะสูญสลายไปหมด  ดังความว่า

                                เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์  อรเอย

                        เมรุชุบสมุทรดินลง                       เลขแต้ม

                        อากาศจักจารผจง                         จารึก  พอฤา

                        โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                     อยู่ร้อนฤาเห็น

                        ตราบขุนคิริข้น                             ขาดสลาย  แลแม่

                        รักบ่หายตราบหาย                       หกฟ้า

                        สุริยจันทรขจาย                           จากโลก  ไปฤา

                        ไฟแล่นล้างสี่หล้า                         ห่อนล้างอาลัย

( นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน )

   อติพจน์  หรือกล่าวเกินจริง  ในลิลิตพระลอ  ซึ่งกล่าวพรรณนาความเศร้าโศกของประชาราษฎร์เมื่อรู้ข่าวการ  สิ้นพระชนม์ของพระลอ  พระเพื่อน  พระแพง  ว่ามีมากมาย  ดังนั้นในทุก ๆ ที่      “ แลแห่งใดเห็นน้ำ  ย่อมน้ำตาคน “

                                เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้            ทุกเรือน

                        อกแผ่นดินดูเหมือน                       จักขว้ำ

                        บเห็นตะวันเดือน                          ดาวมือ  มัวนา

                        แลแห่งใดเห็นน้ำ                           ย่อมน้ำตาคน

     อติพจน์  หรือกล่าวเกินจริง  ในบทกาพย์โขน  ตอนกาพย์นางลอย  พรรณนาถึงความรักที่พระรามมีต่อสีดา  รวมทั้งพรรณนาถึงความเป็นเลิศด้านความงามของนาง  ซึ่งมิอาจอจาหาได้อีกแล้ว  เมื่อนางสูญสิ้นไป  แต่พระรามอาจจะหา  “ วิเชียรเท่าคีรี “  หรือ  “ ดวงพระสุรีย์ศรี “  เป็นได้

                                มาดแม้นจะหาดวง               วิเชียรช่วงเท่าคีรี

                        หาดวงพระสุรีย์ศรี                       ก็จะได้ดุจดังใจ

                        จะหาโฉมให้เหมือนนุช                จนสุดฟ้าสุราลัย

                        ตายแล้วและเกิดใหม่                    ไม่ได้เหมือนเจ้านฤมล

    อติพจน์  หรือกล่าวเกินจริง  ในมัทนะพาธา  มีเนื้อความในการพรรณนาความรักอันมากมายที่  ท้าวชัยเสนมีต่อนางมัทนา

                                ผิวะอายุจะยืน            ศตะพรรษะฤกว่า

                        ก็จะรักมัทนา                     บ่มิหย่อนฤดิหรรษ์

                        นัยนาก็จะชม                     วธุต่างมณิพรรณ์

                        และจะสูดสุวคันธ์               รสต่างสุผกา

                        ผิวจะตื่นก็จะดู                    ยุวดีสิริมา

                        ผิวะหลับฤก็ข้า                    จะสุบินฤดิเพลิน

( พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว )

            ตัวอย่างของคำที่มีลักษณะเป็นแบบอติพจน์  เช่น  ร้อนแทบสุก , เหนื่อยสายตัวแทบขาด , เสียงเท่าฟ้า  หน้าเท่ากลอง , คอยสักอกใจเดียว